โฉนดที่ดิน ห้ามเคลือบพลาสติก
26
Apr 23

โฉนดที่ดิน ถือเป็นเอกสารสิทธิที่มีคุณค่า และมีความสำคัญ จึงทำให้เพื่อนหลาย ๆ คน คิดที่จะนำไปเคลือบพลาสติก
ถนอมและเก็บรักษาไว้เพื่อป้องกันการชำรุดหรือซีดจาง  แต่จริง ๆ การทำแบบนี้จะส่งผลให้โฉนดที่ดินนั้น จะชำรุดทันที
จะไม่สามารถทำธุรกรรมทางที่ดินได้ เพราะอะไร? และถ้าเคลือบพลาสติกแข็งไปแล้วต้องแก้อย่างไร? ลองไปดูกันเลยค่ะ

โฉนดที่ดิน ห้ามเคลือบพลาสติก เพราะ ?
การเคลือบจะทำให้ไม่สามารถพิมพ์รายการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน เช่น การโอน การจำนอง การขายฝาก
ในสารบัญจดทะเบียนด้านหลังโฉนดที่ดินได้ ถือเป็นกรณีชำรุดไม่สามารถใช้ทำธุรกรรมได้ จะต้องมีการสร้างใบแทนโฉนดที่ดิน

หากโฉนดเคลือบไปแล้วต้องแก้อย่างไร ?
 เพื่อนคนไหนที่ได้นำโฉนดที่ดินไปเคลือบพลาสติกแข็งมาแล้ว ไม่ต้องกังวลใจ สามารถแก้ไขได้โดย
เพื่อนๆ นำโฉนดที่ดินไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดิน เพื่อออกใบแทนใหม่ให้ โดยไม่ต้องมีการประกาศ 30 วัน
ซึ่งด้านหน้าโฉนดที่ดินเหนือครุฑจะมีคำว่า “ใบแทน” กำกับไว้ ใบแทนดังกล่าวมีเพียงสถานะเทียบเท่าโฉนดที่ดินเดิมทุกประการ

ขั้นตอนขอโฉนดที่ดิน ใบแทน
1. รับบัตรคิวจากประชาสัมพันธ์
2. เจ้าหน้าที่รับคำขอและสอบสวน
3. ตรวจสอบหลักฐาน ตรวจหนังสือมอบอำนาจ และพิจารณาสั่งการ
4. ลงบัญชีรับทำการ
5. ตรวจอายัด
6. เขียนใบสั่ง ใบเสร็จและรับเงินค่าธรรมเนียมคำขอ
7. พิมพ์ประกาศ กรณีโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นอันตรายหรือสูญหาย
8. เจ้าของที่ดินรับประกาศและนำเจ้าหน้าที่ไปปิดประกาศ
9. ประกาศแจกที่ดินให้ปิดในที่เปิดเผย ณ สำนักงานที่ดินท้องที่ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ
หรือที่ว่าการกิ่งอำเภอท้องที่ ที่ทำการแขวงหรือที่ทำการกำนันท้องที่และในบริเวณที่ดินนั้นแห่งละหนึ่งฉบับ
ในเขตเทศบาลให้ปิดไว้ ณ สำนักงานเทศบาลอีกหนึ่งฉบับ
10. ประกาศครบกำหนด 30 วัน ไม่มีผู้โต้แย้งคัดค้าน เบิกแบบพิมพ์ดำเนินการสร้างใบแทน
11. เสนอเจ้าพนักงานที่ดินพิจารณาลงนามในใบแทน และแจ้งเจ้าของที่ดินมารับใบแทน
12. แจกใบแทนให้เจ้าของที่ดิน

ค่าธรรมเนียมการขอโฉนดที่ดิน ใบแทน
1. ค่าคำขอแปลงละ 5 บาท
2. ค่าประกาศแปลงละ 10 บาท (กรณีที่ต้องมีการประกาศ)
3. ค่าปิดประกาศให้แก่ผู้ปิดประกาศ แปลงละ 10 บาท
4. ค่าออกใบแทนโฉนดที่ดินฉบับละ 50 บาท
5. ค่าออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ฉบับละ 50 บาท
6. ค่ามอบอำนาจ กรณีที่มีการมอบอำนาจ เรื่องละ 20 บาท
7. ค่าอากรแสตมป์ปิดใบมอบอำนาจ ฉบับละ 30 บาท
8. ค่าคำขอแปลงละ 5 บาท
9. ค่าประกาศแปลงละ 10 บาท (กรณีที่ต้องมีการประกาศ)
10. ค่าปิดประกาศให้แก่ผู้ปิดประกาศ แปลงละ 10 บาท
11. ค่าออกใบแทนโฉนดที่ดินฉบับละ 50 บาท
12. ค่าออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ฉบับละ 50 บาท
13. ค่ามอบอำนาจ กรณีที่มีการมอบอำนาจ เรื่องละ 20 บาท
14. ค่าอากรแสตมป์ปิดใบมอบอำนาจ ฉบับละ 30 บาท​

 

อย่ากังวลใจทุกอย่างสามารถแก้ไขได้เสมอ หากนำโฉนดที่ดินเคลือบพลาสติกแข็งแล้วก็ตาม
ถ้าอยากจะเก็บรักษาโฉนดที่ดินจริงๆแล้ว ควรใช้ซองพลาสติกสำหรับใส่โฉนดที่ดินเพื่อป้องกันความเสียหายจากการชำรุดได้
ไม่ควรพับ เพราะรอยพับอาจทำให้โฉนดที่ดินชำรุดหรือฉีกขาดในภายหลังได้  ควรเก็บไว้ในที่แห้ง
หากโฉนดที่ดินอยู่ในพื้นที่เปียกชื้นอาจทำให้เกิดเชื้อรา กระดาษเป็นขุยและข้อความในโฉนดที่ดินเลือนหายไปได้

โฉนดที่ดิน ห้ามเคลือบพลาสติก

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

บ้านหลุดจำนอง ดีจริงหรือ?
14
Nov 23
บ้านหลุดจำนอง ดีจริงหรือ?

หลายๆ คนมักจะอคติกับ “บ้านหลุดจำนอง” จริงๆ แล้วรูปแบบอสังหาฯ ประเภทนี้ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด ถ้าได้มาจากแหล่งขายอันน่าเชื่อถือ รับรองว่าได้ราคาดี แถมยังสามารถเรียกกำไรงามได้อีกด้วย บ้านหลุดจำนอง เป็นรูปแบบอสังหาริมทรัพย์ที่ด้อยคุณภาพหรือรอการขาย โดยมักเรียกกันหมู่นักลงทุนว่า NPA ย่อมาจาก Non-Performing Asset เกิดจากทางสถาบันการเงินได้กรรมสิทธิ์เมื่อผู้กู้เกิดพฤติกรรมขาดผ่อนหรือผ่อนต่อไม่ไหว จึงยอมให้ธนาคารยึดบ้านเพื่อนำมาชำระหนี้ รวมไปถึงบ้านที่กรมบังคับคดีได้นำออกมาประมูล ในราคาที่ต่ำกว่าตลาดถึง 40-50% อีกด้วย สำหรับบ้านหลุดจำนอง อาจจะต้องเช็คประวัติย้อนหลังของบ้านให้มากขึ้น เพราะเราไม่รู้ว่าบ้านหลุดจำนองมีประวัติด้านลบมามากหรือน้อยแค่ไหน ถ้าหากไม่ตรวจสอบอย่างละเอียด อาจนำความเดือดร้อนมาภายหลังได้ แล้วบ้านหลุดจำนอง จะทำกำไรให้กับนักลงทุนได้ยังไง วันนี้เรามาเรียนรู้เทคนิคการเลือกซื้อบ้านหลุดจำนองกัน มี 5 ข้อดังต่อไป ต้องรู้ความต้องการของตัวเองก่อน เราต้องรู้ว่าซื้อบ้านหลุดจำนองนี้ไปเพื่ออะไร จะเป็นการลงทุนหรือเพื่ออยู่อาศัยเอง ถ้าเป็นการลงทุน ควรพิจารณาเรื่องแหล่งซื้อเป็นอันดับแรกก่อ […]

อ่านเพิ่มเติม
การฝากขาย และ การขายฝาก แตกต่างกันอย่างไร
17
Oct 23
การฝากขาย และ การขายฝาก แตกต่างกันอย่างไร

หลายๆ คนอาจจะยังสับสนหรือสงสัยกับว่า การขายฝาก และ การฝากขาย แตกต่างกันอย่างไร แม้ว่าอ่านแล้วอาจจะดูคล้ายกัน แต่สองคำนี้มีความหมายที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ก่อนอื่นเรามาดูความหมายของการขายฝาก กับ การฝากขายกันก่อนดีกว่าค่ะ ว่าแต่ละตัวมันมีความหมายยังไง จะได้ไม่เข้าใจกันผิดกันอีกจ้า การขายฝาก คือ สัญญาการซื้อขายรูปแบบหนึ่ง ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะตกแก่ผู้รับขายฝาก (นายทุน) ณ วันที่ทำสัญญาที่กรม ที่ดิน ภายใต้ข้อตกลงที่ว่า ผู้ขายฝากสามารถไถ่ถอนทรัพย์สินคืนได้ ภายในระยะเวลาที่ระบุในสัญญา (แต่ไม่เกิน 10 ปี) หากไม่มาไถ่ถอนทรัพย์สิน กรรมสิทธิ์นั้นจะตกเป็นของผู้รับฝาก(นายทุน) ทันที ส่วนการ ฝากขายนั้น ผู้ฝากขายจะนำทรัพย์สินของตนเองไปฝากขายกับตัวแทน หรือนายหน้า เพื่อให้ทางนายหน้า ช่วยทำการตลาด โฆษณา หรือประชาสัมพันธ์ทรัพย์สิน ที่เจ้าของทรัพย์นำไปฝากขาย ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะยังเป็นของผู้ฝากขายอยู่ และจะโอนเป็นของผู้อื่นเมื่อนายหน้าได้ทำการขายทรัพย์สินนั้น ให้กับผู้ฝากขายได้แล้ว ตารางเปรียบเทียบระหว่างขายฝากและฝากขาย หัวข้อ ขายฝาก ฝากขาย ธุรกรรม การขายฝากและสามารถไถ่ถอนทรัพย์สินนั้นคืนได้ ห […]

อ่านเพิ่มเติม
Reverse Mortgage สินเชื่อบ้านผู้สูงอายุ
2
Aug 23
Reverse Mortgage สินเชื่อบ้านผู้สูงอายุ ตอบโจทย์คนไม่อยากมีลูก

ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเป็นทางการแล้ว โดยอายุเฉลี่ยของคนไทยจะอยู่ที่ 75 ปี เท่ากับว่าในตอนที่เรายังอยู่ในวัยทำงานจะต้องวางแผน หลังเกษียณกันไว้ให้ดี โดยเฉพาะใครที่คิดจะครองตัวเป็นโสด หรือ ไม่คิดที่จะมีลูกไว้ดูแลยามอายุมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันคอนโดหลายๆ โครงการเองก็ได้ออกแบบมาสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ หากอยากทราบข้อมูลสามารถติดต่อนายหน้าคอนโด เพื่อขอคำปรึกษาได้เลยนะคะ แต่ปัญหาส่วนใหญ่ที่กลุ่มวัยเกษียณอาจพบเจอได้ นั่นคือ “มีที่พักอาศัย แต่ไม่มีเงินสด” และเป็นที่มาของ Reverse mortgage หรือสินเชื่อเพื่อผู้สูงอายุโดยมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน Reverse mortgage คืออะไร? Reverse Mortgageหรือ #สินเชื่อบ้านผู้สูงอายุ คือ รูปแบบสินเชื่อที่อยู่อาศัยแบบย้อนกลับ หรือธนาคารทำหน้าที่เป็นผู้ซื้อบ้าน พร้อมกับนำเงินเข้าบัญชีให้ผู้กู้ทุกเดือน และเมื่อครบกำหนดงวดสุดท้าย บ้านที่ใช้ค้ำประกันจะตกเป็นของธนาคาร ต่างจากสินเชื่อปกติที่ผู้กู้ทั่วไปต้องการซื้อบ้าน และมักจะใช้บ้านเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันกับธนาคาร เมื่อชำระครบกำหนดบ้านหรือคอนโดก็จะตกเป็นของผู้กู้ ดังนั้นรูปแบบสินเชื่อ Rev […]

อ่านเพิ่มเติม