การถมที่ดิน ต้องรู้กฎหมายถ้าไม่อยากโดนปรับ
16
Jan 24

“ การถมที่ดิน ” คือขั้นตอนแรกเริ่มของการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นอาคาร บ้านจัดสรร โรงงาน และกิจกรรมต่างๆ
ที่ต้องมีการลงโครงสร้าง การถมที่ดิน เราต้องดูหลายปัจจัยควบคู่กันไป ทั้งในเรื่องระดับความสูงของหน้าดิน
การทรุดตัวของดิน รวมถึงการระบายน้ำภายในพื้นที่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาระยะยาวในภายหลัง

การถมที่ดิน เรื่องที่ละเอียดอ่อน เพราะมีทั้งเรื่องกฎหมาย ประวัติที่ดิน และผู้รับเหมาที่เข้ามาเกี่ยวข้อง
ดังนั้นเจ้าของที่ดินจึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาให้เข้าใจก่อนที่จะทำการถมที่ดิน
เพื่อส้รางบ้านหรืออาคารรูปแบบใดๆ ก็ตาม

ในส่วนวันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องกฎหมายกันค่ะ เป็นสิ่งที่ทุกคนจำเป็นจะต้องรู้เบื้องต้นก่อนตัดสินใจ
เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องมีปัญหาตามมาภายหลังจากการโดนฟ้องร้อง ที่ต้องเสียทั้งเวลาและเงินเพิ่มเติม
ถ้าพร้อมแล้วไปดูพร้อมๆ กันเลยค่ะ

เริ่มจากทำความเข้าใจข้อกฎหมายก่อนถมที่ดินใหม่

การถมที่ดินจึงมีข้อบังคับให้อยู่ภายใต้ พรบ.ขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 โดยมีประเด็นหลักที่ต้องดูอยู่ด้วยกันอยู่ 4 ข้อ ดังนี้

  1. หากเจ้าของที่ดินจำเป็นต้องทำการขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกิน 3 เมตร
    จะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่พนักงานท้องถิ่น (ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร
    หรือ นายกเทศมนตรี สำหรับในเขตเทศบาล) และทำการขุดตามแบบที่เจ้าหน้าที่พนักงานท้องถิ่นกำหนด
  2. หากพื้นที่ที่ขุดดินมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกิน 3 เมตร แต่อยู่ใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่น
    ในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุด ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
    เพื่อป้องกันดินทลายลงสู่พื้นที่ข้างเคียง
  3. การถมที่ดินสูงกว่าพื้นที่ใกล้เคียง
    หากจะทำการถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ใกล้เคียง
    และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอ
    ที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียง
  4. ความสูงของการถมดินใกล้แนวเขตผู้อื่น
    ส่วนฐานของเนินดินจะต้องห่างจากแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่นหรือที่สาธารณะ
    เป็นระยะไม่น้อยกว่าความสูงของเนินดินที่จะถมดิน เช่น ถมดินสูง 2 เมตร ต้องร่นเข้ามา 2 เมตร
    หรือ ถมสูง 5 เมตร ต้องร่นเข้ามา 5 เมตร แต่สามารถยกเว้นการถมเต็มพื้นที่ได้โดยการทำกำแพงกัน

และถ้าเพื่อนบ้านของเราถมที่ดินสูงเกินไป เราจะทำอย่างไรได้บ้าง?
หากเจอสถานการณ์นี้ ให้แจ้งกับเจ้าของบ้านให้ทราบและตระหนักถึงข้อกำหนดทางกฎหมาย
ซึ่งมีตราอยู่ใน พ.ร.บ. การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 และนอกจากนี้ยังมีเรื่องของ เทศบัญญัติ
การผังเมือง และกฎหมายควบคุมอื่น ๆ และการทำแบบนั้นถือว่ามีความผิด

โดยให้ไปพูดคุยกับเจ้าของบ้านหรือเจ้าของที่ข้างเคียง เพื่อทำความเข้าใจกันเสียก่อน
หากเจรจาไม่ได้ให้ไปขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินนั้นได้

การถมที่ดิน ต้องรู้กฎหมายถ้าไม่อยากโดนปรับ

—————————————————–

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficia

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

การฝากขาย และ การขายฝาก แตกต่างกันอย่างไร
17
Oct 23
การฝากขาย และ การขายฝาก แตกต่างกันอย่างไร

หลายๆ คนอาจจะยังสับสนหรือสงสัยกับว่า การขายฝาก และ การฝากขาย แตกต่างกันอย่างไร แม้ว่าอ่านแล้วอาจจะดูคล้ายกัน แต่สองคำนี้มีความหมายที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ก่อนอื่นเรามาดูความหมายของการขายฝาก กับ การฝากขายกันก่อนดีกว่าค่ะ ว่าแต่ละตัวมันมีความหมายยังไง จะได้ไม่เข้าใจกันผิดกันอีกจ้า การขายฝาก คือ สัญญาการซื้อขายรูปแบบหนึ่ง ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะตกแก่ผู้รับขายฝาก (นายทุน) ณ วันที่ทำสัญญาที่กรม ที่ดิน ภายใต้ข้อตกลงที่ว่า ผู้ขายฝากสามารถไถ่ถอนทรัพย์สินคืนได้ ภายในระยะเวลาที่ระบุในสัญญา (แต่ไม่เกิน 10 ปี) หากไม่มาไถ่ถอนทรัพย์สิน กรรมสิทธิ์นั้นจะตกเป็นของผู้รับฝาก(นายทุน) ทันที ส่วนการ ฝากขายนั้น ผู้ฝากขายจะนำทรัพย์สินของตนเองไปฝากขายกับตัวแทน หรือนายหน้า เพื่อให้ทางนายหน้า ช่วยทำการตลาด โฆษณา หรือประชาสัมพันธ์ทรัพย์สิน ที่เจ้าของทรัพย์นำไปฝากขาย ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะยังเป็นของผู้ฝากขายอยู่ และจะโอนเป็นของผู้อื่นเมื่อนายหน้าได้ทำการขายทรัพย์สินนั้น ให้กับผู้ฝากขายได้แล้ว ตารางเปรียบเทียบระหว่างขายฝากและฝากขาย หัวข้อ ขายฝาก ฝากขาย ธุรกรรม การขายฝากและสามารถไถ่ถอนทรัพย์สินนั้นคืนได้ ห […]

อ่านเพิ่มเติม
15
Mar 23
เคล็ดไม่ลับจาก P4C จำนองบ้านไว้ ขายได้ค่อยไถ่ถอนคืน

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังต้องการขายบ้าน แต่ยังหาผู้ซื้อไม่ได้สักที และคุณเกิดจำเป็นต้องใช้เงินก้อน แบบด่วนจี๋ตอนนี้ทันที จำนองบ้าน เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยคุณให้พ้นวิกฤตทางการเงินได้ โดยที่ไม่ต้องตัดใจ ตัดราคาขายบ้านให้ถูกลงเพื่อให้มีคนซื้อไวๆ และเมื่อใดก็ตามที่มีคนมาสนใจซื้อบ้านคุณแล้ว ค่อยนำเงินก้อนนั้นมาไถ่ถอนจำนองคืนไป บางท่านอาจจะสงสัยว่า ในเมื่อจะขายอยู่แล้ว เรามาเสียเงินจ่ายดอกเบี้ยทำไมทุกเดือนๆ วันนี้เรามีคำตอบมาให้ดูกัน.. ข้อดีของการจำนองบ้าน ไว้ก่อน ขายได้ค่อยมาไถ่ถอนทีหลัง วันนี้เรามีเคสมาเล่าให้ฟัง มีลูกค้าท่านนึง ประกาศขายบ้านมา 6 เดือนแล้ว แต่ยังขายไม่ได้สักที มีคนเข้ามาดูบ้านมากหน้าหลายตา มีทั้งคนที่สนใจและไม่สนใจ แต่ก็ยังไม่มีใครติดต่อขอซื้อแบบจริงจัง ครั้นจะมีคนมาซื้อก็ติดปัญหากู้แบงค์ไม่ผ่าน ทำให้บ้านยังเป็นของเราเหมือนเดิมไม่ไปไหน เมื่อเวลาผ่านไป ชีวิตเจ้ากรรมดันจำเป็นต้องใช้เงินก้อนใหญ่ มีเวลาหาเงินก้อนนี้เพียงแค่ไม่กี่วัน จะขายบ้านตอนนี้ก็ไม่ทันการ จะตัดใจขายในราคาที่ต่ำกว่าปกติทำใจไม่ได้ จะกู้แบงค์ก็มีขั้นตอน มีเอกสารที่ต้องเตรียมการ ต้องใช้เวลามากมาย สุดท้ายเลย […]

อ่านเพิ่มเติม
5 ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจจำนองบ้าน
7
Sep 24
5 ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจจำนองบ้าน

การตัดสินใจจำนองบ้านเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องวางแผนอย่างรอบคอบ เพราะเกี่ยวข้องกับภาระทางการเงินระยะยาว ดังนั้นก่อนตัดสินใจ ควรทำความเข้าใจใน 5 ข้อสำคัญต่อไปนี้ ความสามารถในการผ่อนชำระ รายได้: ประเมินรายได้ประจำและรายได้อื่นๆ ที่มั่นคง ค่าใช้จ่าย: รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าสาธารณูปโภค ค่าเล่าเรียนบุตร หนี้สินอื่น: หนี้บัตรเครดิต หนี้สินส่วนบุคคลอื่นๆ อัตราส่วนหนี้สินต่อรายได้ (Debt Service Ratio หรือ DSR): ควรคำนวณ DSR เพื่อประเมินว่าภาระหนี้ใหม่จะส่งผลกระทบต่อการเงินส่วนตัวมากน้อยแค่ไหน อัตราดอกเบี้ยและระยะเวลาผ่อนชำระ อัตราดอกเบี้ย: เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยของแต่ละธนาคารหรือสถาบันการเงิน ระยะเวลาผ่อนชำระ: เลือกระยะเวลาผ่อนชำระที่เหมาะสมกับกำลังทรัพย์ อัตราดอกเบี้ยลอยตัวหรืออัตราดอกเบี้ยคงที่: เลือกประเภทอัตราดอกเบี้ยให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ นอกเหนือจากเงินต้นและดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม: ค่าประเมินราคาทรัพย์สิน ค่าจดทะเบียนจำนอง ค่าประกันภัย ค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์: ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการโอน ค่าใช้จ่ายในการตกแต่ง: หากบ้านต้องการการ […]

อ่านเพิ่มเติม