จริงหรือไม่? เช็คเครดิตบูโรบ่อยๆ ขอสินเชื่อไม่ผ่าน!!
28
Nov 24

จะขอสินเชื่อแต่ละทีก็ดูจะเป็นเรื่องยุ่งยาก ต้องเตรียมเอกสารเยอะแยะไปหมด ไหนจะสลิปเงินเดือน ข้อมูลเครดิตบูโร หรือกระทั่งข้อมูลส่วนตัวต่างๆ แล้วถ้ายิ่งยื่นขอสินเชื่อพร้อมๆ กัน หลายธนาคารเอกสารที่ใช้ยื่นก็คงไม่น้อย ต้องกอปปี้ไว้หลายๆ ฉบับ แม้เอกสารจะครบถ้วน ก็ไม่ได้การันตีว่าจะขอสินเชื่อผ่าน… 

และในกรณีที่เรา เช็คเครดิตบูโรบ่อยๆ จะขอสินเชื่อไม่ผ่านจริงหรอ?! วันนี้ Property4Cash มีคำตอบมาฝากเพื่อนๆ กันค่ะ

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า เครดิตบูโร คืออะไร?

เครดิตบูโร คือ องค์กรหรือสถาบันที่เก็บรวบรวมข้อมูลเครดิตของบุคคลและนิติบุคคลที่เป็นลูกค้าของสถาบันการเงินต่างๆ เช่น ธนาคาร บริษัทบัตรเครดิต หรือผู้ให้สินเชื่อ โดยมีหน้าที่หลักในการจัดทำรายงานข้อมูลเครดิต (Credit Report) เพื่อให้สถาบันการเงินใช้ประเมินความน่าเชื่อถือ และความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้าเมื่อลูกค้าขอสินเชื่อ

ข้อมูลที่เครดิตบูโรเก็บ จะเป็น

  • ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ นามสกุล เลขบัตรประชาชน ที่อยู่ วันเกิด
  • ข้อมูลบัญชีสินเชื่อ เช่น ประเภทสินเชื่อ (บัตรเครดิต, สินเชื่อบ้าน, สินเชื่อรถยนต์ ฯลฯ) วงเงินที่ได้รับอนุมัติ ยอดคงค้าง ประวัติการชำระหนี้ย้อนหลัง 24 เดือน
  • ข้อมูลการผิดนัดชำระหนี้ เช่น การค้างชำระหนี้เกินกำหนด การถูกฟ้องร้องหรือยึดทรัพย์
  • ข้อมูลการขอสินเชื่อ รายละเอียดการยื่นขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน 

 

เครดิตบูโรในประเทศไทย จัดการโดย บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (National Credit Bureau – NCB) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้ดำเนินการเก็บและจัดการข้อมูลเครดิตของประชาชนและนิติบุคคลในระบบการเงินไทย 

 

โดยความสำคัญของเครดิตบูโร

  • สำหรับลูกค้า หรือ บุคคลทั่วไป จะเป็นตัวชี้สถานะการเงินของตัวเองได้ เช่น ยอดหนี้คงค้างหรือประวัติการชำระหนี้ เพื่อปรับปรุงและบริหารจัดการการเงินได้ดีขึ้น
  • สำหรับสถาบันการเงิน ใช้ข้อมูลเครดิตในการประเมินความเสี่ยงก่อนปล่อยสินเชื่อ ลดโอกาสเกิดหนี้เสีย
  • สำหรับระบบเศรษฐกิจ ช่วยสร้างความมั่นคงให้กับระบบการเงิน โดยส่งเสริมให้มีการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม

 

วิธีตรวจสอบข้อมูลเครดิตบูโร สามารถขอรายงานเครดิตของตัวเองได้ผ่านช่องทางต่างๆ อาทิ

  • สำนักงานเครดิตบูโร (สำนักงานใหญ่หรือตามจุดบริการ) 
  • ธนาคารที่ร่วมบริการ เช่น ผ่านแอปพลิเคชันโมบายแบงก์กิ้ง
  • ตู้ ATM หรือบริการออนไลน์ของธนาคารบางแห่ง

โดยจะมีอัตราค่าบริการขอรายงานเครดิตโดยทั่วไปอยู่ที่ประมาณ 100 บาท ต่อครั้ง

 

ข้อควรรู้ : เครดิตบูโร ไม่ใช่หน่วยงานติดตามหนี้ เป็นเพียงจัดเก็บข้อมูลเครดิตเท่านั้น ไม่มีหน้าที่โทรติดตามหนี้

 

การที่ “ติดเครดิตบูโร” หมายถึง คุณมีข้อมูลการผิดนัดชำระหนี้ในรายงานเครดิต ซึ่งอาจส่งผลต่อการขอสินเชื่อในอนาคต และ ประวัติการชำระหนี้ที่ดี (จ่ายตรงเวลา) จะช่วยสร้างเครดิตที่ดีและเพิ่มโอกาสในการได้รับอนุมัติสินเชื่อ แต่หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับรายงานเครดิตของคุณ สามารถติดต่อเครดิตบูโรโดยตรง เพื่อแก้ไขข้อมูลที่ผิดพลาดได้… 

สรุปให้ฟัง! ในกรณีที่ยื่นพิจารณาขอสินเชื่อ แต่โดนธนาคารปฏิเสธกลับมา โดยบอกว่า ท่านติด Blacklist จากเครดิตบูโร ทำให้ยื่นขอสินเชื่อไม่ผ่าน!! ซึ่งต้องบอกก่อนว่าข้อมูลนี้ ไม่เป็นความจริงค่ะ เพราะในความเป็นจริงเครดิตบูโรไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือ มีสิทธิอนุมัติ หรือ ร่วมตัดสินใจให้สินเชื่อใคร เพราะเครดิตบูโรไม่เคยมีหน้าที่จัดทำ และขึ้นบัญชี Blacklist ให้กับใครในฐานข้อมูล ทั้งในรายงานข้อมูลเครดิตก็ไม่มีคำว่า Blacklist อีกด้วยค่ะ

 

เครดิตบูโรมีหน้าที่เพียงจัดเก็บรักษา รวบรวม และประมวลผลตามที่สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกจัดส่งให้เท่านั้น! ฉะนั้นแล้วการที่โดนปฏิเสธสินเชื่อ หรือ เช็คเครดิตบูโรบ่อยๆ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการอนุมัติ พิจารณาให้ผ่าน แต่อาจเกิดจากปัจจัยอื่นๆ มากกว่า เช่น รายได้ไม่ผ่านเกณฑ์ที่สถาบันการเงินแต่ละแห่งกำหนด หรือข้อมูลที่ปรากฏในเครดิตบูโร ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของสถาบันการเงินที่ขอกู้ ซึ่งอาจเป็นผลจากท่านมีประวัติกาชำระหนี้ที่ไม่ดี หรือผิดนัดชำระกับสถาบันการเงิน

 

นอกจากนี้ เมื่อถูกปฏิเสธไม่ให้สินเชื่อ โดยอ้างว่า… เป็นเพราะเครดิตบูโร ก็มีกฎหมายที่คุ้มครองดูแลท่าน คือ “พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545” ได้กำหนดการคุ้มครองให้ความเป็นธรรมแก่เจ้าของข้อมูล โดยคุณสามารถตรวจเครดิตบูโรฟรี เมื่อขอสินเชื่อไม่ผ่าน โดยธนาคารแจ้งเหตุผลว่าเกี่ยวข้องกับเครดิตบูโร

 

แต่หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องการเงินด่วน แต่ติดข้อมูลเครดิตบูโร ไม่ต้องกังวลเลยค่ะ เพราะ Property4Cash เป็นสินเชื่อโฉนดแลกเงิน ที่อนุมัติไว ไม่ใช้คนค้ำ ไม่เช็คเครดิตบูโร แถมยังให้วงเงินสูงสุดถึง 100 ล้านบาท ต้องการเงินด่วน เราก็พร้อมช่วยเหลือ Property4Cash : เงินด่วนอสังหา รับจำนองและขายฝาก

 

—————————————————–

Property4Cash ยินดีให้คำปรึกษาและช่วยเพิ่มทุนให้กับทุกคนที่ต้องการเงินด่วน และต้องการเงินเพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจ ไม่เช็คแบล็คลิส ไม่เช็คเครดิตบูโร

อนุมัติรวดเร็วทันใจ นึกถึง ขายฝากจำนอง นึกถึง Property4Cash

Line: @Property4Cash

โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash

ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

8
Aug 24
โฉนดติดภาระ ทำจำนอง – ขายฝากได้ไหม

โฉนดติดภาระ ทรัพย์ติดภาระ ทำจำนอง – ขายฝากได้ไหม ธุรกรรมการจำนอง – ขายฝาก เป็นการนำเอาโฉนดที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง มาทำธุรกรรม เพียงแค่เจ้าของมีโฉนดบ้านคอนโด ที่ดิน หรือ อสังหาริมทรัพย์อื่นๆ ก็สามารถนำมาใช้จดจำนอง-ขายฝากได้ และที่สำคัญเป็นการทำธุรกรรมที่ถูกกฎหมายที่สำนักงานที่ดินโดยตรง ในปัจจุบันมีเจ้าของทรัพย์หลายๆ คนที่พบปัญหาต้องการเงินด่วน หมุนเงินไม่ทัน ต้องการนำเงินไปลงทุน หรือเป็นหนี้บัตรเครดิต หนี้สินต่างๆ และมีโฉนดที่ดิน บ้าน คอนโด หรือ อสังหาริมทรัพย์ต่างๆ เจ้าของทรัพย์ก็สามารถนำโฉนดมาทำธุรกรรมที่เรียกว่า จำนอง-ขายฝากได้ เป็นการทำธุรกรรมที่ได้เงินอย่างรวดเร็ว ถูกกฎหมาย ไม่เช็คเอกสารวุ่นวาย และอนุมัติไวอีกด้วย ซึ่งถือได้ว่าค่อนข้างสะดวกสำหรับบุคคล หรือเจ้าของกิจการที่ต้องการเงินด่วน และไม่อยากรอการอนุมัติสินเชื่อที่ค่อนข้างนาน ในกรณีที่ทรัพย์ไม่ปลอดภาระ หรือ เรียกว่า โฉนดติดภาระ ทรัพย์ติดภาระ เดิมอยู่ เช่น ติดจำนองธนาคาร ติดจำนอง-ขายฝากนายทุนเดิม ก็ไม่ต้องกังวลใจไปเลยเพราะเจ้าของทรัพย์สามารถนำโฉนดมาทำจำนอง-ขายฝากใหม่ได้และได้วงเงินเพิ่มอีกด้วย เพียงแค่ต้องอยู่ในเง […]

อ่านเพิ่มเติม
ทำนิติกรรมขายฝากทรัพย์ ใครเป็นคนจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียม
25
Oct 24
การทำนิติกรรม ใครเป็นคนจ่าย ค่าธรรมเนียมการขายฝาก

เมื่อคุณตัดสินใจขายฝากทรัพย์ หรือ ทำนิติกรรมขายฝาก คำถามที่หลายคนยังคงสงสัย คือ ค่าธรรมเนียมการขายฝาก ใครเป็นคนจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม? เดี๋ยววันนี้จะมาไขข้อสงสัยให้ทุกคนกันค่ะ ก่อนอื่นเลยมาทำความรู้จักกับคำว่า ขายฝาก กันก่อนค่ะ การขายฝาก คือ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ถูกกฎหมาย มีกฎหมายคุ้มครองทั้งผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝาก(นักลงทุน) โดยการขายฝาก คือ การซื้อขายทรัพย์สินอย่างหนึ่งที่กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้ซื้อฝากทันทีที่มีการทำสัญญา แต่มีเงื่อนไขตกลงว่าผู้ขายฝากสามารถไถ่ทรัพย์สินคืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดและวงเงินที่ตกลงกัน โดยจะมีค่าธรรมเนียมในการขายฝากทรัพย์ และค่านิติกรรมอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในการทำธุรกรรมนั้นๆ    ทำไมต้องจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียม:  การจ่ายค่าภาษี และ ค่าธรรมเนียมการขายฝาก ในการทำนิติกรรมขายฝากทรัพย์มีความสำคัญ ดังนี้ ปฏิบัติตามกฎหมาย การจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียมเป็นข้อบังคับตามกฎหมายที่ช่วยให้การทำธุรกรรมเป็นไปตามข้อกำหนดและถูกต้องตามหลักกฎหมาย บันทึกข้อมูลทางการ ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนช่วยให้การขายฝากทรัพย์สินถูกบันทึกในระบบทะเบียนอย่างเป็นทางก […]

อ่านเพิ่มเติม
ทรัพย์หลุดขาย ฝากผู้รับซื้อฝากจะทำยังไง?
31
Aug 24
ทรัพย์หลุดขายฝากผู้รับซื้อฝากจะทำยังไง?

ทรัพย์หลุดขายฝาก ผู้รับซื้อฝากจะทำยังไง? การทำธุรกรรมขายฝาก เป็นสัญญาประเภทหนึ่งที่เจ้าของทรัพย์สิน (ผู้ขายฝาก) นำทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน บ้าน คอนโด อสังหาริมทรัพย์ต่างๆ มาให้กับอีกบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่า (ผู้รับซื้อฝาก) ถือกรรมสิทธิ์ชั่วคราว เพื่อขอเงินกู้หรือพูดกันให้เข้าใจง่ายๆว่า เอาโฉนดมาวางค้ำเป็นหลักประกัน เพื่อกู้เงินนำเงินไปใช้ก่อนเมื่อครบกำหนดสัญญาตามที่ตกลงกันก็นำเงินต้นมาไถ่ถอนคืน แต่ในระหว่างสัญญาก็จะมีค่าดอกเบี้ยที่ผู้ขายฝากจะต้องจ่ายให้แก้ผู้รับซื้อฝาก ในปัจจุบันนี้คนต้องการใช้เงินก้อน เงินด่วนเป็นจำนวนมากเจ้าของทรัพย์ก็นำโฉนดมาทำขายฝากกับทางนายทุนเป็นตัวเลขที่ตกลงกันทั้ง 2 ฝ่าย แต่เมื่อครบกำหนดสัญญาผู้ขายฝากไม่มาไถ่ถอนทรัพย์คืน จึงทำให้ทรัพย์หลุดไปเป็นของผู้รับซื้อฝากโดยทางกฎหมาย กรณีที่ ทรัพย์หลุดขายฝาก ผู้รับซื้อฝากจะต้องทำยังไงบ้าง และจะเสียค่าใช้จ่ายอะไรไหม? – กรณีที่ผู้รับซื้อฝากไม่ได้ส่งหนังสือแจ้งให้ทรัพย์ได้ทราบ ตามกฎหมายใหม่ต้องรอ 6เดือน ทรัพย์จะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากโดยสมบูรณ์ – ถ้าผู้รับซื้อฝากส่งหนังสือแจ้งทรัพย์แล้ว (ส่งหนังสือแจ้งทรัพย์ไม่น้อยกว่า […]

อ่านเพิ่มเติม