ซื้อที่ดินติดจำนอง ต้องตรวจสอบหรือระวังอะไรบ้าง
5
Jan 23

คิดจะซื้ออสังหาฯ ที่มีมูลค่าสูง  อย่างคอนโด  บ้าน หรือที่ดิน คงจะต้องตรวจสอบกันสักหน่อย
ไม่อย่างนั้นอาจมารู้ทีหลังว่า อสังหาฯที่เราซื้อนั้น “ติดจำนอง” แล้วอาจมานั่งปวดหัวทีหลัง
อย่าคิดว่า อสังหาฯติดจำนองนั้นซื้อขายไม่ได้ จริงๆแล้วสามารถซื้อขายได้นะคะ
ก่อนคิดจะ ซื้อที่ดินติดจำนอง ต้องตรวจสอบหรือระวังอะไรบ้าง

ที่ดินติดจำนองคืออะไร?

การที่ผู้จำนองนำทรัพย์สินที่มีค่านำมาประกันเพื่อกู้เงินมาใช้  โดยใช้เป็นหลักประกันคือ อสังหาริมทรัพย์
คือ ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น คอนโด โฉนดที่ดิน บ้าน อาคารพาณิชย์ โดยการจำนอง
ผู้จำนองต้องนำสินทรัพย์ไปจดทะเบียนไว้กับผู้รับจำนอง ซึ่งต้องกระทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่กรมที่ดินเท่านั้น
ทั้งนี้ไม่ต้องโอนที่ดินหรือทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้รับจำนอง

ที่ดินติดจำนองจะตรวจสอบได้อย่างไร
เมื่อซื้อที่ดินกับคนไม่รู้จักเราจะรู้ได้ไงว่าทรัพย์นั้นที่จะซื้อติดจำนองไหม
เราขอแนะนำให้เอาสำเนาโฉนดที่ดินที่จะซื้อไปเช็คกับที่ดิน สำนักงานสาขาหรือจังหวัดที่แปลงที่ดินนั้นตั้งอยู่
เพื่อขอตรวจดูหลังโฉนดที่ดิน (สารบัญทะเบียน) แปลงที่จะซื้อ ซึ่งหากมีนิติกรรมอะไรเกี่ยวกับโฉนดใบนี้
ก็จะมีรายละเอียดแสดงไว้ทุกอย่าง ถ้ามีการจดจำนอง ก็จะแสดงในสารบัญทะเบียนว่า “จำนอง”

ซื้อที่ดินติดจำนองต้องระวังอะไรบ้าง

1.อย่าคิดไว ทำไว รีบตัดสินใจซื้อ

ที่ดินที่ติดจำนองส่วนมากต้องการหาเงินไถ่ถอนมักจะรีบขาย และมีราคาที่ดึงดูดใจ มาให้ผู้ซื้อตายใจ
ยอมซื้อที่ดินในที่สุด หรือหลายๆครั้งเป็นคนรู้จัก เป็นญาติ ก็เชื่อใจ จนไม่ได้ตรวจสอบที่ดินด้วยซ้ำ
ดังนั้นก่อนจะซื้อเราควรไปตรวจสอบที่ดินแปลงที่จะซื้อว่าติดจำนองหรือเปล่า

  1. 2. อย่าวางเงินประกันถ้ายังตรวจสอบไม่ชัวร์

หลายครั้งมีการโดนหลอกให้วางเงินประกันก่อนเพื่อผู้ขายจะได้นำเงินไปไถ่ถอนที่ดินที่ติดจำนอง
แล้วผู้ซื้อจะถูกหลอกให้โอนเงินเพื่อผู้ขายนำเงินไปไถ่ถอนจะได้นำโฉนดออกมา
โดยที่ตัวผู้ซื้อกับผู้นำที่ดินไปจำนองไว้ไม่ได้ทำสัญญาเป็นเอกสารหลักฐานลายลักษณ์อักษรใดๆ เลย
แบบนี้อาจทำให้โดนหลอกได้ (การนำเงินค่ามัดจำที่ดินไปไถ่ถอนโฉนดออกมาจากจำนองก่อน สามารถทำได้
แต่ต้องระบุเป็นสัญญาให้ชัดเจนระหว่างผู้จะซื้อและผู้จะขายว่า ก่อนโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อ ผู้ขายต้องเคลียร์ภาระผูกพัน
ให้ปลอดจำนองให้เรียบร้อย ก่อนโอนกรรมสิทธิ์ให้เป็นชื่อเจ้าของใหม่)

  1. เช็คตรวจสอบแปลงที่ดินว่ามีการแบ่งขายหรือไม่

บางครั้งที่ดินแปลงที่เราจะซื้อ ติดจำนองอาจแบ่งขายที่ดินจากแปลงใหญ่เป็นแปลงย่อยแล้วขายให้กับผู้ซื้อหลายคน
ถ้าไม่รู้เเต่เเรกควรตรวจสอบ เพราะหลังจากไถ่ถอนที่ดินแล้ว ยังต้องมาเเบ่งเเยกกรรมสิทธิ์ที่ดินอีก

การ ซื้อที่ดินติดจำนอง ก็สามารถทำได้ หากมีผู้ซื้อและผู้ขาย ตกลงทำสัญญากันแล้ว แต่อย่างไรก็ตามผู้ซื้อควรตรวจสอบให้ละเอียด
ถึงเงื่อนไขสัญญาจำนองเดิมด้วย ก่อนทำการซื้อเพื่อไม่ให้มีปัญหาในภายหลังนะคะ สอบถามหรือปรึกษาเรื่องการจำนองได้ที่ property4cash

ซื้อที่ดินติดจำนอง ต้องตรวจสอบหรือระวังอะไรบ้าง

ซื้อที่ดินติดจำนอง ต้องตรวจสอบหรือระวังอะไรบ้าง

——————————————————

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง 

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

การลงทุนและขายฝาก ทำไมถึงแตกต่างกัน
23
Aug 24
ความแตกต่างระหว่างการขายฝากกับการลงทุนประเภทอื่น: ทำไมการขายฝากอาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า”

การลงทุนและขายฝาก แตกต่างกันอย่างไร? การขายฝากเป็นรูปแบบการลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะและอาจมีข้อได้เปรียบเมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนประเภทอื่น เช่น การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือหุ้น มาดูกันว่าการขายฝากแตกต่างจากการลงทุนประเภทอื่นอย่างไร และทำไมการขายฝากอาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่าในบางกรณี: การขายฝาก (Sale and Leaseback) ลักษณะ: การขายฝากผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนจากดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น การขายฝากคือการที่เจ้าของทรัพย์สินฝากและขายทรัพย์สินให้กับผู้ลงทุนไปในตัว ซึ่งการทำการฝากจะมีระยะเวลากำหนดตามสัญญา เช่น ทำสัญญาขายฝาก 1 ปี ถ้าครบกำหนดสัญญา 1 ปีแล้วเจ้าของไม่มาไถ่ถอนตามระยะเวลา 1 ปี ทรัพย์นั้นจะตกเป็นของผู้ลงทุนโดยอัตโนมัติ ข้อดี: ความมั่นคงในการรับรายได้: ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ยที่มีสัญญาผูกพัน ซึ่งมักจะมีความมั่นคงและต่อเนื่อง ทรัพย์สินเป็นหลักประกัน: ทรัพย์สินที่ถูกขายฝากเป็นหลักประกันที่ช่วยลดความเสี่ยงในกรณีที่ผู้ขายไม่สามารถชำระค่าดอกเบี้ยได้ ข้อเสีย: ข้อจำกัดในการเพิ่มมูลค่า: การลงทุนในขายฝากอาจไม่สามารถเพิ่มมูลค่าของทรัพย์สินได้เท่าการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่สามารถพัฒนาแล […]

อ่านเพิ่มเติม
ทรัพย์หลุดขาย ฝากผู้รับซื้อฝากจะทำยังไง?
31
Aug 24
ทรัพย์หลุดขายฝากผู้รับซื้อฝากจะทำยังไง?

ทรัพย์หลุดขายฝาก ผู้รับซื้อฝากจะทำยังไง? การทำธุรกรรมขายฝาก เป็นสัญญาประเภทหนึ่งที่เจ้าของทรัพย์สิน (ผู้ขายฝาก) นำทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน บ้าน คอนโด อสังหาริมทรัพย์ต่างๆ มาให้กับอีกบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่า (ผู้รับซื้อฝาก) ถือกรรมสิทธิ์ชั่วคราว เพื่อขอเงินกู้หรือพูดกันให้เข้าใจง่ายๆว่า เอาโฉนดมาวางค้ำเป็นหลักประกัน เพื่อกู้เงินนำเงินไปใช้ก่อนเมื่อครบกำหนดสัญญาตามที่ตกลงกันก็นำเงินต้นมาไถ่ถอนคืน แต่ในระหว่างสัญญาก็จะมีค่าดอกเบี้ยที่ผู้ขายฝากจะต้องจ่ายให้แก้ผู้รับซื้อฝาก ในปัจจุบันนี้คนต้องการใช้เงินก้อน เงินด่วนเป็นจำนวนมากเจ้าของทรัพย์ก็นำโฉนดมาทำขายฝากกับทางนายทุนเป็นตัวเลขที่ตกลงกันทั้ง 2 ฝ่าย แต่เมื่อครบกำหนดสัญญาผู้ขายฝากไม่มาไถ่ถอนทรัพย์คืน จึงทำให้ทรัพย์หลุดไปเป็นของผู้รับซื้อฝากโดยทางกฎหมาย กรณีที่ ทรัพย์หลุดขายฝาก ผู้รับซื้อฝากจะต้องทำยังไงบ้าง และจะเสียค่าใช้จ่ายอะไรไหม? – กรณีที่ผู้รับซื้อฝากไม่ได้ส่งหนังสือแจ้งให้ทรัพย์ได้ทราบ ตามกฎหมายใหม่ต้องรอ 6เดือน ทรัพย์จะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากโดยสมบูรณ์ – ถ้าผู้รับซื้อฝากส่งหนังสือแจ้งทรัพย์แล้ว (ส่งหนังสือแจ้งทรัพย์ไม่น้อยกว่า […]

อ่านเพิ่มเติม
ใบปลอดหนี้ คืออะไร รู้ไว้ก่อนซื้อขายบ้าน-คอนโด
9
Jun 23
ใบปลอดหนี้คืออะไร รู้ไว้ก่อนซื้อขายบ้าน-คอนโด

เชื่อว่าเพื่อนๆ หลายคนไม่คุ้นชินกับคำนี้แน่ๆ “ใบปลอดหนี้”  และเพื่อนๆ ก็คงไม่รู้ว่า อะไรคือใบปลอดหนี้ วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับเอกสารนี้กัน เพราะว่าใบปลอดหนี้ นั้น มีความสำคัญมากสำหรับคนที่อยากจะซื้อ ขาย’ บ้านและคอนโด ใบปลอดหนี้ คือ หนังสือเอกสารที่ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการชำระเงินค่าส่วนกลางในการอยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมและหมู่บ้านจัดสรร ซึ่งถ้าขาดเอกสารตัวนี้ไป จะทำให้เราไม่สามารถทำธุรกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ที่กรมที่ดินได้ หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ไม่สามารถซื้อขายได้นั่นเอง ใครต้องเป็นคนขอและต้องขออย่างไร ผู้ขายจะต้องเป็นผู้ดำเนินการขอเอกสารที่สำนักงานนิติบุคคลนั้นๆ เพื่อจัดการค่าใช้จ่ายค้างชำระ (ถ้ายังไม่จ่ายค่าชำระ) หากมีการค้างค่าชำระบางประการ อาจจะต้องมีระยะเวลาในการออกเอกสารที่ยาวนานกว่า ขึ้นอยู่แต่ละกรณีที่แตกต่างกันไป เอกสารที่ต้องเตรียม สำเนาทะเบียนบ้านผู้ซื้อ-ผู้ขาย อย่างละ 1 ชุด สำเนาบัตรประชาชนผู้ซื้อ-ผู้ขาย อย่างละ 1 ชุด สำเนาโฉนดหน้า-หลัง สัญญาซื้อขาย ที่มีการระบุชื่อผู้ซื้อและผู้ขายชัดเจน หากชื่อหรือนามสกุลของผู้ซื้อหรือผู้ขายไม่ตรงกัน ให้นำใบเปลี่ยนชื่อหรือใบเปลี่ย […]

อ่านเพิ่มเติม