ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ถัาไม่จ่ายจะ ขายฝาก-จำนองได้ไหม?
8
Mar 24

รู้ไหมคะว่าคนที่มีที่ดินเป็นของตัวเองนั้นต่างก็ต้องเสียภาษีด้วยกันทั้งสิ้น
ภาษีที่ว่าก็คือ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่ไม่ได้จำกัดเพียงแค่คนทำธุรกิจ
แต่ยังรวมถึงพวกเราคนธรรมดาที่ครอบครองที่ดิน ไม่ว่าจะเพื่อใช้ หรือทิ้งไว้รกร้างค่ะ

ก่อนอื่นมาทำความรู้จัก ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กันก่อนเลยค่ะ
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรืออาจเรียกสั้นๆ ว่าภาษีที่ดิน
จะเป็นรูปแบบของภาษีรายปีที่คำนวณจากมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีไว้ในครอบครอง
ซึ่งจะมีเทศบาล อบต. เป็นผู้เรียกเก็บ สำหรับที่กทม. จะต้องชำระที่สำนักงานเขต
ส่วนเมืองพัทยาจะต้องชำระที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา

ทั้งนี้จากการประกาศรายละเอียดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2567 จากเดิมที่ต้องเสียภาษีในเดือนกุมภาพันธ์ 2567
ถูกเลื่อนออกไปเป็นเดือนเมษายน 2567 แทน

ผู้ที่ต้องเสียภาษีที่ดินต้องมีเงื่อนไขดังนี้
1. เจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ (ดูตามโฉนด ไม่ใช่ทะเบียนบ้าน)

  1. ผู้ครอบครอง/ทำประโยชน์ในที่ดินนั้น จะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้

ประเภทของภาษีที่ดิน 2566 แบ่งประเภทที่ดินที่ต้องเสียภาษีไว้ 4 รายการ
1. ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม  เพดานภาษีสูงสุด 0.15%
2. ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย เพดานภาษีสูงสุด 0.30%
3. ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม เพดานภาษีสูงสุด 1.20%
4. ที่ดินรกร้างว่างเปล่า เพดานสูงสุด 3%

ทั้งนี้กรณีที่คุณเป็นเจ้าของบ้านราคาไม่เกิน 50 ล้านบาท ก็จะไม่ต้องชำระภาษีที่ดินนะคะ

 

และถ้าไม่ชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะมีผลอย่างไรบ้าง?
สำหรับผู้ที่เลี่ยงการเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรือเพิกเฉยไม่สนใจที่จะชำระภาษีถือว่าเป็นผู้ที่มีความผิด
และจำเป็นต้องได้รับโทษทางกฎหมาย โดยแบ่งออกได้ 3 ระดับ ดังนี้

  • โทษปรับ เป็นบทลงโทษในระดับเบื้องต้น สำหรับผู้ที่เสียภาษีที่ดินไม่ครบตามจำนวนภายในเวลาที่กำหนด
    จะต้องถูกปรับตามเกณฑ์ที่ระบุเอาไว้

    • เสียเบี้ยปรับ 10% ของภาษีที่ค้างชำระ ในกรณีที่ล่าช้า แต่ชำระก่อนได้รับหนังสือแจ้งเตือน
    • เสียเบี้ยปรับ 20% ของภาษีที่ค้างชำระ ในกรณีที่ล่าช้า แต่ชำระในระยะที่หนังสือแจ้งเตือนระบุเอาไว้
    • เสียเบี้ยปรับ 40% ของภาษีที่ค้างชำระ ในกรณีที่ล่าช้าเกินระยะที่หนังสือแจ้งเตือนระบุเอาไว้
  • ดอกเบี้ยเงินเพิ่ม
    เป็นบทลงโทษเพิ่มเติมในกรณีชำระภาษีล่าช้าโดยนับตั้งแต่วันที่การชำระภาษีเลยเวลา
    ด้วยการคิดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 1% ต่อเดือนของเงินที่ค้างชำระ
  • โทษทางอาญา โดยมีการกำหนดโทษจำคุกสูงสุด 2 ปี และปรับสูงสุดไมเกิน 40,000 บาท
  • หากไม่ชำระภาษีภายในระยะเวลาที่กำหนด จะถูกระงับการทำธุรกรรมซื้อขายที่ดินกับสำนักงานที่ดินฯ

จากที่เรากล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จำเป็นอย่างมากที่จะต้องชำระให้ครบและตรงระยะเวลาที่กำหนด ไม่อย่างนั้นจะมีเบี้ยปรับและโทษที่ตามมาอีกมากมาย

และจะไม่สามารถทำธุรกรรมกับกรมที่ดินได้ ไม่ว่าจะเป็น ขายฝาก จำนอง ก็จะไม่สามารถกระทำการได้นะคะ

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ถัาไม่จ่ายจะ ขายฝาก-จำนองได้ไหม?

—————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficia

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

กู้ร่วม แต่ผู้กู้ร่วมอีกคนเสียชีวิต ทำจำนองขายฝากได้ไหม?
2
Jul 24
กู้ร่วมแต่ผู้กู้ร่วมอีกคนเสียชีวิต ทำจำนองขายฝากได้ไหม?

หลายคนคงเคยกังวลว่าหากเรา กู้ร่วม ซื้อบ้านหรือคอนโดกับใครสักคน แล้วเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ผู้กู้ร่วมเสียชีวิต เราจะทำอย่างไรต่อ? โดยเฉพาะเรื่อง มรดก การผ่อนชำระสินเชื่อ หรือ  การขายฝาก จำนอง บทความนี้จะมาไขข้อสงสัยเหล่านี้ให้กระจ่าง พร้อมอธิบายแนวทางปฏิบัติอย่างละเอียด เมื่อเผชิญสถานการณ์สูญเสียผู้กู้ร่วม เมื่อผู้กู้ร่วมเสียชีวิต สัญญาจะยังคงอยู่หรือไม่? ตอบ: สัญญากู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัยยังคงมีผลผูกพันแม้ว่าผู้กู้ร่วมจะเสียชีวิตก็ตาม ภาระหนี้สิน มรดก ต่างๆ จะตกไปอยู่กับผู้ กู้ร่วม ที่ยังมีชีวิตอยู่และทายาทของผู้เสียชีวิต แล้วทายาทมีสิทธิ์อะไรบ้าง? ตอบ: ทายาทของผู้เสียชีวิตมีสิทธิ์เลือกดังนี้ รับสืบทอดหนี้สิน: ทายาทสามารถรับสืบทอดหนี้สินต่อจากผู้เสียชีวิต โดยจะต้องผ่อนชำระสินเชื่อร่วมกับผู้กู้ร่วมที่ยังมีชีวิตอยู่ สละสิทธิ์: ทายาทสามารถสละสิทธิ์ไม่รับสืบทอดหนี้สิน กรณีนี้ธนาคารอาจพิจารณาให้ผู้กู้ร่วมที่ยังมีชีวิตอยู่กู้ต่อเพียงลำพัง หรือหาผู้กู้ร่วมใหม่ ขายทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้: ทายาทสามารถขายบ้านหรือคอนโดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้สิน กรณีต้องการขายฝากหรือจำนอง กรณีผู้กู้ร่วมเสียชีวิต การทำ […]

อ่านเพิ่มเติม
โฉนดติดขายฝาก
28
Aug 24
โฉนดติดขายฝาก ไถ่ถอนไม่ทันภายในระยะเวลาจะเกิดอะไรขึ้น?

โฉนดติดขายฝาก การทำธุรกรรมขายฝากโดยทั่วไปแล้ว สัญญาขายฝากจะมีระยะเวลาในการ ไถ่ถอน ที่กำหนดไว้ชัดเจน หากเจ้าของทรัพย์ไม่สามารถหาเงินมาชำระหนี้ตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด สัญญาขายฝากจะกลายเป็นเสมือนสัญญาซื้อขายโดยอัตโนมัติ ซึ่งหมายความว่า เจ้าหนี้ (ผู้รับซื้อฝาก) จะถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนั้นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย และเจ้าของทรัพย์จะสูญเสียสิทธิในการเป็นเจ้าของที่ดินแปลงนั้นไป แต่การนำอสังหาริมทรัพย์มาทำธุรกรรมขายฝากนั้นก็ไม่ได้เสี่ยงที่ทรัพย์จะตกไปเป็นสิทธิ์ของผู้รับซื้อฝากเสมอไป เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สามารถเจรจาหรือคุยกับทางผู้รับซื้อฝากเรื่องขอต่อสัญญาได้ เมื่อทรัพย์ต่อสัญญาขายฝากแล้วก็จะขยายระยะเวลาในการไถ่ถอนออกไปอีก โฉนดติดขายฝาก การต่อสัญญาขายฝาก คือการขยายระยะเวลาในการชำระหนี้และไถ่ถอนทรัพย์สินที่ขายฝากออกไปจากเดิม โดยต้องได้รับความยินยอมจากทั้งสองฝ่าย คือ ผู้ขายฝาก (เจ้าของทรัพย์เดิม) และผู้ซื้อฝาก (ผู้ให้กู้) นอกจากการขยายสัญญาขายฝากเพื่อไม่ให้ โฉนดติดขายฝาก ไปเป็นสิทธิ์ของผู้รับซื้อฝากแล้ว ยังมีค่าธรรมเนียมการต่อสัญญาด้วย ทรัพย์จะต้องชำระค่าใช้จ่ายการขยายสัญญาเพ […]

อ่านเพิ่มเติม
จำนอง- ขายฝากคอนโดต้องขอเอกสารอะไรจากนิติบ้าง?
16
Sep 23
จำนอง-ขายฝาก คอนโดต้องขอเอกสารอะไรจากนิติบ้าง?

รู้หรือไม่ว่าคอนโดก็สามารถทำการจำนอง- ขายฝากคอนโด ได้เช่นกัน หากเราต้องการเงินด่วน คอนโดเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่สามารถช่วยคุณได้ โดยการจำนอง- ขายฝากคอนโด จะมีการเตรียมเอกสารแตกต่างจากที่ดินหรือบ้านเล็กน้อย เพราะมีเอกสารที่ต้องขอจากนิติบุคคลที่ดูแลคอนโดนั้นๆ ด้วย จะมีเอกสารอะไรที่ต้องเตรียมบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ เอกสารที่ต้องเตรียมในการ “ขายฝาก” คอนโดสำหรับบุคคลธรรมดา บัตรประจำตัวประชาชน ตัวจริง (พร้อมสำเนา) ทะเบียนบ้าน (พร้อมสำเนา) หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด อช.2 หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว-ชื่อสกุล ตัวจริง (พร้อมสำเนา) *ถ้ามี ทะเบียนสมรส (สำเนา) *ถ้ามี ทะเบียนหย่า , ใบมรณบัตร (สำเนา) *ถ้ามี หนังสือยินยอมให้ทำนิติกรรมของคู่สมรส (หากมีคู่สมรส แต่คู่สมรสไม่ได้มาทำธุรกรรมด้วย) ใบปลอดค่าสาธารณูปโภค ( ค่าส่วนกลาง ค่าน้ำ ค่าไฟ ) จากรายการเอกสารข้างต้นจะเห็นว่ามี “ใบปลอดค่าสาธารณูปโภค” *ซึ่งเอกสารส่วนนี้เราจะต้องขอผ่านนิติบุคคลคอนโดเท่านั้น* โดยใบปลอดค่าสาธารณูปโภคหรือที่เรียกกันว่า “ใบปลอดหนี้” คือ เป็นเอกสารสำคัญในการดำเนินการทำนิติกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ – ขาย หรือการขายฝาก รวมถึงการยกมรดก และ […]

อ่านเพิ่มเติม