ต่ออายุสัญญาขายฝาก
29
Oct 24

รู้หรือยัง? เมื่อถึงระยะเวลาที่ต้องไถ่ถอนทรัพย์คืน แต่ยังไม่พร้อม!! สามารถ ต่ออายุสัญญาขายฝาก ได้นะ โดยการต่ออายุสัญญาขายฝาก คือ การขยายระยะเวลาในสัญญาขายฝาก เมื่อผู้ขายฝาก (เจ้าของทรัพย์สินเดิม) ยังไม่พร้อมหรือไม่สามารถไถ่ถอนทรัพย์สินคืนได้ภายในเวลาที่กำหนดเดิม จึงต้องทำการต่ออายุ เพื่อเพิ่มระยะเวลาในการไถ่ถอน โดยปกติการต่อสัญญาขายฝากนั้น ต้องทำเป็นหนังสือเพิ่มเติมและต้องระบุเงื่อนไขที่ชัดเจน เช่น ระยะเวลาต่ออายุ จำนวนเงินไถ่ถอน และดอกเบี้ย(ถ้ามี)

ในทางกฎหมาย การต่ออายุสัญญาขายฝากสามารถกระทำได้ โดยระยะเวลาสูงสุดไม่ควรเกิน 10 ปีสำหรับอสังหาริมทรัพย์

การต่อสัญญาขายฝากมีข้อดี คือ ช่วยให้ผู้ขายฝากมีเวลามากขึ้นในการหาเงินมาไถ่ถอนทรัพย์สินคืน แต่ต้องทำการต่อสัญญาก่อนสัญญาเดิมจะหมดอายุ ไม่เช่นนั้นสัญญาจะสิ้นสุด และทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้รับฝากทันที!

 

การต่ออายุ หรือ ขยายสัญญาขายฝาก มีขั้นตอนดำเนินและเอกสารอะไรบ้าง? วันนี้ Property4Cash มีรายละเอียดมาฝาก เพื่อให้ผู้ขายฝาก ได้เตรียมตัวล่วงหน้าที่จะต่ออายุสัญญา

 

ต่ออายุสัญญาขายฝาก ต้องทำ ณ สำนักงานที่ดิน เท่านั้น!

 

ก่อนครบกำหนดการไถ่ถอนขายฝาก ผู้รับซื้อฝากต้องทำหนังสือแจ้งทางไปรษณีย์แบบลงทะเบียนตอบรับให้ผู้ขายฝากทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน 

หากผู้ขายฝากไม่พร้อม หรือมีปัญหาขาดสภาพคล่อง ไม่สามารถไถ่ถอนทรัพย์คืนได้ ภายในระยะเวลาที่กำหนด กรณีนี้ผู้ขายฝากสามารถตกลงกับผู้รับซื้อฝาก เพื่อต่ออายุสัญญา หรือขยายอายุสัญญาได้เลย โดยก่อนครบกำหนดไถ่ถอน ทั้งสองฝ่ายจะต้องเดินทางไปยังสำนักงานที่ดิน เพื่อทำธุรกรรมต่ออายุสัญญาขายฝากให้ถูกต้อง และสลักด้านหลังโฉนดที่ดิน น.ส.4 หรือ หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด (อ.ช.2) ว่า “ขยายกำหนดเวลาไถ่ถอนจากขายฝาก ครั้งที่… กำหนด… ปี” 

ซึ่งจะต้องดำเนินการโดเจ้าพนักงาน ณ กรมที่ดินเท่านั้น ห้ามต่อสัญญาด้วยการพูดคุยกันเพียงปากเปล่า หรือทำเอกสารต่ออายุ ขยายสัญญากันเอง เพราะไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานตามกฎหมาย และยังเป็นช่องโหว่งให้เกิดการยึดทรัพย์ที่ขายฝากอีกด้วย

 ต่ออายุสัญญาขายฝาก

ขั้นตอนการต่ออายุ หรือ ขยายอายุสัญญาขายฝาก :

 

  1. ตรวจสอบสัญญาเดิม ตรวจสอบเงื่อนไขและระยะเวลาที่ระบุในสัญญาขายฝากเดิม เพื่อดูว่ามีการระบุการต่ออายุสัญญาหรือไม่ และควรทำการต่ออายุก่อนที่สัญญาจะหมดอายุ
  2. ติดต่อผู้รับซื้อฝาก ผู้ขายฝาก(เจ้าของทรัพย์เดิม) ควรแจ้งความประสงค์ในการขอต่ออายุสัญญากับผู้รับซื้อฝาก(ผู้รับฝากทรัพย์) และตกลงกันในรายละเอียดการต่ออายุ เช่น ระยะเวลาต่ออายุ จำนวนเงินไถ่ถอน และอัตราดอกเบี้ย
  3. ร่างข้อตกลงใหม่หรือเพิ่มเติมสัญญาเดิม เมื่อผู้รับซื้อฝากและผู้ขายฝากตกลงกันแล้ว ให้ทำข้อตกลงใหม่หรือเพิ่มเติมในสัญญาเดิม โดยการระบุเงื่อนไขการต่ออายุอย่างชัดเจน การร่างสัญญาควรทำเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้มีผลทางกฎหมาย
  4. ลงนามในสัญญาขายฝากต่ออายุ ผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝากต้องลงนามในสัญญาต่อหน้าเจ้าหน้าที่กรมที่ดินหรือผู้มีอำนาจทางกฎหมาย พร้อมให้พยานลงนามเป็นพยาน เพื่อรับรองความถูกต้องของการต่ออายุสัญญา
  5. ยื่นคำร้องและจดทะเบียนต่ออายุที่กรมที่ดิน หลังจากลงนามในสัญญาแล้ว ให้ผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝากไปที่สำนักงานที่ดินที่เกี่ยวข้องเพื่อยื่นคำร้องต่ออายุสัญญา เจ้าหน้าที่จะบันทึกการต่ออายุและเพิ่มระยะเวลาในเอกสารทะเบียนทรัพย์สิน
  6. เก็บสำเนาสัญญาต่ออายุ ทั้งสองฝ่ายควรเก็บสำเนาสัญญาที่ได้รับการต่ออายุอย่างถูกต้องจากกรมที่ดินไว้เพื่อใช้เป็นหลักฐาน

 

ข้อควรระวัง

  • การต่อสัญญาขายฝากต้องทำก่อนที่สัญญาเดิมจะหมดอายุ ไม่เช่นนั้นทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝาก
  • ระยะเวลาการต่ออายุสัญญาขายฝากมีข้อจำกัดตามกฎหมาย เช่น อสังหาริมทรัพย์ไม่เกิน 10 ปี และสังหาริมทรัพย์ไม่เกิน 3 ปี

 

เอกสารสำหรับการทำธุรกรรมต่ออายุสัญญา

ผู้ขายฝาก

  • บัตรประชาชนตัวจริง
  • ทะเบียนบ้านตัวจริง
  • เอกสารการเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี)
  • คู่สัญญาขายฝาก

 

ผู้รับซื้อฝาก หรือ นักลงทุนรับซื้อฝาก

  • โฉนดที่ดิน น.ส.4 หรือ หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด (อ.ช.2) ที่รับซื้อฝาก ฉบับจริง
  • สัญญาขายฝาก ฉบับจริง
  • บัตรประชาชนตัวจริง (ใช้สำเนากรณีมอบอำนาจ)
  • ทะเบียนบ้านตัวจริง (ใช้สำเนากรณีมอบอำนาจ)
  • หนังสือมอบอำนาจที่ดิน (ท.ด. 21) หรือ หนังสือมอบอำนาจสำหรับห้องชุด (อ.ช. 21) (กรณีให้บุคคลอื่นทำธุรกรรมแทน)

 

เพียงเท่านี้ก็สามารถ ต่ออายุสัญญาขายฝาก ได้แล้ว… 

 

สำหรับใครที่ต้องการใช้เงินด่วน สามารถขายฝาก จำนองอสังหาฯ กับ Property4Cash ได้แล้ววันนี้ ปรึกษา ฟรี! อนุมัติไว ให้วงเงินสูง ดอกเบี้ยเริ่มต้นเพียง 0.75% ทุกขั้นตอนดำเนินการอย่างถูกกฎหมาย โดยทีมงานมืออาชีพ 

 

การขายฝาก จำนอง กับ Property4Cash บริการแบบมืออาชีพ ชัดเจน ถูกต้อง โปร่งใส ตรงไปตรงมา ต้องการเงินด่วน นึกถึง  Property4Cash เงินด่วนอสังหาฯ ต้องการขายฝากบ้าน ขายฝากคอนโด ขายฝากที่ดิน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 096 813 5989 หรือไลน์ : @property4cash

 

—————————————————–

Property4Cash ยินดีให้คำปรึกษาและช่วยเพิ่มทุนให้กับทุกคนที่ต้องการเงินด่วน และต้องการเงินเพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจ ไม่เช็คแบล็คลิส ไม่เช็คเครดิตบูโร

อนุมัติรวดเร็วทันใจ นึกถึง ขายฝากจำนอง นึกถึง Property4Cash

Line: @Property4Cash

โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash

ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

รีไฟแนนซ์ Retention ต่างกันอย่างไร?
26
May 23
Retention กับ Refinance ต่างกันอย่างไร?

เมื่อผ่อนบ้านมาได้สักระยะหนึ่งแล้วหลายคนก็เริ่มที่จะหาทางทำให้ดอกเบี้ยนั้นลดลง ซึ่งวิธีการที่เราคุ้นเคยกันนั้นคือการ รีไฟแนนซ์ แต่ยังมีอีกหนึ่งวิธีที่ง่ายและสะดวกกว่ามาก คือการ Retention แล้วทั้ง 2 วิธีนี้แตกต่างกันอย่างไร มาดูกันเลยค่ะ Retention เป็นการติดต่อขอลดอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารเดิม ในขณะที่ รีไฟแนนซ์ เป็นการนำที่อยู่อาศัยที่ผู้กู้ผ่อนชำระอยู่ มาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพื่อขอสินเชื่อใหม่มาปิดหนี้ยอดเงินกู้เดิมที่ยังเหลืออยู่ ทำให้หนี้ของเรากับเจ้าหนี้ ซึ่งก็คือ ธนาคารหรือสถาบันการเงินเดิมนั้นสิ้นสุดลง พร้อม ๆ กับการเกิดขึ้นของหนี้ใหม่กับธนาคารหรือสถาบันการเงินใหม่ ซึ่งข้อแตกต่างสามารถแบ่งได้ตามนี้ #สถาบันการเงิน Retention จะใช้ธนาคารหรือสถาบันการเงินเดิม ไม่ต้องหาสถาบันการเงินใหม่ Refinance จะต้องหาธนาคารหรือสถาบันการเงินใหม่ #การเตรียมเอกสาร Retention ไม่ต้องยุ่งยากในการเตรียมเอกสาร เนื่องจากธนาคารสามารถใช้เอกสารเดิมหลายฉบับที่ผู้กู้ใช้ยื่นขอสินเชื่อ Refinance เนื่องจากเป็นธนาคารหรือสถาบันการเงินใหม่ จึงต้องมีการเตรียมเอกสารใหม่ทั้งหมด #ระยะเวลาอนุมัติ Retention เนื่องจากมีข้อ […]

อ่านเพิ่มเติม
เมื่อนำบ้านไป ขายฝากบ้าน ยังสามารถอยู่อาศัยภายในบ้านได้หรือไม่?
30
Sep 24
เมื่อนำบ้านไปขายฝาก ยังสามารถอยู่อาศัยภายในบ้านได้หรือไม่?

ขายฝากบ้าน ขายฝากทรัพย์สิน เป็นหนึ่งในวิธีการจัดการทรัพย์สินที่หลายคนเลือกใช้เพื่อเข้าถึงเงินทุนอย่างรวดเร็ว แต่คำถามที่มักเกิดขึ้นคือ เมื่อนำบ้านไปขายฝากแล้ว เจ้าของบ้านเดิมยังสามารถอยู่อาศัยในบ้านหลังนั้นต่อไปได้หรือไม่? คำตอบสำหรับคำถามนี้มีรายละเอียดและเงื่อนไขที่ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อป้องกันการเกิดความสับสนและปัญหาในภายหลัง” ขายฝากบ้าน คืออะไร? การขายฝาก คือการทำสัญญาทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการขายอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน หรือที่ดิน  เป็นกระบวนการที่เจ้าของทรัพย์สินขายอสังหาริมทรัพย์ให้กับผู้ซื้อฝาก โดยมีข้อตกลงว่าผู้ขายสามารถอาศัยอยู่ในทรัพย์สินนั้นได้จนกว่าจะถึงเวลาที่กำหนดในการชำระคืนเงินกู้หรือหนี้ที่ได้รับจากผู้ซื้อฝาก ซึ่งส่วนใหญ่การขายฝากจะเกี่ยวข้องกับการกู้ยืมเงินที่มีหลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์นั้น การขายฝากบ้านเป็นวิธีที่สามารถใช้ในการระดมทุนหรือกู้ยืมเงินโดยใช้บ้านเป็นหลักประกัน แต่มีข้อกำหนดและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องที่ควรทราบ โดยทั่วไปแล้ว การขายฝากจะมีลักษณะดังนี้: สิทธิในการอยู่อาศัย: ในกรณีของการขายฝาก บ้านยังคงเป็นของผู้ขาย (เจ้าของเดิม) และเจ้าของบ้ […]

อ่านเพิ่มเติม
2
Feb 23
ค้ำประกัน อันตรายขนาดไหน ทำไมใครๆ ก็บอกว่า หนีไปปป!!

ค้ำประกัน คำที่มักจะได้ยินบ่อยๆ ในตอนที่ต้องกู้สินเชื่อกับทางธนาคาร เนื่องจากในการจะกู้ซื้อบ้านหรือคอนโดต้องใช้เงินก้อนใหญ่ หากจะให้การกู้ง่ายยิ่งขึ้น อาจจะต้องมีการกู้ร่วม เพื่อให้ได้วงเงินที่มากขึ้น หรืออาศัยคนค้ำประกัน เพราะผู้กู้อาจมีคุณสมบัติบางอย่างไม่ถึงเกณฑ์ เพื่อมาช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์การอนุมัติขอสินเชื่อได้ ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับการค้ำประกัน กันแบบง่ายๆ ก่อนเลยค่ะ การค้ำประกันคือ บุคคลที่มาค้ำประกันสินเชื่อให้กับลูกหนี้ โดยสถานะไม่ได้เป็นลูกหนี้ร่วมเหมือนกับคนกู้ร่วม สถานะจะเป็นเพียงแค่คนค้ำประกันที่เมื่อเกิดกรณีที่ลูกหนี้เบี้ยวไม่จ่ายหนี้ ธนาคารหรือสถาบันการเงินก็จะไปไล่เบี้ยเอาคืนกับคนค้ำประกัน เมื่อรู้จักการค้ำประกันแบบคร่าวๆ แล้ว มาดูกันค่ะว่าการค้ำประกันมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง ความสัมพันธ์กับการค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันสามารถเป็นใครก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลในเครือญาติของผู้กู้ การพิจารณาของธนาคาร การค้ำประกัน ธนาคารจะไม่นำรายได้ของคนค้ำประกันมารวมคิดเพื่อพิจารณาอนุมัติ จะยังคงพิจารณาเฉพาะรายได้ของผู้กู้เท่านั้น แต่จะพิจารณาคุณสมบัติของผู้ค้ำประกันแทน โดยผู้ค้ำประกันจะต้อ […]

อ่านเพิ่มเติม