การฝากขาย และ การขายฝาก แตกต่างกันอย่างไร
17
Oct 23

หลายๆ คนอาจจะยังสับสนหรือสงสัยกับว่า การขายฝาก และ การฝากขาย แตกต่างกันอย่างไร

แม้ว่าอ่านแล้วอาจจะดูคล้ายกัน แต่สองคำนี้มีความหมายที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน
ก่อนอื่นเรามาดูความหมายของการขายฝาก กับ การฝากขายกันก่อนดีกว่าค่ะ
ว่าแต่ละตัวมันมีความหมายยังไง จะได้ไม่เข้าใจกันผิดกันอีกจ้า

การขายฝาก คือ สัญญาการซื้อขายรูปแบบหนึ่ง
ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะตกแก่ผู้รับขายฝาก (นายทุน) ณ วันที่ทำสัญญาที่กรม ที่ดิน
ภายใต้ข้อตกลงที่ว่า ผู้ขายฝากสามารถไถ่ถอนทรัพย์สินคืนได้
ภายในระยะเวลาที่ระบุในสัญญา (แต่ไม่เกิน 10 ปี) หากไม่มาไถ่ถอนทรัพย์สิน
กรรมสิทธิ์นั้นจะตกเป็นของผู้รับฝาก(นายทุน) ทันที

ส่วนการ ฝากขายนั้น ผู้ฝากขายจะนำทรัพย์สินของตนเองไปฝากขายกับตัวแทน หรือนายหน้า
เพื่อให้ทางนายหน้า ช่วยทำการตลาด โฆษณา หรือประชาสัมพันธ์ทรัพย์สิน
ที่เจ้าของทรัพย์นำไปฝากขาย ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะยังเป็นของผู้ฝากขายอยู่
และจะโอนเป็นของผู้อื่นเมื่อนายหน้าได้ทำการขายทรัพย์สินนั้น ให้กับผู้ฝากขายได้แล้ว

ตารางเปรียบเทียบระหว่างขายฝากและฝากขาย

หัวข้อ

ขายฝาก

ฝากขาย

ธุรกรรมการขายฝากและสามารถไถ่ถอนทรัพย์สินนั้นคืนได้ หากครบสัญญาหรือไถ่ถอนก่อนครบกำหนดก็ได้เป็นการมอบหมายหรือแต่งตั้งให้บุคคลใด ๆบุคคลหนึ่ง (นายหน้า)  เป็นผู้ขายหรือกระทำการขายทรัพย์สินแทน และเจ้าของทรัพย์ ทำการชำระค่าตอบแทนให้กับนายหน้า
กรรมสิทธิ์กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝาก(นายทุน) ทันทีเมื่อมีการทำสัญญาจดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังคงเป็นของเจ้าของทรัพย์ จนกว่าจะมีการเสนอขาย ทำสัญญาเป็นหนังสือ และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ณ สำนักงานที่ดิน
สิทธิไถ่คืนผู้ขายฝากสามารถไถ่ถอนทรัพย์สินคืนจากผู้รับซื้อฝาก (นายทุน) ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามสัญญาขายฝาก หรือ ตามกำหนดระยะเวลาที่ขยายออกไปตามที่ตกลง หรือที่กฎหมายกำหนดไม่มี
ค่าตอบแทนผู้รับซื้อฝาก(นายทุน) จะได้ดอกเบี้ยหรือค่าตอบแทน ตามอัตราที่สัญญาตกลงไว้ในสัญญาขายฝากแต่สูงสุดไม่เกิน 15% ต่อปีหรือ 1.25% ต่อเดือนตัวแทน/นายหน้าจะได้รับค่าตอบแทนหรือค่านายหน้า ในการขายให้แก่เจ้าของทรัพย์สิน
สิทธิในการครอบครองผู้ขายฝากยังมีสิทธิครอบครองและใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่นำไปขายฝากได้จนถึงวันไถ่ถอน แต่สิทธิครอบครองจะหมดไป หากผู้ขายฝากไม่มาไถ่ถอนทรัพย์สินในเวลาที่กำหนดในสัญญาสิทธิยังเป็นของเจ้าของทรัพย์สิน จนกว่าจะมีการขาย โอนทรัพย์สินนั้นไปได้จริง

** ทรัพย์ที่จะนำมาขายฝากได้ คุณต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นและต้องปลอดภาระหนี้สิน

 

ยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น
นายเอ มีคอนโด 1ห้อง แต่คอนโดนี้ ยังผ่อนธนาคารอยู่
เพราะฉะนั้น นายเอ ไม่สามารถนำคอนโดห้องนี้มาขายฝากได้เพราะคอนโดนี้
ยังไม่ปลอดภาระหนี้ คือยังติดธนาคารอยู่ ธนาคารคือเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง
แต่นายเอ สามารถนำทรัพย์นี้ไปฝากขายกับนายหน้าหรือตัวแทนได้แม้ยังไม่ปลอดภาระหนี้

 

สรุป คือ การขายฝาก คือการนำทรัพย์สินมาขายฝากกับนายทุน (คล้ายๆการจำนำ)
ผู้ขายฝากจะได้รับเงินก้อนจากนายทุนไปใช้สอยเพื่อหมุนเวียนธุรกิจหรือใช้หนี้สิน
แต่ผู้ขายฝากต้องชำระดอกเบี้ย หรือค่าตอบแทนให้กับนายทุนทุกเดือนตามอัตราที่กำหนดในสัญญาขายฝาก
ส่วนฝากขายเป็นการแต่งตั้งนายหน้าให้มาขายทรัพย์สินแทน
และผู้ฝากขายจะเสียค่าตอบแทนหรือค่านายหน้าให้กับ ตัวแทนหรือนายหน้าก็ต่อเมื่อ
นายหน้าได้ทำการขายทรัพย์สินได้แล้วเท่านั้น

 

ดังนั้นการขายฝากจึงเหมาะสำหรับคนที่ต้องการใช้เงินในระยะสั้น แต่ไม่อยากเสียทรัพย์สินนั้น ๆ ไป
เช่น ต้องการนำเงินไปหมุนธุรกิจก่อนหรือ หรือต้องใช้เงินด่วน
เพราะหากไปกู้ธนาคารอาจจะต้องใช้เวลานาน และยิ่งเจ้าของทรัพย์ไม่มีเครดิต
ก็จะไม่สามารถนำทรัพย์สินไปวางค้ำประกันกู้ธนาคารได้

 

ส่วนการฝากขายนั้น เหมาะกับผู้ที่ไม่ได้ต้องการถือครองทรัพย์สินนั้นแล้ว
และต้องการใช้เงิน เรียกว่า ต้องการปลอดภาระนั่นเอง

.

การจะตัดสินใจนำทรัพย์ไปขายฝากหรือฝากขาย เจ้าของทรัพย์ควรศึกษาเงื่อนไข
ของการทำธุรกรรมทั้งสองแบบให้ละเอียด เพื่อให้ได้รับประโยชน์ที่คุ้มค่าที่สุด
การขายฝากและการฝากขาย ต่างมีข้อดีและเงื่อนไขที่แตกต่างกัน
หากศึกษายังไม่ละเอียดรอบคอบ อาจส่งผลกระทบอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย

การฝากขาย และ การขายฝาก แตกต่างกันอย่างไร

—————————————————–

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

คู่สมรสไม่มากรมที่ดิน ขายฝาก- จำนองได้หรือไม่
30
Sep 23
คู่สมรสไม่มากรมที่ดิน ขายฝาก- จำนองได้หรือไม่

หลายๆ คนอาจจะมีข้อสงสัยว่า ถ้าทำธุรกรรมขายฝาก จำนอง แล้วเกิดกรณีที่ คู่สมรสไม่มากรมที่ดิน จะสามารถทำขายฝาก จำนองได้หรือไม่ อย่างแรกเลย ถ้าทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างการสมรสแล้วนั้น ไม่ว่าจะใส่ชื่อใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ให้เรียกว่าเป็นสินสมรสก่อนได้เลย กรณีคู่สมรสไม่มากรมที่ดินจะไม่สามารถทำธุรกรรมจำนอง ขายฝากได้เลย เพราะเราต้องได้รับการยินยอมจากคู่สมรสด้วย ไม่ว่าจะทำจำนอง ขายฝาก หรือว่าซื้อขายเองก็ตาม ถ้าหากทั้งคู่เลิกกันแล้ว ก็ต้องทำเรื่องหย่าให้เรียบร้อยก่อน เพราะถ้าไม่หย่าตามกฎหมายแล้ว ยังถือว่ายังเป็นคู่สมรสกันอยู่นะคะ ในกรณีถ้าคู่สมรสไม่สะดวกมา จะต้องมีหนังสือลงลายเซ็นยินยอมของคู่สมรส ยืนยันว่ายินยอมให้ทำธุรกรรมขายฝากหรือจำนอง พร้อมสำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน และทะเบียนสมรสให้เรียบร้อย และอาจจะถ่ายวิดีโอไว้ด้วย เพื่อเป็นการยืนยันในการทำขายฝาก จำนอง ซึ่งหนังสือยินยอมคู่สมรสทางกรมที่ดินจะมีให้บริการทุกสาขาทั่วประเทศ เห็นไหมคะเพื่อนๆ เมื่อเราจดทะเบียนสมรสแล้ว เวลาที่เราอยากทำธุรกรรมต่างๆ จะต้องมีการดำเนินการตามขั้นตอน ซึ่งจะต้องผ่านการยินยอมจากคู่สมรสเสมอ ไม่ว่าจะเป็น การจดจำนอง ขายฝ […]

อ่านเพิ่มเติม
5 พฤติกรรมต้องห้ามใน การลงทุนอสังหา ไม่อยากขาดทุนห้ามทำ!!
4
Nov 23
5 พฤติกรรมต้องห้ามใน การลงทุนอสังหา ไม่อยากขาดทุนห้ามทำ!!

การลงทุนอสังหา ที่หลายคนเห็นว่าได้กำไรดี บางคนรีบลงทุนก่อนได้ศึกษาข้อมูลให้ละเอียด เพราะหวังว่า จะสามารถกอบโกยกำไรได้อย่างงาม อย่างไรก็ตามเราก็ไม่ควรชะล่าใจเห็นแก่ของถูกเพียงอย่างเดียว เรามาดูกันว่าเราเราจะต้องระวังในเรื่องไหนบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดหรือขาดทุน ก่อนการ การลงทุนอสังหา #จองตามกระแส คอนโดไหนฮอต คนเยอะเราต้องไม่พลาด ปกติแล้วในวัน Presale ของโครงการวันแรกจะมีเหล่าผู้ซื้อและนักลงทุนมาต่อคิวกันมากมาย บางโครงการที่ฮอตจริงๆ มีคนมาต่อคิวกันตั้งแต่เช้าตรู่ หากเราทำตัวตามกระแสรีบจับจองโดยยังไม่ได้ศึกษาข้อมูลมาก่อน อาจทำให้วันนึงเราจะต้องยอมขายขาดทุน  เมื่อโครงการไม่ได้เป็นที่ต้องการหรือ ตรงกับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมายมากนัก #ไม่ศึกษาทำเลให้ดี บางคอนโดมีทำเลใกล้รถไฟฟ้าก็จริง แต่รอบข้างกลับไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกเลย ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล โรงเรียน ร้านอาหาร ร้านค้า ฯลฯ ยิ่งไปกว่านั้นบางโครงการกลับแวดล้อมไปด้วยสิ่งแวดล้อมที่เป็นมลพิษ ทั้งมลพิษทางอากาศ เสียง หรือแม้กระทั่งกลิ่น #ไม่ประมาณตนเอง รีบตัดสินใจไม่ดูเครดิต ความสามารถในการกู้ของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันตามฐานะทางการเงิน และเ […]

อ่านเพิ่มเติม
ค่าโอน
30
Dec 22
ไอ้หยา~ ค่าโอนอสังหาฯ ปีหน้า แพงขึ้น 100 เท่า!!

ถึงกับต้องร้องเสียงหลงกันว่า ไอ้หยา~ เมื่อ ค่าโอน อสังหาฯ ปีหน้า แพงขึ้นถึง 100 เท่า!! หลังมีมิติ ครม. ออกมาว่า ในปี 2566 นี้ จะมีมาตรการช่วยเหลือลดค่าโอนให้เพียง 1% เท่านั้น เทียบจากปี 2565 ที่ผ่านมาคนไทยได้รับการช่วยเหลือตรงนี้ เสียค่าโอนกันเพียงแค่ 0.01% จากปกติ 2% เท่านั้นเอง จากข่าวที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 เห็นชอบมอบของขวัญปีใหม่ให้แก่ประชาชน ด้วยมาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัยปี 2566 โดยมีรายละเอียดดังนี้ ลดค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์จาก 2% เหลือ 1%  ลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์จากเดิม 1% เหลือ 0.01%  สำหรับการซื้อขายที่อยู่อาศัย ได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว อาคารพาณิชย์ และห้องชุด (คอนโด) ทั้งบ้านมือ 1 และมือ 2 เฉพาะที่มีราคาซื้อขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกิน 3 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 3 ล้านบาท ต่อสัญญา (แหล่งที่มาข่าว https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62863) หมายความว่า.. หากเราจะซื้อบ้านราคา 3 ล้านบาท  จากเดิมปี 2565 เราจะเสียค่าโอน 0.01% หรือ 300 บาท เพียงเท่านั้น แต่ในป […]

อ่านเพิ่มเติม