ขายฝาก-จำนอง มอบอำนาจ ได้ไหม ? เตรียมเอกสารยังไง ไม่ให้โมฆะ
11
Apr 23

การ มอบอำนาจ ให้ผู้อื่นไปทำนิติกรรมที่สำนักงานที่ดินแทนเจ้าของ เป็นเรื่องปกติที่มักจะทำกัน
โดยจะเห็นได้บ่อยเป็นพิเศษเวลาเราไปทำนิติกรรมซื้อ-ขาย ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ที่ดิน หรือคอนโดก็ตาม
เพราะหลายๆ คนก็ไม่มีเวลา หรือไม่เชี่ยวชาญในการทำเรื่องเอกสาร

การมอบอำนาจให้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ไปทำเรื่องให้ นอกจากจะประหยัดเวลาแล้ว
ยังหมดห่วงเรื่องโดนเจ้าหน้าที่ปฏิเสธเพราะเอกสารไม่ครบหรือไม่ถูกต้องด้วย
แล้วการทำนิติกรรมอย่าง ขายฝาก และ จำนอง ล่ะ สามารถมอบอำนาจไปทำเรื่องแทนได้ไหมนะ ?
ถ้าไม่อยากมีปัญหาเรื่องเอกสารต้องทำอย่างไร มาหาคำตอบกัน.

ขายฝาก-จำนอง มอบอำนาจได้ไหม ?
การทำขายฝาก หรือ จำนองนั้น ก็ไม่ต่างอะไรกับการซื้อ-ขาย อสังหาริมทรัพย์ในแง่ของการ
มอบอำนาจ ให้ผู้อื่นทำแทน สามารถทำได้ไม่ว่าจะเป็น ผู้ขายฝาก (เจ้าของทรัพย์)
หรือ ผู้รับซื้อฝาก (เจ้าของเงิน) เองก็ตาม หรือในกรณีที่ทั้งสองฝ่ายต้องการมอบอำนาจให้บุคคลเดียว
เป็นผู้ไปทำสัญญาขายแทนก็ทำได้เช่นกัน

เอกสารสำหรับการมอบอำนาจมีอะไรบ้าง ?
สิ่งแรกที่จำเป็นต้องมี สำหรับการในการมอบอำนาจนั้นคือ “หนังสือมอบอำนาจ”
โดยสามารถใช้แบบฟอร์มของสำนักงานที่ดินที่เรียกว่า ท.ด.21 เพื่อความถูกต้องที่สุด
สามารถขอได้ที่สำนักงานที่ดิน หรือดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ตามนี้ก็ได้เช่นกันhttps://www.dol.go.th/Documents/td21.pdf
โดยในส่วนของรายละเอียดที่ต้องกรอกลงไปในหนังสือมอบอำนาจนั้น
ก็จำเป็นต้องเขียนตามถ้อยคำที่กำหนดไว้โดยกรมที่ดิน เพื่อไม่ให้เราโดนเจ้าหน้าที่ปฏิเสธกลับมา
สามารถดูตัวอย่างการเขียน หนังสือมอบอำนาจได้ที่ https://www.dol.go.th/Pages/ตัวอย่างหนังสือมอบอำนาจ.aspx

นอกจากนี้ยังมีเอกสารที่ต้องเตรียมไว้สำหรับแนบไปพร้อมกับหนังสือมอบอำนาจก็คือ

  • หนังสือมอบอำนาจ (ท.ด.21)
  • บัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ฉบับจริง)
    **กรณีเปลี่ยนชื่อ ให้เตรียมหนังสือเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลด้วย
  • ทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ (ฉบับจริง)
  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจ จำนวน 1 ชุด พร้อมเซ็นชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจ จำนวน 1 ชุด พร้อมเซ็นชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
  • โฉนดที่ดินฉบับจริง
  • กรณีมีคู่สมรส จำเป็นต้องใช้เอกสารของคู่สมรสด้วย ดังนี้
    • หนังสือให้ความยินยอมให้ขายฝากหรือจำนองที่ดินหรือที่ดินพร้อมบ้าน
    • สำเนาบัตรประชาชนคู่สมรส
    • สำเนาทะเบียนบ้านคู่สมรส
    • สำเนาทะเบียนสมรส (กรณีหย่าให้เตรียมสำเนาใบจดทะเบียนหย่า,
      กรณีคู่สมรสเสียชีวิตให้เตรียมสำเนาใบมรณะบัตรมาด้วย

ทำไมนายทุนบางคน ถึงไม่ค่อยรับเคสมอบอำนาจ ?
อาจจะเคยเห็นกันมาบ้าง สำหรับเคสที่นายทุนผู้รับซื้อฝาก “ปฏิเสธ” เคสที่เป็นการมอบอำนาจจากเจ้าของทรัพย์
สาเหตุเป็นเพราะว่า เพื่อป้องกันความเสี่ยงในอนาคต ในเรื่องของกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ
หลายๆ ครั้งมักจะมีเจ้าของทรัพย์ที่แท้จริงมาแสดงตัวว่า ไม่ได้ยินยอม ให้นำทรัพย์ของเขา
มาทำการจำนอง หรือ ขายฝาก เป็นเหตุให้ต้องเสียเวลามานั่งฟ้องศาลกันอีก ทำให้นายทุนหลายๆ ท่าน
ตัดปัญหาด้วยการไม่รับเคสขายฝากที่เป็นการมอบอำนาจกันเลยทีเดียว

สรุป.. การมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปทำเรื่อง ขายฝาก-จำนอง นั้นสามารถทำได้ แต่ทางที่ดีนั้นหากเป็นไปได้
เจ้าของทรัพย์ก็ควรจะเป็นผู้ที่ไปเรื่องทำสัญญาที่สำนักงานที่ดินเอง เพื่อลดความเสี่ยง
ลดโอกาสเกิดปัญหาที่จะตามมาในอนาคตนั่นเอง

ขายฝาก-จำนอง มอบอำนาจ ได้ไหม ? เตรียมเอกสารยังไง ไม่ให้โมฆะ

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

ทำนิติกรรมขายฝากทรัพย์ ใครเป็นคนจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียม
25
Oct 24
การทำนิติกรรม ใครเป็นคนจ่าย ค่าธรรมเนียมการขายฝาก

เมื่อคุณตัดสินใจขายฝากทรัพย์ หรือ ทำนิติกรรมขายฝาก คำถามที่หลายคนยังคงสงสัย คือ ค่าธรรมเนียมการขายฝาก ใครเป็นคนจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม? เดี๋ยววันนี้จะมาไขข้อสงสัยให้ทุกคนกันค่ะ ก่อนอื่นเลยมาทำความรู้จักกับคำว่า ขายฝาก กันก่อนค่ะ การขายฝาก คือ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ถูกกฎหมาย มีกฎหมายคุ้มครองทั้งผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝาก(นักลงทุน) โดยการขายฝาก คือ การซื้อขายทรัพย์สินอย่างหนึ่งที่กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้ซื้อฝากทันทีที่มีการทำสัญญา แต่มีเงื่อนไขตกลงว่าผู้ขายฝากสามารถไถ่ทรัพย์สินคืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดและวงเงินที่ตกลงกัน โดยจะมีค่าธรรมเนียมในการขายฝากทรัพย์ และค่านิติกรรมอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในการทำธุรกรรมนั้นๆ    ทำไมต้องจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียม:  การจ่ายค่าภาษี และ ค่าธรรมเนียมการขายฝาก ในการทำนิติกรรมขายฝากทรัพย์มีความสำคัญ ดังนี้ ปฏิบัติตามกฎหมาย การจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียมเป็นข้อบังคับตามกฎหมายที่ช่วยให้การทำธุรกรรมเป็นไปตามข้อกำหนดและถูกต้องตามหลักกฎหมาย บันทึกข้อมูลทางการ ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนช่วยให้การขายฝากทรัพย์สินถูกบันทึกในระบบทะเบียนอย่างเป็นทางก […]

อ่านเพิ่มเติม
ผลกระทบของการไม่ชำระหนี้จำนองต่อทรัพย์สินของคุณ
11
Oct 24
ผลกระทบของการไม่ชำระหนี้จำนองต่อทรัพย์สินของคุณ

การไม่ชำระหนี้จำนองสามารถมีผลกระทบหลายประการที่มีทั้งผลลัพธ์ทางการเงินและด้านอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อชีวิตประจำวันของคุณอย่างมีนัยสำคัญ นี่คือรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบที่คุณอาจเผชิญ: การยึดทรัพย์สิน (Foreclosure) กระบวนการยึดทรัพย์สิน เมื่อคุณไม่ชำระหนี้จำนองตามที่กำหนด ธนาคารหรือผู้ให้กู้จะเริ่มกระบวนการยึดทรัพย์สิน ซึ่งโดยปกติแล้วจะเริ่มต้นจากการส่งจดหมายเตือนถึงการผิดนัดชำระหนี้ หากคุณยังไม่ชำระหนี้ ธนาคารจะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้มีการยึดทรัพย์สิน หลังจากได้รับการอนุมัติจากศาล ธนาคารจะสามารถเข้ายึดทรัพย์สินได้ ทรัพย์สินที่ถูกยึดจะถูกนำไปประมูลขายเพื่อกู้คืนหนี้ ผลกระทบที่ตามมา คุณจะต้องออกจากบ้านหรือทรัพย์สินนั้น โดยอาจต้องจัดการย้ายสิ่งของของคุณในเวลาที่จำกัด การสูญเสียบ้านหรือที่อยู่อาศัยอาจส่งผลต่อความมั่นคงของคุณและครอบครัว เครดิตสกอร์ลดลง (ในกรณีที่ติดจำนองกับทางธนาคาร) การส่งผลกระทบต่อประวัติการเงิน ประวัติการไม่ชำระหนี้จะถูกบันทึกในเครดิตบูโร และจะส่งผลต่อคะแนนเครดิตของคุณอย่างรุนแรง ซึ่งสามารถทำให้คะแนนเครดิตลดลงถึง 100-200 คะแนนขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เครดิตสกอร์ที่ต […]

อ่านเพิ่มเติม
อัปเดต! การชำระ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2568
18
Jan 25
อัปเดต! การจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2568

เปิดศักราชใหม่ กับเรื่องควรรู้ เกี่ยวกับ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2568 วันนี้ Property4Cash ได้รวมข้อมูลต่างๆ มาไว้ให้แล้วค่ะ โดยการจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ในปี 2568 มีการขยายระยะเวลาชำระภาษี จากเดิมเดือนเมษายน เลื่อนเป็นมิถุนายน เพื่อลดภาระและบรรเทาความเดือดร้อนจากสถานการณ์น้ำท่วมให้กับประชาชน ดังนั้น Property4Cash สรุปมาให้เช็ก ว่า… ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแต่ละประเภท ต้องเสียภาษีเท่าไร? เพื่อเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้า เพราะหากชำระล่าช้า ต้องจ่ายค่าปรับสูงสุดถึง 40% ของภาษีที่ค้างชำระเลยนะ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประเภทไหน ต้องเสียภาษีที่ดิน 2568 ประเภทที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่ต้องเสียภาษีมี 4 ประเภท แบ่งตามรูปแบบการใช้งาน คือ ที่ดินเกษตรกรรม ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม และที่ดินที่ทิ้งไว้ว่างเปล่า ซึ่งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแต่ละประเภท มีอัตราการเสียภาษีที่แตกต่างกัน ดังนี้   1. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างเพื่อการเกษตรกรรม มูลค่าไม่เกิน 75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.01% (บุคคลธรรมดายกเว้น 50 ล้านแรก) มูลค่า 75 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03% มูลค่า 1 […]

อ่านเพิ่มเติม