2
Feb 23

ค้ำประกัน คำที่มักจะได้ยินบ่อยๆ ในตอนที่ต้องกู้สินเชื่อกับทางธนาคาร
เนื่องจากในการจะกู้ซื้อบ้านหรือคอนโดต้องใช้เงินก้อนใหญ่ หากจะให้การกู้ง่ายยิ่งขึ้น
อาจจะต้องมีการกู้ร่วม เพื่อให้ได้วงเงินที่มากขึ้น หรืออาศัยคนค้ำประกัน
เพราะผู้กู้อาจมีคุณสมบัติบางอย่างไม่ถึงเกณฑ์ เพื่อมาช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์การอนุมัติขอสินเชื่อได้
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับการค้ำประกัน กันแบบง่ายๆ ก่อนเลยค่ะ

การค้ำประกันคือ บุคคลที่มาค้ำประกันสินเชื่อให้กับลูกหนี้ โดยสถานะไม่ได้เป็นลูกหนี้ร่วมเหมือนกับคนกู้ร่วม
สถานะจะเป็นเพียงแค่คนค้ำประกันที่เมื่อเกิดกรณีที่ลูกหนี้เบี้ยวไม่จ่ายหนี้
ธนาคารหรือสถาบันการเงินก็จะไปไล่เบี้ยเอาคืนกับคนค้ำประกัน

เมื่อรู้จักการค้ำประกันแบบคร่าวๆ แล้ว มาดูกันค่ะว่าการค้ำประกันมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง

  1. ความสัมพันธ์กับการค้ำประกัน
    ผู้ค้ำประกันสามารถเป็นใครก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลในเครือญาติของผู้กู้
  2. การพิจารณาของธนาคาร
    การค้ำประกัน ธนาคารจะไม่นำรายได้ของคนค้ำประกันมารวมคิดเพื่อพิจารณาอนุมัติ
    จะยังคงพิจารณาเฉพาะรายได้ของผู้กู้เท่านั้น แต่จะพิจารณาคุณสมบัติของผู้ค้ำประกันแทน
    โดยผู้ค้ำประกันจะต้องจะต้องมีประวัติเครดิตที่ดีหรือมีรายรับที่มั่นคง
  3. กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
    การค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันจะไม่มีกรรมสิทธิ์ใดๆ ในทรัพย์สินที่ค้ำประกันเลย
  4. หน้าที่ในการผ่อนชำระ
    การค้ำประกัน ไม่มีหน้าที่ในการผ่อนชำระหนี้สิน
    แต่มีหน้าที่รับผิดชอบ หากผู้กู้หลักปฏิบัติตนผิดสัญญาตามที่ธนาคารระบุไว้
  5. การลดหย่อนภาษี
    การค้ำประกัน ไม่สามารถนำดอกเบี้ยไปลดหย่อนภาษีได้ เนื่องจากไม่ได้ทำการผ่อนชำระ

การค้ำประกันเป็นการเพิ่มโอกาสในการได้รับอนุมัติสินเชื่อเพิ่มมากขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามหากมองในฐานะที่เราต้องเข้าไปเป็นคนค้ำประกัน
ที่ไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินนั้นเลย แต่เมื่อถึงเวลาที่หนี้มีปัญหาคนค้ำประกันก็ต้องรับผิดชอบ
ต่อหนี้ที่เกิดขึ้นโดยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ การจะค้ำประกันหนี้ให้กับใครจึงควรคิดให้ดี
คิดให้ถี่ถ้วนและคิดให้รอบคอบเสียก่อน หากไม่สนิทกันหรือมีความสงสัยในตัวคนที่มาขอให้ช่วยแม้แต่น้อย
ก็ไม่ควรที่จะรับค้ำประกันอย่างเด็ดขาดเลยนะคะ

ค้ำประกัน อันตรายขนาดไหน ทำไมใครๆ ก็บอกว่า หนีไปปป!!

หากสนใจลงทุนจำนอง ขายฝาก Property4cash ยินดีให้คำปรึกษา

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

จํานํา กับ จํานอง ต่างกันอย่างไร
30
Mar 23
จํานํา กับ จํานอง ต่างกันอย่างไร

ช่วงนี้หลายคนอาจได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจเพราะโควิดไม่มากก็น้อย หนึ่งในทางออกที่ใช้คือการนำทรัพย์สินที่มีออกมาขาย หรือนำทรัพย์สินที่มีค่าไป จำนำ หรือ จำนอง  หลายคนก็ยังสงสัยว่า จํานํา กับ จํานอง ต่างกันอย่างไร วันนี้เราจะพาทุกคนไปไข้ข้อสงสัยนี้กัน มาดูกัน จำนอง จำนำ แตกต่างกันอย่างไร การจำนอง การที่ผู้จำนองนำทรัพย์สินที่มีค่านำมาประกันเพื่อกู้เงินมาใช้  โดยใช้เป็นหลักประกันคือ อสังหาริมทรัพย์  คือ ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น คอนโด โฉนดที่ดิน บ้าน อาคารพาณิชย์ โดยการจำนอง ผู้จำนองต้องนำสินทรัพย์ไปจดทะเบียนไว้กับผู้รับจำนอง ซึ่งต้องกระทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่กรมที่ดินเท่านั้น ทั้งนี้ไม่ต้องโอนที่ดินหรือทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้รับจำนอง สาระสำคัญ ทรัพย์สินที่นำมาจำนองจะต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ ผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบสินทรัพย์ให้แก่ผู้รับจำนอง โดยกรรมสิทธิ์ยังเป็นของผู้จำนองอยู่ ผู้จำนองเป็นลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกก็ได้ มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร ต้องจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที ณ กรมที่ดิน ในกรณีที่ผู้จำนองไม่สามารถชำระหนี้ได้ เจ้าหนี้ต้องทำการฟ้องร้องเพื่อบังคับจำนองโดยการที่จะนำทรัพย์สินไปข […]

อ่านเพิ่มเติม
3 วิธี กู้ร่วม ซื้ออสังหาฯ แบบง่ายๆ ของชาว LGBTQ
15
Jun 23
3 วิธีกู้ร่วมซื้ออสังหาฯ แบบง่ายๆ ของชาว LGBTQ

ถึงแม้ว่าทางเลือกในการมีบ้านสักหลังของคู่รัก LGBTQ จะยังมีไม่มากนัก โดยเฉพาะการกู้ร่วมซื้อบ้าน แต่ใช่ว่าจะไม่มีทางเลือกเลยเพราะปัจจุบัน มีหลายธนาคารที่เปิดโอกาสให้กลุ่ม LGBTQ กู้ร่วม ซื้อบ้านได้ ลองมาดูรายละเอียดว่าคู่รัก LGBTQ จะต้องทำอย่างไรถึงกู้ร่วมซื้อบ้านได้ #เช็คธนาคารอนุมัติสินเชื่อบ้าน กรณีกู้ร่วมเพศเดียวกัน ปัจจุบันกลุ่ม LGTBQ ถือเป็นผู้บริโภคที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงมีหลายธนาคารที่สามารถอนุมัติการ กู้ร่วม ของคนกลุ่มนี้ได้ นั่นคือ – ธนาคารกสิกร – ธนาคารออมสิน – ธนาคารธนชาติ – ธนาคารยูโอบี – ธนาคารกรุงเทพ – ธนาคารทหารไทย – ธนาคารไทยพาณิชย์ – ธนาคารกรุงศรีฯ – ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด โดยแต่ละธนาคารจะมีเงื่อนไขแตกต่างกันไป แต่คุณสมบัติพื้นฐานของที่ผู้ยื่นกู้ร่วมที่เหมือนกันมีดังนี้ – ผู้กู้เป็นบุคคลธรรมดา สัญชาติไทย – ผู้กู้อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 65 ปี – ไม่เคยเป็นลูกหนี้ปรับโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน – หลักฐานว่าคู่ของเราอยู่ร่วมกันจริง เช่น บัญชีเงินฝากที่เปิดร่วมกัน #ตรวจเอกส […]

อ่านเพิ่มเติม
ที่ดินมรดก สามารถทำขายฝากได้หรือไม่?
19
Nov 24
ที่ดินมรดก ทำขายฝากได้หรือไม่?

ที่ดินมรดก สามารถทำขายฝากได้หรือไม่? วันนี้ Property4Cash มาไขคำตอบแล้วค่ะ  ที่ดินทำกิน ที่ดินเปล่า นับเป็นสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าสูง เปรียบเสมือนมรดกที่ส่งต่อความมั่นคงจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลานในอนาคต เพื่อพัฒนาและทำประโยชน์ให้งอกเงย เลี้ยงดูชีวิต หรือต่อยอดจากแนวคิดของบรรพบุรุษ  และเมื่อทรัพย์สินดังกล่าว เป็นมรดก และผู้รับมรดกมีความจำเป็นต้องใช้เงินก้อนเร่งด่วน ผู้รับมรดกสามารถใช้ที่ดิน อสังหาที่ได้รับมรดกมาจากบรรพบุรุษ ไม่ว่าจะเป็น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ฯลฯ มาเป็นหลักทรัพย์ทำธุรกรรมขายฝากได้หรือไม่?    โดย ที่ดินมรดก สามารถทำขายฝากที่ดินได้  ผู้รับมรดกที่มีชื่อระบุในพินัยกรรม หรือเป็นทายาทโดยธรรมของผู้เสียชีวิต หลังจากดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หลังโฉนดที่ดิน น.ส. 4 มาเป็นชื่อของตัวเองเรียบร้อยแล้ว สามารถนำโฉนดที่ดิน น.ส. 4 มาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันทำสัญญาขายฝาก ณ สำนักงานที่ดิน ได้ตามปกติ  การขายฝากที่ดิน กับ Property4Cash อนุมัติไว ได้รับเงินก้อนทันที ดอกเบี้ยต่ำเริ่มต้นเพียง 0.75% ต่อเดือน ขั้นตอนดำเนินการ เกี่ยวกับกรณีการจัดการที่ดินมรดก เป็นอย่างไรบ้าง? ตามเราไปอัพเดตก […]

อ่านเพิ่มเติม