ประมูลที่ดิน และบ้าน จากกรมบังคับคดี ต้องเตรียมตัวอย่างไร
16
May 23

การซื้อ ประมูลที่ดิน บ้าน จากกรมบังคับคดี เป็นอีกหนึ่งในทางเลือกที่นักลงทุนอสังหาฯ มักนิยมทำกัน
ทำให้สามารถได้ทรัพย์ บ้าน หรือที่ดิน มาในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด แต่แน่นอนว่าการประมูลนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย
เพราะต้องมีทั้งขั้นตอนการเตรียมตัว เอกสาร และค่าใช้จ่ายต่างๆ สำหรับเพื่อนๆ คนไหนที่กำลังสนใจประมูลบ้าน
หรือที่ดินกรมบังคับคดี ลองมาเริ่มทำความรู้จักขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้ได้เลย

การ ประมูลที่ดิน และบ้านกรมบังคับคดีคืออะไร
การประมูล คือ การเสนอราคาแข่งขันกันในการจะได้ทรัพย์นั้นๆมาครอบครอง
ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม หรือที่ดิน ซึ่งถูกยึดมาจากเจ้าของบ้านเดิม
เนื่องจากเจ้าของบ้านเดิมเป็นลูกหนี้ของทางธนาคาร บริษัททางด้านการเงิน ที่ไม่สามารถชำระเงินผ่อนได้
ดังนั้นกรมบังคับคดีจึงต้องดำเนินการเป็นตัวกลางนำทรัพย์สินเหล่านั้นออกมาประมูลขายทอดตลาด
เพื่อนำเงินที่ได้จากการขายนี้ไปชำระคืนหนี้ตามกฎหมาย

 

ขั้นตอนในการเตรียมตัวประมูลบ้านและที่ดินกรมบังคับคดี

  1. หาอสังหาริมทรัพย์ที่สนใจ
    โดยสามารถเข้าไปหาได้ในเว็บไซต์ของกรมบังคับคดี ซึ่งจะสามารถเลือกจังหวัด อำเภอ ตำบล
    และประเภทของทรัพย์ได้เลยทันที ซึ่งสะดวกในการค้นหาเป็นอย่างมาก นอกจากนี้แล้วทางเว็บไซต์
    จะยังมีบอกราคาประเมินของทรัพย์นั้น ๆ ให้ได้ทราบด้วย รวมไปถึงแผนที่ ช่วงวันเวลาในการประมูลและเงื่อนไขต่างๆ
    ที่ผู้สนใจจำเป็นต้องทราบ ทั้งจำนวนวงเงินหลักประกันและราคาเริ่มต้นในการประมูล
  2. วันและช่วงเวลาในการประมูล
    การประมูลบ้าน หรือที่ดิน จากกรมบังคับคดี จะมีการกำหนดวันที่และระยะเวลาอย่างชัดเจน
    ไม่ได้มีการเปิดให้ประมูลตลอด ดังนั้นสำหรับใครที่ต้องการจะเข้าร่วมการประมูล ควรจำวันที่และช่วงเวลาไว้ให้ดี ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ
  3. เข้าไปตรวจสภาพทรัพย์
    เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าทรัพย์สินที่นำมาประมูลโดยกรมบังคับคดีนั้น เป็นทรัพย์สินมือสอง ที่บางครั้งอาจผ่านการใช้งาน
    มีความเก่าหรือเสื่อมโทรม เพราะฉะนั้นแล้ว ดูแต่รูปภาพไม่ได้ ต้องลองไปเห็นสถานที่ของจริง แต่บางทรัพย์อาจจะดูได้แค่สภาพแวดล้อม
    และกายภาพโดยรอบ เพราะบางทรัพย์ยังมีคนอยู่อาศัยที่ถือว่าเป็นเจ้าของบ้านอยู่ คนที่จะประมูลยังไม่มีสิทธิครอบครอง
    เข้าไปสุ่มสี่สุ่มห้า จะโดนข้อหาบุกรุกได้ง่ายๆ ทั้งนี้ ทั้งหมดทั้งมวล ขึ้นอยู่กับทักษะการเจรจาทั้งสิ้น

4.การเข้าร่วมประมูลต้องมีการวางหลักประกัน
จำนวนเงินประกันนั้น จะขึ้นอยู่กับการกำหนดของกรมบังคับคดี ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ผ่านทางเว็บไซต์
โดยผู้ประมูลจะต้องเตรียมเงินสดหรือแคชเชียร์เช็คตามจำนวนเงินที่กรมบังคับคดีกำหนดไปในวันประมูลด้วย

5.การเตรียมเอกสาร
จะต้องเตรียมแนบสำเนาบัตรประชาชน 1 ใบ พร้อมกับการวางเงินหลักประกัน หรือสำหรับผู้ที่ให้ผู้อื่นเข้าประมูลแทน
ก็จำเป็นที่จะต้องมีใบมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 30 บาทไปด้วย

เพื่อนๆทุกคนคงจะรู้จัก ขั้นตอนของการประมูลบ้าน และที่ดินกรมบังคับคดีกันมากขึ้นแล้ว อย่าลืมเตรียมตัว
เตรียมเอกสารให้พร้อม และที่สำคัญที่สุดต้องไม่ลืมวันและช่วงเวลาที่ทางกรมบังคับคดีจะเปิดประมูล
และที่เตรียมเงินให้พร้อมแข่งเพื่อให้ได้ทรัพย์นั้นมาเป็นของเรา

ประมูลที่ดิน และบ้าน จากกรมบังคับคดี ต้องเตรียมตัวอย่างไร

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

 

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

20
Sep 24
ทำสัญญาขายฝากไปแล้ว เจ้าของทรัพย์อยากจะเปลี่ยนชื่อ-นามสกุลได้ไหม

กรณีที่ทรัพย์ ทำสัญญาขายฝาก ไปแล้ว เจ้าของทรัพย์ต้องการเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล (เจ้าของคนเดิม แต่ต้องการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล) ที่สำนักงานเขต สามารถทำได้อย่างแน่นอน ไม่ได้ปิดกฎหมาย และในวันที่ไถ่ถอน เจ้าของทรัพย์จะต้องนำใบเปลี่ยนชื่อของตนเองมาด้วย  แต่ถ้าหากทรัพย์ไม่นำใบเปลี่ยนชื่อของตนเองมา ก็จะไม่สามารถทำธุรกรรมใดๆ ได้ การเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล สามารถทำได้ทั้งผู้ขายฝาก และผู้รับซื้อฝาก แต่ก็อย่างที่ได้บอกไปข้างต้น เมื่อวันที่ต้องทำธุรกรรมที่กรมที่ดิน เอกสารการเปลี่ยนชื่อนั้นต้องเตรียมมาทั้ง2ฝ่าย ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนชื่อนามสกุลในระหว่างที่สัญญาขายฝาก (เปลี่ยนชื่อเป็นผู้ขายฝากคนใหม่) สัญญายังมีผลบังคับใช้อยู่นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่สามารถทำได้โดยพลการ เนื่องจากสัญญาขายฝากเป็นสัญญาที่มีผลทางกฎหมาย และการเปลี่ยนแปลงชื่อนามสกุลของบุคคลใดบุคคลหนึ่งในสัญญา จะส่งผลกระทบต่อสิทธิและหน้าที่ของทั้งผู้ซื้อฝากและผู้รับซื้อฝาก การที่ผู้ขายฝากเดิมจะเปลี่ยนชื่อเป็นผู้ขายฝากคนใหม่ ผู้ขายฝากคนเดิมจะต้องมาไถ่ถอนสัญญาขายฝากเดิมก่อน แล้วจึงจะ ทำสัญญาขายฝาก ใหม่และเปลี่ยนเป็นชื่อผู้ขายฝากคนใหม่ได้ เห […]

อ่านเพิ่มเติม
14
Jun 24
ทำไมคนนิยมนำคอนโด มาขายฝาก ?

ในภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว หลายคนเผชิญปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน หลายคนต้องการ เงินด่วน การขายฝากคอนโดจึงกลายเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยม แต่ทราบหรือไม่ว่า อะไรคือเหตุผลหลักที่ทำให้คนนิยม ขายฝากคอนโด ? ต้องการเงินด่วน สาเหตุหลักประการหนึ่งของการ ขายฝากคอนโด คือ เจ้าของต้องการเงินทุนเร่งด่วนเพื่อนำไปใช้จ่ายในเรื่องสำคัญ เช่น รักษาพยาบาล: กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรือ ต้องการเงินทุนก้อนใหญ่เพื่อรักษาโรคร้ายแรง ลงทุนในธุรกิจ: ต้องการเงินทุนเพื่อขยายกิจการ หรือ เริ่มต้นธุรกิจใหม่ ชำระหนี้สิน: กรณีมีหนี้สินล้นพ้นตัว ต้องการเงินก้อนใหญ่เพื่อปิดหนี้สิน ประคองธุรกิจที่ประสบปัญหา: ธุรกิจขาดสภาพคล่อง ต้องการเงินทุนเพื่อหมุนเวียนในธุรกิจ รองรับค่าใช้จ่ายในครอบครัว: กรณีมีค่าใช้จ่ายที่สูง ต้องการเงินทุนเพื่อนำไปใช้จ่าย การขายฝากคอนโดช่วยให้เจ้าของได้เงินก้อนมาใช้จ่ายได้รวดเร็ว โดยไม่ต้องรอขายคอนโดแบบปกติ ซึ่งมักใช้เวลานานกว่า   ไม่อยากขายขาด เจ้าของคอนโดบางรายอาจไม่อยากขายคอนโดแบบขาด ผูกพันกับสถานที่: อาศัยอยู่ในคอนโดมานาน มองเห็นศักยภาพของคอนโดในอนาคต: คิดว่าราคาคอนโดจะปรับตัวสูงขึ้นในอนาคต การ ขายฝ […]

อ่านเพิ่มเติม
เงินไม่พอไถ่ถอน
25
Jul 24
เงินไม่ไถ่! ขยายสัญญา ขายฝาก ได้หรือไม่?

เงินไม่พอไถ่! ขยายสัญญา ขายฝาก ได้หรือไม่? ในภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน หลายคนอาจเผชิญปัญหาด้านการเงิน  รายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย  ส่งผลต่อการผ่อนชำระหนี้สิน โดยเฉพาะหนี้จำนองหรือขายฝากที่ผูกพันกับที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์   วันเราจะมาไขของสงสัยกันว่า “กรณีเงินไม่พอไถ่  เราสามารถขยายสัญญาจำนอง  ขายฝาก หรือหาทางออกอื่นได้หรือไม่ การขยายสัญญา ทำได้หรือไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 504   ผู้ขายฝากและผู้ซื้อฝากสามารถตกลงกันเพื่อขยายระยะเวลาไถ่ถอนได้ แต่ต้องไม่เกิน 10 ปี   นับตั้งแต่วันทำสัญญาขายฝากครั้งแรก รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขยายสัญญาขายฝาก: เงื่อนไข: – ผู้ขายฝากและผู้ซื้อฝาก ตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษร – ระยะเวลาไถ่ถอนรวม ไม่เกิน 10 ปี นับตั้งแต่วันทำสัญญาขายฝากครั้งแรก – ไม่มีการจำกัดจำนวนครั้ง ในการขยายระยะเวลาไถ่ถอน แต่ละครั้งต้องไม่เกิน 10 ปี ขั้นตอน: – ผู้ขายฝากติดต่อผู้ซื้อฝาก เพื่อแจ้งความประสงค์ขอขยายสัญญา – ตกลงกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนใหม่ เป็นลายลักษณ์อักษร – ทำสัญญาขยายระยะเวลาไถ่ถอน เป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่าย […]

อ่านเพิ่มเติม