3
May 23

https://www.isranews.org/article/isranews-news/110435-Court-of-Appeal-Prime-nature-villa-common-property-news.html

 

จากเหตุการณ์ตามข่าวนี้ แสดงให้เห็นว่า การซื้อขายที่ดินในหมู่บ้านจัดสรร พื้นที่ที่เป็นส่วนกลางของหมู่บ้าน
(โดยทั่วไปคือ พื้นที่ที่เจ้าของกรรมสิทธิทุกคนในหมู่บ้านหรือคอนโดมิเนียม มีสิทธิใช้ร่วมกัน
โดยมีการเสียค่าใช้จ่าย ที่เรียกว่าค่าส่วนกลางให้กับนิติบุคคลหมู่บ้านหรือคอนโดฯ
เช่น สนามหญ้า สระว่ายน้ำ lake ลิฟต์ส่วนกลาง สโมสร คลับเฮ้าส์ ฟิตเนส พื้นที่ทิ้งขยะ เป็นต้น)
พื้นที่ส่วนกลางในหมู่บ้าน มีทั้งส่วนที่เป็นที่ดินเปล่า และที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง
ทีนี้เราจะทราบได้อย่างไร ว่าที่ดินที่เราต้องการจะซื้อในหมู่บ้านจัดสรรนั้นๆ
เป็นที่ดินที่เราสามารถเอามาสร้างบ้านอยู่อาศัยได้ ไม่โดนหลอกเอาที่ดิน ที่เป็น พื้นที่ส่วนกลาง มาขาย
วันนี้ Property4Cash มีคำตอบค่ะ

1.  ดูง่ายๆ เบื้องต้น ตามผังพื้นที่ขายที่มีการโฆษณาในสื่อ หรือที่เซลล์โฆษณาขาย ว่าพื้นที่ที่เราต้องการอยู่ตรงไหนของโครงการ
เข้าข่ายว่าจะเป็นพื้นที่ส่วนกลางหรือไม่ (ในผังพื้นที่ขายส่วนใหญ่ จะระบุว่าพื้นที่ตรงไหน คือ พื้นที่ส่วนกลาง)

ตัวอย่าง ผังพื้นที่ขาย

 

จะรู้ได้อย่างไร ว่าที่ที่เราจะซื้อเป็น พื้นที่ส่วนกลาง

 

  1. เช็คให้ละเอียด โดยการเช็คหลังโฉนด จากกรมที่ดิน สาขาที่ดูแลพื้นที่โครงการนั้นๆ
    หลังโฉนด จะระบุว่า พื้นที่จัดสรรของหมู่บ้านโครงการนั้นๆ เป็นพื้นที่เพื่อการสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ของหมู่บ้านหรือไม่
    ** พื้นที่ส่วนกลางของโครงการหมู่บ้านจัดสรร หรือคอนโดมิเนียม ไม่สามารถโอนขายให้คนอื่นได้โฉนดที่ดินที่ถูกต้องจะปรากฏข้อความด้านหลังสารบัญพบข้อความ
    “โฉนดที่ดินแปลงนี้ อยู่ภายใต้การจัดสรรที่ดิน ตามใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน เลขที่ …. / ปี พ.ศ. …. ”
    ลงลายมือชื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และวัน เดือน ปี กำกับ ชัดเจนถ้าไม่มี หรือไม่พบข้อความดังกล่าว แสดงว่าโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวไม่อยู่ในแผนผังการจัดสรรที่ดิน
    ย่อมไม่ได้รับการรับรองคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินแต่อย่างใด แนะนำให้เลี่ยง ไม่ซื้อขอดู ขอตรวจสอบ แผนผังการจัดสรรที่ดินตามที่ได้รับอนุญาต และใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน
    แผนผังโครงการจัดสรรที่ดิน จะปรากฏรายละเอียดทั้งระบบสาธารณูปโภค ทรัพย์สินส่วนกลางและทรัพย์สินส่วนบุคคล
    หรือแปลงจำหน่าย อยู่ในแผนผังการจัดสรรที่ดินของโครงการนั้นๆ
    โครงการหมู่บ้านที่ทำการจัดสรรขายอย่างถูกกฎหมาย ต้องมีใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน
    ขอตรวจสอบได้กับโครงการโดยตรง

 

สำหรับคอนโดมิเนียม
อ้างอิงจาก
“คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13896/2558 ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 4 บัญญัติว่า “ทรัพย์ส่วนกลาง” หมายความว่าส่วนของอาคารที่มีใช่ห้องชุด
ที่ดินที่ตั้งอาคารชุด และที่ดินหรือทรัพย์อื่นที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อนประโยชน์ร่วมกัน สำหรับเจ้าของร่วม และมาตรา 15 บัญญัติว่าทรัพย์สินต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นทรัพย์ส่วนกลาง

1.ที่ดินที่ตั้งอาคารชุด
2.ที่ดินที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน
3.โครงสร้างและสิ่งก่อสร้างเพื่อความมั่นคงและเพื่อการป้องกันความเสียหายต่อตัวอาคารชุด
4.อาคารหรือส่วนของอาคารและเครื่องอุปกรณ์ที่มีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน
5.เครื่องมือและเครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน
6.สถานที่ที่มีไว้เพื่อบริการส่วนร่วมแก่อาคารชุด
7.ทรัพย์สินอื่นที่มีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน

นำไปขาย หรือ นำไปจำนอง ไม่ได้เช่นกัน

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน มีแบบไหนบ้างนะ?
21
Nov 23
กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน มีแบบไหนบ้างนะ?

เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ของ กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน กันว่าคืออะไร? เพื่อที่ว่าเราจะเข้าใจบทบาทรวมถึงบริบทกันได้มากขึ้น สำหรับคนที่กำลังมีปัญหาว่าจะแบ่งสิทธิ์การถือครองร่วมในที่ดินอย่างไร? ซึ่งก็จะมีหลายรูปแบบด้วยกันค่ะ กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน หมายถีง นิติกรรมการซื้อการขายหรือเป็นการให้ในที่ดินซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้ นั่นก็คือ เป็นการขายหรือให้ในบางส่วนโดยให้สังเกตดูตรงรายชื่อในหนังสือแสดงสิทธิ์ที่ดิน ว่าจะมีชื่อเจ้าของที่ดินร่วมมากกว่า 1 คนขึ้นไป เช่น ที่ดิน 100 ไร่ มีผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันหลายคน . การถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน แบบต่างๆ มีแบบไหนบ้าง ? การแบ่งที่ดินในแบบรวมๆ ผู้ร่วมจะไม่สามารถนำที่ดินผืนดังกล่าวไปขายได้จนกว่าได้รับอนุญาติจากผู้ร่วมคนอื่นๆ ลักษณะการแบ่ง โดยการแบ่งชัดเจนด้วยสัดส่วนคิดเป็น % เช่น มีบุตร 3 คน นั่นก็คือ นางสาวเอ นายบี นายซี แต่ในขณะนั้น บิดายังมีชีวิตอยู่และยังไม่ได้ทำเรื่องโอนที่ดินเป็นเรื่องเป็นราว ดังนั้น ความต้องการที่จะให้มีการถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินถึงเกิดขึ้น โดยมีรูปแบบง่ายๆ นั่นก็คือ สมาชิกที่ต้องการจะมีกรรมสิทธิ์มาตกลงและ คุยกันก่อนว่ารู […]

อ่านเพิ่มเติม
โฉนดที่ดิน ห้ามเคลือบพลาสติก
26
Apr 23
รู้หรือไม่ โฉนดที่ดินเคลือบพลาสติกแข็ง เท่ากับชำรุด

โฉนดที่ดิน ถือเป็นเอกสารสิทธิที่มีคุณค่า และมีความสำคัญ จึงทำให้เพื่อนหลาย ๆ คน คิดที่จะนำไปเคลือบพลาสติก ถนอมและเก็บรักษาไว้เพื่อป้องกันการชำรุดหรือซีดจาง  แต่จริง ๆ การทำแบบนี้จะส่งผลให้โฉนดที่ดินนั้น จะชำรุดทันที จะไม่สามารถทำธุรกรรมทางที่ดินได้ เพราะอะไร? และถ้าเคลือบพลาสติกแข็งไปแล้วต้องแก้อย่างไร? ลองไปดูกันเลยค่ะ โฉนดที่ดิน ห้ามเคลือบพลาสติก เพราะ ? การเคลือบจะทำให้ไม่สามารถพิมพ์รายการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน เช่น การโอน การจำนอง การขายฝาก ในสารบัญจดทะเบียนด้านหลังโฉนดที่ดินได้ ถือเป็นกรณีชำรุดไม่สามารถใช้ทำธุรกรรมได้ จะต้องมีการสร้างใบแทนโฉนดที่ดิน หากโฉนดเคลือบไปแล้วต้องแก้อย่างไร ?  เพื่อนคนไหนที่ได้นำโฉนดที่ดินไปเคลือบพลาสติกแข็งมาแล้ว ไม่ต้องกังวลใจ สามารถแก้ไขได้โดย เพื่อนๆ นำโฉนดที่ดินไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดิน เพื่อออกใบแทนใหม่ให้ โดยไม่ต้องมีการประกาศ 30 วัน ซึ่งด้านหน้าโฉนดที่ดินเหนือครุฑจะมีคำว่า “ใบแทน” กำกับไว้ ใบแทนดังกล่าวมีเพียงสถานะเทียบเท่าโฉนดที่ดินเดิมทุกประการ ขั้นตอนขอโฉนดที่ดิน “ ใบแทน ” 1. รับบัตรคิวจากประชาสัมพันธ์ 2. เจ้าหน้าที่รับคำขอและสอบสวน 3 […]

อ่านเพิ่มเติม
วิธีคำนวนค่าโอน ค่าธรรมเนียม ณ กรมที่ดิน ด้วยตัวเอง แบบง่ายๆ
25
Jan 23
วิธีคำนวณค่าโอน ค่าธรรมเนียม ณ กรมที่ดิน ด้วยตัวเอง แบบง่ายๆ

วิธีคำนวณค่าโอน ค่าธรรมเนียม ณ กรมที่ดิน ด้วยตัวเอง แบบง่ายๆ ได้รู้จักกันไปแล้วว่าการจำนอง-ขายฝาก คือการทำนิติกรรมอะไร มีเงื่อนไข มีขั้นตอน มีผลตอบแทนที่จะได้รับเท่าไหร่บ้าง แต่นอกเหนือจากสิ่งที่กล่าวไปในข้างต้นนั้น ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่เราควรรู้นั่นก็คือ “ค่าใช้จ่าย” ทั้งหลาย โดยเฉพาะในส่วนของ ค่าธรรมเนียมในการทำจำนอง และ ค่าธรรมเนียม ขายฝาก ณ สำนักงานที่ดิน วิธีคำนวณค่าโอน ค่าธรรมเนียมสำหรับการจำนอง ค่าธรรมเนียมคำขอจดจำนอง แปลงละ 5 บาท ค่าจดจำนอง 1% ของวงเงินจำนอง (แต่ต้องไม่เกิน 200,000 บาท) ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินจำนอง (แต่ต้องไม่เกิน 10,000 บาท) ตัวอย่าง : วิธีการคำนวณค่าธรรมเนียม จำนองที่ดิน ยอดจำนอง 3,000,000 บาท ประเภทค่าธรรมเนียม วิธีคำนวณ มูลค่า ค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท 5 บาท ค่าจดจำนอง 3,000,000 x 1% 30,000 บาท ค่าอากรแสตมป์ 3,000,000 x 0.05% 1,500 บาท รวม 31,500 บาท หมายเหตุ: ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าพยาน, ค่ามอบอำนาจ(กรณีมอบอำนาจ) ฯลฯ ค่าธรรมเนียมสำหรับการขายฝาก 1. ค่าธรรมเนียม 2% จากราคาประเมินกรมที่ดิน 2. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คำนวณจากราคาประเมินกรมที่ดิน ต้อ […]

อ่านเพิ่มเติม