สมรสเท่าเทียม สำคัญแค่ไหนในวงการอสังหาฯ
30
Jun 23

พูดถึงประเด็นที่ตอนนี้สังคมไทยเรากำลังให้ความสำคัญอย่าง สมรสเท่าเทียม เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการผลักดันกฎหมาย สมรสเท่าเทียม
ให้มีผลทางกฎหมายนั้น มีความสำคัญในแง่ของความเท่าเทียมทางสิทธิต่างๆ ในสังคมของคู่รักเพศเดียวกัน หรือที่ปัจจุบันนิยมเรียกกันว่าคู่รัก LGBTQ+ 

วันนี้เราจึงจะอยากจะพาเพื่อนๆ ไปพบกับแง่มุมต่างๆ กันว่าสมรสเท่าเทียมนั้น มีส่วนสำคัญแค่ในกับวงการอสังหาริมทรัพย์ และจะส่งผลดีในแง่มุมใดบ้าง 

สมรสเท่าเทียม กับวงการอสังหาฯ

  1. การกู้ร่วม 

บ้านเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิต และเป็นปัจจัยหนึ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นครอบครัวได้อย่างเป็นรูปธรรม
ทำให้คู่รักส่วนใหญ่มักจะเริ่มต้นชีวิตคู่ด้วยการซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัยด้วยกัน และการกู้ก็เป็นหนึ่งในช่องทางที่ทำให้เราสามารถมีบ้านเป็นพยานรักของกันและกันได้

ซึ่งโดยปกติทั่วไปแล้ว หากคนใดคนหนึ่งไม่สามารถกู้ซื้อบ้านโดยเพียงลำพังได้ เนื่องจากรายได้ไม่เพียงพอกับวงเงินที่ต้องการจะซื้อบ้าน
เราสามารถนำรายได้ของคู่สมรสมาร่วมกันกู้ได้อีกแรง แต่.. มีคนกลุ่มหนึ่งที่แม้พวกเขาจะรักกันมากเพียงใด คบหาดูใจกันนานเป็นสิบปี
ก็ไม่อาจจะใช้ความเป็นคู่รักในการกู้ร่วมกันซื้อบ้านได้ เพียงเพราะเพศกำเนิดของพวกเขาเป็นเพศเดียวกัน

แม้ว่าปัจจุบัน ธนาคารหลายแห่งจะมีนโยบายในการปล่อยสินเชื่อให้คู่รัก LGBTQ+ มานานแล้ว แต่หากมองไปเงื่อนไข
กลับพบว่าธนาคารส่วนใหญ่มักจะมีเงื่อนไขพิเศษ ที่ใช้ในการพิจารณามากกว่าคู่สมรสทั่วไป เพราะฉะนั้น กฎหมายสมรสเท่าเทียม
จึงจะมาช่วยทำให้คู่รักทุกคู่มีสิทธิในการทำธุรกรรมต่างๆ เทียบเท่ากัน โดยไม่มีการแบ่งแยกเพศอีกต่อไป

**ในปัจจุบันมีธนาคารอะไรบ้างที่สามารถกู้ร่วมได้ ? อ่านได้ที่บทความ ……………..

  1. การรับมรดก

คำว่า มรดก นั้นมีหลากหลายประเภท แต่มีอยู่ประเภทหนึ่งที่เป็นทรัพย์สินชิ้นใหญ่ มีมูลค่ามาก
และเป็นที่หมายปองของผู้มีสิทธิทางกฎหมายทั้งหลายคือ “อสังหาริมทรัพย์”

 

การที่คู่รัก LGBTQ+ ไม่ได้มีสถานะเป็น “คู่สมรส” อาจทำให้เกิดปัญหาตามมาเมื่อคนใดคนหนึ่งถึงแก่กรรมจากโลกนี้ไป เพราะคนรักที่คบกันมาตลอดชีวิตนั้น
ถือเป็น “คนอื่น” ไม่มีสิทธิทางกฎหมายในการรับมรดกอย่างบ้านที่เขาใช้ชีวิตร่วมกันมา ร่วมกันซื้อ ร่วมกันผ่อน ร่วมกันสร้างความทรงจำดีๆ 

ถ้าใครเจอครอบครัวของอีกฝ่ายนิสัยดี ใจดีกับเรา ไม่คิดจะฮุบสมบัติไว้ก็โชคดีไป แต่หากเจอคนที่หวังเงิน หวังในมูลค่าของบ้านเรานั้น
คนที่ยังอยู่อาจจะต้องเสียใจเพราะถูกยึดสิทธิในบ้าน เป็นความทุกข์ใจไปตลอดชีวิต

  1. ภาษีที่เท่าเทียม

เพื่อนๆ รู้หรือไม่ ว่าเราสามารถโอนกรรมสิทธิที่ดินหรือบ้านให้คนอื่นได้ ต่อให้ไม่ใช่คู่สมรสกันก็ตาม เรียกว่า “ให้โดยเสน่หา”
เพียงแต่ว่า การโอนสิทธิระหว่างคู่สมรสนั้น มีค่าธรรมเนียมการโอนที่ถูกกว่ามาก จากปกติทั่วไป 2% จะเหลือเพียงแค่ 0.5% เท่านั้น
จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงควรผลักดันการสมรสเท่าเทียม ให้คู่รัก LGBTQ+ มีสิทธิเหมือนคู่สมรสทั่วไป

  1. สิทธิในการทำธุรกรรมที่สำนักงานที่ดิน

ขึ้นชื่อว่ามนุษย์แล้ว ต่อให้รักกันแค่ไหน แต่เมื่อชีวิตต้องเจอกับวิกฤต ก็มักจะหักหลังกันได้ง่ายๆ ทุกเวลา และการหักหลังประเภทหนึ่งที่ทำร้ายจิตใจคู่รักมานักต่อนักนั้น
คือการแอบเอาบ้านไปกู้เงิน และสุดท้ายไม่มีปัญญาใช้หนี้ จนโดนยึดบ้านไปอย่างน่าเศร้าใจ

ธรรมดาทั่วไปแล้ว คู่สมรสทั่วไปยังเกิดปัญหานี้ได้ไม่ยาก แล้วคู่รัก LGBTQ+ ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันจะไปเหลืออะไร!
เมื่อชื่อหลังโฉนดที่แสดงความเป็นเจ้าของนั้นเป็นของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น ซึ่งโดยปกติแล้วการที่เราจะเอาบ้านไปค้ำประกันกู้เงิน
หากเป็นผู้ที่จดทะเบียนสมรสกันนั้น จำเป็นต้องมีการ ”ยินยอม” จากคู่สมรสในการทำธุรกรรมด้วย แต่กับคู่รักที่ไม่ได้สมรสกันตามกฎหมาย
เราจะไม่มีสิทธิมีปากมีเสียงคัดค้านการทำธุรกรรมใดๆ ได้เลย

สมรสเท่าเทียม สำคัญแค่ไหนในวงการอสังหาฯ

—————————————————————–

 

เพื่อนๆ พอจะเห็นภาพกันบ้างแล้วหรือไม่ สำหรับเรื่อง สมรสเท่าเทียม ที่เกี่ยวกับวงการอสังหาฯ ว่าสิทธิต่างๆ ของคู่รัก LGBTQ+ นั้น
แตกต่างกันคู่สมรสทั่วไปอย่างไร แล้วทำไมเราถึงจะต้องยอมรับความแตกต่างกันนี้ ทั้งๆ ที่เป็นมนุษย์ที่มีความรู้สึก มีหัวใจไม่แตกต่างกัน

 

Property 4 Cash ขอเป็นเสียงเล็กๆ และเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนความเท่าเทียม และขอให้กฎหมายสมรสเท่าเทียม มีผลบังคับใช้ในเร็ววันค่ะ

 

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

ที่ดิน กรรมสิทธิ์รวม ซื้อขาย ขายฝากหรือจำนองได้หรือไม่?
23
Dec 23
ที่ดิน กรรมสิทธิ์รวม ซื้อขาย ขายฝากหรือจำนองได้หรือไม่?

ในการ ซื้อขายที่ดิน หรือมีการ ขายฝากจำนองที่ดิน เกิดขึ้น หากเราเป็นเจ้าของคนเดียวก็คงไม่ยากที่จะนำที่ดินแปลงนั้นออกมาจำหน่ายหรือทำธุรกรรมได้ แต่ถ้าที่ดินนั้นเป็นมรดกตกทอดที่มีเจ้าของ 2 – 3 คนขึ้นไป หรือเรียกได้ง่ายๆ ว่าที่ดินตรงนั้นมีเจ้าของ กรรมสิทธิ์รวม กรรมสิทธิ์รวม คืออะไร กรรมสิทธิ์รวมหมายถึง การที่มีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปหรือมากกว่านั้นเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกัน โดยในโฉนดที่ดินไม่ได้ระบุว่าเจ้าของรวมคนใดเป็นเจ้าของส่วนไหนบ้าง ตามกฎหมายแล้วสันนิษฐานว่าเจ้าของรวมแต่ละคนจะต้องมีสัดส่วนที่ดินเท่าๆ กัน และมีสิทธิ์ในการจัดการทรัพย์สินร่วมกัน การซื้อขาย ขายฝากหรือจำนองที่ดินกรรมสิทธิ์รวม ทำได้หรือไม่? ถ้าเจ้าของที่ดินกรรมสิทธิ์รวม ไม่ได้มีการตกลงแบ่งสัดส่วนที่ดินอย่างชัดเจน เมื่อมีเจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งต้องการซื้อขายหรือมีการขายฝากจำนองที่ดินเกิดขึ้น ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทุกๆ คนก่อน ไม่เช่นนั้นจะถือว่าไม่สมบูรณ์ กลายเป็นความยุ่งยากที่ก่อให้เกิดภาระติดพันในส่วนของความเป็นเจ้าที่ดินของตนเอง แต่หากเจ้าของที่ดินกรรมสิทธิ์รวม มีการตกลงแบ่งที่ดินเป็นสัดส่วนชัดเจนแล้ว มีการระบุในโฉนด […]

อ่านเพิ่มเติม
ขายฝากกับกู้ธนาคาร เลือกทางไหนดี?
11
Sep 24
ขายฝากกับกู้ธนาคาร เลือกทางไหนดี?

การตัดสินใจเลือก ขายฝากกับกู้ธนาคาร เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบ เพราะทั้งสองทางเลือกมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันไป เพื่อให้คุณตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ลองมาเปรียบเทียบรายละเอียดกัน ขายฝาก  ขายฝาก คือ สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่มีเงื่อนไขพิเศษ ซึ่งผู้ขายฝากสามารถซื้อทรัพย์สินนั้นกลับคืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดตามกฎหมาย โดยทั่วไปขายฝากจะเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ขายต้องการเงินด่วน แต่ยังต้องการรักษาสิทธิในการซื้อทรัพย์สินนั้นคืน ข้อดี: ได้เงินเร็ว: กระบวนการอนุมัติและรับเงินรวดเร็วกว่าการกู้ธนาคาร วงเงินสูง: มักจะได้วงเงินสูงกว่าการกู้ธนาคาร ไม่ต้องมีเครดิตบูโรที่ดี: เหมาะสำหรับคนที่ไม่มีประวัติเครดิตที่ดี ไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันเพิ่มเติม: ใช้ทรัพย์สินที่มีอยู่เป็นหลักประกัน ข้อเสีย: เสียกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชั่วคราว: กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะโอนไปให้อีกฝ่ายหนึ่ง จนกว่าจะไถ่ถอนคืน ดอกเบี้ยอาจสูงกว่า: อัตราดอกเบี้ยอาจสูงกว่าการกู้ธนาคาร มีความเสี่ยงสูง: หากไม่สามารถไถ่ถอนทรัพย์สินคืนได้ตามกำหนด อาจสูญเสียทรัพย์สินไป ขั้นตอนยุ่งยาก: การทำสัญญาและไถ่ถอนทรัพย์สินมีขั้นตอนที่ซับซ้อนก […]

อ่านเพิ่มเติม
ที่ดิน ส.ป.ก.
7
Feb 23
ที่ดิน ส.ป.ก. ซื้อขาย จำนองได้หรือไม่

ที่ดิน สปก ซื้อขาย จำนองได้หรือไม่ เรื่องมีอยู่ว่าทีมงานได้รับการติดต่อจากคนที่สนใจ จะนำที่ดินมาจำนอง ขายฝาก โดยที่หลายท่านนั้น นำที่ดิน ส.ป.ก. มาให้ทางเราช่วยประเมินวงเงิน เพราะมีผู้คนจำนวนมากที่อาจจะยังไม่เข้าใจถึงสิทธิใน ที่ดิน ส.ป.ก. ว่าสามารถซื้อขาย จำนองได้หรือไม่ วันนี้เลยอยากจะพาเพื่อนๆ ไปรู้จักกับที่ดิน ส.ป.ก. ให้มากขึ้นกัน ที่ดิน ส.ป.ก. คืออะไร            ที่ดิน ส.ป.ก. หรือที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 คือ เป็นเอกสารสิทธิที่ภาครัฐให้ประชาชนเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน เอกสารแสดงการครอบครองที่ดินที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกให้กับประชาชนเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน เกิดขึ้นเมื่อมีพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 โดยมีหลักว่า ที่ดินในเขตปฏิรูปนั้นใช้ทำเกษตรกรรมได้อย่างเดียวเท่านั้น ทำประโยชน์อย่างอื่นไม่ได้ และผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 จะต้องมีฐานะยากจน ใครบ้างที่มีสิทธิครอบครองที่ดิน ส.ป.ก. เกษตรกร เป็นผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักอยู่แล้ว โดยใช้เวลาส่วนใหญ่ในรอบปี เพื่อประกอบเกษตรกรรมแห่งท้องถิ่นนั้น […]

อ่านเพิ่มเติม