ทำนิติกรรมขายฝากทรัพย์ ใครเป็นคนจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียม
25
Oct 24

เมื่อคุณตัดสินใจขายฝากทรัพย์ หรือ ทำนิติกรรมขายฝาก คำถามที่หลายคนยังคงสงสัย คือ ค่าธรรมเนียมการขายฝาก ใครเป็นคนจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม? เดี๋ยววันนี้จะมาไขข้อสงสัยให้ทุกคนกันค่ะ

ก่อนอื่นเลยมาทำความรู้จักกับคำว่า ขายฝาก กันก่อนค่ะ

การขายฝาก คือ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ถูกกฎหมาย มีกฎหมายคุ้มครองทั้งผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝาก(นักลงทุน) โดยการขายฝาก คือ การซื้อขายทรัพย์สินอย่างหนึ่งที่กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้ซื้อฝากทันทีที่มีการทำสัญญา แต่มีเงื่อนไขตกลงว่าผู้ขายฝากสามารถไถ่ทรัพย์สินคืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดและวงเงินที่ตกลงกัน โดยจะมีค่าธรรมเนียมในการขายฝากทรัพย์ และค่านิติกรรมอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในการทำธุรกรรมนั้นๆ 

 

ทำไมต้องจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียม

การจ่ายค่าภาษี และ ค่าธรรมเนียมการขายฝาก ในการทำนิติกรรมขายฝากทรัพย์มีความสำคัญ ดังนี้

  1. ปฏิบัติตามกฎหมาย การจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียมเป็นข้อบังคับตามกฎหมายที่ช่วยให้การทำธุรกรรมเป็นไปตามข้อกำหนดและถูกต้องตามหลักกฎหมาย
  2. บันทึกข้อมูลทางการ ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนช่วยให้การขายฝากทรัพย์สินถูกบันทึกในระบบทะเบียนอย่างเป็นทางการ ทำให้สามารถตรวจสอบความเป็นเจ้าของได้อย่างชัดเจน
  3. ป้องกันการฟ้องร้อง การจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียม ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดข้อพิพาทในอนาคต เนื่องจากมีเอกสารและการบันทึกที่ชัดเจน
  4. สนับสนุนการบริการของรัฐ ค่าภาษีที่จ่ายให้กับรัฐจะถูกนำไปใช้ในการพัฒนาสาธารณูปโภคและบริการต่างๆ เช่น การศึกษา สาธารณสุข และโครงสร้างพื้นฐาน
  5. การสร้างความมั่นคงให้กับตลาด การปฏิบัติตามกฎหมายและการจ่ายภาษีช่วยให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์มีความมั่นคงและเชื่อถือได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุน
  6. ความโปร่งใสในการทำธุรกรรม การมีค่าธรรมเนียมและภาษีช่วยให้การทำธุรกรรมมีความโปร่งใส ลดโอกาสในการทุจริตและการกระทำที่ไม่ถูกต้อง

การจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียมจึงมีความสำคัญไม่เพียงแต่สำหรับผู้ที่ทำธุรกรรมเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของระบบเศรษฐกิจโดยรวมอีกด้วย

 

อัตราภาษีและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้อง คือ 

  • อัตราภาษีการโอน และ ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน

 

ในกรณีบุคคลธรรมดา มีค่าใช้จ่าย ดังนี้

  • ค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท
  • ค่าพยาน 20 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการโอน 2% คิดจากราคาประเมินจากสำนักงานที่ดิน หรือราคาขายฝาก
  • ค่าอากรแสตมป์ 0.5% คิดจากราคาซื้อ-ขายฝาก แต่ถ้าราคาซื้อ-ขายฝาก ต่ำกว่าราคาประเมิน ให้ใช้ราคาประเมินราชการ โดยทุก 200 บาท หรือเศษของ 200 บาท เสียค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมินที่ดิน หรือราคาขายฝาก ขึ้นอยู่ว่าราคาใดสูงกว่า (เฉพาะการขายฝากที่อยู่ในหลักเกณฑ์)
  • ค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คิดตามเกณฑ์ของกรมสรรพากร

 

ในกรณีนิติบุคคล มีค่าใช้จ่าย ดังนี้

  • ค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท
  • ค่าพยาน 20 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการโอน 2% คิดจากราคาประเมินจากสำนักงานที่ดิน หรือราคาขายฝาก
  • ค่าอากรแสตมป์ 0.5% คิดจากราคาซื้อ-ขายฝาก แต่ถ้าราคาซื้อ-ขายฝาก ต่ำกว่าราคาประเมิน ให้ใช้ราคาประเมินราชการ โดยทุก 200 บาท หรือเศษของ 200 บาท เสียค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมินที่ดิน หรือราคาขายฝาก ขึ้นอยู่ว่าราคาใดสูงกว่า (เฉพาะการขายฝากที่อยู่ในหลักเกณฑ์)
  • ค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 1% ของราคาซื้อ-ขายหรือราคาประเมินราชการ (อย่างใดอย่างหนึ่งที่มูลค่าสูงกว่า)

ทำนิติกรรมขายฝากทรัพย์ ใครเป็นคนจ่าย ค่าธรรมเนียมการขายฝาก

ในค่านิติกรรมอื่นๆ มีค่าใช้จ่าย ดังนี้

  • ค่าต่อสัญญาขายฝาก แปลงละ 50 บาท
  • ค่าไถ่ถอนการขายฝาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สำนักงานที่ดินอีกครั้ง ทั้งในกรณีบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โดยต้องเสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามเกณฑ์ของกรมสรรพากร ค่าอากร 0.50% ค่าคำขอและค่าพยาน เสมือนการซื้อกลับมา โดยได้รับยกเว้นค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ และค่าธรรมเนียม (โดยจะคิดค่าธรรมเนียมเหลือ 50 บาทต่อแปลง)

 

ทำนิติกรรมขายฝาก ใครจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียม

  • การขายฝาก ผู้ขายฝากจะเป็นผู้ชําระค่าธรรมเนียม แต่กฎหมายก็ไม่ได้ห้าม หากคู่กรณีจะตกลงกันให้ผู้ซื้อฝากเป็นผู้ออกก่อน ทั้งนี้ผู้ไถ่จะต้องชดใช้ให้แก่ผู้ซื้อฝากพร้อมกับการชําระสินไถ่ (ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา ๕๐๐ วรรค แรก) 

 

สรุปส่งท้าย ค่าธรรมเนียมการขายฝาก ผู้ขายฝากจะต้องเป็นคนออกค่าใช้จ่าย นอกจากนี้การจ่ายค่าธรรมเนียมยังสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนอีกด้วย รายละเอียดค่าธรรมเนียมขายฝากที่ดิน บ้าน คอนโดและอสังหาฯ อัพเดต ปี 2567 ประกอบด้วยค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน, ค่าอากรแสตมป์, ภาษีธุรกิจเฉพาะ, ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และค่าธรรมเนียมอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ค่าประเมินราคาทรัพย์สิน ค่าทนายความ และค่านายหน้า

 

ใครที่ยังสงสัยว่า… ค่าธรรมเนียมขายฝาก คิดยังไง จริงๆ แล้วค่าธรรมเนียม ขายฝากมีการเปลี่ยนแปลงได้ จึงควรตรวจสอบข้อมูลที่เป็นปัจจุบันจากสำนักงานที่ดินในพื้นที่ที่คุณจะดำเนินการ และควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี หรือสอบถามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานสรรพากรและสำนักงานที่ดิน เพื่อให้ได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องและเหมาะสมกับกรณีของคุณค่ะ 

ต้องการเงินด่วน Property4Cash ยินดีให้คำปรึกษาและช่วยเพิ่มทุนให้กับทุกคน เข้าถึงเงินด่วน เพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจ ใช้จ่ายฉุกเฉิน ไม่เช็คแบล็คลิส ไม่เช็คเครดิตบูโร ไม่มีนโยบายยึดทรัพย์

อนุมัติภายใน 24 ชั่วโมง รวดเร็วทันใจ นึกถึง ขายฝากจำนอง นึกถึง Property4Cash

 

—————————————————–

Property4Cash ยินดีให้คำปรึกษาและช่วยเพิ่มทุนให้กับทุกคนที่ต้องการเงินด่วน และต้องการเงินเพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจ ไม่เช็คแบล็คลิส ไม่เช็คเครดิตบูโร

อนุมัติรวดเร็วทันใจ นึกถึง ขายฝากจำนอง นึกถึง Property4Cash

Line: @Property4Cash

โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash

ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

20
May 24
ไขข้อข้องใจ จำนอง ขายฝาก ต่างกันอย่างไร สัญญาแบบไหนได้เงินเยอะกว่า ?

ช่วงหลายปีที่ผ่านมาการขายฝาก จำนอง กลายเป็นทางเลือกหลักสำหรับผู้ที่มีทรัพย์สิน ที่ต้องการเงินด่วนเพื่อใช้จ่ายในธุรกิจหรือใช้จ่ายในครอบครัว เมื่อกระแสความต้องการที่มากขึ้น คำถามที่ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรา ได้รับกันมาเยอะมากคือ ขายฝาก กับ จำนอง สัญญาแบบไหนได้เงินเยอะกว่ากัน ?    วันนี้ Property4Cash จะมาตอบคำถามนี้ให้กับทุกคน เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจทำสัญญาขายฝาก – จำนอง ถ้าพร้อมไปกันเลยค่ะ     ขายฝาก จำนอง ต่างกันอย่างไร ? ก่อนที่จะพูดถึงจำนวนเงินกัน ขออธิบายสั้นๆเกี่ยวกับความต้องของการขายฝากและจำนองกันก่อน  การขายฝากนั้น ผู้ขายฝากต้องโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้ผู้รับซื้อฝาก โดยผู้ขายฝากสามารถไถ่ทรัพย์สินคืนได้ตามเงื่อนไขและเวลาที่กำหนด   ในส่วนของการจำนอง คือการนำทรัพย์สินมาเป็นหลักประกันเพื่อขอกู้และชำระหนี้  โดยผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินให้ผู้รับจำนอง โดยทรัพย์สินยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้จำนองอยู่        ขายฝาก กับ จำนอง สัญญาแบบไหนได้เงินเยอะกว่ากัน ? อ่านมาถึงตรงนี้คงจะเข้าความต่างกันมากขึ้นแล้ว สำหรับคำถามที่ว่าขายฝาก และ จำนอง แบบไหนที่ได้เงินมากกว่า คำตอบ […]

อ่านเพิ่มเติม
10
May 24
5 ธุรกิจแฟรนไชส์ น่าลงทุนประจำปี 2567

เบื่องานประจำ อยากมีธุรกิจส่วนตัว แต่ยังคิดไม่ออกจะขายอะไร ไม่รู้จะเริ่มยังไง การลงทุนทำ ธุรกิจแฟรนไชส์ จึงกลายเป็นคำตอบ เพราะสามารถสร้างรายได้ง่าย มาพร้อมกับระบบการทำงาน มีฐานลูกค้าเดิมแถมมีที่ปรึกษาให้  ปัจจุบันมี ธุรกิจแฟรนไชส์ เกิดขึ้นมากมาย แต่จะมีธุรกิจอะไรบ้างที่น่าสนใจ ไปดูกันเลย   แฟรนไชส์ธุรกิจกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม  เป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง เพราะปัจจัยหลักในการใช้ชีวิตของทุกคนที่ต้องกิน ดื่ม ในทุกวัน ธุรกิจแฟรนไชส์กลุ่มนี้เลยเป็นกลุ่มที่น่าลงทุนอย่างมาก โดยธุรกิจแฟรนไชส์นี้มีตั้งแต่ร้านอาหารสตรีทฟู้ด ร้านอาหารจานด่วน ร้านกาแฟ และร้านเบเกอรี่  ซึ่งเป็นธุรกิจที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี โดยแฟรนไชส์อาหารและเครื่องดื่ม ที่น่าสนใจ ยกตัวอย่างเช่น ไก่ย่างห้าดาว, ก๋วยเตี๋ยวเรือ ป.ประทีป, MIXUE, ชาตรามือ เป็นต้น   แฟรนไชส์ธุรกิจค้าปลีก  ธุรกิจค้าปลีกยังเป็นธุรกิจที่น่าสนใจอีกเช่นเคย ผู้บริโภคยังมีความต้องการซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกในชีวิตประจำวัน  สำหรับกลุ่มนี้ประกอบไปด้วย ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายยา ร้านอุปกรณ์ก่อสร้าง หรือร้านเครื่องเขีย […]

อ่านเพิ่มเติม
กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน มีแบบไหนบ้างนะ?
21
Nov 23
กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน มีแบบไหนบ้างนะ?

เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ของ กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน กันว่าคืออะไร? เพื่อที่ว่าเราจะเข้าใจบทบาทรวมถึงบริบทกันได้มากขึ้น สำหรับคนที่กำลังมีปัญหาว่าจะแบ่งสิทธิ์การถือครองร่วมในที่ดินอย่างไร? ซึ่งก็จะมีหลายรูปแบบด้วยกันค่ะ กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน หมายถีง นิติกรรมการซื้อการขายหรือเป็นการให้ในที่ดินซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้ นั่นก็คือ เป็นการขายหรือให้ในบางส่วนโดยให้สังเกตดูตรงรายชื่อในหนังสือแสดงสิทธิ์ที่ดิน ว่าจะมีชื่อเจ้าของที่ดินร่วมมากกว่า 1 คนขึ้นไป เช่น ที่ดิน 100 ไร่ มีผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันหลายคน . การถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน แบบต่างๆ มีแบบไหนบ้าง ? การแบ่งที่ดินในแบบรวมๆ ผู้ร่วมจะไม่สามารถนำที่ดินผืนดังกล่าวไปขายได้จนกว่าได้รับอนุญาติจากผู้ร่วมคนอื่นๆ ลักษณะการแบ่ง โดยการแบ่งชัดเจนด้วยสัดส่วนคิดเป็น % เช่น มีบุตร 3 คน นั่นก็คือ นางสาวเอ นายบี นายซี แต่ในขณะนั้น บิดายังมีชีวิตอยู่และยังไม่ได้ทำเรื่องโอนที่ดินเป็นเรื่องเป็นราว ดังนั้น ความต้องการที่จะให้มีการถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินถึงเกิดขึ้น โดยมีรูปแบบง่ายๆ นั่นก็คือ สมาชิกที่ต้องการจะมีกรรมสิทธิ์มาตกลงและ คุยกันก่อนว่ารู […]

อ่านเพิ่มเติม