พนักงานประจำ VS เจ้าของธุรกิจใคร ขอสินเชื่อ ง่ายกว่ากัน
5
May 23

ไม่ว่าจะเป็นพนักงานประจำหรือแม้แต่เจ้าของกิจการเองก็คงอยากมีที่พักอาศัยเป็นของตัวเองทั้งนั้น
แต่การจะมีบ้านหรือคอนโดสักหลังที่มีราคาค่อนข้างสูงอาจเป็นเรื่องที่ไกลตัวสำหรับบางคน
ถึงแม้ช่วงนี้เหล่า Developer จะออกโปรโมชั่น ขายคอนโดราคาถูกลง
แต่หากเราไม่มีเงินสดไปซื้อแบบเต็มจำนวน แน่นอนว่าต้องมีการยื่น ขอสินเชื่อ กับทางธนาคาร
แล้วระหว่างคน 2 คน ที่เป็นพนักงานประจำกับเจ้าของกิจการ ธนาคารจะมีหลักการพิจารณาที่แตกต่างกันไหม
ธนาคารจะขอเอกสารอะไรบ้าง และใครที่ธนาคารจะอนุมัติสินเชื่อให้ได้ง่ายกว่ากัน มาดูกันเลยค่ะ

เอกสารที่ใช้ในการยื่นขออนุมัติสินเชื่อบ้าน
แน่นอนว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดในการยื่น ขอสินเชื่อ กับธนาคารต้องเตรียมเอกสารกู้บ้านให้พร้อม
เพื่อช่วยร่นระยะเวลาให้สถาบันการเงินอนุมัติสินเชื่อบ้านเร็วมากยิ่งขึ้น
การเตรียมเอกสารจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ

เอกสารทั่วไป
1. สำเนาบัตรประชาชน บัตรข้าราชการ หรือหนังสือเดินทาง
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. สำเนาทะเบียนสมรส/ใบหย่า/ใบมรณะบัตร/ใบแจ้งความแยกกันอยู่
4. สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล (ถ้ามี)

เอกสารแสดงรายได้ ซึ่งส่วนนี้เอกสารที่ต้องเตรียมระหว่าง พนักงานประจำและเจ้าของกิจการ
จะมีความแตกต่างกันอยู่ค่อนข้างมาก
สำหรับพนักงานประจำสิ่งที่คุณจะต้องเตรียมก็คือ
– หนังสือรับรองเงินเดือนหรือหนังสือรับรองเงินเดือนแบบใช้สวัสดิการของหน่วยงาน
– สลิปเงินเดือนย้อนหลัง 6 เดือน
–  สมุดบัญชีเงินเดือนย้อนหลัง 6 เดือน

สำหรับเจ้าของกิจการเอกสารที่คุณต้องเตรียมก็คือ
– สำเนาทะเบียนการค้าหรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท
– รายชื่อผู้ถือหุ้น
– รายการเดินบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 12 เดือน
– สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี
– หลักฐานการเสียภาษี เช่น ภ.พ. 30 เป็นต้น
– รูปถ่ายกิจการ 4-5 ภาพพร้อมแผนที่ตั้งโดยสังเขป

จะเห็นได้ชัดเลยว่าเอกสารของผู้ที่เป็นเจ้าของธุรกิจจะเยอะและละเอียดกว่าผู้ที่เป็นพนักงานประจำอยู่มาก

สำหรับหลักเกณฑ์พิจารณาที่แตกต่างกันก็คือ ประเภทของรายได้
ซึ่งถ้าคุณเป็นพนักงานประจำ รายได้ดี ภาระหนี้สินไม่มากเกิน เรียกได้ว่าแทบจะไม่มีปัญหาเลย
ส่วนใหญ่ที่มีปัญหาจะเป็นเจ้าของกิจการ
เพราะการประเมินรายได้ของธนาคารจะแตกต่างจากพนักงานประจำมากๆ เลย เช่น

นาย A เป็นพนักงานประจำมีรายได้ 50,000 บาทต่อเดือน กับนาย B ที่เป็นเจ้าของกิจการมีรายได้ 50,000 บาทเท่ากัน
ธนาคารก็จะคิดรายได้ของนาย A เต็ม 50,000 บาทและนำไปคิดเลยว่านาย A สามารถกู้ได้เท่าไหร่
แต่สำหรับนาย B ที่เป็นเจ้าของกิจการเมื่อยื่นไปว่ามีรายได้ 50,000 บาท ทางธนาคารจะนำ 50,000 บาท
ไปหักกับค่าส่วนต่างหรือค่าอื่นๆ โดยส่วนใหญ่จะหักอยู่ที่ 20 – 40%  โดยจำนวนที่จะโดนหักขึ้นอยู่กับ ความน่าเชื่อถือของธุรกิจ
ประเภทธุรกิจและปัจจัยอื่นๆ นอกจากนี้ธนาคารยังต้องดูกำไรของธุรกิจที่ทำ และสัดส่วนหุ้นที่ถืออยู่
เพื่อพิจารณาว่านาย B มีความสามารถในการผ่อนชำระเงินงวดได้ตามวงเงินที่ยื่นขอสินเชื่อไว้หรือไม่

จากที่เรากล่าวมาทั้งหมดในข้างต้นการตอบคำถามที่ว่าธนาคารจะอนุมัติสินเชื่อให้ใครได้ง่ายกว่ากันก็คงไม่ใช่เรื่องยาก
ธนาคารจะมองว่าพนักงานประจำนั้นมีรายได้ที่แน่นอนกว่า ทำให้ธนาคารจะอนุมัติสินเชื่อให้กับพนักงานประจำได้ง่ายกว่านั่นเอง

พนักงานประจำ VS เจ้าของธุรกิจใคร ขอสินเชื่อ ง่ายกว่ากัน

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

5 ปัญหาทางการเงิน ที่แก้ได้ด้วยการจำนองขายฝาก
10
Mar 23
5 ปัญหาทางการเงิน ที่แก้ได้ด้วยการจำนองขายฝาก

เพื่อนๆ หลายคนต้องเจอกับปัญหาทางการเงิน ที่ทำให้เพื่อนๆนั้นตัดสินใจลำบาก ไม่รู้จะแก้ไขยังไง พึ่งพาครอบครัวก็ไม่ได้ หากเจอปัญหาเหล่านี้ทำให้ต้องมองหาช่องทางการกู้เงินก้อน เข้ามาช่วยต่อยอดธุรกิจ หรือชำระหนี้ต่างๆ การจำนองขายฝากอสังหา อาจจะเป็นตัวเลือกหลัก ๆของใครหลายๆคน ที่จะช่วยเข้ามาให้เพื่อนๆเข้าถึงแหล่งการเงินได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย วันนี้ทีมงาน Proprety4cash จะมาบอกวิธีแก้และ 5 ปัญหาทางการเงิน ที่แก้ได้ด้วยการจำนองขายฝาก จะมีปัญหาทางการเงินแบบไหนบ้าง? ไปดูกันเลย 5 ปัญหาทางการเงิน 1 ธุรกิจขาดสภาพคล่อง เพราะว่าได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจ ที่ทธุรกิจกำลังเกิดสภาวะขาดทุน หรือการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ทำให้ต้องมองหาแหล่งเงินทุนนำไปใช้ต่อยอดส่งเสริมธุรกิจให้กลับมาดำเนินการต่อไปได้ ติดหนี้บัตรเครดิต ขึ้นชื่อว่าหนี้ ไม่มีใครอยากให้เกิด หมุนเงินไม่ทัน จ่ายเงินต้นและดอกเบี้ย ผิดนัดชำระงวดบัตรเครดิต ส่งผลทำให้หนี้บัตรเครดิตดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งถ้าเพื่อนๆมีหลายใบแล้ว อาจจะทำให้เพื่อนๆ ต้องเผชิญกับหนี้สินและดอกเบี้ยที่สูงขึ้น กลายเป็นหนี้สินรุงรัง 3.ติดหนี้หนี้นอกระบบ ได้ยินชื่อเพื่อน […]

อ่านเพิ่มเติม
ที่ดินติดธนาคาร จำนองได้ไหม ขายฝากได้หรือเปล่า
24
Feb 23
ที่ดินติดแบงค์จำนองได้ไหม ขายฝากได้หรือเปล่า

ที่ดินติดธนาคาร เป็นคำถามที่ทางเราพบเจอค่อนข้างบ่อย สำหรับเจ้าของทรัพย์ ไม่ว่าเป็นบ้าน คอนโด หรือว่าที่ดิน ที่ต้องการนำทรัพย์มา จำนอง หรือ ขายฝาก กับเรา แต่ว่าทรัพย์นั้นๆ ยังคงมีภาระหนี้อยู่กับธนาคาร หรือสถานบันการเงินอื่นๆ หรือเรียกสั้นๆ กันว่า “ติดแบงค์” ทำให้ไม่รู้ว่าสามารถนำมาจำนองกับขายฝากได้หรือไม่ Property4Cash จึงอยากมาแถลงไขให้ได้กระจ่างใจกันในวันนี้ ^-^ ที่ดินติดธนาคาร คอนโดผ่อนอยู่ จำนองได้ไหม ขายฝากได้รึเปล่า ? โดยปกติแล้วเราสามารถทำได้ ไม่ได้ผิดกฎหมายแต่อย่างใด สามารถทำได้ทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ เพียงแต่ว่ามีข้อแม้และข้อจำกัดอยู่หลายข้อด้วยกัน การนำทรัพย์ที่ติดภาระหนี้กับธนาคารอยู่มาทำการ จำนอง-ขายฝากนั้น คือการที่เราจูงมือ “นายทุน” ที่รับจำนอง-ขายฝาก ไปทำนิติกรรมที่สำนักงานที่ดินพร้อมกัน เพื่อนำเงินที่เราจะได้รับไปปิดยอดหนี้เดิมกับธนาคาร และทำการจำนองหรือขายฝาก กับนายทุนที่มารับช่วงต่อไปในคราวเดียวกัน พูดง่ายๆ คือนายทุนนำเงินไปปิดแบงค์ให้ แล้วนำส่วนที่เหลือหลังจากหักลบค่าใช้จ่ายต่างๆ มาให้เจ้าของทรัพย์ ผู้จำนอง-ขายฝาก นั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น เรามี บ้านติดธนาคาร ยอดหนี้คง […]

อ่านเพิ่มเติม
จํานํา กับ จํานอง ต่างกันอย่างไร
30
Mar 23
จํานํา กับ จํานอง ต่างกันอย่างไร

ช่วงนี้หลายคนอาจได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจเพราะโควิดไม่มากก็น้อย หนึ่งในทางออกที่ใช้คือการนำทรัพย์สินที่มีออกมาขาย หรือนำทรัพย์สินที่มีค่าไป จำนำ หรือ จำนอง  หลายคนก็ยังสงสัยว่า จํานํา กับ จํานอง ต่างกันอย่างไร วันนี้เราจะพาทุกคนไปไข้ข้อสงสัยนี้กัน มาดูกัน จำนอง จำนำ แตกต่างกันอย่างไร การจำนอง การที่ผู้จำนองนำทรัพย์สินที่มีค่านำมาประกันเพื่อกู้เงินมาใช้  โดยใช้เป็นหลักประกันคือ อสังหาริมทรัพย์  คือ ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น คอนโด โฉนดที่ดิน บ้าน อาคารพาณิชย์ โดยการจำนอง ผู้จำนองต้องนำสินทรัพย์ไปจดทะเบียนไว้กับผู้รับจำนอง ซึ่งต้องกระทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่กรมที่ดินเท่านั้น ทั้งนี้ไม่ต้องโอนที่ดินหรือทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้รับจำนอง สาระสำคัญ ทรัพย์สินที่นำมาจำนองจะต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ ผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบสินทรัพย์ให้แก่ผู้รับจำนอง โดยกรรมสิทธิ์ยังเป็นของผู้จำนองอยู่ ผู้จำนองเป็นลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกก็ได้ มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร ต้องจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที ณ กรมที่ดิน ในกรณีที่ผู้จำนองไม่สามารถชำระหนี้ได้ เจ้าหนี้ต้องทำการฟ้องร้องเพื่อบังคับจำนองโดยการที่จะนำทรัพย์สินไปข […]

อ่านเพิ่มเติม