ใบปลอดหนี้ คืออะไร รู้ไว้ก่อนซื้อขายบ้าน-คอนโด
9
Jun 23

เชื่อว่าเพื่อนๆ หลายคนไม่คุ้นชินกับคำนี้แน่ๆ “ใบปลอดหนี้”  และเพื่อนๆ ก็คงไม่รู้ว่า อะไรคือใบปลอดหนี้
วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับเอกสารนี้กัน เพราะว่าใบปลอดหนี้ นั้น
มีความสำคัญมากสำหรับคนที่อยากจะซื้อ ขาย’ บ้านและคอนโด

ใบปลอดหนี้ คือ

หนังสือเอกสารที่ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการชำระเงินค่าส่วนกลางในการอยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมและหมู่บ้านจัดสรร
ซึ่งถ้าขาดเอกสารตัวนี้ไป จะทำให้เราไม่สามารถทำธุรกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ที่กรมที่ดินได้
หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ไม่สามารถซื้อขายได้นั่นเอง

ใครต้องเป็นคนขอและต้องขออย่างไร

ผู้ขายจะต้องเป็นผู้ดำเนินการขอเอกสารที่สำนักงานนิติบุคคลนั้นๆ เพื่อจัดการค่าใช้จ่ายค้างชำระ (ถ้ายังไม่จ่ายค่าชำระ)
หากมีการค้างค่าชำระบางประการ อาจจะต้องมีระยะเวลาในการออกเอกสารที่ยาวนานกว่า ขึ้นอยู่แต่ละกรณีที่แตกต่างกันไป

เอกสารที่ต้องเตรียม

  • สำเนาทะเบียนบ้านผู้ซื้อ-ผู้ขาย อย่างละ 1 ชุด
  • สำเนาบัตรประชาชนผู้ซื้อ-ผู้ขาย อย่างละ 1 ชุด
  • สำเนาโฉนดหน้า-หลัง
  • สัญญาซื้อขาย ที่มีการระบุชื่อผู้ซื้อและผู้ขายชัดเจน
  • หากชื่อหรือนามสกุลของผู้ซื้อหรือผู้ขายไม่ตรงกัน ให้นำใบเปลี่ยนชื่อหรือใบเปลี่ยนนามสกุล
    ที่ดำเนินการจากที่อำเภอแนบมาด้วย
  • หนังสือมอบอำนาจ กรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถมาได้ด้วยตนเอง หรือมีตัวแทนดำเนินเรื่อง
    จะต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจอีก 1 ชุด

ขั้นตอนขอต้องทำยังไงบ้าง

  • ผู้ที่จะซื้อบ้าน หรือคอนโดมิเนียม จะต้องแจ้งหรือดำเนินการกับผู้ขายโดยตรง
    โดยผู้ขายจะต้องทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการ เดินเรื่องขอเอกสารสำคัญที่สำนักงานนิติบุคคล
    ที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัยหรือเกี่ยวข้องกับบ้านโดยตรง หากไม่มีค่าใช้จ่ายค้างชำระ
    สามารถเดินเรื่องกับนิติบุคคลเพื่อดำเนินการต่อไปได้เลย หากมีค่าใช้จ่ายที่ค้างอยู่
    ให้ติดต่อเพื่อจัดการค่าใช้จ่ายที่ค้างชำระ
  • หากต้องมีผู้แทนฝั่งผู้ขาย ที่ไม่สามารถมาได้ด้วยตนเอง และต้องทำเรื่องมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำแทน
    โดยจะต้องมีการยืนยันชัดเจนตามกฎหมาย ถึงจะดำเนินการแทนได้ ฝั่งผู้แทนของผู้ขาย
    ต้องมีหนังสือมอบอำนาจที่มีการรับรองเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมแนบเอกสารสำคัญ
    เช่น สำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบฉันทะ และผู้แทนฝั่งผู้ขายเพิ่มคนละ 1 ใบ เพื่อยืนยันตัวตน
  • การดำเนินการจะต้องขอล่วงหน้า เนื่องจากใช้ระยะเวลา 7-15 วัน และต้องทราบกำหนดการเพื่อดำเนินการล่วงหน้า
    อีกทั้งหากได้ใบปลอดหนี้ สามารถใช้งานได้ภายใน 7 วันนับจากการได้เอกสาร โดยจะระบุระยะเวลาอย่างชัดเจนว่าได้ถึงเมื่อใด

เพราะฉะนั้นแล้ว “ใบปลอดหนี้”  จึงเป็นเอกสารสำคัญ ดังนั้น ถ้าเราละเลยค่าส่วนกลางไปเรื่อย ๆ เจอค่าปรับแสนโหด
และหากไม่จัดการค่าใช้จ่ายส่วนนี้ เมื่อต้องการขายที่อยู่อาศัย นิติบุคคลไม่สามารถออกให้ได้
เจ้าหน้าที่กรมที่ดินยังมีสิทธิ์ที่จะระงับการโอนกรรมสิทธิ์นั้น ๆ อีกด้วย

ใบปลอดหนี้ คืออะไร รู้ไว้ก่อนซื้อขายบ้าน-คอนโด

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

3 วิธี กู้ร่วม ซื้ออสังหาฯ แบบง่ายๆ ของชาว LGBTQ
15
Jun 23
3 วิธีกู้ร่วมซื้ออสังหาฯ แบบง่ายๆ ของชาว LGBTQ

ถึงแม้ว่าทางเลือกในการมีบ้านสักหลังของคู่รัก LGBTQ จะยังมีไม่มากนัก โดยเฉพาะการกู้ร่วมซื้อบ้าน แต่ใช่ว่าจะไม่มีทางเลือกเลยเพราะปัจจุบัน มีหลายธนาคารที่เปิดโอกาสให้กลุ่ม LGBTQ กู้ร่วม ซื้อบ้านได้ ลองมาดูรายละเอียดว่าคู่รัก LGBTQ จะต้องทำอย่างไรถึงกู้ร่วมซื้อบ้านได้ #เช็คธนาคารอนุมัติสินเชื่อบ้าน กรณีกู้ร่วมเพศเดียวกัน ปัจจุบันกลุ่ม LGTBQ ถือเป็นผู้บริโภคที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงมีหลายธนาคารที่สามารถอนุมัติการ กู้ร่วม ของคนกลุ่มนี้ได้ นั่นคือ – ธนาคารกสิกร – ธนาคารออมสิน – ธนาคารธนชาติ – ธนาคารยูโอบี – ธนาคารกรุงเทพ – ธนาคารทหารไทย – ธนาคารไทยพาณิชย์ – ธนาคารกรุงศรีฯ – ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด โดยแต่ละธนาคารจะมีเงื่อนไขแตกต่างกันไป แต่คุณสมบัติพื้นฐานของที่ผู้ยื่นกู้ร่วมที่เหมือนกันมีดังนี้ – ผู้กู้เป็นบุคคลธรรมดา สัญชาติไทย – ผู้กู้อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 65 ปี – ไม่เคยเป็นลูกหนี้ปรับโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน – หลักฐานว่าคู่ของเราอยู่ร่วมกันจริง เช่น บัญชีเงินฝากที่เปิดร่วมกัน #ตรวจเอกส […]

อ่านเพิ่มเติม
ถึงเวลาไถ่ถอนแต่ยังไม่พร้อม ขยายสัญญาขายฝาก ได้ไหม ?
9
Aug 23
ถึงเวลาไถ่ถอนแต่ยังไม่พร้อม จะขยายสัญญาขายฝากได้ไหม ?

อย่างที่เพื่อนๆ รู้กันว่าการ ขายฝาก คือ การนำทรัพย์หรืออสังหาไปขายให้กับผู้รับซื้อทรัพย์ โดยกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์นั้นจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันที แต่ผู้ขายฝากยังสามารถซื้อทรัพย์สินของตนเองคืนได้ตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา แต่สิ่งที่พบเจอได้บ่อยครั้ง คือเมื่อพอถึงเวลาไถ่ถอนแล้วแต่ผู้ขายฝากยังไม่พร้อมที่จะนำเงินมาไถ่ถอน แล้วทีนี้เราควรจะทำอย่างไรต่อดี จะ ขยายสัญญาขายฝาก ได้ไหม ? วันนี้เราจะพาไปหาคำตอบกัน เงื่อนไข เกี่ยวกับการขายฝาก กำหนดเวลาไถ่ ห้ามต่ำกว่า 1 ปี หรือ เกิน 10 ปี ขายฝากจะกำหนดเวลาไถ่ถอนห้ามต่ำกว่า 1 ปีหรือไม่เกิน 10 ปี ทั้งนี้เพื่อป้องกันผู้ซื้อฝากกำหนดเวลาไถ่คืนทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นระยะเวลาสั้น จนทำให้ผู้ขายฝากไม่สามารถไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากได้ทันกำหนดเวลาไถ่ และเพื่อป้องกันผู้ซื้อฝากกำหนดเวลาไถ่คืนทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเกิน 10 ปี เมื่อรวมดอกเบี้ย ต้องไม่เกิน 15% ต่อปี ยอดเงินที่ต้องมาชำระคืนแก่ทุนเพื่อไถ่ทรัพย์สิน โดยจำนวนสินไถ่จะกำหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากก็ได้ แต่เมื่อคำนวณเป็นดอกเบี้ยแล้ว ต้องไม่เกิน 15% ต่อปี 3.ทรัพย์สินที่ขายฝากเจ้าของยังใช้งานได้ […]

อ่านเพิ่มเติม
ผลกระทบของการไม่ชำระหนี้จำนองต่อทรัพย์สินของคุณ
11
Oct 24
ผลกระทบของการไม่ชำระหนี้จำนองต่อทรัพย์สินของคุณ

การไม่ชำระหนี้จำนองสามารถมีผลกระทบหลายประการที่มีทั้งผลลัพธ์ทางการเงินและด้านอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อชีวิตประจำวันของคุณอย่างมีนัยสำคัญ นี่คือรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบที่คุณอาจเผชิญ: การยึดทรัพย์สิน (Foreclosure) กระบวนการยึดทรัพย์สิน เมื่อคุณไม่ชำระหนี้จำนองตามที่กำหนด ธนาคารหรือผู้ให้กู้จะเริ่มกระบวนการยึดทรัพย์สิน ซึ่งโดยปกติแล้วจะเริ่มต้นจากการส่งจดหมายเตือนถึงการผิดนัดชำระหนี้ หากคุณยังไม่ชำระหนี้ ธนาคารจะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้มีการยึดทรัพย์สิน หลังจากได้รับการอนุมัติจากศาล ธนาคารจะสามารถเข้ายึดทรัพย์สินได้ ทรัพย์สินที่ถูกยึดจะถูกนำไปประมูลขายเพื่อกู้คืนหนี้ ผลกระทบที่ตามมา คุณจะต้องออกจากบ้านหรือทรัพย์สินนั้น โดยอาจต้องจัดการย้ายสิ่งของของคุณในเวลาที่จำกัด การสูญเสียบ้านหรือที่อยู่อาศัยอาจส่งผลต่อความมั่นคงของคุณและครอบครัว เครดิตสกอร์ลดลง (ในกรณีที่ติดจำนองกับทางธนาคาร) การส่งผลกระทบต่อประวัติการเงิน ประวัติการไม่ชำระหนี้จะถูกบันทึกในเครดิตบูโร และจะส่งผลต่อคะแนนเครดิตของคุณอย่างรุนแรง ซึ่งสามารถทำให้คะแนนเครดิตลดลงถึง 100-200 คะแนนขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เครดิตสกอร์ที่ต […]

อ่านเพิ่มเติม