กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน มีแบบไหนบ้างนะ?
21
Nov 23

เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย
ของ กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน กันว่าคืออะไร?
เพื่อที่ว่าเราจะเข้าใจบทบาทรวมถึงบริบทกันได้มากขึ้น
สำหรับคนที่กำลังมีปัญหาว่าจะแบ่งสิทธิ์การถือครองร่วมในที่ดินอย่างไร?
ซึ่งก็จะมีหลายรูปแบบด้วยกันค่ะ

กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน

หมายถีง นิติกรรมการซื้อการขายหรือเป็นการให้ในที่ดินซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้
นั่นก็คือ เป็นการขายหรือให้ในบางส่วนโดยให้สังเกตดูตรงรายชื่อในหนังสือแสดงสิทธิ์ที่ดิน
ว่าจะมีชื่อเจ้าของที่ดินร่วมมากกว่า 1 คนขึ้นไป เช่น ที่ดิน 100 ไร่ มีผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันหลายคน

.

การถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน แบบต่างๆ มีแบบไหนบ้าง ?

  1. การแบ่งที่ดินในแบบรวมๆ
    ผู้ร่วมจะไม่สามารถนำที่ดินผืนดังกล่าวไปขายได้จนกว่าได้รับอนุญาติจากผู้ร่วมคนอื่นๆ
    ลักษณะการแบ่ง โดยการแบ่งชัดเจนด้วยสัดส่วนคิดเป็น %
    เช่น มีบุตร 3 คน นั่นก็คือ นางสาวเอ นายบี นายซี
    แต่ในขณะนั้น บิดายังมีชีวิตอยู่และยังไม่ได้ทำเรื่องโอนที่ดินเป็นเรื่องเป็นราว
    ดังนั้น ความต้องการที่จะให้มีการถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินถึงเกิดขึ้น
    โดยมีรูปแบบง่ายๆ นั่นก็คือ
    สมาชิกที่ต้องการจะมีกรรมสิทธิ์มาตกลงและ
    คุยกันก่อนว่ารู้สึกพอใจกับการแบ่งรูปแบบนี้หรือไม่?
    ยกตัวอย่าง ที่ดินมีพื้นที่ทั้งหมด 100 ไร่
    เราจะแบ่งกันถือครองที่ดินร่วมในแต่ละคนๆ ละกี่เปอร์เซ็นต์กันดี?
    เช่น แบ่งกันคนละ 25% เป็นต้น
  2. แบ่งด้วยการบอกขนาดการถือครอง เช่น คนละกี่ตารางวา / คนละกี่ไร่
    การให้เป็นเปอร์เซ็น บางครั้งอาจดูไม่ชัดเจนและคลุมเครือ
    หลายคนถึงเลือกที่จะแบ่งเป็นขนาดการถือครองแทน เช่น ในที่ดิน 100 ไร่ มีบุตร 4 คน
    อาจจะให้ถือครองกันคนละ 25 ไร่ เป็นต้น ซึ่งการบอกเป็นขนาดที่ดินจะค่อนข้างมีความชัดเจน
    ในระหว่างที่ยังไม่ได้มีการนำที่ดินไปขาย ผู้ครอบครองสามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินที่ตัวเองถือครองได้
    เช่น การเกษตร ปล่อยเช่าที่ดิน ทำสิ่งปลูกสร้างหรืออื่นๆ
    โดยไม่ส่งผลกระทบต่อที่ดินด้านข้างๆ ที่มีกรรมสิทธิ์ร่วม
    ซึ่งโดยปกติจะมีการคุยกันอยู่ก่อนแล้วว่าสมควรนำที่ดินร่วมแปลงนั้นไปทำอะไรบ้าง
  3. แบ่งชัดเจนด้วยขอบเขต ไม่ระบุหารตามจำนวนผู้ถือร่วม การแบ่ง คือหารเท่า ๆ กัน
    ก็นับว่าเป็นการแบ่งชัดเจนด้วยขอบเขตก็เป็นอีกหนึ่งรูปแบบในการบริหารที่ดิน
    ที่น่าสนใจพอๆ กับการแบ่งที่ดินเป็นเปอร์เซ็นหรือแบ่งตามสัดส่วน
    ซึ่งความแตกต่างในกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน มีเพียงแค่จะไม่มีการกำหนดว่า
    ใครได้พื้นที่การถือครองไปเท่าไหร่? หากเป็นการใช้ขอบเขตที่ดินทั้งหมดใน 1 แปลง
    ให้มาถือครองร่วมๆ กัน
    เช่น ที่ดิน 1 แปลงมาพร้อมสวนยางพารา ถ้าต้องการจะใช้กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน
    ก็สามารถไปดำเนินเรื่อง ณ กรมที่ดินได้โดยต้องมีโฉนดที่ดินตัวจริง
    สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และเอกสารจำเป็นอื่น ๆ ไปยื่นต่อเจ้าหน้าที่ได้

กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน มีแบบไหนบ้างนะ?

—————————————————–

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

ที่ดินตาบอด จำนอง - ขายฝาก ได้ไหม ?
11
Apr 23
ที่ดินตาบอด จำนอง – ขายฝาก ได้ไหม ?

หลายๆ ครั้ง มักจะมีเพื่อนๆ ถามเข้ามาว่า ที่ดินตาบอด สามารถนำมา จำนอง หรือ ขายฝาก ได้หรือเปล่า บางคนก็ไม่แน่ใจว่าที่ดินที่ตัวเองถือครองอยู่นั้น เป็นที่ดินตาบอดหรือไม่ ก่อนอื่นเลยอยากจะชวนเพื่อนๆ มารู้จักที่ดินตาบอดกันเสียก่อน ว่าหมายถึงที่ดินแบบไหนกัน ที่ดินตาบอด หมายถึง ที่ดินที่ถูกแปลงอื่นล้อมรอบ ทำให้ไม่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะประโยชน์ ที่เป็นทางที่ใช้สำหรับสัญจรทั้งทางบกและทางน้ำ จำเป็นต้องขอใช้ทางจากที่ดินคนอื่น โดยการขอแบ่งใช้ทางบนที่ดินคนอื่นนั้น เรามีอยู่ 2 วิธีหลักๆ คือ “ทางจำเป็น” และ “ภาระจำยอม” ทางจำเป็น ตามกฎหมายนั้น ให้สิทธิเจ้าของที่ดินในการขอ “ทางจำเป็น” จากที่ดินที่ล้อมรอบอยู่แปลงใดแปลงหนึ่ง เพื่อใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โดยจะเลือกได้เพียงทางเดียวเท่านั้น โดยผู้ที่มีสิทธิฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็น ต้องเป็น “เจ้าของที่ดิน” ซึ่งถูกปิดล้อมเท่านั้น ผู้เช่าหรือบุคคลอื่นไม่มีสิทธิ ทางภาระจำยอม หากมองด้วยตาเปล่า ก็ดูเหมือนจะคล้ายๆ กับทางจำเป็น เพราะว่าเป็นการขอใช้ทางชาวบ้านเขาเหมือนกัน แต่ ทางภาระจำยอม ก็มีข้อแตกต่างจาก ทางจำเป็น อยู่พอสมควร โดยการได้มาซึ่ง “สิทธิ” ในการใช้ท […]

อ่านเพิ่มเติม
จัดการสินสมรส ในรูปแบบอสังหา แบ่งอย่างไรให้ลงตัว
1
Dec 23
วิธีจัดการสินสมรสในรูปแบบอสังหา แบ่งอย่างไรให้ลงตัว

ปัญหาการหย่าร้างมีมากกว่าขึ้นทุกปี ซึ่งสาเหตุของการหย่าร้างมาจากทั้ง 2 ฝ่าย เกิดจากถูกกดดันจากครอบครัวและความไม่เข้าใจกัน ทำให้เกิดครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวมากขึ้น และสิ่งที่ตามมาหลังจากการหย่าร้างกันนั้นคือ “จัดการสินสมรส” ที่อาจทำให้เกิดความขัดแย้งต่อกันมากที่สุด ยิ่งสินสมรสนั้นเป็น อสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน คอนโดมิเนียม ที่ซื้อมาร่วมกันโดยไม่ใช่การรับมรดก ถือว่าเป็นทรัพย์สินที่มักมีราคาค่างวดมาก การจะทำอะไรที่เป็นการทำให้สิทธิที่มีอยู่อาจเสียไปอย่าง เช่น การขาย จะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่าย กฎหมายจึงเปิดโอกาสให้คู่สมรสสามารถตกลงวิธีการ เงื่อนไข และข้อจำกัดเกี่ยวกับสินสมรสกันๆ ได้เห็นสมควร ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476 กำหนดวิธี จัดการสินสมรส ไว้ เรื่อง คู่สมรสต้องจัดการสินสมรสร่วมกันได้ จัดการอสังหาริมทรัพย์ร่วมกัน ในส่วนของอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะบ้านหรือที่ดิน จะทำการขาย แลกเปลี่ยน ขายฝากให้เช่าชื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ต้องได้รับการยินยอมร่วมกัน ให้ผู้อื่นเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี เมื่อมีการปล่อยให้เช่าในระยะเวลาเกิน 3 ปี สามีและภรรยาต้องตกลงและทำธ […]

อ่านเพิ่มเติม
12
Jul 24
บ้านแลกเงิน VS รถแลกเงิน แบบไหนดีกว่ากัน

ในยุคเศรษฐกิจที่ผันผวน หลายคนมองหาวิธีปลดล็อกศักยภาพของสินทรัพย์ที่มีอยู่เพื่อนำมาใช้จ่ายยามจำเป็นต้องการ เงินด่วน  ” บ้านแลกเงิน ”  และ ” รถแลกเงิน ” กลายเป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยม  แต่ทางเลือกไหนดีกว่ากัน?  บทความนี้  จะพาทุกท่านมาวิเคราะห์เชิงลึก เปรียบเทียบข้อดี  ข้อเสีย  ของทั้งสองตัวเลือก  เผยให้เห็นภาพรวม  ช่วยให้คุณตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด บ้านแลกเงิน เปรียบเสมือนการปลดล็อกศักยภาพของบ้าน บ้านแลกเงินคือ สินเชื่อที่ธนาคารหรือบริษัทแหล่งเงินทุนเสนอให้กับเจ้าของบ้านหรือคอนโดที่ปลอดภาระ  โดยลูกค้าสามารถนำบ้านหรือคอนโดมาจำนองกับธนาคารเพื่อแลกกับเงินก้อนโต โดยที่ลูกค้ายังสามารถอาศัยอยู่ในบ้านหรือคอนโดนั้นต่อไปได้  เปรียบเสมือนการเปลี่ยนบ้านที่เป็นสินทรัพย์นิ่ง  กลายเป็นเงินทุนหมุนเวียน  ยามต้องการใช้จ่าย  หรือต่อยอดธุรกิจ ข้อดีของบ้านแลกเงิน: ได้วงเงินกู้มากกว่า: โดยทั่วไป บ้านแลกเงินให้วงเงินกู้สูงถึง 90% ของราคาประเมินหลักประกัน ในขณะที่รถแลกเงินให้วงเงินกู้สูงสุดประมาณ 70% ของราคาประเมินรถ ดอกเบี้ยถูกกว่า: อัตราดอกเบี้ยเงินกู้บ้านแลกเงินกับ Property4cash ต […]

อ่านเพิ่มเติม