สมรสเท่าเทียม สำคัญแค่ไหนในวงการอสังหาฯ
30
Jun 23

พูดถึงประเด็นที่ตอนนี้สังคมไทยเรากำลังให้ความสำคัญอย่าง สมรสเท่าเทียม เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการผลักดันกฎหมาย สมรสเท่าเทียม
ให้มีผลทางกฎหมายนั้น มีความสำคัญในแง่ของความเท่าเทียมทางสิทธิต่างๆ ในสังคมของคู่รักเพศเดียวกัน หรือที่ปัจจุบันนิยมเรียกกันว่าคู่รัก LGBTQ+ 

วันนี้เราจึงจะอยากจะพาเพื่อนๆ ไปพบกับแง่มุมต่างๆ กันว่าสมรสเท่าเทียมนั้น มีส่วนสำคัญแค่ในกับวงการอสังหาริมทรัพย์ และจะส่งผลดีในแง่มุมใดบ้าง 

สมรสเท่าเทียม กับวงการอสังหาฯ

  1. การกู้ร่วม 

บ้านเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิต และเป็นปัจจัยหนึ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นครอบครัวได้อย่างเป็นรูปธรรม
ทำให้คู่รักส่วนใหญ่มักจะเริ่มต้นชีวิตคู่ด้วยการซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัยด้วยกัน และการกู้ก็เป็นหนึ่งในช่องทางที่ทำให้เราสามารถมีบ้านเป็นพยานรักของกันและกันได้

ซึ่งโดยปกติทั่วไปแล้ว หากคนใดคนหนึ่งไม่สามารถกู้ซื้อบ้านโดยเพียงลำพังได้ เนื่องจากรายได้ไม่เพียงพอกับวงเงินที่ต้องการจะซื้อบ้าน
เราสามารถนำรายได้ของคู่สมรสมาร่วมกันกู้ได้อีกแรง แต่.. มีคนกลุ่มหนึ่งที่แม้พวกเขาจะรักกันมากเพียงใด คบหาดูใจกันนานเป็นสิบปี
ก็ไม่อาจจะใช้ความเป็นคู่รักในการกู้ร่วมกันซื้อบ้านได้ เพียงเพราะเพศกำเนิดของพวกเขาเป็นเพศเดียวกัน

แม้ว่าปัจจุบัน ธนาคารหลายแห่งจะมีนโยบายในการปล่อยสินเชื่อให้คู่รัก LGBTQ+ มานานแล้ว แต่หากมองไปเงื่อนไข
กลับพบว่าธนาคารส่วนใหญ่มักจะมีเงื่อนไขพิเศษ ที่ใช้ในการพิจารณามากกว่าคู่สมรสทั่วไป เพราะฉะนั้น กฎหมายสมรสเท่าเทียม
จึงจะมาช่วยทำให้คู่รักทุกคู่มีสิทธิในการทำธุรกรรมต่างๆ เทียบเท่ากัน โดยไม่มีการแบ่งแยกเพศอีกต่อไป

**ในปัจจุบันมีธนาคารอะไรบ้างที่สามารถกู้ร่วมได้ ? อ่านได้ที่บทความ ……………..

  1. การรับมรดก

คำว่า มรดก นั้นมีหลากหลายประเภท แต่มีอยู่ประเภทหนึ่งที่เป็นทรัพย์สินชิ้นใหญ่ มีมูลค่ามาก
และเป็นที่หมายปองของผู้มีสิทธิทางกฎหมายทั้งหลายคือ “อสังหาริมทรัพย์”

 

การที่คู่รัก LGBTQ+ ไม่ได้มีสถานะเป็น “คู่สมรส” อาจทำให้เกิดปัญหาตามมาเมื่อคนใดคนหนึ่งถึงแก่กรรมจากโลกนี้ไป เพราะคนรักที่คบกันมาตลอดชีวิตนั้น
ถือเป็น “คนอื่น” ไม่มีสิทธิทางกฎหมายในการรับมรดกอย่างบ้านที่เขาใช้ชีวิตร่วมกันมา ร่วมกันซื้อ ร่วมกันผ่อน ร่วมกันสร้างความทรงจำดีๆ 

ถ้าใครเจอครอบครัวของอีกฝ่ายนิสัยดี ใจดีกับเรา ไม่คิดจะฮุบสมบัติไว้ก็โชคดีไป แต่หากเจอคนที่หวังเงิน หวังในมูลค่าของบ้านเรานั้น
คนที่ยังอยู่อาจจะต้องเสียใจเพราะถูกยึดสิทธิในบ้าน เป็นความทุกข์ใจไปตลอดชีวิต

  1. ภาษีที่เท่าเทียม

เพื่อนๆ รู้หรือไม่ ว่าเราสามารถโอนกรรมสิทธิที่ดินหรือบ้านให้คนอื่นได้ ต่อให้ไม่ใช่คู่สมรสกันก็ตาม เรียกว่า “ให้โดยเสน่หา”
เพียงแต่ว่า การโอนสิทธิระหว่างคู่สมรสนั้น มีค่าธรรมเนียมการโอนที่ถูกกว่ามาก จากปกติทั่วไป 2% จะเหลือเพียงแค่ 0.5% เท่านั้น
จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงควรผลักดันการสมรสเท่าเทียม ให้คู่รัก LGBTQ+ มีสิทธิเหมือนคู่สมรสทั่วไป

  1. สิทธิในการทำธุรกรรมที่สำนักงานที่ดิน

ขึ้นชื่อว่ามนุษย์แล้ว ต่อให้รักกันแค่ไหน แต่เมื่อชีวิตต้องเจอกับวิกฤต ก็มักจะหักหลังกันได้ง่ายๆ ทุกเวลา และการหักหลังประเภทหนึ่งที่ทำร้ายจิตใจคู่รักมานักต่อนักนั้น
คือการแอบเอาบ้านไปกู้เงิน และสุดท้ายไม่มีปัญญาใช้หนี้ จนโดนยึดบ้านไปอย่างน่าเศร้าใจ

ธรรมดาทั่วไปแล้ว คู่สมรสทั่วไปยังเกิดปัญหานี้ได้ไม่ยาก แล้วคู่รัก LGBTQ+ ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันจะไปเหลืออะไร!
เมื่อชื่อหลังโฉนดที่แสดงความเป็นเจ้าของนั้นเป็นของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น ซึ่งโดยปกติแล้วการที่เราจะเอาบ้านไปค้ำประกันกู้เงิน
หากเป็นผู้ที่จดทะเบียนสมรสกันนั้น จำเป็นต้องมีการ ”ยินยอม” จากคู่สมรสในการทำธุรกรรมด้วย แต่กับคู่รักที่ไม่ได้สมรสกันตามกฎหมาย
เราจะไม่มีสิทธิมีปากมีเสียงคัดค้านการทำธุรกรรมใดๆ ได้เลย

สมรสเท่าเทียม สำคัญแค่ไหนในวงการอสังหาฯ

—————————————————————–

 

เพื่อนๆ พอจะเห็นภาพกันบ้างแล้วหรือไม่ สำหรับเรื่อง สมรสเท่าเทียม ที่เกี่ยวกับวงการอสังหาฯ ว่าสิทธิต่างๆ ของคู่รัก LGBTQ+ นั้น
แตกต่างกันคู่สมรสทั่วไปอย่างไร แล้วทำไมเราถึงจะต้องยอมรับความแตกต่างกันนี้ ทั้งๆ ที่เป็นมนุษย์ที่มีความรู้สึก มีหัวใจไม่แตกต่างกัน

 

Property 4 Cash ขอเป็นเสียงเล็กๆ และเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนความเท่าเทียม และขอให้กฎหมายสมรสเท่าเทียม มีผลบังคับใช้ในเร็ววันค่ะ

 

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

กู้ร่วม แต่ผู้กู้ร่วมอีกคนเสียชีวิต ทำจำนองขายฝากได้ไหม?
2
Jul 24
กู้ร่วมแต่ผู้กู้ร่วมอีกคนเสียชีวิต ทำจำนองขายฝากได้ไหม?

หลายคนคงเคยกังวลว่าหากเรา กู้ร่วม ซื้อบ้านหรือคอนโดกับใครสักคน แล้วเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ผู้กู้ร่วมเสียชีวิต เราจะทำอย่างไรต่อ? โดยเฉพาะเรื่อง มรดก การผ่อนชำระสินเชื่อ หรือ  การขายฝาก จำนอง บทความนี้จะมาไขข้อสงสัยเหล่านี้ให้กระจ่าง พร้อมอธิบายแนวทางปฏิบัติอย่างละเอียด เมื่อเผชิญสถานการณ์สูญเสียผู้กู้ร่วม เมื่อผู้กู้ร่วมเสียชีวิต สัญญาจะยังคงอยู่หรือไม่? ตอบ: สัญญากู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัยยังคงมีผลผูกพันแม้ว่าผู้กู้ร่วมจะเสียชีวิตก็ตาม ภาระหนี้สิน มรดก ต่างๆ จะตกไปอยู่กับผู้ กู้ร่วม ที่ยังมีชีวิตอยู่และทายาทของผู้เสียชีวิต แล้วทายาทมีสิทธิ์อะไรบ้าง? ตอบ: ทายาทของผู้เสียชีวิตมีสิทธิ์เลือกดังนี้ รับสืบทอดหนี้สิน: ทายาทสามารถรับสืบทอดหนี้สินต่อจากผู้เสียชีวิต โดยจะต้องผ่อนชำระสินเชื่อร่วมกับผู้กู้ร่วมที่ยังมีชีวิตอยู่ สละสิทธิ์: ทายาทสามารถสละสิทธิ์ไม่รับสืบทอดหนี้สิน กรณีนี้ธนาคารอาจพิจารณาให้ผู้กู้ร่วมที่ยังมีชีวิตอยู่กู้ต่อเพียงลำพัง หรือหาผู้กู้ร่วมใหม่ ขายทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้: ทายาทสามารถขายบ้านหรือคอนโดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้สิน กรณีต้องการขายฝากหรือจำนอง กรณีผู้กู้ร่วมเสียชีวิต การทำ […]

อ่านเพิ่มเติม
เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน กับ เจ้าของบ้าน แตกต่างกันอย่างไร?
24
Oct 23
เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน กับ เจ้าของบ้าน แตกต่างกันอย่างไร?

หลายท่านคงสงสัย? ว่าเจ้าบ้านคือใคร!! หรือบางท่านอาจจะคิดไปถึงผีบ้านผีเรือน แต่ที่จริงแล้วตามหลักกฎหมาย ว่าด้วยเรื่องการดูแลบ้าน บ้านทุกหลังต้องมี เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน เพื่อระบุว่าบุคคลที่เป็นเจ้าบ้านนั้น ผู้เป็นหัวหน้าซึ่งครอบครองบ้าน ในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือในฐานะอื่น เช่น ผู้ดูแลบ้าน แล้วแตกต่างยังไงกับเจ้าของบ้านละ วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยกันค่ะก่อนอื่นเรามาดูความหมายของทั้งสองคำนี้กันก่อนเลยค่ะ เจ้าบ้าน หมายถึง ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะที่เป็นเจ้าของ ผู้เช่า และอื่นๆ โดยหากในทะเบียนบ้านไม่มีชื่อเจ้าบ้าน หรือผู้ที่ถูกแต่งตั้งเป็นเจ้าบ้าน เกิดเสียชีวิต ผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านสามารถมาเป็นเจ้าบ้านแทนได้ เจ้าของบ้าน หมายถึง เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อในโฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย มีสิทธิใช้สอย หวงกัน ติดตามเอาทรัพย์คืน. ใช้ยันต่อบุคคลทั่วไป มีกฎหมายรองรับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 โดยจากความหมายด้านบน เจ้าบ้านหรือเจ้าของบ้าน อาจจะเป็นคนเดียวกัน หรือ ไม่ใช่คนเดียวกันก็ได้ค่ะ หน้าที่เจ้าบ้าน VS เจ้าของบ้าน เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน มีหน้าที่ตาม พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร […]

อ่านเพิ่มเติม
TM30 ปล่อยเช่าชาวต่างชาติต้องรู้ ฉบับอัปเดต ถ้าไม่อยากเสียค่าปรับ!!
22
Feb 24
อัพเดทการยื่น TM30 ปล่อยเช่าชาวต่างชาติต้องรู้ ถ้าไม่อยากเสียค่าปรับ!!

ทันทีที่ผู้เช่าชาวต่างชาติเข้าห้องพักที่คุณปล่อยเช่า คุณอาจคิดว่าหน้าที่ในฐานะของเจ้าบ้านได้เสร็จสิ้นลงแล้ว แต่ไม่ใช่เช่นนั้นค่ะ เพราะสิ่งที่ต้องทำในขั้นตอนต่อไปก็คือการแจ้ง ‘ TM30 ’ หรือ การแจ้งข้อมูลของลูกค้าชาวต่างชาติที่เข้ามาพักในห้องของเรา ให้กับที่ทำการตรวจคนเข้าเมือง หรือสถานีตำรวจในท้องที่ ได้รับทราบ ตามพระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522   การแจ้ง TM30 หรือ ตม. 30 นี้ ไม่ว่าใครที่ประกอบกิจการโรงแรม เกสเฮ้าส์ แมนชั่น อพาร์ตเม้นท์ สถานประกอบการ หรือบ้านเช่า ก็ต้องทำการแจ้งว่ามีชาวต่างชาติเข้าพักอาศัย ‘ภายใน 24 ชั่วโมง’ นับจากเวลาเข้าพัก และที่สำคัญก็คือ ชาวต่างชาติผู้นั้นต้องได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ต้องผ่านการตรวจเข้าเมืองตามกฎหมาย ต้องเข้ามาประกอบอาชีพ หรือทำธุรกิจที่ถูกกฎหมาย ซึ่งหากเจ้าของห้องท่านใดไม่ปฎิบัติตาม จะมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท นั่นเองค่ะ   สำหรับในส่วนของวิธีการแจ้ง ตม. 30 นั้น สามารถทำได้ 3 วิธี คือ •  นำเอกสารมาแจ้งด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ผุ้อื่นนำเอกสารมาแจ้ง แจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน แจ้งทางระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต(Inte […]

อ่านเพิ่มเติม