บ้านหลุดจำนอง ดีจริงหรือ?
14
Nov 23

หลายๆ คนมักจะอคติกับ “บ้านหลุดจำนอง”
จริงๆ แล้วรูปแบบอสังหาฯ ประเภทนี้ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด
ถ้าได้มาจากแหล่งขายอันน่าเชื่อถือ รับรองว่าได้ราคาดี
แถมยังสามารถเรียกกำไรงามได้อีกด้วย

บ้านหลุดจำนอง เป็นรูปแบบอสังหาริมทรัพย์ที่ด้อยคุณภาพหรือรอการขาย
โดยมักเรียกกันหมู่นักลงทุนว่า NPA ย่อมาจาก Non-Performing Asset
เกิดจากทางสถาบันการเงินได้กรรมสิทธิ์เมื่อผู้กู้เกิดพฤติกรรมขาดผ่อนหรือผ่อนต่อไม่ไหว
จึงยอมให้ธนาคารยึดบ้านเพื่อนำมาชำระหนี้ รวมไปถึงบ้านที่กรมบังคับคดีได้นำออกมาประมูล
ในราคาที่ต่ำกว่าตลาดถึง 40-50% อีกด้วย

สำหรับบ้านหลุดจำนอง อาจจะต้องเช็คประวัติย้อนหลังของบ้านให้มากขึ้น
เพราะเราไม่รู้ว่าบ้านหลุดจำนองมีประวัติด้านลบมามากหรือน้อยแค่ไหน
ถ้าหากไม่ตรวจสอบอย่างละเอียด อาจนำความเดือดร้อนมาภายหลังได้

แล้วบ้านหลุดจำนอง จะทำกำไรให้กับนักลงทุนได้ยังไง
วันนี้เรามาเรียนรู้เทคนิคการเลือกซื้อบ้านหลุดจำนองกัน มี 5 ข้อดังต่อไป

  1. ต้องรู้ความต้องการของตัวเองก่อน

เราต้องรู้ว่าซื้อบ้านหลุดจำนองนี้ไปเพื่ออะไร จะเป็นการลงทุนหรือเพื่ออยู่อาศัยเอง
ถ้าเป็นการลงทุน ควรพิจารณาเรื่องแหล่งซื้อเป็นอันดับแรกก่อน
โดยจะมีหน่วยงานจัดจำหน่ายอยู่ 2 สถาบัน คือธนาคาร และกรมบังคับคดี
สามารถไปขอดูรายชื่อบ้านที่เปิดขายได้ แต่สำหรับกรมบังคับคดีอาจต้องรอจังหวะเปิดประมูลเสียก่อน

  1. เลือกบ้านหลุดจำนองในโซนทำเลทอง

การเลือกบ้านหลุดจำนอง ในโซนทำเลทอง ถือว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ควรพิจารณา
เพราะถ้าหากตั้งอยู่ในโซนทำเลทอง อย่างทองหล่อ สยาม ชิดลม
จะมีความต้องการเช่าบ้านหรือซื้อบ้านมือสองสูงมาก
เหตุนี้เองนักลงทุนต่างๆ จึงควรเลือกบ้านหลุดจำนองในโซนนี้
รับรองว่าสามารถปล่อยต่อให้เช่าได้กำไรดีแน่นอน

 

  1. เช็คประวัติบ้านให้ละเอียดโปร่งใส

หลายคนมักจะกังวลว่า “บ้านหลุดจำนองหรือบ้านมือสอง” จะมีประวัติไม่ค่อยดี
ยิ่งมาจากกรมบังคับคดีด้วยแล้วก็ยิ่งกลัวว่าจะติดคดี
เราจึงต้องตรวจสอบด้วยตัวเองได้แบบละเอียดโปร่งใส
และยังสามารถจูงมือผู้รับเหมาไปร่วมตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่ธนาคารหรือกรมบังคับคดีได้เลย

  1. เลือกช่วงเวลาลงทุน

ถ้าใครจะซื้อ “บ้านหลุดจำนอง” ไว้ลงทุน จะต้องเลือกช่วงเวลาซื้อเพื่อให้ได้ต่ำกว่าตลาดแบบเกินครึ่ง
และต้องเลือกปล่อยต่อให้ถูกช่วงอีกด้วย หากหากอยู่ในจังหวะขาขึ้นของเศรษฐกิจ
หรือทำเลที่บ้านตั้งอยู่ มีโปรเจคโครงการอสังหาเด่น ๆ เกิดขึ้น ย่อมส่งผลให้เรียกราคาบ้านได้ในระดับสูง

  1. ตรวจดูสภาพบ้าน สามารถต่อรองราคาได้

ราคาบ้านหลุดจำนองที่ถูกขายทอดตลาด มักมีราคาที่ต่ำกว่าปกติอยู่แล้ว
แต่เราสามารถขอดูสภาพบ้านกับธนาคารและกรมบังคับคดีได้
หากตรวจดูแล้ว สภาพบ้านเกินเยี่ยวยาก็สามารถต่อรองราคาให้ลดลงได้อีก
ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดต้นทุน เมื่อนำไปขายต่อ

ถ้าคุณต้องการซื้อบ้านหลุดจำนอง แต่ยังไม่รู้รายละเอียดรวมไปถึงขั้นตอนการซื้อขาย
สามารถปรึกษาได้ที่ธนาคารและกรมบังคับคดีได้เลย
เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์คอยให้แนะนำให้กับคุณค่ะ
บ้านหลุดจำนอง ดีจริงหรือ?

—————————————————–

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

จํานํา กับ จํานอง ต่างกันอย่างไร
30
Mar 23
จํานํา กับ จํานอง ต่างกันอย่างไร

ช่วงนี้หลายคนอาจได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจเพราะโควิดไม่มากก็น้อย หนึ่งในทางออกที่ใช้คือการนำทรัพย์สินที่มีออกมาขาย หรือนำทรัพย์สินที่มีค่าไป จำนำ หรือ จำนอง  หลายคนก็ยังสงสัยว่า จํานํา กับ จํานอง ต่างกันอย่างไร วันนี้เราจะพาทุกคนไปไข้ข้อสงสัยนี้กัน มาดูกัน จำนอง จำนำ แตกต่างกันอย่างไร การจำนอง การที่ผู้จำนองนำทรัพย์สินที่มีค่านำมาประกันเพื่อกู้เงินมาใช้  โดยใช้เป็นหลักประกันคือ อสังหาริมทรัพย์  คือ ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น คอนโด โฉนดที่ดิน บ้าน อาคารพาณิชย์ โดยการจำนอง ผู้จำนองต้องนำสินทรัพย์ไปจดทะเบียนไว้กับผู้รับจำนอง ซึ่งต้องกระทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่กรมที่ดินเท่านั้น ทั้งนี้ไม่ต้องโอนที่ดินหรือทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้รับจำนอง สาระสำคัญ ทรัพย์สินที่นำมาจำนองจะต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ ผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบสินทรัพย์ให้แก่ผู้รับจำนอง โดยกรรมสิทธิ์ยังเป็นของผู้จำนองอยู่ ผู้จำนองเป็นลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกก็ได้ มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร ต้องจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที ณ กรมที่ดิน ในกรณีที่ผู้จำนองไม่สามารถชำระหนี้ได้ เจ้าหนี้ต้องทำการฟ้องร้องเพื่อบังคับจำนองโดยการที่จะนำทรัพย์สินไปข […]

อ่านเพิ่มเติม
มรดกที่ดิน คืออะไร ใครมีสิทธิรับ และ ต้องเตรียมอะไรบ้าง?
28
Jun 23
การรับมรดกที่ดิน คืออะไร ใครมีสิทธิรับ และ ต้องเตรียมอะไรบ้าง?

ที่ดินเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี คนรุ่นเก่าๆ จึงมักชอบซื้อที่ดินเก็บไว้หลายๆ แปลง ไม่ว่าจะซื้อไว้ลงทุนหรือซื้อไว้เป็นที่อยู่อาศัย ที่ดินจึงเป็นมรดกอีกอย่างหนึ่งที่หลายๆ ครอบครัวส่งต่อสืบทอดกันมาแบบรุ่นสู่รุ่น บางคนอาจจะยินดีและดีใจที่ได้รับ แต่ๆๆๆ อย่ามัวแต่ดีใจกันไปนะคะ เพราะเมื่อได้รับมรดกมาแล้ว นั่นหมายถึงการตามมาด้วยการจัดการต่าง ๆ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย  การแบ่งมรดกที่ดินจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรพลาด ลองมาดูกันว่า การรับ มรดกที่ดิน คืออะไร ใครมีสิทธิรับ และ ต้องเตรียมอะไรบ้าง?  การรับ มรดกที่ดิน คือ เมื่อผู้ที่มีชื่อในเอกสารสิทธิเกี่ยวกับที่ดิน (เช่น โฉนดที่ดิน หรือ น.ส. หรือ น.ส.3 ก. หรือ น.ส.3 ข.) ได้ถึงแก่กรรมไป ในทางกฎหมายแล้วที่ดินเหล่านั้นก็จะถือเป็นมรดก ซึ่งจะตกทอดแก่ทายาทของผู้ตายโดยสิทธิตามกฎหมายหรือโดยพินัยกรรมที่เจ้ามรดกทำไว้ สิทธิได้รับมรดกที่ดินจะตกเป็นของใครบ้าง ทางกฎหมายผู้ที่มีสิทธิรับมรดกที่ดินออกเป็น 2 รูปแบบ กฎหมายมรดกที่ดินกำหนดว่า ผู้ได้รับมรดกที่ดินต้องมีสิทธิตามพินัยกรรม ผู้ได้รับมรดกที่ดินโดยสิทธิตามพินัยกรรม หรือผู้รับพินัยกรรม คือผู้ที่เจ้าข […]

อ่านเพิ่มเติม
จำนอง- ขายฝากคอนโดต้องขอเอกสารอะไรจากนิติบ้าง?
16
Sep 23
จำนอง-ขายฝาก คอนโดต้องขอเอกสารอะไรจากนิติบ้าง?

รู้หรือไม่ว่าคอนโดก็สามารถทำการจำนอง- ขายฝากคอนโด ได้เช่นกัน หากเราต้องการเงินด่วน คอนโดเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่สามารถช่วยคุณได้ โดยการจำนอง- ขายฝากคอนโด จะมีการเตรียมเอกสารแตกต่างจากที่ดินหรือบ้านเล็กน้อย เพราะมีเอกสารที่ต้องขอจากนิติบุคคลที่ดูแลคอนโดนั้นๆ ด้วย จะมีเอกสารอะไรที่ต้องเตรียมบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ เอกสารที่ต้องเตรียมในการ “ขายฝาก” คอนโดสำหรับบุคคลธรรมดา บัตรประจำตัวประชาชน ตัวจริง (พร้อมสำเนา) ทะเบียนบ้าน (พร้อมสำเนา) หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด อช.2 หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว-ชื่อสกุล ตัวจริง (พร้อมสำเนา) *ถ้ามี ทะเบียนสมรส (สำเนา) *ถ้ามี ทะเบียนหย่า , ใบมรณบัตร (สำเนา) *ถ้ามี หนังสือยินยอมให้ทำนิติกรรมของคู่สมรส (หากมีคู่สมรส แต่คู่สมรสไม่ได้มาทำธุรกรรมด้วย) ใบปลอดค่าสาธารณูปโภค ( ค่าส่วนกลาง ค่าน้ำ ค่าไฟ ) จากรายการเอกสารข้างต้นจะเห็นว่ามี “ใบปลอดค่าสาธารณูปโภค” *ซึ่งเอกสารส่วนนี้เราจะต้องขอผ่านนิติบุคคลคอนโดเท่านั้น* โดยใบปลอดค่าสาธารณูปโภคหรือที่เรียกกันว่า “ใบปลอดหนี้” คือ เป็นเอกสารสำคัญในการดำเนินการทำนิติกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ – ขาย หรือการขายฝาก รวมถึงการยกมรดก และ […]

อ่านเพิ่มเติม