พนักงานประจำ VS เจ้าของธุรกิจใคร ขอสินเชื่อ ง่ายกว่ากัน
5
May 23

ไม่ว่าจะเป็นพนักงานประจำหรือแม้แต่เจ้าของกิจการเองก็คงอยากมีที่พักอาศัยเป็นของตัวเองทั้งนั้น
แต่การจะมีบ้านหรือคอนโดสักหลังที่มีราคาค่อนข้างสูงอาจเป็นเรื่องที่ไกลตัวสำหรับบางคน
ถึงแม้ช่วงนี้เหล่า Developer จะออกโปรโมชั่น ขายคอนโดราคาถูกลง
แต่หากเราไม่มีเงินสดไปซื้อแบบเต็มจำนวน แน่นอนว่าต้องมีการยื่น ขอสินเชื่อ กับทางธนาคาร
แล้วระหว่างคน 2 คน ที่เป็นพนักงานประจำกับเจ้าของกิจการ ธนาคารจะมีหลักการพิจารณาที่แตกต่างกันไหม
ธนาคารจะขอเอกสารอะไรบ้าง และใครที่ธนาคารจะอนุมัติสินเชื่อให้ได้ง่ายกว่ากัน มาดูกันเลยค่ะ

เอกสารที่ใช้ในการยื่นขออนุมัติสินเชื่อบ้าน
แน่นอนว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดในการยื่น ขอสินเชื่อ กับธนาคารต้องเตรียมเอกสารกู้บ้านให้พร้อม
เพื่อช่วยร่นระยะเวลาให้สถาบันการเงินอนุมัติสินเชื่อบ้านเร็วมากยิ่งขึ้น
การเตรียมเอกสารจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ

เอกสารทั่วไป
1. สำเนาบัตรประชาชน บัตรข้าราชการ หรือหนังสือเดินทาง
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. สำเนาทะเบียนสมรส/ใบหย่า/ใบมรณะบัตร/ใบแจ้งความแยกกันอยู่
4. สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล (ถ้ามี)

เอกสารแสดงรายได้ ซึ่งส่วนนี้เอกสารที่ต้องเตรียมระหว่าง พนักงานประจำและเจ้าของกิจการ
จะมีความแตกต่างกันอยู่ค่อนข้างมาก
สำหรับพนักงานประจำสิ่งที่คุณจะต้องเตรียมก็คือ
– หนังสือรับรองเงินเดือนหรือหนังสือรับรองเงินเดือนแบบใช้สวัสดิการของหน่วยงาน
– สลิปเงินเดือนย้อนหลัง 6 เดือน
–  สมุดบัญชีเงินเดือนย้อนหลัง 6 เดือน

สำหรับเจ้าของกิจการเอกสารที่คุณต้องเตรียมก็คือ
– สำเนาทะเบียนการค้าหรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท
– รายชื่อผู้ถือหุ้น
– รายการเดินบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 12 เดือน
– สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี
– หลักฐานการเสียภาษี เช่น ภ.พ. 30 เป็นต้น
– รูปถ่ายกิจการ 4-5 ภาพพร้อมแผนที่ตั้งโดยสังเขป

จะเห็นได้ชัดเลยว่าเอกสารของผู้ที่เป็นเจ้าของธุรกิจจะเยอะและละเอียดกว่าผู้ที่เป็นพนักงานประจำอยู่มาก

สำหรับหลักเกณฑ์พิจารณาที่แตกต่างกันก็คือ ประเภทของรายได้
ซึ่งถ้าคุณเป็นพนักงานประจำ รายได้ดี ภาระหนี้สินไม่มากเกิน เรียกได้ว่าแทบจะไม่มีปัญหาเลย
ส่วนใหญ่ที่มีปัญหาจะเป็นเจ้าของกิจการ
เพราะการประเมินรายได้ของธนาคารจะแตกต่างจากพนักงานประจำมากๆ เลย เช่น

นาย A เป็นพนักงานประจำมีรายได้ 50,000 บาทต่อเดือน กับนาย B ที่เป็นเจ้าของกิจการมีรายได้ 50,000 บาทเท่ากัน
ธนาคารก็จะคิดรายได้ของนาย A เต็ม 50,000 บาทและนำไปคิดเลยว่านาย A สามารถกู้ได้เท่าไหร่
แต่สำหรับนาย B ที่เป็นเจ้าของกิจการเมื่อยื่นไปว่ามีรายได้ 50,000 บาท ทางธนาคารจะนำ 50,000 บาท
ไปหักกับค่าส่วนต่างหรือค่าอื่นๆ โดยส่วนใหญ่จะหักอยู่ที่ 20 – 40%  โดยจำนวนที่จะโดนหักขึ้นอยู่กับ ความน่าเชื่อถือของธุรกิจ
ประเภทธุรกิจและปัจจัยอื่นๆ นอกจากนี้ธนาคารยังต้องดูกำไรของธุรกิจที่ทำ และสัดส่วนหุ้นที่ถืออยู่
เพื่อพิจารณาว่านาย B มีความสามารถในการผ่อนชำระเงินงวดได้ตามวงเงินที่ยื่นขอสินเชื่อไว้หรือไม่

จากที่เรากล่าวมาทั้งหมดในข้างต้นการตอบคำถามที่ว่าธนาคารจะอนุมัติสินเชื่อให้ใครได้ง่ายกว่ากันก็คงไม่ใช่เรื่องยาก
ธนาคารจะมองว่าพนักงานประจำนั้นมีรายได้ที่แน่นอนกว่า ทำให้ธนาคารจะอนุมัติสินเชื่อให้กับพนักงานประจำได้ง่ายกว่านั่นเอง

พนักงานประจำ VS เจ้าของธุรกิจใคร ขอสินเชื่อ ง่ายกว่ากัน

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

ทรัพย์หลุดขาย ฝากผู้รับซื้อฝากจะทำยังไง?
31
Aug 24
ทรัพย์หลุดขายฝากผู้รับซื้อฝากจะทำยังไง?

ทรัพย์หลุดขายฝาก ผู้รับซื้อฝากจะทำยังไง? การทำธุรกรรมขายฝาก เป็นสัญญาประเภทหนึ่งที่เจ้าของทรัพย์สิน (ผู้ขายฝาก) นำทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน บ้าน คอนโด อสังหาริมทรัพย์ต่างๆ มาให้กับอีกบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่า (ผู้รับซื้อฝาก) ถือกรรมสิทธิ์ชั่วคราว เพื่อขอเงินกู้หรือพูดกันให้เข้าใจง่ายๆว่า เอาโฉนดมาวางค้ำเป็นหลักประกัน เพื่อกู้เงินนำเงินไปใช้ก่อนเมื่อครบกำหนดสัญญาตามที่ตกลงกันก็นำเงินต้นมาไถ่ถอนคืน แต่ในระหว่างสัญญาก็จะมีค่าดอกเบี้ยที่ผู้ขายฝากจะต้องจ่ายให้แก้ผู้รับซื้อฝาก ในปัจจุบันนี้คนต้องการใช้เงินก้อน เงินด่วนเป็นจำนวนมากเจ้าของทรัพย์ก็นำโฉนดมาทำขายฝากกับทางนายทุนเป็นตัวเลขที่ตกลงกันทั้ง 2 ฝ่าย แต่เมื่อครบกำหนดสัญญาผู้ขายฝากไม่มาไถ่ถอนทรัพย์คืน จึงทำให้ทรัพย์หลุดไปเป็นของผู้รับซื้อฝากโดยทางกฎหมาย กรณีที่ ทรัพย์หลุดขายฝาก ผู้รับซื้อฝากจะต้องทำยังไงบ้าง และจะเสียค่าใช้จ่ายอะไรไหม? – กรณีที่ผู้รับซื้อฝากไม่ได้ส่งหนังสือแจ้งให้ทรัพย์ได้ทราบ ตามกฎหมายใหม่ต้องรอ 6เดือน ทรัพย์จะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากโดยสมบูรณ์ – ถ้าผู้รับซื้อฝากส่งหนังสือแจ้งทรัพย์แล้ว (ส่งหนังสือแจ้งทรัพย์ไม่น้อยกว่า […]

อ่านเพิ่มเติม
ไถ่ถอนจำนอง-ขายฝาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ?
22
Mar 23
ไถ่ถอนจำนอง-ขายฝาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ?

เพื่อนๆ หลายคนที่มีข้อสงสัยว่าถ้าต้องการ “ไถ่ถอน” จำนองและขายฝากต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรไหม ? เพราะว่าบางคนอาจจะมีความสามารถชำระหนี้หมดก่อนเวลาที่กำหนดไว้  ซึ่งการ ไถ่ถอนจำนอง หรือขายฝากนั้น ก็มีความแตกต่างกันแล้วแต่กรณีตามประเภทของการไถ่ถอน วันนี้เราจะพาทุกคนไปหาคำตอบกันว่า การไถ่ถอนจำนอง และขายฝาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ? ไปดูกันเลย การ ไถ่ถอนจำนอง คืออะไร คือ เจ้าของที่ดิน หรือเจ้าของทรัพย์ ได้จดทะเบียนจำนองไว้เป็นหลักค้ำประกันในการชำระหนี้ ต่อมาได้ทำการชำระหนี้ที่จำนองไว้เสร็จสิ้นแล้ว เมื่อชำระหนี้หมดแล้ว ต้องไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองเพื่อแก้ไขเอกสารสิทธิว่าไม่มีการจำนอง หรือปลอดจำนองแล้วนั่นเอง วิธีการไถ่ถอนจำนอง มี 2 แบบ ผู้จำนอง และ ผู้รับจำนอง ไปที่สำนักงานที่ดิน เพื่อยื่นคำขอจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน พร้อมกัน ผู้ที่มีสิทธิในที่ดินหรือผู้มีสิทธิไถ่ถอนเพียงฝ่ายเดียว ไปที่สำนักงานที่ดิน นำหลักฐานที่ผู้รับจำนองได้ทำเป็นหนังสือหลังสัญญาจำนอง ฉบับผู้รับจำนองว่าได้มีการไถ่ถอนจากจำนองแล้ว มีการชำระหนี้ครบแล้ว ไปขอจดทะเบียนไถ่ถอน ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ณ […]

อ่านเพิ่มเติม
ทรัพย์หลุด ฝากขาย ควรทำอย่างไรดี?
12
Dec 23
ทรัพย์หลุดฝากขาย ควรทำอย่างไรดี?

หลายๆ คนที่นำอสังหาริมทรัพย์มาขายฝากครั้งแรกก็มักมีคำถามกังวลใจตลอดเวลา ถ้าขายฝากอสังหาริมทรัพย์ไปแล้วจะมีโอกาสหลุดไปหรือไม่ หากขายฝากแล้ว ทรัพย์หลุด เราควรทำอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะได้ทรัพย์สินนั้นคือมา จริงๆ การขายฝากก็คล้ายกับการจำนองนั้นเอง เราสามารถไถ่ถอนทรัพย์คืนได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา และเสียค่าดอกเบี้ยตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ เมื่อมีการจะถอนไถ่ทรัพย์จะต้องมีเงินต้นไปไถ่ถอนคืนภายใน 1 ปี กรณีเลยกำหนดไถ่ถอน หรือ ทรัพย์หลุด ขายฝาก อาจมี 2 สาเหตุ เกิดจากติดต่อผู้ซื้อฝากไม่ได้ หรือผู้ซื้อฝากเบี้ยวนัด ในกรณีนี้ หากผู้ขายฝากพร้อมจะชำระหนี้ไถ่ถอนตามสัญญา แต่ผู้ซื้อฝากบ่ายเบี่ยงไม่ยอมรับชำระหนี้ หรือติดต่อเท่าไหร่ก็ติดต่อไม่ได้เลย อย่าปล่อยเวลาผ่านไปเฉยๆ เพราะคิดว่าติดต่อผู้ซื้อฝากไม่ได้คงไม่เป็นอะไร เพราะมันมีผลทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่ขายฝากไปนั้นตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อฝากทันที ปัญหาตรงนี้แหละที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้จะทำอย่างไรดี? ถ้าเกิดกรณีกับคุณ หรือเกิดกับญาติพี่น้อง ให้แก้ด้วยวิธีการนำเงินสินไถ่ไปวางที่ สำนักงานวางทรัพย์ กรมบังคับคดี ภายในกำหนดสัญญา จะทำให้ผู้ขายฝากหลุดจากหน […]

อ่านเพิ่มเติม