การ ประเมินราคาทรัพย์สิน “สำคัญ” กับ การทำขายฝาก อย่างไร?
4
Mar 25

รู้ไว้ จะได้ไม่โดนเอาเปรียบ! การ ประเมินราคาทรัพย์สิน “สำคัญ” กับ การทำขายฝาก อย่างไร?

 

ในวงการอสังหาริมทรัพย์ “การประเมินราคาทรัพย์สิน” คือ กุญแจสำคัญ ที่ผู้เชี่ยวชาญตัวจริงจะไม่มีวันมองข้าม โดยเฉพาะเมื่อพูดถึง การทำขายฝาก เพราะการประเมินที่ถูกต้องและแม่นยำไม่เพียงช่วยให้คุณไม่เสียเปรียบ แต่ยังปกป้องผลประโยชน์ในระยะยาว ทั้งสำหรับผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝาก

ก่อนอื่น ต้องรู้กันก่อนว่า… การ ประเมินราคาทรัพย์สิน คืออะไร?

การประเมินทรัพย์สิน คือ การวิเคราะห์และประเมิน มูลค่าที่เหมาะสม ของทรัพย์สิน ณ ขณะนั้น 

 

การจะช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มความโปร่งใสในการทำธุรกรรม ต้องพิจารณาหลายปัจจัย เช่น สภาพทรัพย์สิน, ทำเลที่ตั้ง, ราคาตลาด ณ ขณะนั้น รวมถึง ปัจจัยอื่นๆ เช่น ราคาประเมินจากกรมธนารักษ์ สภาพเศรษฐกิจ หรือ แนวโน้มการพัฒนาในอนาคต

 

ทำไมต้องประเมินราคาทรัพย์สินก่อนทำการขายฝาก?

เพราะการประเมินราคาที่ถูกต้องและเป็นธรรมจะช่วยให้คุณ “ไม่เสียเปรียบ” และ “ช่วยลดความเสี่ยง” ซึ่งหากมีการประเมินราคาทรัพย์ในราคาที่ต่ำเกินไป อาจเสี่ยง! ที่จะได้วงเงินอนุมัติน้อย ไม่ตรงตามความต้องการทางการเงิน อาจทำให้เสียโอกาสในการได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม และเสียเปรียบในการเจรจา

 

ในทางกลับกัน หากมีการประเมินราคาทรัพย์ที่สูงเกินจริง ก็เป็นสิ่งอันตราย อาจต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยสูง เสี่ยงผิดสัญญา ถูกฟ้องร้อง เนื่องจากวงเงินสูงเกินจริง จนถึงขั้นอาจถูกยึดทรัพย์ เพราะไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด

ทั้งนี้ทั้งนั้น… หากจะทำการขายฝากนั้น สิ่งสำคัญที่สุด คือ การเลือกผู้ประเมินราคาทรัพย์ ที่เป็นมืออาชีพ เป็นผู้ที่มีความรู้ มีประสบการณ์ และมีความเป็นกลาง โดยต้องสังเกตเทคนิคการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ ว่ามีการวิเคราะห์เชิงลึกหรือไม่? เพราะผู้เชี่ยวชาญจะทำการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางกายภาพของทรัพย์สิน ข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคมโดยรอบ รวมถึงแนวโน้มในอนาคต และ ผู้ประเมินที่เป็นผู้เชี่ยวชาญจะต้องมีการเปรียบเทียบราคาตลาด, ราคาซื้อขายทรัพย์สินที่คล้ายกันในหลากหลายแหล่ง เพื่อหาราคาที่เหมาะสมที่สุด โดยอาจมีการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการประเมิน และมีการอ้างอิงจากฐานข้อมูลด้านอสังหาริมทรัพย์อย่างละเอียดและครบถ้วน

การ ประเมินราคาทรัพย์สิน “สำคัญ” กับ การทำขายฝาก อย่างไร?

✔️อย่าลืม… ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ที่มีประสบการณ์ในการทำขายฝาก

✔️อย่าลืม… ศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

✔️อย่าลืม… รอบคอบ ตรวจสอบสัญญาและเอกสารต่างๆ อย่างละเอียดก่อนตัดสินใจ

สรุปส่งท้าย การมีความรู้เรื่อง  ประเมินราคาทรัพย์สิน เป็นสิ่งที่ผู้จะทำการขายฝากควรเข้าใจ เพื่อใช้เป็นอาวุธและเกราะป้องกันตนเอง ไม่ให้ถูกเอาเปรียบนั้นเองค่ะ

 


Property4Cash ยินดีให้คำปรึกษาและช่วยเพิ่มทุนให้กับทุกคนที่ต้องการเงินด่วน และต้องการเงินเพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจ ไม่เช็คแบล็คลิส ไม่เช็คเครดิตบูโร

อนุมัติรวดเร็วทันใจ นึกถึง ขายฝากจำนอง นึกถึง Property4Cash

Line: @Property4Cash

โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash

ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

ที่ดิน(ถนน)ติดภาระจำยอม ซื้อ-ขายได้ไหม
17
Dec 24
ที่ดิน(ถนน)ติดภาระจำยอม สามารถซื้อ-ขายได้หรือไม่?

>>> ที่ดิน(ถนน)ติดภาระจำยอม สามารถซื้อ – ขายได้หรือไม่?  ที่ดินติดภาระจำยอม เป็นสิ่งที่ผู้ซื้อ – ขายที่ดิน ให้ความสำคัญ และนำมาพิจารณาในการตัดสินใจซื้อ – ขาย เป็นอันต้นๆ แล้วทำไมที่ดินติดภาระจำยอมถึงมีผลต่อการตัดสินใจขนาดนี้ วันนี้ Property4Cash สรุปมาให้แล้ว… ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจ คำว่า ภาระจำยอม คืออะไร? ภาระจำยอม คือ สิทธิทางกฎหมายที่ให้บุคคลหนึ่งมีสิทธิใช้ทรัพย์สินของอีกบุคคลหนึ่ง โดยทรัพย์สินที่ถูกใช้ในลักษณะนี้เรียกว่า “ทรัพย์สินที่ติดภาระจำยอม” เช่น ทางผ่าน, ทางเข้า-ออก, การใช้แหล่งน้ำ หรือการเดินสายไฟฟ้าผ่านที่ดิน เป็นต้น    ภาระจำยอม จะต้องถูกบันทึกไว้ในโฉนดที่ดิน และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน และคำถามที่ว่า… ที่ดิน(ถนน)ติดภาระจำยอม สามารถซื้อ – ขายได้หรือไม่? คำตอบคือ สามารถทำได้ แต่มีเงื่อนไขที่คุณต้องคำนึงถึง การซื้อ-ขายที่ดิน ที่ติดภาระจำยอมนั้นจะต้องมีการแจ้งให้ผู้ซื้อทราบถึงภาระจำยอมที่มีอยู่บนที่ดิน การแจ้งนี้ถือว่าเป็นการเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญ เพื่อให้ผู้ซื้อสามารถตัดสินใจได้ว่าต้องการซื้อที่ดินดังกล่าวหรือไม่ […]

อ่านเพิ่มเติม
6 วิธี วางแผนเกษียณ ฉบับ GEN-Z
20
Feb 25
6 วิธี วางแผนเกษียณ ฉบับ GEN-Z

วางแผนเกษียณ ฉบับ GEN-Z ปัจจุบัน คน Gen Z มักจะมีเป้าหมายที่แตกต่างจากคน Gen อื่นๆ เมื่อก่อนอย่างชัดเจน เพราะเพื่อนๆ Gen Z ไม่เพียงแต่มุ่งเน้นทำงาน เพื่อสร้างรายได้เลี้ยงชีพ แต่หลายๆ คนมีเป้าหมายที่ต้องการอิสระทางการเงินในระยะยาว หรือบางคนมีเป้าหมายจะเกษียณตัวเองให้เร็วกว่ากำหนด  เพื่อให้ตัวเองมีเวลา มีเสถียรภาพทางการเงิน และสามารถทำตามความฝันในช่วงเวลาหลังเกษียณได้   ซึ่งถ้าเพื่อนๆ มีเป้าหมายอยากเกษียณอย่างสบาย มีอิสระทางการเงินที่ใช้จ่ายได้โดยไม่ต้องทำงาน ก็ต้องไม่ลืมวางแผนก่อนวัยเกษียณ เพราะการวางแผนการเงินก่อนวัยเกษียณสำคัญอย่างมาก ด้วยในยุคที่เศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความไม่แน่นอนทางการเงินก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย การวางแผนการเงินที่ดีจะช่วยให้เพื่อนๆ Gen Z สามารถเกษียณได้อย่างมั่นคง โดยไม่ต้องกังวลเรื่องรายได้ในอนาคต   ด้วยเหตุนี้ Property4Cash จึงอยากชวนทุกคนมาวางแผนเกษียณ ฉบับ GEN-Z กับ 6 ข้อเช็กลิสต์ที่คุณสามารถทำได้ง่ายๆ เพื่อให้มีชีวิตที่มั่นคงและสุขสบายในวัยเกษียณนั่นเอง…    GEN-Z ต้องฟัง! เรื่องเกษียณไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป… ถ้าวางแผนการเงินดี ยังไงตอน […]

อ่านเพิ่มเติม
บังคับจำนอง
3
Jan 23
การบังคับจำนอง คืออะไร ?

บังคับจำนอง ไม่ได้หมายความว่าเรามีทรัพย์สินอยู่แล้วถูกบังคับให้เอาไปจำนองแต่อย่างใด แต่หมายถึงการที่เราได้ทำสัญญาจำนองไว้เรียบร้อยแล้ว แต่ผิดสัญญา ไม่จ่ายดอกเบี้ย ไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงกันไว้ ทำให้ถูกฟ้องร้องต่อศาล โดยการบังคับจำนอง นั้นทำได้ 2 วิธีคือ ประเภทของ บังคับจำนอง ขายทอดตลาด คือการยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่ง “ยึด” ทรัพย์สินที่จำนองไว้ขายทอดตลาด และนำเงินมาใช้หนี้แก่ผู้รับจำนอง โดยจำเป็นต้องส่งหนังสือแจ้งลูกหนี้ก่อนล่วงหน้า 1 เดือน ถึงจะสามารถฟ้องร้องได้ การบังคับจำนองขายทอดตลาดนั้น หากตัวทรัพย์สินที่จำนองไว้มูลค่าต่ำกว่าหนี้ที่มีอยู่ ลูกหนี้ไม่จำเป็นต้องเสียค่าส่วนต่างแต่อย่างใด (แต่เสียที่ดิน เสียบ้านนะจ๊ะ!) และหากสามารถขายทรัพย์สินในราคาที่สูงกว่าหนี้ที่คงค้างได้ เจ้าหนี้จำเป็นต้องนำเงินส่วนที่เกินมาคืนให้แก่ลูกหนี้ไป จะเห็นได้ว่าการจำนองนั้น “เจ้าหนี้” ค่อนข้างเสียเปรียบในการทำสัญญาไม่น้อย เพราะฉะนั้น จะรับจำนองทรัพย์สินอะไร ให้ประเมินราคา ประเมินมูลค่าที่แท้จริงให้ดีเสียก่อน ก่อนที่จะเสียทั้งเงินและเวลาไปโดยใช่เหตุ ยึดทรัพย์สินให้เป็นของเจ้าหนี้ กรณีนี้สา […]

อ่านเพิ่มเติม