เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน กับ เจ้าของบ้าน แตกต่างกันอย่างไร?
24
Oct 23

หลายท่านคงสงสัย? ว่าเจ้าบ้านคือใคร!! หรือบางท่านอาจจะคิดไปถึงผีบ้านผีเรือน
แต่ที่จริงแล้วตามหลักกฎหมาย ว่าด้วยเรื่องการดูแลบ้าน บ้านทุกหลังต้องมี เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน
เพื่อระบุว่าบุคคลที่เป็นเจ้าบ้านนั้น ผู้เป็นหัวหน้าซึ่งครอบครองบ้าน
ในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือในฐานะอื่น เช่น ผู้ดูแลบ้าน
แล้วแตกต่างยังไงกับเจ้าของบ้านละ วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยกันค่ะก่อนอื่นเรามาดูความหมายของทั้งสองคำนี้กันก่อนเลยค่ะ

เจ้าบ้าน หมายถึง ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะที่เป็นเจ้าของ ผู้เช่า และอื่นๆ
โดยหากในทะเบียนบ้านไม่มีชื่อเจ้าบ้าน หรือผู้ที่ถูกแต่งตั้งเป็นเจ้าบ้าน เกิดเสียชีวิต
ผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านสามารถมาเป็นเจ้าบ้านแทนได้

เจ้าของบ้าน หมายถึง เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อในโฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย
มีสิทธิใช้สอย หวงกัน ติดตามเอาทรัพย์คืน. ใช้ยันต่อบุคคลทั่วไป มีกฎหมายรองรับ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336

โดยจากความหมายด้านบน เจ้าบ้านหรือเจ้าของบ้าน
อาจจะเป็นคนเดียวกัน หรือ ไม่ใช่คนเดียวกันก็ได้ค่ะ

หน้าที่เจ้าบ้าน VS เจ้าของบ้าน

เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน มีหน้าที่ตาม พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 อาทิ แจ้งเกิด-ตาย
ย้ายที่อยู่ ขอเลขที่บ้าน หรือเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับบ้าน
ซึ่งสามารถสรุปหน้าที่ของเจ้าบ้านได้ดังต่อไปนี้

  • แจ้งคนเกิดในบ้าน
  • แจ้งคนตายในบ้าน
  • แจ้งคนย้ายเข้า-ย้ายออก
  • สร้างบ้านใหม่หรือรื้อถอน
  • ขอเลขที่บ้าน

เจ้าของบ้าน มีหน้าที่ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นผู้มีสิทธิ์ในการขาย โอน บ้านและที่ดินหลังนั้น
ทั้งนี้สามารถโอนถ่ายให้ลูกหลานเป็นเจ้าของบ้านได้

ยังมีความเข้าใจที่บอกว่า เจ้าบ้านก็คือเจ้าของบ้าน มีกรรมสิทธิ์ทุกอย่าง
จะไล่ใครออกจากบ้านจะทำอะไรกับบ้านก็ได้ คือไม่ใช่นะคะ
เจ้าบ้านไม่มีกรรมสิทธิ์อะไรเลย นอกจากว่าเจ้าของบ้านและเจ้าบ้านจะเป็นคนๆ เดียวกัน จึงจะทำได้เท่านั้น
ยกเว้นกรณีที่บุคคลที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ไม่ได้อาศัยอยู่ในบ้านแล้วจริง
และไม่สามารถติดต่อบุคคลนั้นได้พ้น 180 วัน เจ้าบ้านมีสิทธิขอคัดชื่อคนออกจากทะเบียนบ้านได้

เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน กับ เจ้าของบ้าน แตกต่างกันอย่างไร?

—————————————————–

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

15
Mar 23
เคล็ดไม่ลับจาก P4C จำนองบ้านไว้ ขายได้ค่อยไถ่ถอนคืน

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังต้องการขายบ้าน แต่ยังหาผู้ซื้อไม่ได้สักที และคุณเกิดจำเป็นต้องใช้เงินก้อน แบบด่วนจี๋ตอนนี้ทันที จำนองบ้าน เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยคุณให้พ้นวิกฤตทางการเงินได้ โดยที่ไม่ต้องตัดใจ ตัดราคาขายบ้านให้ถูกลงเพื่อให้มีคนซื้อไวๆ และเมื่อใดก็ตามที่มีคนมาสนใจซื้อบ้านคุณแล้ว ค่อยนำเงินก้อนนั้นมาไถ่ถอนจำนองคืนไป บางท่านอาจจะสงสัยว่า ในเมื่อจะขายอยู่แล้ว เรามาเสียเงินจ่ายดอกเบี้ยทำไมทุกเดือนๆ วันนี้เรามีคำตอบมาให้ดูกัน.. ข้อดีของการจำนองบ้าน ไว้ก่อน ขายได้ค่อยมาไถ่ถอนทีหลัง วันนี้เรามีเคสมาเล่าให้ฟัง มีลูกค้าท่านนึง ประกาศขายบ้านมา 6 เดือนแล้ว แต่ยังขายไม่ได้สักที มีคนเข้ามาดูบ้านมากหน้าหลายตา มีทั้งคนที่สนใจและไม่สนใจ แต่ก็ยังไม่มีใครติดต่อขอซื้อแบบจริงจัง ครั้นจะมีคนมาซื้อก็ติดปัญหากู้แบงค์ไม่ผ่าน ทำให้บ้านยังเป็นของเราเหมือนเดิมไม่ไปไหน เมื่อเวลาผ่านไป ชีวิตเจ้ากรรมดันจำเป็นต้องใช้เงินก้อนใหญ่ มีเวลาหาเงินก้อนนี้เพียงแค่ไม่กี่วัน จะขายบ้านตอนนี้ก็ไม่ทันการ จะตัดใจขายในราคาที่ต่ำกว่าปกติทำใจไม่ได้ จะกู้แบงค์ก็มีขั้นตอน มีเอกสารที่ต้องเตรียมการ ต้องใช้เวลามากมาย สุดท้ายเลย […]

อ่านเพิ่มเติม
17
Aug 24
รายละเอียดสัญญาขายฝากที่ดินที่ควรรู้ก่อนทำธุรกรรม สำหรับผู้รับขายฝาก และผู้ขายฝาก

รายละเอียด สัญญาขายฝากที่ดิน ที่ควรรู้ก่อนทำธุรกรรม สัญญาขายฝากที่ดิน เป็นสัญญาที่มีความสำคัญทางกฎหมายและเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินที่มีมูลค่า การทำความเข้าใจรายละเอียดต่างๆ ก่อนลงนามจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งผู้รับซื้อฝากและผู้ขายฝากควรศึกษาข้อมูลเหล่านี้ให้ละเอียดก่อนตัดสินใจ สิ่งที่ผู้รับซื้อฝากควรทราบ กรรมสิทธิ์ในที่ดิน: แม้ว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันทีที่ทำสัญญา แต่ผู้ขายฝากยังมีสิทธิไถ่ถอนที่ดินคืนได้ตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา ระยะเวลาไถ่ถอน: กำหนดระยะเวลาไถ่ถอนให้ชัดเจน โดยทั่วไปจะไม่น้อยกว่า 1 ปี และไม่เกิน 10 ปี จำนวนสินไถ่: คือจำนวนเงินที่ผู้ขายฝากต้องชำระเพื่อไถ่ถอนที่ดินคืน โดยจำนวนสินไถ่จะต้องไม่น้อยกว่าราคาที่ซื้อฝาก และดอกเบี้ยที่คิดจากราคาซื้อฝากตามอัตราที่กฎหมายกำหนด (ปัจจุบันไม่เกิน 15% ต่อปี) ค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียน: ผู้รับซื้อฝากเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนสัญญาขายฝากที่ดิน ณ สำนักงานที่ดิน ภาษีที่เกี่ยวข้อง: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ชำระภาษีที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมนี้ครบถ้วนแล้ว การตรวจสอบเอกสาร: ต […]

อ่านเพิ่มเติม
ไถ่ถอนขายฝาก
10
Jan 23
เฮ้ย! ไถ่ถอนขายฝาก ต้องเสียค่าธรรมเนียมด้วยหรอ!!!

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การทำขายฝากนั้น ต้องเสียค่าธรรมเนียมที่สำนักงานที่ดิน เสมือนว่าเป็นการซื้อขายกันปกติ แต่ผู้ขายฝากหลายๆ คนนั้นไม่รู้ และนายทุนผู้รับขายฝากหรือนายหน้าก็ไม่ได้บอกเราไว้ ทำให้เจ้าของทรัพย์ที่มาทราบทีหลัง ตกใจกับค่าใช้จ่ายที่งอกขึ้นมาแบบไม่ทันตั้งตัว ไม่ทันได้เตรียมใจมาก่อน เรามาดูกันดีกว่าว่า ค่าใช้จ่ายในการ ไถ่ถอนขายฝาก นั้น มีอะไรบ้าง..? การไถ่ถอนขายฝาก เปรียบเสมือน “การซื้อกลับ” แต่เป็นการซื้อกลับภายในระยะเวลาสัญญาที่ตกลงกันไว้ โดยมีค่าใช้จ่ายในการไถ่ถอนเหมือนกับการซื้อขายโดยทั่วไปตามปกติเช่นกัน ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สำนักงานที่ดินอีกครั้ง ทั้งในกรณีบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล  ค่าใช้จ่ายการ ไถ่ถอนขายฝาก ค่าธรรมเนียม – แปลงละ 50 บาท ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย – คำนวณตามระยะเวลาถือครอง ตามเกณฑ์ของกรมสรรพากร นับตั้งแต่วันที่ได้ทำสัญญาขายฝากจนถึงวันที่จดทะเบียนไถ่ถอนขายฝาก อากรแสตมป์ – ร้อยละ 50 สตางค์ (0.50%) โดยคำนวณจากราคาที่จดทะเบียนขายฝาก หรือ ราคาประเมินจากกรมที่ดินในขณะนั้น แล้วแต่ว่าราคาใดมากกว่า  **หมายเหตุ การไถ่ถอนขายฝาก โดยหลักการแล้ว […]

อ่านเพิ่มเติม