20
Sep 24

กรณีที่ทรัพย์ ทำสัญญาขายฝาก ไปแล้ว เจ้าของทรัพย์ต้องการเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล (เจ้าของคนเดิม แต่ต้องการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล) ที่สำนักงานเขต

สามารถทำได้อย่างแน่นอน ไม่ได้ปิดกฎหมาย และในวันที่ไถ่ถอน เจ้าของทรัพย์จะต้องนำใบเปลี่ยนชื่อของตนเองมาด้วย  แต่ถ้าหากทรัพย์ไม่นำใบเปลี่ยนชื่อของตนเองมา

ก็จะไม่สามารถทำธุรกรรมใดๆ ได้ การเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล สามารถทำได้ทั้งผู้ขายฝาก และผู้รับซื้อฝาก แต่ก็อย่างที่ได้บอกไปข้างต้น เมื่อวันที่ต้องทำธุรกรรมที่กรมที่ดิน

เอกสารการเปลี่ยนชื่อนั้นต้องเตรียมมาทั้ง2ฝ่าย

ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนชื่อนามสกุลในระหว่างที่สัญญาขายฝาก (เปลี่ยนชื่อเป็นผู้ขายฝากคนใหม่) สัญญายังมีผลบังคับใช้อยู่นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่สามารถทำได้โดยพลการ

เนื่องจากสัญญาขายฝากเป็นสัญญาที่มีผลทางกฎหมาย และการเปลี่ยนแปลงชื่อนามสกุลของบุคคลใดบุคคลหนึ่งในสัญญา จะส่งผลกระทบต่อสิทธิและหน้าที่ของทั้งผู้ซื้อฝากและผู้รับซื้อฝาก

การที่ผู้ขายฝากเดิมจะเปลี่ยนชื่อเป็นผู้ขายฝากคนใหม่ ผู้ขายฝากคนเดิมจะต้องมาไถ่ถอนสัญญาขายฝากเดิมก่อน แล้วจึงจะ ทำสัญญาขายฝาก ใหม่และเปลี่ยนเป็นชื่อผู้ขายฝากคนใหม่ได้

เหตุผลที่ทำให้การเปลี่ยนชื่อนามสกุลในสัญญาขายฝากทำได้ยาก

สัญญาขายฝากมีความเฉพาะเจาะจง: สัญญาขายฝากจะระบุชื่อนามสกุลของคู่สัญญาอย่างชัดเจน การเปลี่ยนแปลงชื่อนามสกุลจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดสำคัญของสัญญา

ต้องได้รับความยินยอมจากทุกฝ่าย: การเปลี่ยนแปลงใดๆ ในสัญญาจะต้องได้รับความยินยอมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ซื้อฝาก ผู้รับซื้อฝาก

และอาจรวมถึงสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องด้วย

ทำสัญญาขายฝาก ไปแล้ว เจ้าของทรัพย์อยากจะเปลี่ยนชื่อ-นามสกุลได้ไหม

กรณีต้องทำสัญญาใหม่: ในบางกรณี การเปลี่ยนแปลงชื่อนามสกุลอาจต้องทำสัญญาขายฝาก ฉบับใหม่ทั้งหมด เพื่อให้สัญญาฉบับใหม่มีความถูกต้องและครอบคลุมทุกประเด็น

ในกรณีแก้ไขสัญญาขายฝาก ถ้าหากต้องการเปลี่ยนชื่อผู้ขายฝากเป็นคนใหม่ ค่าใช้จ่ายในการแก้ไขสัญญาหรือทำสัญญาใหม่ อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนนิติกรรม หรือเรียกได้ว่า ไถ่ถอนขายฝากแล้วมาทำขายฝากใหม่ตั้งแต่แรกเลยก็ว่าได้ ค่าใช้จ่ายก็จะค่อนข้างสูง คิดค่าใช้จ่ายภาษีต่างๆตามที่กฎหมายกำหนด

ข้อสำคัญในการเปลี่ยนชื่อนามสกุลขายฝาก การเปลี่ยนชื่อโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือการเปลี่ยนชื่อโดยไม่ผ่านขั้นตอนทางกฎหมายที่ถูกต้อง อาจทำให้สัญญาขายฝากเป็นโมฆะหรือมีผลบังคับใช้ไม่สมบูรณ์

ดูแลและใส่ใจทุกเคสด้วยทีมงานที่มากประสบการณ์ ต้องการเงินด่วนเราช่วยคุณได้ นึกถึงจำนอง-ขายฝาก นึกถึง Property4Cash นะคะ

 

—————————————————–

Property4Cash ยินดีให้คำปรึกษาและช่วยเพิ่มทุนให้กับทุกคนที่ต้องการเงินด่วน และต้องการเงินเพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจ ไม่เช็คแบล็คลิส ไม่เช็คเครดิตบูโร

อนุมัติรวดเร็วทันใจ นึกถึง ขายฝากจำนอง นึกถึง Property4Cash

Line: @Property4Cash

โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash

ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

บังคับจำนอง
3
Jan 23
การบังคับจำนอง คืออะไร ?

บังคับจำนอง ไม่ได้หมายความว่าเรามีทรัพย์สินอยู่แล้วถูกบังคับให้เอาไปจำนองแต่อย่างใด แต่หมายถึงการที่เราได้ทำสัญญาจำนองไว้เรียบร้อยแล้ว แต่ผิดสัญญา ไม่จ่ายดอกเบี้ย ไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงกันไว้ ทำให้ถูกฟ้องร้องต่อศาล โดยการบังคับจำนอง นั้นทำได้ 2 วิธีคือ ประเภทของ บังคับจำนอง ขายทอดตลาด คือการยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่ง “ยึด” ทรัพย์สินที่จำนองไว้ขายทอดตลาด และนำเงินมาใช้หนี้แก่ผู้รับจำนอง โดยจำเป็นต้องส่งหนังสือแจ้งลูกหนี้ก่อนล่วงหน้า 1 เดือน ถึงจะสามารถฟ้องร้องได้ การบังคับจำนองขายทอดตลาดนั้น หากตัวทรัพย์สินที่จำนองไว้มูลค่าต่ำกว่าหนี้ที่มีอยู่ ลูกหนี้ไม่จำเป็นต้องเสียค่าส่วนต่างแต่อย่างใด (แต่เสียที่ดิน เสียบ้านนะจ๊ะ!) และหากสามารถขายทรัพย์สินในราคาที่สูงกว่าหนี้ที่คงค้างได้ เจ้าหนี้จำเป็นต้องนำเงินส่วนที่เกินมาคืนให้แก่ลูกหนี้ไป จะเห็นได้ว่าการจำนองนั้น “เจ้าหนี้” ค่อนข้างเสียเปรียบในการทำสัญญาไม่น้อย เพราะฉะนั้น จะรับจำนองทรัพย์สินอะไร ให้ประเมินราคา ประเมินมูลค่าที่แท้จริงให้ดีเสียก่อน ก่อนที่จะเสียทั้งเงินและเวลาไปโดยใช่เหตุ ยึดทรัพย์สินให้เป็นของเจ้าหนี้ กรณีนี้สา […]

อ่านเพิ่มเติม
13
May 24
เปิด 5 สิ่งที่คุณจะได้รับจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญของ Property4Cash

สร้างความมั่นใจด้วยบริการที่ดีที่สุด 🧡💙 เปิด 5 สิ่งที่คุณจะได้รับจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญของ Property4Cash    ความคาดหวัง  การให้บริการของ Property4Cash ดำเนินการบนพื้นฐานของความซื่อสัตย์และความไว้วางใจ เพื่อให้ลูกค้าได้รับผลตอบที่เหมาะสมที่สุด พร้อมกับตอบสนองทุกความต้องการและสร้างความหวังของลูกค้าให้เป็นจริง    ความรวดเร็วในการบริการ  Property4Cash เรามุ่งเน้นการบริการที่รวดเร็ว สะดวก ไม่ต้องรอนาน และเรายังพัฒนากระบวนการดำเนินงานอยู่ตลอด เพื่อให้ได้บริการที่ถูกต้อง และรวดเร็ว ไปพร้อมกัน    ดูแลให้คำปรึกษาโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ  ดำเนินงานและบริการให้คำปรึกษา แนะนำ โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้าน การขายฝากและจำนอง ยาวนานกว่า 10ปี ที่พร้อมให้บริการสำหรับนักลงทุนและเจ้าของทรัพย์สิน ตั้งเริ่ม จนจบกระบวนการ  มั่นใจในความปลอดภัย  การบริการทั้งหมดของ Property4Cash  คุณสามารถมั่นใจได้เลยว่าทรัพย์สินของคุณจะได้รับการดูแลโดยมาตราฐานความปลอดภัยสูงสุด ในการทำธุรกรรมทุกรูปแบบ   ดูแลและให้คำปรึกษา เพื่อสิ่งที่ดีที่สุด  Property4Cash บริการด้วยความต้องการของลูกค้า พร้อมอยู่เข […]

อ่านเพิ่มเติม
ที่ดิน กรรมสิทธิ์รวม ซื้อขาย ขายฝากหรือจำนองได้หรือไม่?
23
Dec 23
ที่ดิน กรรมสิทธิ์รวม ซื้อขาย ขายฝากหรือจำนองได้หรือไม่?

ในการ ซื้อขายที่ดิน หรือมีการ ขายฝากจำนองที่ดิน เกิดขึ้น หากเราเป็นเจ้าของคนเดียวก็คงไม่ยากที่จะนำที่ดินแปลงนั้นออกมาจำหน่ายหรือทำธุรกรรมได้ แต่ถ้าที่ดินนั้นเป็นมรดกตกทอดที่มีเจ้าของ 2 – 3 คนขึ้นไป หรือเรียกได้ง่ายๆ ว่าที่ดินตรงนั้นมีเจ้าของ กรรมสิทธิ์รวม กรรมสิทธิ์รวม คืออะไร กรรมสิทธิ์รวมหมายถึง การที่มีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปหรือมากกว่านั้นเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกัน โดยในโฉนดที่ดินไม่ได้ระบุว่าเจ้าของรวมคนใดเป็นเจ้าของส่วนไหนบ้าง ตามกฎหมายแล้วสันนิษฐานว่าเจ้าของรวมแต่ละคนจะต้องมีสัดส่วนที่ดินเท่าๆ กัน และมีสิทธิ์ในการจัดการทรัพย์สินร่วมกัน การซื้อขาย ขายฝากหรือจำนองที่ดินกรรมสิทธิ์รวม ทำได้หรือไม่? ถ้าเจ้าของที่ดินกรรมสิทธิ์รวม ไม่ได้มีการตกลงแบ่งสัดส่วนที่ดินอย่างชัดเจน เมื่อมีเจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งต้องการซื้อขายหรือมีการขายฝากจำนองที่ดินเกิดขึ้น ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทุกๆ คนก่อน ไม่เช่นนั้นจะถือว่าไม่สมบูรณ์ กลายเป็นความยุ่งยากที่ก่อให้เกิดภาระติดพันในส่วนของความเป็นเจ้าที่ดินของตนเอง แต่หากเจ้าของที่ดินกรรมสิทธิ์รวม มีการตกลงแบ่งที่ดินเป็นสัดส่วนชัดเจนแล้ว มีการระบุในโฉนด […]

อ่านเพิ่มเติม