21
Oct 24

ทำไม “ขายตรง (แอบแฝง) แชร์ลูกโซ่” ไม่ว่าจะกี่ยุคกี่สมัย ก็ยังมีอยู่ในสังคมไทย จนถูกหลอกให้หลงเชื่อ วันนี้ Property4Cash ขอมาแชร์ความแตกต่างของ ธุรกิจขายตรง และแชร์ลูกโซ่ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพกันค่ะ

กลายเป็นกระแสสังคมอีกครั้ง เมื่อธุรกิจขายตรง (Direct Selling) อย่าง “ดิไอคอนกรุ๊ป” ถูกตั้งข้อสงสัยว่าเป็น “แชร์ลูกโซ่ (Pyramid Scheme หรือ Ponzi Scheme)” จากผู้ที่ต้องการเริ่มต้นชีวิตนักธุรกิจขายตรง สู่ เหยื่อขบวนการแชร์ลูกโซ่จริงหรือไม่?

ระวังตกเป็นหยื่อ ถ้ายังไม่เข้าใจความต่าง?

ธุรกิจขายตรง คือ เน้นขายสินค้าส่งถึงมือลูกค้าโดยไม่ผ่านร้านค้า

ธุรกิจขายตรง คือ การขายสินค้า หรือ บริการในลักษณะขายตรงต่อผู้บริโภค ณ ที่อยู่อาศัย หรือ สถานที่ ที่ไม่ใช่ร้านค้า โดยขายผ่านตัวแทนขายตรง หรือ ผู้ขายอิสระ ถึงลูกค้าเลย แปลง่ายกว่านั้นคือ การขายสินค้าให้ลูกค้าตรงๆ โดยไม่ผ่านร้านค้าตัวกลาง

หากจะประกอบธุรกิจขายตรง ต้องยื่นจดทะเบียนประกอบธุรกิจกับ สคบ. และจะมีการรับรองตามกฎหมาย และ เข้าร่วมเป็นสมาชิกกับ TDSA หรือสมาคการขายตรงไทย

ในกฏระบุชัดว่า… กิจการขายตรงที่เข้าร่วมเป็นสมาชิก จะต้องไม่ใช้ระบบปิรามิด จ่ายผลตอบแทนจากการเชิญชวนลูกข่าย (ฉะนั้นธุรกิจไหนที่เน้นหาลูกข่ายต่อเยอะๆ ไม่เน้นขายสินค้า อันนี้จึงไม่เข้าข่ายธุรกิจขายตรงแล้วหล่ะค่ะ) อิงจากเว็บไซต์ TDSA.org (สมาคมขายตรงไทย)

 

แชร์ลูกโซ่ คือ ขายฝัน เน้นหาลูกข่าย ไม่เน้นขายสินค้า หรือบางรายสินค้าไม่มีจริง ไม่ได้คุณภาพ 

แชร์ลูกโซ่มักเล่นกับความโลภของคน การันตีผลตอบแทนจากการลงทุนสูงเกินจริง โน้มน้าวเราด้วยฝันสวยหรู เดี๋ยวรวยแน่แค่ทำตามนี้ เน้นให้เราเอาเงินไปลงทุนมากๆ ชวนคนเข้าร่วมเครือข่ายเรื่อยๆ มักโพสต์ภาพอวดรวย บ้านหรู รถสปอร์ต สร้อยทอง แบรนด์เนมแบบตะโกน ถ่ายภาพเงินเป็นปึกโชว์

ไม่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจขายตรงจาก สคบ. และไม่ได้เป็นสมาชิกสมาคมขายตรงไทย TDSA

ธุรกิจขายตรง และ กลโกงแชร์ลูกโซ่ ต่างกันอย่างไร?

 

ชวนมาทำความรู้จักกลยุทธ์ ธุรกิจขายตรง จากกรณีที่เกิดขึ้น ปรากฏเป็นข่าวใหญ่ เริ่มต้นจาก “ขายฝัน” ผันเปลี่ยนไปถึง “แชร์ลูกโซ่” ในชีวิตของหลายคนอาจพบเจอการชักชวนไปร่วมทำธุรกิจไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะในช่วงชีวิตที่มีการเปลี่ยนผ่าน ไม่ว่าจะช่วงกำลังจะเรียนต่อ เพิ่งเรียนจบการศึกษา หรือเข้าสู่วัยเกษียณอายุได้ไม่นาน เกิดจากการชักชวนไป “ขายตรง” หรือร่วมทำธุรกิจอะไรบางอย่างที่นำไปสู่การ “ขายฝัน” และจบลงด้วย “แชร์ลูกโซ่”

 

ทางทีมจึงได้วิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลกลยุทธ์ในการชักชวนจูงใจผู้คนเข้าร่วมเครือ ดังนี้

1. นำเสนอความมั่นคง ร่ำรวยในชีวิต Passive income และอิสระทางการเงินต่างๆ คำถามหนึ่งที่ธุรกิจขายตรงใช้ชักชวนผู้คนให้เข้าสู่วงจรธุรกิจ แสดงให้เห็นถึงเป้าหมายของที่ท้ายที่สุดแล้ว คือ “มีชีวิตที่สุขสบายโดยไม่ต้องทำงาน” นี่เป็นคีย์เวิร์ดสำคัญ ที่มาพร้อมการโน้มน้าวใจ ผ่านปมส่วนตัวบางอย่าง เช่น ไม่อยากให้ครอบครัวสุขสบายเหรอ? ไม่อยากเป็นอิสระทางการเงินหรอ? 

2. เริ่มต้นจากการลงทุนด้วยเงินจำนวนน้อยๆ สู่เงินที่มากขึ้น และยากจะถอนตัว จูงใจด้วย “ค่าคอร์สออนไลน์แค่ 98 บาท” แต่เนื้อหาในการอบรม นอกจากหลักการตลาดทั่วไปแล้ว ภาพรวมจะเป็นการโน้มน้าวใจให้ร่วมธุรกิจสมัครสมาชิก โดยเงินค่าสมัครจะเพิ่มขึ้นจากหลักพันบาท หลักหมื่น สู่หลักแสน พร้อมได้สินค้ามาทดลองใช้หรือขาย และต้องเข้าร่วมอบรมต่อเนื่อง ซึ่งก็มักจะมีราคาที่ต้องจ่ายสูงขึ้นเรื่อยๆ

3. แสดงให้เห็นว่า “ใครๆ ก็ทำได้” โดยมีตัวอย่างเป็นคนที่เข้าร่วมทำธุรกิจ แล้วสามารถประสบความสำเร็จได้ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ แต่เมื่อลงทุนไปแล้วแต่สินค้ามันขายไม่ได้ ก็ขายฝันมันเสียเลย ด้วยการ… สร้างภาพลงโซเชียล เพื่อหาลูกข่ายหน้าใหม่ที่หลงเชื่อ มาร่วมลงทุนเรื่อยๆ และทำให้เกิดการเชื่อมโยงกับผู้ที่ถูกชักชวนให้มาร่วมธุรกิจ เช่น หมอที่ผันตัวมาร่วมธุรกิจ ข้าราชการเกษียณอายุ วัยรุ่นที่เคยทำตัวเกเรมาก่อน จนถึงคนทำงานหาเช้ากินค่ำ หลายคนสามารถเชื่อมโยงตัวเองกับกรณีที่ประสบความสำเร็จได้อย่างสมบูรณ์ เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนต่อๆ ไป

4. ผลตอบแทนสูงเมื่อชักชวนคนมาเข้าร่วม เมื่อ ขายฝัน สำเร็จมีการเข้าสู่การเป็นสมาชิก ข้อเสนอถึงผลกำไรจากการชักชวนคนมาเข้าร่วมโดยการันตีค่าตอบแทนสูงจะเกิดขึ้นตามมา หากมีค่าตอบแทนที่สูงเกินจริงจะเข้าข่ายธุรกิจแชร์ลูกโซ่ทันที แต่หากการตอบแทนมีลักษณะของการขายสินค้า หลายครั้งสินค้ามักไม่มีคุณภาพเพียงพอ 

5. ปรับตัวเปลี่ยนแบรนด์ให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ เมื่อขายฝันสำเร็จ ก็ต้องทำให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง นำไปสู่การเสียค่าใช้จ่ายในการยิงแอดโฆษณาต่างๆ อีกหนึ่งเคล็ดลับสำคัญจากแบรนด์ที่เป็นประเด็นอยู่นี้ คือ เขามักหาคนที่มีอิทธิพลมาเข้าร่วม เพื่อชักจูงคนเข้ามาติดบ่วงได้ต่ออีกเรื่อยๆ แม่ข่ายก็รวยเอาๆ เพราะมีคนมาเปิดบิลหน้าใหม่เรื่อยๆ ของที่ขายได้ ยอดขายถล่มทลาย แท้จริงแล้วอาจจะมาจากบรรดา แม่ข่าย ลูกข่าย ซื้อสต็อคกันไว้เอง กาแฟ กินเป็นปี ยังไม่หมด สงสารก็แต่ ลูกข่ายเข้าใหม่ ลงทุนหมดตัว สินค้าสต็อคเหลือเต็มบ้าน

สุดท้ายนี้ขอย้ำว่า ทางทีมเองก็ไม่สามารถระบุได้ว่า… ธุรกิจที่กำลังตกเป็นข่าวขณะนี้ เกี่ยวข้องกับ มิจฉาชีพ แชร์ลูกโซ่หรือไม่? เราคงทำได้แค่รอการตรวจสอบ อีกไม่นานเดี๋ยวเราคงได้รู้กันแล้วหล่ะค่ะ

 

แล้วหากเป็นการแชร์ลูกโซ่จริงๆ มีบทลงโทษทางกฎหมายอย่างไรบ้างนะ?

       ธุรกิจแชร์ลูกโซ่เป็นหนึ่งในรูปแบบการหลอกลวงที่สร้างความเสียหายอย่างกว้างขวางในประเทศไทย การบังคับใช้กฎหมายและการตรวจสอบของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) จึงมีบทบาทสำคัญในการปกป้องผู้บริโภค โดยเฉพาะเมื่อคดีเหล่านี้เกี่ยวข้องกับจำนวนผู้เสียหายมากและมีมูลค่าความเสียหายสูง นอกเหนือจากการตรวจสอบพฤติกรรมของบริษัทและเส้นทางการเงินแล้ว ดีเอสไอยังมุ่งเน้นการสอบสวนเพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้ตกเป็นเหยื่อ

       ข้อมูลจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ระบุว่า ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา พบคดีแชร์ลูกโซ่ที่สร้างความเสียหายรวมกันกว่า 17,000 ล้านบาท สะท้อนให้เห็นถึงความรุนแรงของปัญหานี้ ดีเอสไอในฐานะหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายจึงได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบและดำเนินคดีกับผู้ที่กระทำความผิด

แชร์ลูกโซ่ยุคใหม่ ซ่อนเงื่อนงำหลอกลวง รูปแบบของแชร์ลูกโซ่ในปัจจุบันมีความหลากหลาย ตั้งแต่

  • การอ้างว่าเป็นการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัล ซึ่งสัญญาว่าจะให้ผลตอบแทนสูง ดังเช่นในคดี Ufun Store เมื่อปี 2015 ผ่านการขายเหรียญ Utoken แต่กลับกลายเป็นการแสวงหากำไรจากการชักชวนสมาชิกใหม่ ก่อให้เกิดความเสียหายสูงถึง 12,000 ล้านบาท
  • การขายผลิตภัณฑ์เสริมความงามหรือสุขภาพก็ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือหลอกลวงเช่นกัน อย่างเช่นในคดีเมจิกสกิน ปี 2018 ที่โฆษณาเกินจริงและผลิตสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน สร้างความเสียหายกว่า 1,000 ล้านบาท
  • ในยุคดิจิทัล สื่อโซเชียลมีเดียก็ถูกใช้เป็นเครื่องมือชักจูงให้คนหลงเชื่อ เช่นในคดีแม่มณี ปี 2019 ที่มีผู้เสียหายกว่า 3,000 คน มูลค่าความเสียหายกว่า 1,000 ล้านบาท รวมถึงคดี Forex-3D ที่หลอกลวงให้ลงทุนในแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนเงินตรา ก่อความเสียหายรวม 2,400 ล้านบาท

 

กฎหมายในการต่อสู้แชร์ลูกโซ่

        ธุรกิจแชร์ลูกโซ่ ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 และพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่ 5-10 ปี และปรับตั้งแต่ 500,000 ถึง 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

        ในฐานะหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษมีอำนาจในการสืบสวนและดำเนินคดีแชร์ลูกโซ่ที่มีลักษณะเป็นคดีพิเศษตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 โดยพิจารณาจากความซับซ้อนของการกระทำความผิด ผลกระทบที่มีต่อส่วนรวม และจำนวนผู้เสียหายที่เกี่ยวข้อง

หลักเกณฑ์ที่ดีเอสไอใช้ในการพิจารณารับคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) มีอำนาจหน้าที่ในการสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 ซึ่งรวมถึงคดีแชร์ลูกโซ่ที่มีลักษณะตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้

1. มูลค่าความเสียหายสูง คดีที่มีมูลค่าความเสียหายตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไป หรือคดีที่มีผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจ ความมั่นคง ความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดี หรือความปลอดภัยของประชาชน

2. ความซับซ้อนของคดี คดีที่มีพฤติการณ์การกระทำความผิดที่ซับซ้อน จำเป็นต้องใช้วิธีการสืบสวนสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานเป็นพิเศษ เช่น การทำธุรกรรมทางการเงินที่สลับซับซ้อนเพื่อปกปิดหรือฟอกเงิน การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือเทคโนโลยีชั้นสูง เป็นต้น

3.จำนวนผู้เสียหายจำนวนมาก คดีที่มีจำนวนผู้เสียหายตั้งแต่ 1,000 รายขึ้นไป หรือคดีที่มีผู้เสียหายจำนวนมากและกระจายตัวในหลายท้องที่ ซึ่งคดีมีความยุ่งยากซับซ้อนในการรวบรวมพยานหลักฐาน

4.เจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง คดีที่มีพฤติการณ์น่าเชื่อว่ามีเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมิใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา 5 เข้าไปเกี่ยวข้อง เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน

5. การกระทำความผิดข้ามชาติ คดีที่มีลักษณะเป็นการกระทำความผิดข้ามชาติที่สำคัญ หรือเป็นการกระทำขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งมีผลกระทบรุนแรงต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ความมั่นคงของประเทศ หรือระบบเศรษฐกิจ การเงินของประเทศ

ธุรกิจขายตรง และ กลโกงแชร์ลูกโซ่ ต่างกันอย่างไร?

       นอกจากนี้ คดีแชร์ลูกโซ่ที่มีลักษณะข้อใดข้อหนึ่งที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ ซึ่งมีการกระทำความผิดตั้งแต่ 5 ราย ขึ้นไป และได้กระทำความผิดต่อเนื่องกันจนถึงวันที่กรมสอบสวนคดีพิเศษรับเป็นคดีพิเศษ ถึงแม้มูลค่าความเสียหายจะไม่ถึง 100 ล้านบาทก็ตาม ก็จะถูกพิจารณารับเป็นคดีพิเศษเช่นกัน

       เมื่อมีการกระทำความผิดที่เข้าข่ายจะเป็นคดีพิเศษ ผู้เสียหายสามารถยื่นคำร้องต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษได้โดยตรง จากนั้นคณะกรรมการคดีพิเศษจะเป็นผู้พิจารณาว่าเหตุแห่งคดีนั้น ๆ อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะรับเป็นคดีพิเศษหรือไม่ หากผ่านการพิจารณาก็จะส่งเรื่องให้อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษมีคำสั่งตั้งคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษเพื่อดำเนินคดีต่อไป

       เมื่อดีเอสไอรับคดีแชร์ลูกโซ่เป็นคดีพิเศษแล้ว จะตั้งคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร นักสืบสวน นักกฎหมาย และผู้เชี่ยวชาญจากสาขาต่างๆ ในการขยายผลสืบสวนสอบสวน ซึ่งมีอำนาจในการเข้าถึงข้อมูลทางการเงินและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อตรวจสอบร่องรอยการกระทำความผิด อีกทั้งยังใช้กลไกความร่วมมือกับต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่เป็นแหล่งฟอกเงินจากคดีแชร์ลูกโซ่ ในการสกัดเส้นทางทางการเงินและติดตามตัวผู้กระทำความผิด และการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายด้วยกัน

 

จะทำอย่างไร ให้รู้เท่าทันภัย ขายฝัน จากแชร์ลูกโซ่ เพื่อปกป้องสิทธิผู้บริโภค

       แม้การแก้ปัญหาแชร์ลูกโซ่จะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนถือเป็นกุญแจสำคัญในการต่อสู้กับภัยนี้ หน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะกรมสอบสวนคดีพิเศษ ต้องเร่งดำเนินคดีและขยายผล เพื่อตัดวงจรการหลอกลวง ขณะที่หน่วยงานกำกับดูแลควรเน้นมาตรการเชิงป้องกันและเฝ้าระวัง

       ภาคประชาสังคมและสื่อก็ควรมีบทบาทในการเผยแพร่ความรู้และสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชน เพื่อให้สามารถรู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมของมิจฉาชีพ ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและทันสถานการณ์จะช่วยให้ผู้คนมีภูมิคุ้มกันและไม่ตกเป็นเหยื่อของกลโกงในรูปแบบต่างๆ

       สำหรับประชาชน สิ่งสำคัญ คือ ต้องมีสติในการใช้วิจารณญาณก่อนตัดสินใจลงทุนกับโอกาสที่ดูจะมาพร้อมกับผลตอบแทนสูงเกินจริง และอย่าลังเลที่จะแจ้งความหากพบว่าถูกหลอก เพื่อที่จะได้ช่วยกันหยุดยั้งไม่ให้เกิดผู้เสียหายรายอื่นตามมา

และสุดท้ายนี้ ไม่ว่าจะลงทุนทำ ธุรกิจขายตรง หรือลงทุนอะไร ผู้ลงทุนควรหมั่นศึกษารายละเอียดก่อนลงทุน เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ และทุกการลงทุนมีความเสี่ยงเสมอ

 

—————————————————–

Property4Cash ยินดีให้คำปรึกษาและช่วยเพิ่มทุนให้กับทุกคนที่ต้องการเงินด่วน และต้องการเงินเพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจ ไม่เช็คแบล็คลิส ไม่เช็คเครดิตบูโร

อนุมัติรวดเร็วทันใจ นึกถึง ขายฝากจำนอง นึกถึง Property4Cash

Line: @Property4Cash

โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash

ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

25
Aug 23
โฉนดที่ดินหาย! ทำยังไงดี

#โฉนดที่ดิน อาจจะเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับหลายๆ คน เพราะเมื่อได้มาเราก็จะเก็บมันไว้เพราะเป็นเอกสารสำคัญของบ้าน และไม่ใช่เอกสารที่จะพกพาติดตัว เนื่องจากมีขนาดที่ใหญ่ แต่หากวันไหนที่ต้องใช้และพบว่า โฉนดที่ดินหาย หรือเกิดชำรุดขึ้นมาล่ะ จะทำยังไง? ก่อนอื่นไม่ต้องตกใจไปนะคะ เราสามารถยื่นขอโฉนดที่ดินใหม่ได้ ส่วนขั้นตอนจะเป็นอย่างไร วันนี้เราจะมาบอกทุกคนเองค่ะ แจ้งความต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น อันดับแรกเลยก็คือต้องไป แจ้งความต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน เพื่อยืนยันว่าเจ้าของที่ดินนั้นไม่ได้นำโฉนดที่ดินไปจำหน่าย #จำนอง หรือแลกเปลี่ยนเป็นของผู้อื่น ติดต่อกับสำนักงานที่ดิน เมื่อได้ใบบันทึกประจำวันมาเรียบร้อยแล้ว ให้นำเอกสารมาติดต่อที่สำนักงานที่ดิน เพื่อขอโฉนดที่ดินใหม่ โดยเอกสารที่ต้องเตรียมไปด้วยมีดังนี้ – บัตรประชาชนตัวจริงของผู้ที่ยื่นขอโฉนดที่ดินใหม่ – ทะเบียนบ้านตัวจริงของผู้ที่ยื่นขอโฉนดที่ดินใหม่ – ใบแจ้งความ / บันทึกประจำวัน – พยานบุคคล 2 คน พร้อมบัตรประชาชนตัวจริง ซึ่งหากเกิดปัญหาในภายหลัง พยานทั้ง 2 คนนี้ จะต้องเป็นพยานในชั้นศาลด้วย เมื่ […]

อ่านเพิ่มเติม
28
May 24
อันตราย ! หากทำผิดสัญญาขายฝาก

อันตราย ! หากทำผิด สัญญาขายฝาก  ควรศึกษาให้ดี ก่อนเริ่มทำสัญญาขายฝาก  ผู้ขายฝากควรปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา ในกรณีผู้ขายฝากทำผิดสัญญาหรือฝ่าฝืนเงื่อนไขที่ระบุไว้ ผู้รับซื้อฝากสามารถดำเนินการเอาผิดทางกฎหมายได้  ผู้รับซื้อฝากฟ้องร้องให้ผู้ขายฝากปฏิบัติตามสัญญา  หากผู้ขายฝากไม่ชำระเงินตามสัญญา หรือ ไม่ส่งมอบทรัพย์ที่ขายฝาก ผู้รับซื้อฝากสามารถฟ้องร้องเพื่อบังคับให้ผู้ขายฝากปฏิบัติตามสัญญาขายฝาก  ผู้รับซื้อฝากฟ้องร้องให้ผู้ขายฝากชดใช้ค่าเสียหาย กรณีที่ผู้ขายฝากทำผิดสัญญาจนก่อให้เกิดความเสียหาย ผู้รับซื้อฝากสามารถฟ้องร้องให้ผู้ขายฝากชดใช้ค่าเสียหายได้  ผู้รับซื้อฝากฟ้องร้องเพิกถอนสัญญาขายฝาก สำหรับบางกรณี ผู้ขายฝากทำผิดสัญญา หรือ ทำการฉ่อโกง ผู้รับซื้อฝากสามารถฟ้องร้องต่อศาลให้เพิกถอนสัญญาได้ ผู้ขายฝากอาจต้องคืนทรัพย์ให้แก่ผู้รับซื้อฝาก และอาจต้องชดใช้ค่าเสียหายเพิ่มอีกด้วย  ขายฝากกับ Property4Cash ไม่ต้องกลัวทำผิดสัญญา เรามีทีมผู้เชี่ยวชาญคอยให้ปรึกษาและแก้ไขปัญหาไปด้วยกันค่ะ  สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง Line: @Property4Cash โทร : 096-812-5689 หรือส่งรายละเอีย […]

อ่านเพิ่มเติม
28
Mar 23
5 ข้อต้องรู้ก่อนนำที่ดินไปขายฝาก

หากเอ่ยถึงการนำทรัพย์สิน ประเภทอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน คอนโด  ที่ดิน หรือ รถ ไปเป็นหลักทรัพย์เพื่อแลกกับเงินก้อน การขายฝากก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ สำหรับผู้ที่ต้องการใช้เงินด่วน แต่ก่อนจะนำที่ดินหรือทรัพย์สินไปทำการขายฝาก เราจะพาทุกท่านไปดูส่วนสำคัญที่จำเป็นต้องรู้ ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการขายฝากกันค่ะ ในการขายฝากต้องส่งมอบทรัพย์สินและกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้ผู้รับซื้อฝาก ผู้ขายฝากจึงไม่สามารถใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินต่อไป ไม่ว่าบ้าน คอนโด ที่ดิน จนกว่าจะมีการไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากคืน แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ผู้รับซื้อฝาก มักจะยินยอมให้ผู้ขายฝากใช้ประโยชน์ต่อไปได้ ตามแต่ตกลงกัน ผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินคืนตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กำหนดในสัญญาขายฝาก โดยกรณีอสังหาริมทรัพย์ กำหนดเวลาไถ่ทรัพย์สินคืนได้ไม่เกิน 10 ปี นับแต่เวลาขายฝาก หากผู้ขายฝากไม่มาไถ่ทรัพย์สินคืนตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กำหนด ผู้ขายฝากจะหมดสิทธิในการไถ่ทรัพย์สินคืนทันที โดยไม่ต้องชำระเงินเพิ่มเติมให้ผู้รับซื้อฝากอีก การขายฝากส่วนใหญ่ผู้ขายฝากจะได้วงเงินประมาณ 40-70% ของราคาประเมิน ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนขายฝาก ในอัตรา […]

อ่านเพิ่มเติม