ติดเครดิตบูโร จำนองขายฝากได้ไหม
8
Mar 23

เพื่อนๆ หลายคนก็น่าจะเคยได้ยินเคยได้เห็นคำว่า บูโร เครดิตบูโร ติดเครดิตบูโร มากันบ้าง แต่ยังไม่รู้ความหมายของคำว่า
เครดิตบูโร คืออะไร และเครดิตบูโรมีความสำคัญอย่างไรนะ คนติดเครดิตบูโร จำนอง ขายฝาก ได้ไหม
วันนี้เราจะพาเพื่อนๆ ไปไขความกระจ่างกัน ไปดูกันเลยค่ะ

ทำความรู้จักกับเครดิตบูโร

คือ  ข้อมูลประวัติการชำระหนี้ของเรา ที่สามารถนำมาดูเพื่อบอกถึงสถานะทางการเงินของแต่ละคนได้
ซึ่งจะประเมินจากพฤติกรรมการใช้จ่าย ซื้อของ ผ่อนชำระสินค้าและบริการต่างๆ ที่เก็บบันทึกโดย บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด
เป็นศูนย์รวมข้อมูลเครดิตของผู้กู้ ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลเครดิตจากสถาบันการเงินหลาย ๆ แห่งที่เป็นสมาชิกของบริษัท
โดยเครดิตบูโรจะเก็บรวบรวมข้อมูลสินเชื่อที่เคยได้รับอนุมัติจากสถาบันการเงิน ประวัติการชำระสินเชื่อ ประวัติการผ่อนชำระ เคยขอสินเชื่ออะไรมาบ้าง

ติดเครดิตบูโรคืออะไร

คือ การที่เรามีพฤติกรรมการชำระหนี้  ผิดนัดชำระหนี้บ่อยครั้ง หรือไม่ชำระหนี้เลย ระบบของ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด
จะแสดงผลเก็บรวมรวมข้อมูลทั้งหมด ทำให้เวลาจะไปขอสินเชื่อธนาคาร หรือ สถาบันการเงินต่างๆ จะเข้าไปเช็คว่า
เรามีประวัติการชำระหนี้เป็นอย่างไร  ผ่านหลักเกณฑ์พิจารณาหรือไม่ หากเรามีประวัติการชำระหนี้ที่ไม่น่ารัก
คือไม่ชำระหนี้ ชำระดอกเบี้ยตรงตามกำหนด ก็จะทำให้เราไม่สามารถขอสินเชื่อจากธนาคารและสถาบันการเงินอื่นๆ ได้
เพราะเขามองว่าเราอาจจะผิดนัดไม่ชำระหนี้กับเขาได้เช่นกัน

ติดเครดิตบูโรสามารถจำนองขายฝากได้หรือไม่ ?

ตอบเลยว่าคุณสามารถทำได้ คุณสามารถจำนองขายฝากได้ แต่คุณอาจจะมีตัวเลือก มีช่องทางในการทำจำนองขายฝากน้อยลง
เพราะถ้าคุณคิดจะนำทรัพย์ไปจำนองขายฝากกับธนาคาร โดยส่วนใหญ่สถาบันการเงินเหล่านี้
ก็จะต้องเช็ค ข้อมูลเครดิตบูโรอยู่แล้วเป็นปกติ ทำให้ส่วนใหญ่จะไม่ผ่านหลักเกณฑ์พิจารณาของสถาบันเหล่านี้
ไม่ผ่านแล้วต้องจำนองขายฝาก กับที่ไหน ? ที่ไม่เช็คเครดิตบูโร

จำนองขายฝาก กับ Property4Cash ไม่เช็คเครดิตบูโร

เป็นอีกหนึ่งทางออกสำหรับปัญหาของผู้ที่ขาดสภาพคล่องทางการเงิน หากคุณมีหลักทรัพย์เป็น บ้าน คอนโดฯ อาคารพาณิชย์ ที่ดินโรงแรม
ที่มีโฉนดที่ดิน ก็สามารถนำทรัพย์เหล่านี้มาแปลงเป็นเงินทุนได้ โดย Property4Cash เราไม่มีการเช็คเครดิตบูโร
อนุมัติได้ไว ให้วงเงินสูง ดอกเบี้ยต่ำ มีทีมงานมืออาชีพค่อยให้คำปรึกษาทุกขั้นตอน
เพื่อนๆ คงรู้แล้วใช่ไหม ติดเครดิตบูโร จำนองขายฝากได้ไหม ?

ติดเครดิตบูโร จำนองขายฝากได้ไหม

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

20
Jul 24
ผู้ขายฝากไม่มีเงินมาไถ่ถอน กรรมสิทธิ์ในที่ดินจะตกเป็นของใคร?

สัญญาขายฝาก เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ต้องการเงินทุน แต่ยังต้องการคงไว้ซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หลายคนอาจเข้าใจผิดคิดว่า สัญญาขายฝากนั้นเหมือนกับการจำนองที่ดิน แต่ความจริงแล้วมีความแตกต่างกันอยู่มาก โดยเฉพาะผลลัพธ์ที่ตามมาหากผู้ขายฝากไม่มีเงินมาไถ่ถอนที่ดินภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา วันนี้  เราจะมาไขข้อข้องใจ  “กรณีผู้ขายฝากไม่มีเงินมา ไถ่ถอน กรรมสิทธิ์ในที่ดินจะตกเป็นของใคร?”  พร้อมเจาะลึกประเด็นน่าสนใจ  “เกี่ยวกับสัญญาขายฝาก กันค่ะ   เมื่อผู้ขายฝากไม่มีเงินมาไถ่ถอนที่ดิน กรรมสิทธิ์ในที่ดินจะตกเป็นของ “ผู้รับขายฝาก” โดยไม่ต้องดำเนินการฟ้องร้องใดๆ เพิ่มเติม ต่างจากการจำนอง ที่ผู้รับจำนองจะต้องฟ้องร้องต่อศาล เพื่อบังคับคดีก่อน จึงจะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ทั้งนี้ สิทธิ์ของผู้ขายฝากที่จะไถ่ถอนที่ดินนั้น  จะมีระยะเวลา “ไม่เกิน 10 ปี”  นับตั้งแต่วันทำสัญญาขายฝาก  ซึ่งระยะเวลานี้  สามารถตกลงกัน  “ให้สั้นลงหรือยาวนานขึ้นได้”  แต่ไม่เกิน 10 ปี อย่างไรก็ตาม กฎหมายยังมีช่องทางช่วยเหลือผู้ขายฝาก  “กรณีพิเศษ”  ดังนี้       R […]

อ่านเพิ่มเติม
โฉนดติดขายฝาก
28
Aug 24
โฉนดติดขายฝาก ไถ่ถอนไม่ทันภายในระยะเวลาจะเกิดอะไรขึ้น?

โฉนดติดขายฝาก การทำธุรกรรมขายฝากโดยทั่วไปแล้ว สัญญาขายฝากจะมีระยะเวลาในการ ไถ่ถอน ที่กำหนดไว้ชัดเจน หากเจ้าของทรัพย์ไม่สามารถหาเงินมาชำระหนี้ตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด สัญญาขายฝากจะกลายเป็นเสมือนสัญญาซื้อขายโดยอัตโนมัติ ซึ่งหมายความว่า เจ้าหนี้ (ผู้รับซื้อฝาก) จะถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนั้นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย และเจ้าของทรัพย์จะสูญเสียสิทธิในการเป็นเจ้าของที่ดินแปลงนั้นไป แต่การนำอสังหาริมทรัพย์มาทำธุรกรรมขายฝากนั้นก็ไม่ได้เสี่ยงที่ทรัพย์จะตกไปเป็นสิทธิ์ของผู้รับซื้อฝากเสมอไป เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สามารถเจรจาหรือคุยกับทางผู้รับซื้อฝากเรื่องขอต่อสัญญาได้ เมื่อทรัพย์ต่อสัญญาขายฝากแล้วก็จะขยายระยะเวลาในการไถ่ถอนออกไปอีก โฉนดติดขายฝาก การต่อสัญญาขายฝาก คือการขยายระยะเวลาในการชำระหนี้และไถ่ถอนทรัพย์สินที่ขายฝากออกไปจากเดิม โดยต้องได้รับความยินยอมจากทั้งสองฝ่าย คือ ผู้ขายฝาก (เจ้าของทรัพย์เดิม) และผู้ซื้อฝาก (ผู้ให้กู้) นอกจากการขยายสัญญาขายฝากเพื่อไม่ให้ โฉนดติดขายฝาก ไปเป็นสิทธิ์ของผู้รับซื้อฝากแล้ว ยังมีค่าธรรมเนียมการต่อสัญญาด้วย ทรัพย์จะต้องชำระค่าใช้จ่ายการขยายสัญญาเพ […]

อ่านเพิ่มเติม
บังคับจำนอง
3
Jan 23
การบังคับจำนอง คืออะไร ?

บังคับจำนอง ไม่ได้หมายความว่าเรามีทรัพย์สินอยู่แล้วถูกบังคับให้เอาไปจำนองแต่อย่างใด แต่หมายถึงการที่เราได้ทำสัญญาจำนองไว้เรียบร้อยแล้ว แต่ผิดสัญญา ไม่จ่ายดอกเบี้ย ไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงกันไว้ ทำให้ถูกฟ้องร้องต่อศาล โดยการบังคับจำนอง นั้นทำได้ 2 วิธีคือ ประเภทของ บังคับจำนอง ขายทอดตลาด คือการยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่ง “ยึด” ทรัพย์สินที่จำนองไว้ขายทอดตลาด และนำเงินมาใช้หนี้แก่ผู้รับจำนอง โดยจำเป็นต้องส่งหนังสือแจ้งลูกหนี้ก่อนล่วงหน้า 1 เดือน ถึงจะสามารถฟ้องร้องได้ การบังคับจำนองขายทอดตลาดนั้น หากตัวทรัพย์สินที่จำนองไว้มูลค่าต่ำกว่าหนี้ที่มีอยู่ ลูกหนี้ไม่จำเป็นต้องเสียค่าส่วนต่างแต่อย่างใด (แต่เสียที่ดิน เสียบ้านนะจ๊ะ!) และหากสามารถขายทรัพย์สินในราคาที่สูงกว่าหนี้ที่คงค้างได้ เจ้าหนี้จำเป็นต้องนำเงินส่วนที่เกินมาคืนให้แก่ลูกหนี้ไป จะเห็นได้ว่าการจำนองนั้น “เจ้าหนี้” ค่อนข้างเสียเปรียบในการทำสัญญาไม่น้อย เพราะฉะนั้น จะรับจำนองทรัพย์สินอะไร ให้ประเมินราคา ประเมินมูลค่าที่แท้จริงให้ดีเสียก่อน ก่อนที่จะเสียทั้งเงินและเวลาไปโดยใช่เหตุ ยึดทรัพย์สินให้เป็นของเจ้าหนี้ กรณีนี้สา […]

อ่านเพิ่มเติม