ประมูลที่ดิน และบ้าน จากกรมบังคับคดี ต้องเตรียมตัวอย่างไร
16
May 23

การซื้อ ประมูลที่ดิน บ้าน จากกรมบังคับคดี เป็นอีกหนึ่งในทางเลือกที่นักลงทุนอสังหาฯ มักนิยมทำกัน
ทำให้สามารถได้ทรัพย์ บ้าน หรือที่ดิน มาในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด แต่แน่นอนว่าการประมูลนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย
เพราะต้องมีทั้งขั้นตอนการเตรียมตัว เอกสาร และค่าใช้จ่ายต่างๆ สำหรับเพื่อนๆ คนไหนที่กำลังสนใจประมูลบ้าน
หรือที่ดินกรมบังคับคดี ลองมาเริ่มทำความรู้จักขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้ได้เลย

การ ประมูลที่ดิน และบ้านกรมบังคับคดีคืออะไร
การประมูล คือ การเสนอราคาแข่งขันกันในการจะได้ทรัพย์นั้นๆมาครอบครอง
ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม หรือที่ดิน ซึ่งถูกยึดมาจากเจ้าของบ้านเดิม
เนื่องจากเจ้าของบ้านเดิมเป็นลูกหนี้ของทางธนาคาร บริษัททางด้านการเงิน ที่ไม่สามารถชำระเงินผ่อนได้
ดังนั้นกรมบังคับคดีจึงต้องดำเนินการเป็นตัวกลางนำทรัพย์สินเหล่านั้นออกมาประมูลขายทอดตลาด
เพื่อนำเงินที่ได้จากการขายนี้ไปชำระคืนหนี้ตามกฎหมาย

 

ขั้นตอนในการเตรียมตัวประมูลบ้านและที่ดินกรมบังคับคดี

  1. หาอสังหาริมทรัพย์ที่สนใจ
    โดยสามารถเข้าไปหาได้ในเว็บไซต์ของกรมบังคับคดี ซึ่งจะสามารถเลือกจังหวัด อำเภอ ตำบล
    และประเภทของทรัพย์ได้เลยทันที ซึ่งสะดวกในการค้นหาเป็นอย่างมาก นอกจากนี้แล้วทางเว็บไซต์
    จะยังมีบอกราคาประเมินของทรัพย์นั้น ๆ ให้ได้ทราบด้วย รวมไปถึงแผนที่ ช่วงวันเวลาในการประมูลและเงื่อนไขต่างๆ
    ที่ผู้สนใจจำเป็นต้องทราบ ทั้งจำนวนวงเงินหลักประกันและราคาเริ่มต้นในการประมูล
  2. วันและช่วงเวลาในการประมูล
    การประมูลบ้าน หรือที่ดิน จากกรมบังคับคดี จะมีการกำหนดวันที่และระยะเวลาอย่างชัดเจน
    ไม่ได้มีการเปิดให้ประมูลตลอด ดังนั้นสำหรับใครที่ต้องการจะเข้าร่วมการประมูล ควรจำวันที่และช่วงเวลาไว้ให้ดี ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ
  3. เข้าไปตรวจสภาพทรัพย์
    เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าทรัพย์สินที่นำมาประมูลโดยกรมบังคับคดีนั้น เป็นทรัพย์สินมือสอง ที่บางครั้งอาจผ่านการใช้งาน
    มีความเก่าหรือเสื่อมโทรม เพราะฉะนั้นแล้ว ดูแต่รูปภาพไม่ได้ ต้องลองไปเห็นสถานที่ของจริง แต่บางทรัพย์อาจจะดูได้แค่สภาพแวดล้อม
    และกายภาพโดยรอบ เพราะบางทรัพย์ยังมีคนอยู่อาศัยที่ถือว่าเป็นเจ้าของบ้านอยู่ คนที่จะประมูลยังไม่มีสิทธิครอบครอง
    เข้าไปสุ่มสี่สุ่มห้า จะโดนข้อหาบุกรุกได้ง่ายๆ ทั้งนี้ ทั้งหมดทั้งมวล ขึ้นอยู่กับทักษะการเจรจาทั้งสิ้น

4.การเข้าร่วมประมูลต้องมีการวางหลักประกัน
จำนวนเงินประกันนั้น จะขึ้นอยู่กับการกำหนดของกรมบังคับคดี ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ผ่านทางเว็บไซต์
โดยผู้ประมูลจะต้องเตรียมเงินสดหรือแคชเชียร์เช็คตามจำนวนเงินที่กรมบังคับคดีกำหนดไปในวันประมูลด้วย

5.การเตรียมเอกสาร
จะต้องเตรียมแนบสำเนาบัตรประชาชน 1 ใบ พร้อมกับการวางเงินหลักประกัน หรือสำหรับผู้ที่ให้ผู้อื่นเข้าประมูลแทน
ก็จำเป็นที่จะต้องมีใบมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 30 บาทไปด้วย

เพื่อนๆทุกคนคงจะรู้จัก ขั้นตอนของการประมูลบ้าน และที่ดินกรมบังคับคดีกันมากขึ้นแล้ว อย่าลืมเตรียมตัว
เตรียมเอกสารให้พร้อม และที่สำคัญที่สุดต้องไม่ลืมวันและช่วงเวลาที่ทางกรมบังคับคดีจะเปิดประมูล
และที่เตรียมเงินให้พร้อมแข่งเพื่อให้ได้ทรัพย์นั้นมาเป็นของเรา

ประมูลที่ดิน และบ้าน จากกรมบังคับคดี ต้องเตรียมตัวอย่างไร

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

 

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

26
Jun 24
จะจำนอง หรือ ขายฝาก ดี? แบบไหนเหมาะกับเรา

สินเชื่อ จำนอง ขายฝาก เปรียบเสมือนมีดสองคมที่พร้อมตอบโจทย์ความต้องการทางการเงินที่แตกต่างกัน  การเลือกใช้เครื่องมือทางการเงินที่เหมาะสม เปรียบเสมือนการเลือกอาวุธให้เข้ากับสถานการณ์  เพื่อบรรลุเป้าหมายและลดความเสี่ยง ในบทความนี้ เราจะมาวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ อย่างเจาะลึก ว่า สินเชื่อ จำนอง ขายฝาก เหมาะกับสถานการณ์แบบไหน   ความต้องการเงินทุน ต้องการเงินทุนก้อนใหญ่:  ขายฝากเหมาะกับกรณีนี้มากกว่า เพราะขายฝากจะได้วงเงินสูงกว่า จำนองเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการนำเงินไปใช้จ่ายก้อนใหญ่ เช่น โปะหนี้ ลงทุน หรือขยายธุรกิจ ต้องการเงินทุนก้อนใหญ่ แต่ต้องการผ่อนชำระระยะยาว: จำนองเหมาะกับกรณีนี้มากกว่า เพราะสินเชื่อจำนองจะผ่อนชำระเป็นรายงวด ระยะเวลาผ่อนชำระยาวนาน เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้สม่ำเสมอ สามารถวางแผนการเงินระยะยาวได้ เป้าหมายการรักษาความเป็นเจ้าของ ต้องการรักษาความเป็นเจ้าของบ้าน: จำนองเหมาะกับกรณีนี้มากกว่า เพราะผู้กู้ยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้าน แม้จะนำบ้านไปจำนองไว้กับธนาคาร ต้องการขายบ้านในอนาคต: ขายฝากเหมาะกับกรณีนี้มากกว่า เพราะผู้ขายฝากสามารถไถ่ถอนทรัพย์สินคืนได้ภายในระยะเวลาที่ […]

อ่านเพิ่มเติม
ถมดิน เพิ่มราคาซื้อขายให้แพงขึ้นได้จริงหรือ?
4
Jan 24
การ “ถมดิน” เพิ่มราคาซื้อขายให้แพงขึ้นได้จริงหรือ?

หลายคนที่เป็นเจ้าของที่ดิน หรือนักลงทุนอสังหาริมทรัพย์ มักจะประสบปัญหาที่ดินบางแปลงอยู่ต่ำกว่าระดับถนนมาก บางพื้นที่อาจจะเป็นป่ารกทึบ บางพื้นที่อาจจะเคยเป็นพื้นที่รองรับน้ำมาก่อน จึงมักเกิดน้ำท่วมขังทุกครั้งเมื่อฝนตก ทำให้ที่ดินแปลงนั้นไม่ค่อยมีคนสนใจอยากจะซื้อเท่าไหร่นัก ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะแก้ได้ด้วยการ ถมดิน ถือว่าเป็นวิธีการง่ายที่สุดในการเพิ่มมูลค่าที่ดินของเราได้ การ ถมดิน ช่วยเพิ่มมูลค่าที่ดินได้อย่างไร? การถมดิน เป็นการปรับพื้นที่ให้พร้อมสำหรับการพัฒนาให้ดีขึ้น ตรงไหนต่ำไปหรือสูงไปก็ต้องปรับให้เหมาะสมพร้อมที่จะพัฒนาในลำดับต่อไป นอกจากนี้ยังช่วยให้ที่ดินแปลงนั้น สามารถ ซื้อขาย ได้ง่ายมากกว่าที่ดินที่ยังไม่ได้ถมอีก เมื่อมีการถมดิน แล้ว จะยังไม่สามารถเริ่มก่อสร้างได้ทันที ต้องรอดินเซตตัวก่อนเป็นเวลาประมาณ 1 ปี หากเราก่อสร้างโดยไม่รอให้ดินเข้าที่อาจจะเกิดปัญหาบ้านทรุดลงได้ ดังนั้น การถมดิน จึงมีไว้สำหรับพร้อม ซื้อขาย เท่านั้น ซึ่งการถมดิน จะทำให้เรารู้ทันทีเลยว่าที่ดินแปลงนี้สวยหรือไม่ รกไปไหม เพราะในเรื่องความสวยงามของที่ดินนั้นก็เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจของผู้ซื้อขายด้วย ก่อนถมดิน […]

อ่านเพิ่มเติม
2
Feb 23
ค้ำประกัน อันตรายขนาดไหน ทำไมใครๆ ก็บอกว่า หนีไปปป!!

ค้ำประกัน คำที่มักจะได้ยินบ่อยๆ ในตอนที่ต้องกู้สินเชื่อกับทางธนาคาร เนื่องจากในการจะกู้ซื้อบ้านหรือคอนโดต้องใช้เงินก้อนใหญ่ หากจะให้การกู้ง่ายยิ่งขึ้น อาจจะต้องมีการกู้ร่วม เพื่อให้ได้วงเงินที่มากขึ้น หรืออาศัยคนค้ำประกัน เพราะผู้กู้อาจมีคุณสมบัติบางอย่างไม่ถึงเกณฑ์ เพื่อมาช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์การอนุมัติขอสินเชื่อได้ ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับการค้ำประกัน กันแบบง่ายๆ ก่อนเลยค่ะ การค้ำประกันคือ บุคคลที่มาค้ำประกันสินเชื่อให้กับลูกหนี้ โดยสถานะไม่ได้เป็นลูกหนี้ร่วมเหมือนกับคนกู้ร่วม สถานะจะเป็นเพียงแค่คนค้ำประกันที่เมื่อเกิดกรณีที่ลูกหนี้เบี้ยวไม่จ่ายหนี้ ธนาคารหรือสถาบันการเงินก็จะไปไล่เบี้ยเอาคืนกับคนค้ำประกัน เมื่อรู้จักการค้ำประกันแบบคร่าวๆ แล้ว มาดูกันค่ะว่าการค้ำประกันมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง ความสัมพันธ์กับการค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันสามารถเป็นใครก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลในเครือญาติของผู้กู้ การพิจารณาของธนาคาร การค้ำประกัน ธนาคารจะไม่นำรายได้ของคนค้ำประกันมารวมคิดเพื่อพิจารณาอนุมัติ จะยังคงพิจารณาเฉพาะรายได้ของผู้กู้เท่านั้น แต่จะพิจารณาคุณสมบัติของผู้ค้ำประกันแทน โดยผู้ค้ำประกันจะต้อ […]

อ่านเพิ่มเติม