ข้อควรรู้ เกี่ยวกับ กฎหมายจัดสรรที่ดิน
6
Feb 25

ข้อควรรู้ เกี่ยกับ กฎหมายจัดสรรที่ดิน มีหลักเกณฑ์และขั้นตอนตาม พ.ร.บ.จัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 อะไรบ้าง?…

กฎหมายจัดสรรที่ดิน เป็นหนึ่งในข้อควรรู้ของผู้ที่เตรียมตัวซื้อบ้าน เพราะการที่ผู้ประกอบการจะพัฒนาโครงการออกมาขายได้นั้น ตามกฎหมายแล้วจะต้องได้รับการจัดสรรที่ดิน ตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาดูว่าการจัดสรรที่ดินคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร หลักเกณฑ์และรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวข้องอย่างไรต่อผู้ประกอบการ และผู้ซื้อ Property4Cash สรุปมาให้แล้ว…

การจัดสรรที่ดิน คืออะไร?

ตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 การจัดสรรที่ดิน คือ การจำหน่ายที่ดินที่ได้ แบ่งเป็นแปลงย่อยรวมกันตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งจากที่ดินแปลงเดียว หรือแบ่งจากที่ดินหลายแปลงที่มีพื้นที่ติดต่อกัน โดยได้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์เป็นค่าตอบแทน และให้หมายความรวมถึงการดำเนินการดังกล่าวที่ได้มีการแบ่งที่ดินเป็นแปลงย่อยไว้ไม่ถึง 10 แปลง และต่อมาได้แบ่งที่ดินแปลงเดิมเพิ่มเติมภายใน 3 ปี เมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไปด้วย

ในการจำหน่ายที่ดินที่แบ่งเป็นแปลงย่อยรวมกันตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการเพื่อจำหน่ายในลักษณะที่อยู่อาศัย เพื่อประกอบการพาณิชย์ เพื่อประกอบการอุตสาหกรรม หรือเพื่อเกษตรกรรม ก็จะอยู่ในลักษณะเป็นการจัดสรรที่ดินตามความหมายนี้เช่นเดียวกัน

ทำไมถึงต้องทำการจัดสรรที่ดิน : ก็เพราะ ที่ดินที่จะแบ่งขายตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไป ถ้าไม่ขออนุญาตจัดสรรที่ดิน จะไม่สามารถแบ่งขายได้ ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมถึงมีการบังคับให้มีการขออนุญาตตามกฎหมายจัดสรรที่ดิน รวมถึงมีการลงทุนในสาธารณูปโภคเอง

ในการอนุญาตจัดสรรที่ดิน บุคคลที่ทำการจัดสรรที่ดินต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาแห่งท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ พร้อมหลักฐานและรายละเอียด

หลักการจัดสรรที่ดิน ต้องใช้เกณฑ์อะไร

หลักการจัดสรรที่ดินโครงการจัดสรรเพื่อการอยู่อาศัยและการพาณิชย์ สามารถแบ่งขนาดของที่ดินออกเป็น 3 ขนาดหลัก คือ

  • ขนาดเล็ก มีพื้นที่ไม่เกิน 19 ไร่ จำนวนแปลงย่อยไม่เกิน 99 แปลง
  • ขนาดกลาง มีพื้นที่ 19-100 ไร่ จำนวนแปลงย่อย 100-499 แปลง
  • ขนาดใหญ่ พื้นที่เกิน 100 ไร่จำนวนแปลงย่อยตั้งแต่ 500 แปลงขึ้นไป

 

ซึ่งนอกจากขนาดข้างต้นแล้ว การแบ่งที่ดินยังต้องมีเป็นไปตามขนาดมาตรฐานขั้นต่ำ และสำหรับกรณีพิเศษอย่างโครงการจัดสรรจิ๋ว หรือโครงการจัดสรรที่ดินขนาดเล็กก็ต้องมีขนาดโครงการไม่เกินที่กฎหมายกำหนดเช่นกัน

หากต้องการยกเลิกการจัดสรรที่ดินต้องทำอย่างไร

ถ้าหากคุณเปลี่ยนใจไม่ต้องการจัดสรรที่ดินดังกล่าวแล้ว ก็สามารถยกเลิกได้โดยการยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือจังหวัดสาขาที่แห่งท้องที่ที่ดินแปลงนั้นตั้งอยู่ จากนั้นเจ้าพนักงานก็จะมีการปิดประกาศคำขอยกเลิก ณ ที่เปิดเผยในสำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสำนักงานที่ดินสาขา สำนักงานของผู้จัดสรรที่ดิน บริเวณที่ดินที่ทำการจัดสรร ที่ว่าการอำเภอ และที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นเวลา 60 วัน หลังจากนั้นผู้จัดสรรที่ดินจะต้องมีการประกาศในหนังสือพิมพ์ที่เผยแพร่ทั่วบริเวณเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 7 วัน และแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทราบ

 

หลักฐานยื่นขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน

1. เอกสารประจำตัว แบ่งเป็น

  • บุคคลธรรมดา ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน, ทะเบียนบ้าน, ทะเบียนสมรส ฯลฯ หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
  • นิติบุคคล ได้แก่ หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล, ข้อบังคับ, หนังสือบริคณห์สนธิและวัตถุประสงค์, บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น, บัตรประตัวประชาชน และทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนนิติฯ รายงานการประชุมของบริษัทฯ ฯลฯ หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

2. โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่จะทำการจัดสรรที่ดิน

3. โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ พร้อมทั้งแสดงบันทึกข้อตกลงภาระจำยอม (กรณีทางเข้า-ออกโครงการจัดสรรที่ดินบรรจบถนนภาระจำยอม)

4. สัญญาจำนอง บันทึกความยินยอมให้ทำการจัดสรรที่ดินของผู้รับจำนอง และจำนวนเงินที่ผู้รับจำนอง จะได้รับชำระหนี้จากที่ดินแปลงย่อยแต่ละแปลง โดยต้องระบุด้วยว่าที่ดินแปลงสาธารณูปโภคและ/หรือที่ดินแปลงบริการสาธารณะไม่ต้องรับภาระการจำนอง (กรณีที่ดินที่ขอทำการจัดสรรมีภาระการจำนอง)

5. หนังสือรับรองวงเงินค้ำประกัน

6. แผนผังโครงการจัดสรรที่ดิน

7. โครงการและวิธีการจัดสรรที่ดิน

8. หลักฐานการอนุญาตจากหน่วยงานของรัฐที่ดูแลรับผิดชอบ ได้แก่ หนังสือรับรองพื้นที่ผังเมืองรวม, หนังสืออนุญาตเชื่อมทาง, หนังสืออนุญาตระบายน้ำ, หนังสือรับรองการให้บริการจัดเก็บขยะมูลฝอย, หนังสือรับรองการให้บริการไฟฟ้า, หนังสือรับรองการให้บริการประปา, รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA (กรณีอยู่ในหลักเกณฑ์ที่ต้องจัดทำ) และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

9. สัญญาค้ำประกันการจัดทำสาธารณูปโภค/สัญญาค้ำประกันการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค

หมายเหตุ: ข้อ 1-8 จัดทำสำเนาเอกสาร จำนวน 13 ชุด พร้อมลงนามรับรองความถูกต้องให้ครบถ้วน

 

ข้อควรรู้ เกี่ยวกับ กฎหมายจัดสรรที่ดิน

 

ขั้นตอนการขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน

1. ผู้ขอฯ ยื่นคำขอพร้อมเอกสารหลักฐานตามมาตรา 23

2. เจ้าพนักงานที่ดินฯ สั่งรับคำขอ แล้วส่งเรื่องให้

  • สำนักส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (กรุงเทพมหานคร)
  • สำนักงานที่ดินจังหวัดของจังหวัดนั้น ๆ (ต่างจังหวัด)

3. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบแผนผัง โครงการ และเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

4. เจ้าหน้าที่ออกไปตรวจสอบสภาพที่ดิน พร้อมทั้งประมาณการราคาค่าก่อสร้างสาธารณูปโภค

5. เจ้าหน้าที่สรุปข้อมูลโครงการเพื่อนำเสนอคณะกรรมการจัดสรรที่ดินฯ พิจารณา

6. เจ้าหน้าที่แจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการฯ ให้ผู้ขอฯ ดำเนินการ พร้อมทั้งจำนวนเงินเพื่อให้ผู้ขอฯ จัดหาธนาคารในการทำสัญญาค้ำประกัน

7. ผู้ขอฯ แสดงสัญญาค้ำประกันฯ และเอกสารหลักฐานอื่น ๆ (ถ้ามี) ตามมติคณะกรรมการฯ

8. เจ้าหน้าที่จัดทำใบอนุญาตฯ เพื่อเสนอประธานคณะกรรมการฯ ลงนาม

9. เจ้าหน้าที่แจ้งเจ้าพนักงานที่ดินฯ ทราบ พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้ขอติดต่อขอรับใบอนุญาตฯ ณ สำนักงานที่ดินที่ยื่นคำขอ

10. ผู้ขอฯ ชำระค่าธรรมเนียม และรับใบอนุญาตฯ ณ สำนักงานที่ดินที่ยื่นคำขอ

ข้อควรระวัง ซื้อบ้านที่ยังยังไม่ได้รับอนุญาตจัดสรร

นับเป็นหนึ่งในข้อควรระวังสำหรับผู้ที่เตรียมตัวก่อนซื้อบ้าน โดยเฉพาะเรื่องผู้ประกอบการได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดินถูกต้องตามกฎหมายจัดสรรที่ดินหรือไม่? เนื่องจากปัจจุบันโครงการที่เปิดขายใหม่ มักจะเปิดขายไปพร้อมๆ กับดำเนินการยื่นขอใบอนุญาตจัดสรร เพราะต้องการดำเนินธุรกิจและปิดการขายให้เร็วที่สุด

เคยมีกรณีมีผู้ซื้อบ้านบางราย ทราบภายหลังว่าโครงการที่ทำสัญญาซื้อ-ขายไปแล้วนั้นยังไม่ผ่านการขออนุญาตจัดสรรอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ได้ทำการผ่อนชำระเงินงวดไปแล้วจำนวนหนึ่ง จึงดำเนินการฟ้องร้อง เพื่อต้องการเอาเงินดาวน์ที่ผ่อนไปแล้วหลายงวดคืน

 

อย่างไรก็ตาม แม้กฎหมายจัดสรรที่ดินได้ห้ามทำการจำหน่ายที่ดินจัดสรรโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่มิได้บัญญัติไว้โดยชัดเจนว่าจำหน่ายที่ดินจัดสรรก่อนได้รับอนุญาต ดังนั้น การเปิดให้จองโครงการระหว่างดำเนินการขออนุญาต ไม่ถือเป็นการจำหน่ายที่ดินจัดสรรโดยไม่ได้รับอนุญาตจึงไม่ขัดต่อกฎหมายจัดสรรที่ดิน และการที่ผู้ซื้อตัดสินใจทำสัญญาซื้อขายเกิดขึ้นด้วยความสมัครใจมิได้ถูกหลอกลวง ฉ้อฉล หรือข่มขู่ให้ซื้อ

เมื่อผู้ซื้อทราบว่าโครงการยังไม่ได้รับใบอนุญาตจัดสรร แล้วหยุดชำระเงินดาวน์ รวมทั้งการขอเงินงวดที่ส่งไปคืน นอกจากไม่ได้เงินแล้วอาจเป็นฝ่ายที่ผิดสัญญา ทางโครงการมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินดาวน์

สรุปส่งท้าย ก่อนซื้อบ้านควรตรวจสอบหาข้อมูลกับสำนักงานที่ดินท้องที่นั้นก่อนว่าที่ดินในโครงการที่สนใจอยู่นั้นมีปัญหา ถูกต้องตาม กฎหมายจัดสรรที่ดิน หรือไม่? ควรศึกษา ชื่อเสียงของผู้ประกอบการ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง เสียทั้งเวลาและเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์

 

และใครที่ต้องการเงินด่วน อย่าลืม! นึกถึง Property4Cash เงินด่วนอสังหา รับจำนอง ขายฝาก นะคะ

 


Property4Cash ยินดีให้คำปรึกษาและช่วยเพิ่มทุนให้กับทุกคนที่ต้องการเงินด่วน และต้องการเงินเพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจ ไม่เช็คแบล็คลิส ไม่เช็คเครดิตบูโร

อนุมัติรวดเร็วทันใจ นึกถึง ขายฝากจำนอง นึกถึง Property4Cash

Line: @Property4Cash

โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash

ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

25
Aug 23
โฉนดที่ดินหาย! ทำยังไงดี

#โฉนดที่ดิน อาจจะเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับหลายๆ คน เพราะเมื่อได้มาเราก็จะเก็บมันไว้เพราะเป็นเอกสารสำคัญของบ้าน และไม่ใช่เอกสารที่จะพกพาติดตัว เนื่องจากมีขนาดที่ใหญ่ แต่หากวันไหนที่ต้องใช้และพบว่า โฉนดที่ดินหาย หรือเกิดชำรุดขึ้นมาล่ะ จะทำยังไง? ก่อนอื่นไม่ต้องตกใจไปนะคะ เราสามารถยื่นขอโฉนดที่ดินใหม่ได้ ส่วนขั้นตอนจะเป็นอย่างไร วันนี้เราจะมาบอกทุกคนเองค่ะ แจ้งความต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น อันดับแรกเลยก็คือต้องไป แจ้งความต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน เพื่อยืนยันว่าเจ้าของที่ดินนั้นไม่ได้นำโฉนดที่ดินไปจำหน่าย #จำนอง หรือแลกเปลี่ยนเป็นของผู้อื่น ติดต่อกับสำนักงานที่ดิน เมื่อได้ใบบันทึกประจำวันมาเรียบร้อยแล้ว ให้นำเอกสารมาติดต่อที่สำนักงานที่ดิน เพื่อขอโฉนดที่ดินใหม่ โดยเอกสารที่ต้องเตรียมไปด้วยมีดังนี้ – บัตรประชาชนตัวจริงของผู้ที่ยื่นขอโฉนดที่ดินใหม่ – ทะเบียนบ้านตัวจริงของผู้ที่ยื่นขอโฉนดที่ดินใหม่ – ใบแจ้งความ / บันทึกประจำวัน – พยานบุคคล 2 คน พร้อมบัตรประชาชนตัวจริง ซึ่งหากเกิดปัญหาในภายหลัง พยานทั้ง 2 คนนี้ จะต้องเป็นพยานในชั้นศาลด้วย เมื่ […]

อ่านเพิ่มเติม
โฉนดลอย ที่ดินคืออะไร สามารถขายฝากได้หรือไม่
19
Dec 23
โฉนดลอยที่ดินคืออะไร สามารถขายฝากได้หรือไม่

วันนี้ Property4Cash จะพาทุกคนไปรู้จักกับคำว่า “โฉนดลอย” ซึ่งหลายคนมักจะได้ยินบ่อยๆ แต่หลายคนก็ยังอาจจะไม่เข้าใจ วันนี้เราจะมาอธิบายขยายความ คำนี้ให้ทุกคนได้เข้าใจกันเองค่ะ โฉนดลอย คืออะไร? โฉนดลอยคือ ที่ดินปลอดภาระหนี้ ไม่ได้ติดอยู่ในธนาคารและ มีลายเซ็นต์แสดงความเป็นเจ้าของอยู่ด้านหลังโฉนด พร้อมกับออกเลขที่บ้านแล้ว แสดงให้เห็นถึงความพร้อมในฐานะของผู้ขาย ที่เตรียมไว้ให้ผู้ซื้อ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โฉนดลอยเป็นโฉนดที่แสดงถึงการไม่มีภาระผูกมัด เช่น การจำนองหรือการขายฝาก รวมถึงปลอดภาระหนี้สินจากธนาคารด้วย โฉลดลอย จะนำมาขายฝากหรือจำนองได้หรือไม่? เจ้าของที่ดิน ที่มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดิน ที่ปลอดภาระหนี้สิน ไม่ติดจำนอง ขายฝาก หรือเรียกกันง่ายๆ ว่าเป็น โฉนดลอย สามารถนำโฉนดที่ดิน มาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันทำสัญญา ขายฝากที่ดิน ขายฝากบ้านพร้อมที่ดิน ณ สำนักงานที่ดิน เพื่อรับเงินก้อนและอัตราดอกเบี้ยขายฝาก ตามที่ตกลงกับผู้รับซื้อฝาก หรือ นักลงทุนรับซื้อฝาก ภายใต้กรอบที่กฎหมายกำหนดไว้ จุดไหนบนโฉนดที่ดินที่ต้องเช็คให้ชัวร์ ป้องกันกลโกงจากผู้ไม่ประสงค์ดี? การที่เราจะรับขายฝากหรือจำนองอส […]

อ่านเพิ่มเติม
11
Aug 24
สัญญาจำนองที่ออกโดยกรมที่ดิน มีอะไรบ้างที่ควรรู้?

สัญญาจำนอง ถือเป็นเอกสารสำคัญทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกู้เงิน โดยเฉพาะสินเชื่อบ้านหรือสินเชื่อที่อยู่อาศัย และเป็นหลักประกันสำคัญที่ธนาคารใช้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการที่ผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ เอกสารฉบับนี้มีเนื้อหาสำคัญที่คุณควรรู้ ดังนี้: ข้อมูลของคู่สัญญา เจ้าหนี้ หรือผู้รับจำนอง เป็นผู้ให้กู้ยืมเงิน ลูกหนี้ หรือผู้จำนอง เป็นผู้กู้ยืมเงิน   ข้อมูลของที่ดิน เลขที่โฉนดที่ดิน เนื้อที่ ที่ตั้ง เอกสารสิทธิ์   วงเงินกู้ยืม จำนวนเงินที่กู้ยืม   ดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ย วิธีการคำนวณดอกเบี้ย ช่วงเวลาการคิดดอกเบี้ย   สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญา** สิทธิของเจ้าหนี้ เรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระดอกเบี้ยและเงินต้น ขายทอดตลาดที่ดินเพื่อชำระหนี้ หน้าที่ของเจ้าหนี้ โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนให้ลูกหนี้หลังจากชำระหนี้ครบ สิทธิของลูกหนี้ ใช้ที่ดินตามปกติ ไถ่ถอนที่ดิน หน้าที่ของลูกหนี้ ชำระดอกเบี้ยและเงินต้นตรงเวลา ดูแลรักษาที่ดิน   เงื่อนไขอื่นๆ เงื่อนไขการผิดนัดชำระหนี้ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ข้อพิพาทและการแก้ไขข้อพิพาท   ลายมือชื่อและนิ้วมือของคู่สัญญา พยาน ข้อความสำคัญอื่นๆ ว […]

อ่านเพิ่มเติม