2
Feb 23

ค้ำประกัน คำที่มักจะได้ยินบ่อยๆ ในตอนที่ต้องกู้สินเชื่อกับทางธนาคาร
เนื่องจากในการจะกู้ซื้อบ้านหรือคอนโดต้องใช้เงินก้อนใหญ่ หากจะให้การกู้ง่ายยิ่งขึ้น
อาจจะต้องมีการกู้ร่วม เพื่อให้ได้วงเงินที่มากขึ้น หรืออาศัยคนค้ำประกัน
เพราะผู้กู้อาจมีคุณสมบัติบางอย่างไม่ถึงเกณฑ์ เพื่อมาช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์การอนุมัติขอสินเชื่อได้
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับการค้ำประกัน กันแบบง่ายๆ ก่อนเลยค่ะ

การค้ำประกันคือ บุคคลที่มาค้ำประกันสินเชื่อให้กับลูกหนี้ โดยสถานะไม่ได้เป็นลูกหนี้ร่วมเหมือนกับคนกู้ร่วม
สถานะจะเป็นเพียงแค่คนค้ำประกันที่เมื่อเกิดกรณีที่ลูกหนี้เบี้ยวไม่จ่ายหนี้
ธนาคารหรือสถาบันการเงินก็จะไปไล่เบี้ยเอาคืนกับคนค้ำประกัน

เมื่อรู้จักการค้ำประกันแบบคร่าวๆ แล้ว มาดูกันค่ะว่าการค้ำประกันมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง

  1. ความสัมพันธ์กับการค้ำประกัน
    ผู้ค้ำประกันสามารถเป็นใครก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลในเครือญาติของผู้กู้
  2. การพิจารณาของธนาคาร
    การค้ำประกัน ธนาคารจะไม่นำรายได้ของคนค้ำประกันมารวมคิดเพื่อพิจารณาอนุมัติ
    จะยังคงพิจารณาเฉพาะรายได้ของผู้กู้เท่านั้น แต่จะพิจารณาคุณสมบัติของผู้ค้ำประกันแทน
    โดยผู้ค้ำประกันจะต้องจะต้องมีประวัติเครดิตที่ดีหรือมีรายรับที่มั่นคง
  3. กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
    การค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันจะไม่มีกรรมสิทธิ์ใดๆ ในทรัพย์สินที่ค้ำประกันเลย
  4. หน้าที่ในการผ่อนชำระ
    การค้ำประกัน ไม่มีหน้าที่ในการผ่อนชำระหนี้สิน
    แต่มีหน้าที่รับผิดชอบ หากผู้กู้หลักปฏิบัติตนผิดสัญญาตามที่ธนาคารระบุไว้
  5. การลดหย่อนภาษี
    การค้ำประกัน ไม่สามารถนำดอกเบี้ยไปลดหย่อนภาษีได้ เนื่องจากไม่ได้ทำการผ่อนชำระ

การค้ำประกันเป็นการเพิ่มโอกาสในการได้รับอนุมัติสินเชื่อเพิ่มมากขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามหากมองในฐานะที่เราต้องเข้าไปเป็นคนค้ำประกัน
ที่ไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินนั้นเลย แต่เมื่อถึงเวลาที่หนี้มีปัญหาคนค้ำประกันก็ต้องรับผิดชอบ
ต่อหนี้ที่เกิดขึ้นโดยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ การจะค้ำประกันหนี้ให้กับใครจึงควรคิดให้ดี
คิดให้ถี่ถ้วนและคิดให้รอบคอบเสียก่อน หากไม่สนิทกันหรือมีความสงสัยในตัวคนที่มาขอให้ช่วยแม้แต่น้อย
ก็ไม่ควรที่จะรับค้ำประกันอย่างเด็ดขาดเลยนะคะ

ค้ำประกัน อันตรายขนาดไหน ทำไมใครๆ ก็บอกว่า หนีไปปป!!

หากสนใจลงทุนจำนอง ขายฝาก Property4cash ยินดีให้คำปรึกษา

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

ที่ดินมรดก สามารถทำขายฝากได้หรือไม่?
19
Nov 24
ที่ดินมรดก ทำขายฝากได้หรือไม่?

ที่ดินมรดก สามารถทำขายฝากได้หรือไม่? วันนี้ Property4Cash มาไขคำตอบแล้วค่ะ  ที่ดินทำกิน ที่ดินเปล่า นับเป็นสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าสูง เปรียบเสมือนมรดกที่ส่งต่อความมั่นคงจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลานในอนาคต เพื่อพัฒนาและทำประโยชน์ให้งอกเงย เลี้ยงดูชีวิต หรือต่อยอดจากแนวคิดของบรรพบุรุษ  และเมื่อทรัพย์สินดังกล่าว เป็นมรดก และผู้รับมรดกมีความจำเป็นต้องใช้เงินก้อนเร่งด่วน ผู้รับมรดกสามารถใช้ที่ดิน อสังหาที่ได้รับมรดกมาจากบรรพบุรุษ ไม่ว่าจะเป็น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ฯลฯ มาเป็นหลักทรัพย์ทำธุรกรรมขายฝากได้หรือไม่?    โดย ที่ดินมรดก สามารถทำขายฝากที่ดินได้  ผู้รับมรดกที่มีชื่อระบุในพินัยกรรม หรือเป็นทายาทโดยธรรมของผู้เสียชีวิต หลังจากดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หลังโฉนดที่ดิน น.ส. 4 มาเป็นชื่อของตัวเองเรียบร้อยแล้ว สามารถนำโฉนดที่ดิน น.ส. 4 มาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันทำสัญญาขายฝาก ณ สำนักงานที่ดิน ได้ตามปกติ  การขายฝากที่ดิน กับ Property4Cash อนุมัติไว ได้รับเงินก้อนทันที ดอกเบี้ยต่ำเริ่มต้นเพียง 0.75% ต่อเดือน ขั้นตอนดำเนินการ เกี่ยวกับกรณีการจัดการที่ดินมรดก เป็นอย่างไรบ้าง? ตามเราไปอัพเดตก […]

อ่านเพิ่มเติม
13
Sep 24
10 คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการขายฝาก

ขายฝากคืออะไร? คำตอบ: ขายฝากคือข้อตกลงทางการเงินที่เจ้าของทรัพย์สิน (ผู้ขายฝาก) นำทรัพย์สินของตนไปขายให้กับอีกฝ่าย (ผู้ซื้อฝาก) แต่ยังคงสิทธิบางประการในการใช้หรือครอบครองทรัพย์สินนั้น โดยผู้ขายฝากจะมีสิทธิเก็บคืนทรัพย์สินหลังจากชำระเงินตามที่ตกลงกันไว้ในระยะเวลาที่กำหนด   ข้อแตกต่างระหว่างขายฝากและการจำนองคืออะไร? คำตอบ: การขายฝากและการจำนำทั้งสองเป็นวิธีการที่ใช้ทรัพย์สินเป็นหลักประกัน แต่มีความแตกต่างที่สำคัญ: ขายฝาก: ผู้ขายฝากโอนกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สินให้กับผู้ซื้อฝาก แต่สามารถซื้อคืนได้ตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ การจำนอง: ผู้จำนองส่งมอบทรัพย์สินให้กับผู้รับจำนองเพื่อเป็นหลักประกัน แต่ยังคงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น และสามารถนำทรัพย์สินนั้นคืนได้เมื่อชำระหนี้ครบถ้วน   การขายฝากมีข้อดีข้อเสียอย่างไร? คำตอบ: ข้อดี: สามารถใช้ทรัพย์สินที่มีค่าเพื่อรับเงินทุนโดยไม่ต้องขายทรัพย์สินออกไป มีโอกาสซื้อคืนทรัพย์สินในอนาคตตามเงื่อนไขที่ตกลง ข้อเสีย: ผู้ขายฝากอาจสูญเสียทรัพย์สินหากไม่สามารถซื้อคืนได้ตามกำหนด มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการจัดการเอกสารและค่าธรรมเนียม ขั้นตอนในการขายฝากเป็นอย่างไ […]

อ่านเพิ่มเติม
โฉนดติดกรมบังคับคดี ทำจำนอง ขายฝากได้ไหม?
9
Oct 24
โฉนดติดกรมบังคับคดี ทำจำนอง ขายฝากได้ไหม?

การที่ โฉนดติดกรมบังคับคดี นั้นหมายความว่า โฉนดนั้นถูกนำไปใช้เป็นหลักประกันในการชำระหนี้หรือมีการฟ้องร้อง ซึ่งอาจทำให้มีข้อจำกัดในการทำธุรกรรม เช่น การจำนองหรือการขายฝาก โดยทั่วไปแล้ว หากโฉนดติดกรมบังคับคดี คุณอาจจะไม่สามารถจำนองหรือขายฝากได้โดยตรง เนื่องจากมีการจำกัดสิทธิในทรัพย์สินนั้นๆ การมีโฉนดที่ติดกรมบังคับคดีเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ก่อนที่จะดำเนินการทำจำนองหรือขายฝาก โดยทั่วไปแล้ว โฉนดที่ติดกรมบังคับคดีหมายถึงว่าทรัพย์สินนั้นถูกใช้เป็นหลักประกันในการชำระหนี้หรือมีการฟ้องร้อง ซึ่งทำให้สิทธิในการทำธุรกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นมีข้อจำกัด การจำนอง: การจำนองคือการทำสัญญาเพื่อให้ผู้กู้สามารถนำทรัพย์สินมาเป็นหลักประกันในการกู้เงิน ในกรณีที่โฉนดติดกรมบังคับคดี มักจะไม่สามารถจำนองได้ เนื่องจากธนาคารหรือสถาบันการเงินส่วนใหญ่จะไม่อนุมัติการจำนองในกรณีที่ทรัพย์สินมีปัญหาทางกฎหมายหรือถูกฟ้องร้อง เพราะอาจมีผลกระทบต่อสิทธิในการเรียกร้องหนี้ในอนาคต นอกจากนี้ การจำนองทรัพย์สินที่ติดคดีอาจทำให้เจ้าหนี้เดิมไม่พอใจและอาจดำเนินการทางกฎหมายต่อไปได้ เมื่อโฉนดติดกรมบังคับคดี เจ้าข […]

อ่านเพิ่มเติม