ลงทุนขายฝาก ดีกว่าซื้อไว้ปล่อยเช่ายังไง
3
Mar 23

ลงทุนขายฝาก รับจำนอง เป็นการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ประเภทหนึ่ง ที่ให้ผลตอบแทนสูงถึง 15% ต่อปีได้ แต่เป็นการลงทุนที่หลายๆ คนอาจจะไม่คุ้นหูนัก
เพราะเมื่อนึกถึงการลงทุนอสังหาฯ แล้ว มันคุ้นชินกับการซื้อมาเก็บไว้เก็งกำไร หรือซื้อมาเพื่อปล่อยเช่าเสียมากกว่า

วันนี้เราลองมาดูกันว่า การลงทุนในอสังหาฯ อย่างการซื้อมาปล่อยเช่า และ ลงทุนรับจำนอง-ขายฝาก  แตกต่างกันอย่างไรบ้าง และอะไรดีกว่ากัน ?

ลงทุนขายฝาก vs ซื้อไว้ปล่อยเช่า

การลงทุนขายฝาก รับจำนอง และ การซื้อไว้ปล่อยเช่า
ต่างก็เป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนเป็นกระแสเงินสดเข้าบัญชีเราทุกเดือนได้เหมือนกัน แต่มีความแตกต่างกันในรายละเอียดอยู่มาก

ผลตอบแทนต่อปี

ซื้อไว้ปล่อยเช่า : มีผลตอบแทนอยู่ที่ 6-8% ต่อปี

ลงทุนขายฝาก – จำนอง : มีผลตอบแทนอยู่ที่ 15% ต่อปี

การลงทุน ซื้อไว้ปล่อยเช่า ไม่ว่าจะเป็นคอนโด บ้าน หรือว่าที่ดินนั้น โดยเฉลี่ยแล้ว จะมีผลตอบแทนอยู่ที่ประมาณ 5-8% ต่อปี
กล่าวคือหากเราซื้อคอนโดมาราคา 2,000,000 บาท แล้วปล่อยเช่าได้ในราคาประมาณ 8,000 – 13,000 บาท / เดือน เท่ากับว่าเราจะได้ค่าเช่าปีละประมาณ 100,000 – 160,000 บาท

ส่วนการลงทุน รับจำนอง และขายฝาก กฎหมายกำหนดให้เราสามารถคิดดอกเบี้ยได้ไม่เกิน 15% ต่อปี เท่ากับว่าหากเราลงทุนรับจำนอง-ขายฝาก
ด้วยวงเงิน 2,000,000 บาท เราจะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย 25,000 บาท / เดือน หรือคิดเป็นจำนวนปีละ 300,000 บาทนั่นเอง

แหล่งที่มาของเงินลงทุน 

ซื้อไว้ปล่อยเช่า : เงินสด หรือกู้ธนาคาร

ลงทุนขายฝาก – จำนอง : เงินสด

การลงทุนทั้ง 2 ประเภทนั้น เป็นการลงทุนที่เราจำเป็นจะต้องมี “เงินสด” อยู่ในมืออยู่แล้ว และเงินที่นำมาลงทุนควรเป็นเงินที่เราจัดสรรไว้เพื่อลงทุนโดยเฉพาะ
เป็นเงินที่เราจะไม่ถอนมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันทั่วไป เงินส่วนนี้จะเรียกกันแบบบ้านๆ ว่า “เงินเย็น”
เพราะการลงทุนอสังหาฯ นั้น ต้องใช้ระยะเวลา กว่าที่เราจะทำผลตอบแทนให้ “คืนทุน” ได้

แต่การลงทุนประเภท ซื้อไว้ปล่อยเช่า นั้น จะได้เปรียบในส่วนนี้อยู่ในจุดนี้คือ เราสามารถขอสินเชื่อหรือกู้ธนาคารเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้
แต่มีความเสี่ยงอยู่ตรงที่เราเองในฐานะผู้ลงทุน ก็ต้องเสียดอกเบี้ยให้กับธนาคารตามสัญญาเงินกู้เช่นกัน

 

หากเรามั่นใจว่าเราสามารถบริหารเงินลงทุนของเราให้มีกระแสเงินสดเป็นบวก ให้งอกเงยกว่าดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายให้กับธนาคารได้ หรือพูดง่ายๆ ว่า
“รายได้จากค่าเช่าแต่ละเดือน มากกว่าจำนวนเงินที่เราต้องผ่อนกับธนาคาร”

ถ้าเรามีการบริหารจัดการเงินที่ดี การกู้ธนาคารมาซื้อทรัพย์สินเพื่อปล่อยเช่าก็เป็นวิธีที่น่าสนใจไม่น้อยเหมือนกัน เพียงแค่ต้องระมัดระวัง
และบริหารความเสี่ยงให้ดีๆ ไม่งั้นจะกลายเป็นหนี้หัวโตแทน

ความเสี่ยงที่ต้องพบเจอ
พูดถึงผลตอบแทนกันไปแล้ว จะไม่พูดถึง “ความเสี่ยง” เลยก็คงจะไม่ได้ ไม่งั้นจะกลายเป็นดูขายฝันกันเกินไป
หากเราไม่ประเมินความเสี่ยงกันก่อนลงทุนว่ามีอะไรบ้าง

การลงทุนขายฝาก – จำนอง เป็นการลงทุนที่มักเจอกับปัญหาผู้กู้ไม่ชำระดอกเบี้ย ไม่นำเงินต้นมาไถ่ถอนภายในระยะเวลาสัญญาที่กำหนด
ทำให้ผู้ลงทุนต้องมานั่งปวดหัวกัน แต่ยังนับว่าเป็นการลงทุนที่ “ความเสี่ยงต่ำ” ด้วยความที่เรามีทรัพย์สินของผู้ที่มาจำนอง
หรือขายฝากไว้เป็นประกันอยู่ และวงเงินที่เราอนุมัติให้กับผู้กู้นั้น ก็เป็นราคาที่ “ต่ำกว่า” ราคาซื้อขายกันในตลาดนั่นเอง

ส่วนการ ซื้อไว้ปล่อยเช่า หากเราเลือกซื้อทรัพย์สินที่มีจุดเด่นในเรื่องทำเลที่ดีแล้ว เราก็อาจจะไม่ปวดหัวกับการหาผู้เช่ามากนัก
แต่สิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากมาก คือ “ประเภทผู้เช่า” ที่แม้เราจะคัดกรองอย่างไร ก็อาจมีปัญหาที่เราไม่คาดคิดมาก่อนเกิดขึ้นได้
ทั้งการแอบเลี้ยงสัตว์ในขณะที่เราห้ามเลี้ยง การนำทรัพย์สินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ หรือปัญหาคลาสสิคอย่างการเงียบหนีหายไม่จ่ายค่าเช่า เป็นต้น

ทั้งนี้ยังมีอีกหนึ่งความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนมักมองข้ามไปคือค่าใช้จ่ายในการ “บำรุงรักษา” ซึ่งผู้ลงทุนมือใหม่ส่วนใหญ่
มักลืมคิดค่าใช้จ่ายนี้ในส่วนของต้นทุน ทำให้เป็นปัญหาในการบริหารกระแสเงินสด

นอกจากนี้ค่าบำรุงรักษาในบางจุดนั้น ยังเป็นรายจ่ายฉุกเฉินที่เราไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้อีกด้วย ควรจะเก็บเงินประกันทรัพย์สินไว้เพื่อการนี้ด้วย

ข้อดีของการลงทุนแต่ละประเภท
การลงทุนขายฝาก – จำนอง  จากความเสี่ยงที่แจ้งไปในข้างต้น หากผู้กู้ไม่ชำระดอกเบี้ย หรือนำเงินต้นมาไถ่ถอนตามระยะเวลาสัญญา
ในส่วนของการจำนองนั้น เราสามารถฟ้องบังคับขายทอดตลาดเพื่อชดเชยส่วนของเราได้ หรือหากเป็นการรับขายฝาก
เราก็สามารถนำทรัพย์ไปขายได้เลยทันทีเพราะทางกฎหมายถือว่าทรัพย์สินนั้นตกเป็นของเราแล้ว

ส่วนการ ซื้อไว้ปล่อยเช่า นั้น มีข้อดีคือทรัพย์สินเป็นของเรา และอย่างที่ทราบกันดีว่าราคาอสังหาริมทรัพย์นั้นสูงขึ้นทุกปี (แต่ไม่ใช่ทุกที่เด้อออ)
ทำให้ตอนที่เราต้องการจะขายเพื่อถอนทุนคืน อาจจะขายในราคาที่สูงกว่าราคาที่ซื้อมา ทำให้เราสามารถทำกำไรจากส่วนต่างราคาได้อีกต่างหากด้วย

บทส่งท้าย.. การลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยงแตกต่างกันไป ก่อนจะลงทุนอะไรควรศึกษาให้ดีๆ และเลือกลงทุนในแบบที่เหมาะกับคุณ
เพราะเป็นวิธีที่จะทำให้ผลลัพธ์ ผลตอบแทนออกมาดีที่สุดนั่นเอง

ลงทุนขายฝาก ดีกว่าซื้อไว้ปล่อยเช่ายังไง

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

ที่ดิน ส.ป.ก.
7
Feb 23
ที่ดิน ส.ป.ก. ซื้อขาย จำนองได้หรือไม่

ที่ดิน สปก ซื้อขาย จำนองได้หรือไม่ เรื่องมีอยู่ว่าทีมงานได้รับการติดต่อจากคนที่สนใจ จะนำที่ดินมาจำนอง ขายฝาก โดยที่หลายท่านนั้น นำที่ดิน ส.ป.ก. มาให้ทางเราช่วยประเมินวงเงิน เพราะมีผู้คนจำนวนมากที่อาจจะยังไม่เข้าใจถึงสิทธิใน ที่ดิน ส.ป.ก. ว่าสามารถซื้อขาย จำนองได้หรือไม่ วันนี้เลยอยากจะพาเพื่อนๆ ไปรู้จักกับที่ดิน ส.ป.ก. ให้มากขึ้นกัน ที่ดิน ส.ป.ก. คืออะไร            ที่ดิน ส.ป.ก. หรือที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 คือ เป็นเอกสารสิทธิที่ภาครัฐให้ประชาชนเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน เอกสารแสดงการครอบครองที่ดินที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกให้กับประชาชนเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน เกิดขึ้นเมื่อมีพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 โดยมีหลักว่า ที่ดินในเขตปฏิรูปนั้นใช้ทำเกษตรกรรมได้อย่างเดียวเท่านั้น ทำประโยชน์อย่างอื่นไม่ได้ และผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 จะต้องมีฐานะยากจน ใครบ้างที่มีสิทธิครอบครองที่ดิน ส.ป.ก. เกษตรกร เป็นผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักอยู่แล้ว โดยใช้เวลาส่วนใหญ่ในรอบปี เพื่อประกอบเกษตรกรรมแห่งท้องถิ่นนั้น […]

อ่านเพิ่มเติม
โฉนดลอย ที่ดินคืออะไร สามารถขายฝากได้หรือไม่
19
Dec 23
โฉนดลอยที่ดินคืออะไร สามารถขายฝากได้หรือไม่

วันนี้ Property4Cash จะพาทุกคนไปรู้จักกับคำว่า “โฉนดลอย” ซึ่งหลายคนมักจะได้ยินบ่อยๆ แต่หลายคนก็ยังอาจจะไม่เข้าใจ วันนี้เราจะมาอธิบายขยายความ คำนี้ให้ทุกคนได้เข้าใจกันเองค่ะ โฉนดลอย คืออะไร? โฉนดลอยคือ ที่ดินปลอดภาระหนี้ ไม่ได้ติดอยู่ในธนาคารและ มีลายเซ็นต์แสดงความเป็นเจ้าของอยู่ด้านหลังโฉนด พร้อมกับออกเลขที่บ้านแล้ว แสดงให้เห็นถึงความพร้อมในฐานะของผู้ขาย ที่เตรียมไว้ให้ผู้ซื้อ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โฉนดลอยเป็นโฉนดที่แสดงถึงการไม่มีภาระผูกมัด เช่น การจำนองหรือการขายฝาก รวมถึงปลอดภาระหนี้สินจากธนาคารด้วย โฉลดลอย จะนำมาขายฝากหรือจำนองได้หรือไม่? เจ้าของที่ดิน ที่มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดิน ที่ปลอดภาระหนี้สิน ไม่ติดจำนอง ขายฝาก หรือเรียกกันง่ายๆ ว่าเป็น โฉนดลอย สามารถนำโฉนดที่ดิน มาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันทำสัญญา ขายฝากที่ดิน ขายฝากบ้านพร้อมที่ดิน ณ สำนักงานที่ดิน เพื่อรับเงินก้อนและอัตราดอกเบี้ยขายฝาก ตามที่ตกลงกับผู้รับซื้อฝาก หรือ นักลงทุนรับซื้อฝาก ภายใต้กรอบที่กฎหมายกำหนดไว้ จุดไหนบนโฉนดที่ดินที่ต้องเช็คให้ชัวร์ ป้องกันกลโกงจากผู้ไม่ประสงค์ดี? การที่เราจะรับขายฝากหรือจำนองอส […]

อ่านเพิ่มเติม
6 วิธี เดินบัญชีให้ กู้เงิน ผ่านแบบชิวๆ
28
Apr 23
6 วิธี เดินบัญชีให้กู้ผ่านแบบชิวๆ

สำหรับคนที่วางแผนจะซื้อบ้าน ซื้อที่ดิน และต้องยื่นขอสินเชื่อ กู้เงิน กับทางธนาคาร หากไม่อยากเสียเวลาในการขอสินเชื่อเราต้องหันมาใส่ใจกับการเดินบัญชีของเรากันได้แล้วค่ะ เพราะการเดินบัญชีธนาคาร เป็นเรื่องสำคัญ ทั้งใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงเวลาตรวจสอบบัญชี ดูสภาพคล่องทางการเงินของกิจการ และ #การขอสินเชื่อ แล้วจะเดินบัญชียังไงล่ะ ธนาคารถึงจะอนุมัติการขอสินเชื่อของเรากันแบบง่ายๆ ? เรามีคำตอบให้ทุกคนแล้วค่ะ มาเริ่มกันเลย #เช็คเครดิตบูโร ก่อนเริ่มการเดินบัญชี เราต้องเช็คเครดิตบูโรของเราก่อน ว่ามีหนี้ค้างชำระหรือจ่ายเงินล่าช้า จนชื่อไปติดอยู่ในแบล็คลิสต์ของเครดิตบูโรหรือไม่ ? ถ้าพบว่ามีรายชื่อของคุณติดอยู่ให้รีบติดต่อกับบริษัทศูนย์ข้อมูลเครดิตแห่งชาติและเจ้าหนี้โดยทันที #รับเงินเดือนผ่านระบบpayrollของธนาคาร ถ้าบริษัทมีการจ่ายเงินเดือนด้วยระบบ Payroll ของธนาคารนั้น จะได้รับความน่าเชื่อถือจากธนาคารมากกว่า เนื่องจากธนาคารสามารถตรวจสอบที่มาของเงินได้อย่างง่ายดาย #ฝากเงินเข้าอย่างสม่ำเสมอ สถาบันการเงิน และผู้สอบบัญชีมักมุ่งเน้นรายละเอียดการนำเงินเข้าไปฝากในบัญชีเป็นหลัก ดังนั้น เมื่อมีรายได้ที่เป็นผลกำไ […]

อ่านเพิ่มเติม