25
Apr 24

ธุรกิจ SMEs ในปัจจุบัน พบกับปัญหาอย่างหนึ่ง “การไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน” ฝันร้ายของธุรกิจ SMEs เพราะเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง และไม่มีหลักทรัพย์สำหรับค้ำประกันจะขอสินเชื่อที่ไหนก็ไม่ผ่าน
เชื่อเลยว่ายังมีหลายคนอาจยังไม่รู้ว่ามีหน่วยงานจากภาครัฐที่คอยให้ความช่วยเหลือธุรกิจ SMEs เพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น นั่นก็คือ “ บสย. คือ บริษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม”  

บสย.คือใคร มีหน้าที่อะไรบ้าง Property4Cash มีคำตอบ !

บสย. คือ ใคร  

บสย.คือ สถาบันการเงินของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ภายใต้การกำกับของกระทรวงการคลัง โดยมีหน้าที่ค้ำประกันสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ที่ไม่มีหลักทรัพย์ และมีหลักทรัพย์ค้ำประกันไม่เพียงพอในการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน  เพื่อให้ได้วงเงินสินเชื่อตามที่ต้องการ

หน้าที่หลักของบสย. 

บสย.มีนโยบายค้ำประกันสินเชื่อให้กับธุรกิจ SMEs ทุกประเภท ที่ต้องการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน เพื่อช่วยลดภาระหลักทรัพย์ และช่วยให้มีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน นอกจากนี้ยังพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ SMEs ผ่านกิจกรรมต่างๆ และเป็นตัวกลางข้อมูลเพื่อดำเนินการระหว่าง SMEs กับหน่วยงานภาครัฐ 

คุณสมบัติธุรกิจ SMEs ที่บสย. ค้ำประกัน 

บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคลที่มีสัญชาติไทย ที่มีคนไทยถือหุ้นมากกว่า 50% และมีทรัพย์สินถาวรสุทธิ (ไม่รวมที่ดิน) ตามเกณฑ์ที่บสย. กำหนดตามแต่ละประเภทการค้ำประกันสินเชื่อ  

ทำความรู้จัก บสย. ตัวช่วยของผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs

อ่านมาถึงตรงนี้ทุกคนก็พอจะรู้จักกับบสย. กันบ้างแล้ว ต่อไปเรามาดูกันว่า บสย. นั้นข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง ?   

 

ข้อดี 

SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งกู้ยืมเงินได้มากขึ้น : ปัญหาที่ธุรกิจ SMEs ส่วนใหญ่ต้องพบเจอ เนื่องจากขาดหลักประกันที่เพียงพอบสย. จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาตรงจุดนี้ โดยการค้ำประกันสินเชื่อให้กับธุรกิจ SMEs เพื่อโอกาสในการได้รับสินเชื่อที่มากขึ้น 

ลดภาระในการหาหลักประกัน : SMEs สามารถใช้หลักประกันที่มีอยู่แค่บางส่วน ประกอบกับการค้ำประกันจากบสย. แค่นี้ก็เพียงพอที่จะได้สินเชื่อจากธนาคาร 

เพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จ : SMEs ถ้ามีแหล่งเงินทุนเพียงพอ ก็มีโอกาสเติบโตและประสบความสำเร็จได้มากขึ้น 

 

ข้อเสีย 

กระบวนการขอสินเชื่อ : กระบวนการขอสินเชื่อจากบสย. ใช้เวลานาน SMEs อาจต้องเจอกับอุปสรรคสำหรับขั้นตอนนี้ 

หลักเกณฑ์การพิจารณา : บสย.มีหลักเกณฑ์การพิจารณา ที่เข้มงวด นั่นทำอาจทำให้ SMEs บางรายไม่ผ่านเกณฑ์พิจารณา 

วงเงินค้ำประกันที่มีจำกัด : วงเงินค้ำประกันสำหรับธุรกิจ SMEs ไม่เกิน 40 ล้านบาท ต่อรายรวมทุกสถาบันการเงิน นั่นทำให้ SMEs อาจไม่ได้รับวงเงินสินเชื่อตามที่ต้องการ 

 

ตอนนี้ทุกคนน่าจะเข้าใจและได้รู้จักบสย. มากขึ้นแล้ว โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs  หากวันนึงต้องการเงินทุนหมุนเวียน หรือต้องการต่อยอดธุรกิจบสย. ก็คงจะเป็นอีกทางเลือกที่ดีที่สำหรับผู้ประกอบทุกท่าน

 

สำหรับใครที่มีโฉนด ไม่ต้องกังวลกับปัญหาใดๆ เพียงนำโฉนดที่ดินมาที่ Property4Cash  รับจำนอง-ขายฝาก  

 

–  ดอกเบี้ยเริ่มต้น 0.75% ต่อเดือน 

– ทำสัญญาถูกต้องตามกฎหมาย 

– ไม่ต้องมีคนค้ำ

– ไม่เช็คประวัติ

– ไม่มีนโยบายยึดทรัพย์

—————————————————–

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash

โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash

ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficia

#property4cash #เงินด่วนทันใจ #จำนอง #ขายฝาก #เงินด่วนอสังหาฯ #เคียงข้างทุกปัญหาการเงิน  #รู้ผลไว #ได้เงินจริง

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

ขายฝาก-จำนอง มอบอำนาจ ได้ไหม ? เตรียมเอกสารยังไง ไม่ให้โมฆะ
11
Apr 23
ขายฝาก-จำนอง มอบอำนาจ ได้ไหม ? เตรียมเอกสารยังไง ไม่ให้โมฆะ

การ มอบอำนาจ ให้ผู้อื่นไปทำนิติกรรมที่สำนักงานที่ดินแทนเจ้าของ เป็นเรื่องปกติที่มักจะทำกัน โดยจะเห็นได้บ่อยเป็นพิเศษเวลาเราไปทำนิติกรรมซื้อ-ขาย ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ที่ดิน หรือคอนโดก็ตาม เพราะหลายๆ คนก็ไม่มีเวลา หรือไม่เชี่ยวชาญในการทำเรื่องเอกสาร การมอบอำนาจให้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ไปทำเรื่องให้ นอกจากจะประหยัดเวลาแล้ว ยังหมดห่วงเรื่องโดนเจ้าหน้าที่ปฏิเสธเพราะเอกสารไม่ครบหรือไม่ถูกต้องด้วย แล้วการทำนิติกรรมอย่าง ขายฝาก และ จำนอง ล่ะ สามารถมอบอำนาจไปทำเรื่องแทนได้ไหมนะ ? ถ้าไม่อยากมีปัญหาเรื่องเอกสารต้องทำอย่างไร มาหาคำตอบกัน. ขายฝาก-จำนอง มอบอำนาจได้ไหม ? การทำขายฝาก หรือ จำนองนั้น ก็ไม่ต่างอะไรกับการซื้อ-ขาย อสังหาริมทรัพย์ในแง่ของการ มอบอำนาจ ให้ผู้อื่นทำแทน สามารถทำได้ไม่ว่าจะเป็น ผู้ขายฝาก (เจ้าของทรัพย์) หรือ ผู้รับซื้อฝาก (เจ้าของเงิน) เองก็ตาม หรือในกรณีที่ทั้งสองฝ่ายต้องการมอบอำนาจให้บุคคลเดียว เป็นผู้ไปทำสัญญาขายแทนก็ทำได้เช่นกัน เอกสารสำหรับการมอบอำนาจมีอะไรบ้าง ? สิ่งแรกที่จำเป็นต้องมี สำหรับการในการมอบอำนาจนั้นคือ “หนังสือมอบอำนาจ” โดยสามารถใช้แบบฟอร์มของสำนักงานที่ดินที่เรี […]

อ่านเพิ่มเติม
วิธีคำนวนค่าโอน ค่าธรรมเนียม ณ กรมที่ดิน ด้วยตัวเอง แบบง่ายๆ
25
Jan 23
วิธีคำนวณค่าโอน ค่าธรรมเนียม ณ กรมที่ดิน ด้วยตัวเอง แบบง่ายๆ

วิธีคำนวณค่าโอน ค่าธรรมเนียม ณ กรมที่ดิน ด้วยตัวเอง แบบง่ายๆ ได้รู้จักกันไปแล้วว่าการจำนอง-ขายฝาก คือการทำนิติกรรมอะไร มีเงื่อนไข มีขั้นตอน มีผลตอบแทนที่จะได้รับเท่าไหร่บ้าง แต่นอกเหนือจากสิ่งที่กล่าวไปในข้างต้นนั้น ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่เราควรรู้นั่นก็คือ “ค่าใช้จ่าย” ทั้งหลาย โดยเฉพาะในส่วนของ ค่าธรรมเนียมในการทำจำนอง และ ค่าธรรมเนียม ขายฝาก ณ สำนักงานที่ดิน วิธีคำนวณค่าโอน ค่าธรรมเนียมสำหรับการจำนอง ค่าธรรมเนียมคำขอจดจำนอง แปลงละ 5 บาท ค่าจดจำนอง 1% ของวงเงินจำนอง (แต่ต้องไม่เกิน 200,000 บาท) ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินจำนอง (แต่ต้องไม่เกิน 10,000 บาท) ตัวอย่าง : วิธีการคำนวณค่าธรรมเนียม จำนองที่ดิน ยอดจำนอง 3,000,000 บาท ประเภทค่าธรรมเนียม วิธีคำนวณ มูลค่า ค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท 5 บาท ค่าจดจำนอง 3,000,000 x 1% 30,000 บาท ค่าอากรแสตมป์ 3,000,000 x 0.05% 1,500 บาท รวม 31,500 บาท หมายเหตุ: ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าพยาน, ค่ามอบอำนาจ(กรณีมอบอำนาจ) ฯลฯ ค่าธรรมเนียมสำหรับการขายฝาก 1. ค่าธรรมเนียม 2% จากราคาประเมินกรมที่ดิน 2. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คำนวณจากราคาประเมินกรมที่ดิน ต้อ […]

อ่านเพิ่มเติม
เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน กับ เจ้าของบ้าน แตกต่างกันอย่างไร?
24
Oct 23
เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน กับ เจ้าของบ้าน แตกต่างกันอย่างไร?

หลายท่านคงสงสัย? ว่าเจ้าบ้านคือใคร!! หรือบางท่านอาจจะคิดไปถึงผีบ้านผีเรือน แต่ที่จริงแล้วตามหลักกฎหมาย ว่าด้วยเรื่องการดูแลบ้าน บ้านทุกหลังต้องมี เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน เพื่อระบุว่าบุคคลที่เป็นเจ้าบ้านนั้น ผู้เป็นหัวหน้าซึ่งครอบครองบ้าน ในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือในฐานะอื่น เช่น ผู้ดูแลบ้าน แล้วแตกต่างยังไงกับเจ้าของบ้านละ วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยกันค่ะก่อนอื่นเรามาดูความหมายของทั้งสองคำนี้กันก่อนเลยค่ะ เจ้าบ้าน หมายถึง ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะที่เป็นเจ้าของ ผู้เช่า และอื่นๆ โดยหากในทะเบียนบ้านไม่มีชื่อเจ้าบ้าน หรือผู้ที่ถูกแต่งตั้งเป็นเจ้าบ้าน เกิดเสียชีวิต ผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านสามารถมาเป็นเจ้าบ้านแทนได้ เจ้าของบ้าน หมายถึง เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อในโฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย มีสิทธิใช้สอย หวงกัน ติดตามเอาทรัพย์คืน. ใช้ยันต่อบุคคลทั่วไป มีกฎหมายรองรับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 โดยจากความหมายด้านบน เจ้าบ้านหรือเจ้าของบ้าน อาจจะเป็นคนเดียวกัน หรือ ไม่ใช่คนเดียวกันก็ได้ค่ะ หน้าที่เจ้าบ้าน VS เจ้าของบ้าน เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน มีหน้าที่ตาม พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร […]

อ่านเพิ่มเติม