โฉนดที่ดิน ห้ามเคลือบพลาสติก
26
Apr 23

โฉนดที่ดิน ถือเป็นเอกสารสิทธิที่มีคุณค่า และมีความสำคัญ จึงทำให้เพื่อนหลาย ๆ คน คิดที่จะนำไปเคลือบพลาสติก
ถนอมและเก็บรักษาไว้เพื่อป้องกันการชำรุดหรือซีดจาง  แต่จริง ๆ การทำแบบนี้จะส่งผลให้โฉนดที่ดินนั้น จะชำรุดทันที
จะไม่สามารถทำธุรกรรมทางที่ดินได้ เพราะอะไร? และถ้าเคลือบพลาสติกแข็งไปแล้วต้องแก้อย่างไร? ลองไปดูกันเลยค่ะ

โฉนดที่ดิน ห้ามเคลือบพลาสติก เพราะ ?
การเคลือบจะทำให้ไม่สามารถพิมพ์รายการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน เช่น การโอน การจำนอง การขายฝาก
ในสารบัญจดทะเบียนด้านหลังโฉนดที่ดินได้ ถือเป็นกรณีชำรุดไม่สามารถใช้ทำธุรกรรมได้ จะต้องมีการสร้างใบแทนโฉนดที่ดิน

หากโฉนดเคลือบไปแล้วต้องแก้อย่างไร ?
 เพื่อนคนไหนที่ได้นำโฉนดที่ดินไปเคลือบพลาสติกแข็งมาแล้ว ไม่ต้องกังวลใจ สามารถแก้ไขได้โดย
เพื่อนๆ นำโฉนดที่ดินไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดิน เพื่อออกใบแทนใหม่ให้ โดยไม่ต้องมีการประกาศ 30 วัน
ซึ่งด้านหน้าโฉนดที่ดินเหนือครุฑจะมีคำว่า “ใบแทน” กำกับไว้ ใบแทนดังกล่าวมีเพียงสถานะเทียบเท่าโฉนดที่ดินเดิมทุกประการ

ขั้นตอนขอโฉนดที่ดิน ใบแทน
1. รับบัตรคิวจากประชาสัมพันธ์
2. เจ้าหน้าที่รับคำขอและสอบสวน
3. ตรวจสอบหลักฐาน ตรวจหนังสือมอบอำนาจ และพิจารณาสั่งการ
4. ลงบัญชีรับทำการ
5. ตรวจอายัด
6. เขียนใบสั่ง ใบเสร็จและรับเงินค่าธรรมเนียมคำขอ
7. พิมพ์ประกาศ กรณีโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นอันตรายหรือสูญหาย
8. เจ้าของที่ดินรับประกาศและนำเจ้าหน้าที่ไปปิดประกาศ
9. ประกาศแจกที่ดินให้ปิดในที่เปิดเผย ณ สำนักงานที่ดินท้องที่ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ
หรือที่ว่าการกิ่งอำเภอท้องที่ ที่ทำการแขวงหรือที่ทำการกำนันท้องที่และในบริเวณที่ดินนั้นแห่งละหนึ่งฉบับ
ในเขตเทศบาลให้ปิดไว้ ณ สำนักงานเทศบาลอีกหนึ่งฉบับ
10. ประกาศครบกำหนด 30 วัน ไม่มีผู้โต้แย้งคัดค้าน เบิกแบบพิมพ์ดำเนินการสร้างใบแทน
11. เสนอเจ้าพนักงานที่ดินพิจารณาลงนามในใบแทน และแจ้งเจ้าของที่ดินมารับใบแทน
12. แจกใบแทนให้เจ้าของที่ดิน

ค่าธรรมเนียมการขอโฉนดที่ดิน ใบแทน
1. ค่าคำขอแปลงละ 5 บาท
2. ค่าประกาศแปลงละ 10 บาท (กรณีที่ต้องมีการประกาศ)
3. ค่าปิดประกาศให้แก่ผู้ปิดประกาศ แปลงละ 10 บาท
4. ค่าออกใบแทนโฉนดที่ดินฉบับละ 50 บาท
5. ค่าออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ฉบับละ 50 บาท
6. ค่ามอบอำนาจ กรณีที่มีการมอบอำนาจ เรื่องละ 20 บาท
7. ค่าอากรแสตมป์ปิดใบมอบอำนาจ ฉบับละ 30 บาท
8. ค่าคำขอแปลงละ 5 บาท
9. ค่าประกาศแปลงละ 10 บาท (กรณีที่ต้องมีการประกาศ)
10. ค่าปิดประกาศให้แก่ผู้ปิดประกาศ แปลงละ 10 บาท
11. ค่าออกใบแทนโฉนดที่ดินฉบับละ 50 บาท
12. ค่าออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ฉบับละ 50 บาท
13. ค่ามอบอำนาจ กรณีที่มีการมอบอำนาจ เรื่องละ 20 บาท
14. ค่าอากรแสตมป์ปิดใบมอบอำนาจ ฉบับละ 30 บาท​

 

อย่ากังวลใจทุกอย่างสามารถแก้ไขได้เสมอ หากนำโฉนดที่ดินเคลือบพลาสติกแข็งแล้วก็ตาม
ถ้าอยากจะเก็บรักษาโฉนดที่ดินจริงๆแล้ว ควรใช้ซองพลาสติกสำหรับใส่โฉนดที่ดินเพื่อป้องกันความเสียหายจากการชำรุดได้
ไม่ควรพับ เพราะรอยพับอาจทำให้โฉนดที่ดินชำรุดหรือฉีกขาดในภายหลังได้  ควรเก็บไว้ในที่แห้ง
หากโฉนดที่ดินอยู่ในพื้นที่เปียกชื้นอาจทำให้เกิดเชื้อรา กระดาษเป็นขุยและข้อความในโฉนดที่ดินเลือนหายไปได้

โฉนดที่ดิน ห้ามเคลือบพลาสติก

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน มีแบบไหนบ้างนะ?
21
Nov 23
กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน มีแบบไหนบ้างนะ?

เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ของ กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน กันว่าคืออะไร? เพื่อที่ว่าเราจะเข้าใจบทบาทรวมถึงบริบทกันได้มากขึ้น สำหรับคนที่กำลังมีปัญหาว่าจะแบ่งสิทธิ์การถือครองร่วมในที่ดินอย่างไร? ซึ่งก็จะมีหลายรูปแบบด้วยกันค่ะ กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน หมายถีง นิติกรรมการซื้อการขายหรือเป็นการให้ในที่ดินซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้ นั่นก็คือ เป็นการขายหรือให้ในบางส่วนโดยให้สังเกตดูตรงรายชื่อในหนังสือแสดงสิทธิ์ที่ดิน ว่าจะมีชื่อเจ้าของที่ดินร่วมมากกว่า 1 คนขึ้นไป เช่น ที่ดิน 100 ไร่ มีผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันหลายคน . การถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน แบบต่างๆ มีแบบไหนบ้าง ? การแบ่งที่ดินในแบบรวมๆ ผู้ร่วมจะไม่สามารถนำที่ดินผืนดังกล่าวไปขายได้จนกว่าได้รับอนุญาติจากผู้ร่วมคนอื่นๆ ลักษณะการแบ่ง โดยการแบ่งชัดเจนด้วยสัดส่วนคิดเป็น % เช่น มีบุตร 3 คน นั่นก็คือ นางสาวเอ นายบี นายซี แต่ในขณะนั้น บิดายังมีชีวิตอยู่และยังไม่ได้ทำเรื่องโอนที่ดินเป็นเรื่องเป็นราว ดังนั้น ความต้องการที่จะให้มีการถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินถึงเกิดขึ้น โดยมีรูปแบบง่ายๆ นั่นก็คือ สมาชิกที่ต้องการจะมีกรรมสิทธิ์มาตกลงและ คุยกันก่อนว่ารู […]

อ่านเพิ่มเติม
ใบปลอดหนี้ คืออะไร รู้ไว้ก่อนซื้อขายบ้าน-คอนโด
9
Jun 23
ใบปลอดหนี้คืออะไร รู้ไว้ก่อนซื้อขายบ้าน-คอนโด

เชื่อว่าเพื่อนๆ หลายคนไม่คุ้นชินกับคำนี้แน่ๆ “ใบปลอดหนี้”  และเพื่อนๆ ก็คงไม่รู้ว่า อะไรคือใบปลอดหนี้ วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับเอกสารนี้กัน เพราะว่าใบปลอดหนี้ นั้น มีความสำคัญมากสำหรับคนที่อยากจะซื้อ ขาย’ บ้านและคอนโด ใบปลอดหนี้ คือ หนังสือเอกสารที่ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการชำระเงินค่าส่วนกลางในการอยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมและหมู่บ้านจัดสรร ซึ่งถ้าขาดเอกสารตัวนี้ไป จะทำให้เราไม่สามารถทำธุรกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ที่กรมที่ดินได้ หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ไม่สามารถซื้อขายได้นั่นเอง ใครต้องเป็นคนขอและต้องขออย่างไร ผู้ขายจะต้องเป็นผู้ดำเนินการขอเอกสารที่สำนักงานนิติบุคคลนั้นๆ เพื่อจัดการค่าใช้จ่ายค้างชำระ (ถ้ายังไม่จ่ายค่าชำระ) หากมีการค้างค่าชำระบางประการ อาจจะต้องมีระยะเวลาในการออกเอกสารที่ยาวนานกว่า ขึ้นอยู่แต่ละกรณีที่แตกต่างกันไป เอกสารที่ต้องเตรียม สำเนาทะเบียนบ้านผู้ซื้อ-ผู้ขาย อย่างละ 1 ชุด สำเนาบัตรประชาชนผู้ซื้อ-ผู้ขาย อย่างละ 1 ชุด สำเนาโฉนดหน้า-หลัง สัญญาซื้อขาย ที่มีการระบุชื่อผู้ซื้อและผู้ขายชัดเจน หากชื่อหรือนามสกุลของผู้ซื้อหรือผู้ขายไม่ตรงกัน ให้นำใบเปลี่ยนชื่อหรือใบเปลี่ย […]

อ่านเพิ่มเติม
15
Mar 23
เคล็ดไม่ลับจาก P4C จำนองบ้านไว้ ขายได้ค่อยไถ่ถอนคืน

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังต้องการขายบ้าน แต่ยังหาผู้ซื้อไม่ได้สักที และคุณเกิดจำเป็นต้องใช้เงินก้อน แบบด่วนจี๋ตอนนี้ทันที จำนองบ้าน เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยคุณให้พ้นวิกฤตทางการเงินได้ โดยที่ไม่ต้องตัดใจ ตัดราคาขายบ้านให้ถูกลงเพื่อให้มีคนซื้อไวๆ และเมื่อใดก็ตามที่มีคนมาสนใจซื้อบ้านคุณแล้ว ค่อยนำเงินก้อนนั้นมาไถ่ถอนจำนองคืนไป บางท่านอาจจะสงสัยว่า ในเมื่อจะขายอยู่แล้ว เรามาเสียเงินจ่ายดอกเบี้ยทำไมทุกเดือนๆ วันนี้เรามีคำตอบมาให้ดูกัน.. ข้อดีของการจำนองบ้าน ไว้ก่อน ขายได้ค่อยมาไถ่ถอนทีหลัง วันนี้เรามีเคสมาเล่าให้ฟัง มีลูกค้าท่านนึง ประกาศขายบ้านมา 6 เดือนแล้ว แต่ยังขายไม่ได้สักที มีคนเข้ามาดูบ้านมากหน้าหลายตา มีทั้งคนที่สนใจและไม่สนใจ แต่ก็ยังไม่มีใครติดต่อขอซื้อแบบจริงจัง ครั้นจะมีคนมาซื้อก็ติดปัญหากู้แบงค์ไม่ผ่าน ทำให้บ้านยังเป็นของเราเหมือนเดิมไม่ไปไหน เมื่อเวลาผ่านไป ชีวิตเจ้ากรรมดันจำเป็นต้องใช้เงินก้อนใหญ่ มีเวลาหาเงินก้อนนี้เพียงแค่ไม่กี่วัน จะขายบ้านตอนนี้ก็ไม่ทันการ จะตัดใจขายในราคาที่ต่ำกว่าปกติทำใจไม่ได้ จะกู้แบงค์ก็มีขั้นตอน มีเอกสารที่ต้องเตรียมการ ต้องใช้เวลามากมาย สุดท้ายเลย […]

อ่านเพิ่มเติม