ที่ดิน ส.ป.ก.
7
Feb 23

ที่ดิน สปก ซื้อขาย จำนองได้หรือไม่

เรื่องมีอยู่ว่าทีมงานได้รับการติดต่อจากคนที่สนใจ จะนำที่ดินมาจำนอง ขายฝาก โดยที่หลายท่านนั้น นำที่ดิน
ส.ป.ก. มาให้ทางเราช่วยประเมินวงเงิน เพราะมีผู้คนจำนวนมากที่อาจจะยังไม่เข้าใจถึงสิทธิใน ที่ดิน ส.ป.ก.
ว่าสามารถซื้อขาย จำนองได้หรือไม่ วันนี้เลยอยากจะพาเพื่อนๆ ไปรู้จักกับที่ดิน ส.ป.ก. ให้มากขึ้นกัน

ที่ดิน ส.ป.ก. คืออะไร           

ที่ดิน ส.ป.ก. หรือที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 คือ เป็นเอกสารสิทธิที่ภาครัฐให้ประชาชนเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน
เอกสารแสดงการครอบครองที่ดินที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ออกให้กับประชาชนเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน เกิดขึ้นเมื่อมีพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518
โดยมีหลักว่า ที่ดินในเขตปฏิรูปนั้นใช้ทำเกษตรกรรมได้อย่างเดียวเท่านั้น ทำประโยชน์อย่างอื่นไม่ได้ และผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน
ส.ป.ก. 4-01 จะต้องมีฐานะยากจน

ใครบ้างที่มีสิทธิครอบครองที่ดิน ส...

  1. เกษตรกร

เป็นผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักอยู่แล้ว โดยใช้เวลาส่วนใหญ่ในรอบปี เพื่อประกอบเกษตรกรรมแห่งท้องถิ่นนั้น

  1. ผู้ประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก

– ผู้ยากจน มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท/คน/ปี

– จบการศึกษาทางเกษตรกรรม ไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบเท่า

– เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม

  1. สถาบันเกษตรกร

– กลุ่มเกษตรกร

– สหกรณ์การเกษตร

– ชุมชนสหกรณ์การเกษตรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์

สามารถโอนกรรมสิทธิ์ให้ใครได้บ้าง

  1. สามี ภรรยา
  2. บุตร
  3. บิดามารดาของเกษตรกร
  4. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันของเกษตรกร
  5. พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกันของเกษตรกร
  6. หลานของเกษตรกร

– การโอนสิทธิที่ดิน ส.ป.ก. ของเกษตรกรที่ยังมีชีวิตอยู่ สามารถโอนสิทธิให้ทายาทได้ต่อเมื่อมีเหตุผลและความจำเป็น เช่น แก่ชรา

เจ็บป่วย เป็นต้น

– หากเกษตรกรที่ได้รับที่ดิน ส.ป.ก. เสียชีวิต ทายาทสามารถยื่นคำร้องขอรับมรดกสิทธิได้

ที่ดิน ส.ป.ก. ซื้อขายจำนองได้หรือไม่

จากที่อธิบายข้างตนเพื่อนๆ คงเข้าใจกันแล้วนะคะว่า ที่ดิน ส.ป.ก. ไม่สามารถซื้อขายจำนองได้ ตามมาตรา 39 ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
พ.ศ. 2518 ที่ระบุว่า  ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยก หรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้
เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม หรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกร หรือ ส.ป.ก. เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

สรุป.. ที่ดิน สปก คือที่ดินที่ทางภาครัฐอนุญาตให้ประชาชนใช้ที่ดินทำการเกษตร ไม่ได้หมายความว่าเราเป็นเจ้าของที่ดินนั้นๆ
จึงไม่สามารถนำที่ดินประเภทนี้มาทำธุรกรรมใดๆ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขาย หรือจำนอง ขายฝากได้นั่นเอง

 

หากสนใจลงทุนจำนอง ขายฝาก Property4cash ยินดีให้คำปรึกษา

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ที่ดิน ส.ป.ก.

 

 

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

วิธีการเอาชื่อเข้า ทะเบียนบ้านของชาวต่างชาติ
5
Sep 23
วิธีการเอาชื่อเข้าทะเบียนบ้านของชาวต่างชาติ

ทะเบียนบ้านนั้นเป็นเอกสารของทางราชการ ที่ระบุรายชื่อของผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้าน ทะเบียนบ้านจะบ่งบอกว่าบุคคลใดเป็นเจ้าบ้านและบุคคลใดเป็นผู้อาศัย คนไทยใช้ทะเบียนบ้านเพื่อแสดงที่อยู่อาศัย และใช้แสดงเป็นหลักฐานสำคัญในการติดต่อกับหน่วยงานต่างๆ และถ้าคนต่างชาติอยากจะมีชื่อในทะเบียนบ้านบ้างจะต้องทำอย่างไรและเตรียมเอกสารอะไรบ้าง วันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกคนแล้วค่ะ สิ่งแรกที่ต้องรู้คือ การขอ ทะเบียนบ้านของชาวต่างชาติ จะต้องเป็นทะเบียนบ้านเล่มเหลือง (ทร.13) เท่านั้น และการนำชื่อชาวต่างชาติเข้าทะเบียนบ้าน จะมี 2 กรณีหลัก ๆ 1.กรณีที่คนต่างชาติสมรสกับคนไทย และต้องการนำชื่อเข้าทะเบียนบ้าน หากคุณหรือบิดามารดาของคุณเป็นเจ้าบ้าน ให้เจ้าบ้านไปแจ้งต่อสำนักทะเบียนตามภูมิลำเนาที่บ้านตั้งอยู่ โดยกรอกคำร้องเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร(ทร.13) ขอเพิ่มชื่อบุคคลในทะเบียนบ้าน สำหรับเอกสารที่ต้องเตรียมก็มีดังนี้ค่ะ เอกสารเจ้าของบ้าน – บัตรประชาชนพร้อมสำเนา – ทะเบียนบ้าน ทร. 14 เล่มจริง พร้อมสำเนา เอกสารสำหรับขอ ทะเบียนบ้านของชาวต่างชาติ – หนังสือเดินทาง (ตัวจริงพร้อมสำเนาที่ทำการแปลเป็นภาษาไทย) – หนังส […]

อ่านเพิ่มเติม
คู่สมรสไม่มากรมที่ดิน ขายฝาก- จำนองได้หรือไม่
30
Sep 23
คู่สมรสไม่มากรมที่ดิน ขายฝาก- จำนองได้หรือไม่

หลายๆ คนอาจจะมีข้อสงสัยว่า ถ้าทำธุรกรรมขายฝาก จำนอง แล้วเกิดกรณีที่ คู่สมรสไม่มากรมที่ดิน จะสามารถทำขายฝาก จำนองได้หรือไม่ อย่างแรกเลย ถ้าทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างการสมรสแล้วนั้น ไม่ว่าจะใส่ชื่อใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ให้เรียกว่าเป็นสินสมรสก่อนได้เลย กรณีคู่สมรสไม่มากรมที่ดินจะไม่สามารถทำธุรกรรมจำนอง ขายฝากได้เลย เพราะเราต้องได้รับการยินยอมจากคู่สมรสด้วย ไม่ว่าจะทำจำนอง ขายฝาก หรือว่าซื้อขายเองก็ตาม ถ้าหากทั้งคู่เลิกกันแล้ว ก็ต้องทำเรื่องหย่าให้เรียบร้อยก่อน เพราะถ้าไม่หย่าตามกฎหมายแล้ว ยังถือว่ายังเป็นคู่สมรสกันอยู่นะคะ ในกรณีถ้าคู่สมรสไม่สะดวกมา จะต้องมีหนังสือลงลายเซ็นยินยอมของคู่สมรส ยืนยันว่ายินยอมให้ทำธุรกรรมขายฝากหรือจำนอง พร้อมสำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน และทะเบียนสมรสให้เรียบร้อย และอาจจะถ่ายวิดีโอไว้ด้วย เพื่อเป็นการยืนยันในการทำขายฝาก จำนอง ซึ่งหนังสือยินยอมคู่สมรสทางกรมที่ดินจะมีให้บริการทุกสาขาทั่วประเทศ เห็นไหมคะเพื่อนๆ เมื่อเราจดทะเบียนสมรสแล้ว เวลาที่เราอยากทำธุรกรรมต่างๆ จะต้องมีการดำเนินการตามขั้นตอน ซึ่งจะต้องผ่านการยินยอมจากคู่สมรสเสมอ ไม่ว่าจะเป็น การจดจำนอง ขายฝ […]

อ่านเพิ่มเติม
20
Jul 24
ผู้ขายฝากไม่มีเงินมาไถ่ถอน กรรมสิทธิ์ในที่ดินจะตกเป็นของใคร?

สัญญาขายฝาก เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ต้องการเงินทุน แต่ยังต้องการคงไว้ซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หลายคนอาจเข้าใจผิดคิดว่า สัญญาขายฝากนั้นเหมือนกับการจำนองที่ดิน แต่ความจริงแล้วมีความแตกต่างกันอยู่มาก โดยเฉพาะผลลัพธ์ที่ตามมาหากผู้ขายฝากไม่มีเงินมาไถ่ถอนที่ดินภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา วันนี้  เราจะมาไขข้อข้องใจ  “กรณีผู้ขายฝากไม่มีเงินมา ไถ่ถอน กรรมสิทธิ์ในที่ดินจะตกเป็นของใคร?”  พร้อมเจาะลึกประเด็นน่าสนใจ  “เกี่ยวกับสัญญาขายฝาก กันค่ะ   เมื่อผู้ขายฝากไม่มีเงินมาไถ่ถอนที่ดิน กรรมสิทธิ์ในที่ดินจะตกเป็นของ “ผู้รับขายฝาก” โดยไม่ต้องดำเนินการฟ้องร้องใดๆ เพิ่มเติม ต่างจากการจำนอง ที่ผู้รับจำนองจะต้องฟ้องร้องต่อศาล เพื่อบังคับคดีก่อน จึงจะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ทั้งนี้ สิทธิ์ของผู้ขายฝากที่จะไถ่ถอนที่ดินนั้น  จะมีระยะเวลา “ไม่เกิน 10 ปี”  นับตั้งแต่วันทำสัญญาขายฝาก  ซึ่งระยะเวลานี้  สามารถตกลงกัน  “ให้สั้นลงหรือยาวนานขึ้นได้”  แต่ไม่เกิน 10 ปี อย่างไรก็ตาม กฎหมายยังมีช่องทางช่วยเหลือผู้ขายฝาก  “กรณีพิเศษ”  ดังนี้       R […]

อ่านเพิ่มเติม