ที่ดิน กรรมสิทธิ์รวม ซื้อขาย ขายฝากหรือจำนองได้หรือไม่?
23
Dec 23

ในการ ซื้อขายที่ดิน หรือมีการ ขายฝากจำนองที่ดิน เกิดขึ้น
หากเราเป็นเจ้าของคนเดียวก็คงไม่ยากที่จะนำที่ดินแปลงนั้นออกมาจำหน่ายหรือทำธุรกรรมได้
แต่ถ้าที่ดินนั้นเป็นมรดกตกทอดที่มีเจ้าของ 2 – 3 คนขึ้นไป
หรือเรียกได้ง่ายๆ ว่าที่ดินตรงนั้นมีเจ้าของ กรรมสิทธิ์รวม

กรรมสิทธิ์รวม คืออะไร

กรรมสิทธิ์รวมหมายถึง การที่มีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปหรือมากกว่านั้นเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกัน
โดยในโฉนดที่ดินไม่ได้ระบุว่าเจ้าของรวมคนใดเป็นเจ้าของส่วนไหนบ้าง
ตามกฎหมายแล้วสันนิษฐานว่าเจ้าของรวมแต่ละคนจะต้องมีสัดส่วนที่ดินเท่าๆ กัน
และมีสิทธิ์ในการจัดการทรัพย์สินร่วมกัน

การซื้อขาย ขายฝากหรือจำนองที่ดินกรรมสิทธิ์รวม ทำได้หรือไม่?

ถ้าเจ้าของที่ดินกรรมสิทธิ์รวม ไม่ได้มีการตกลงแบ่งสัดส่วนที่ดินอย่างชัดเจน
เมื่อมีเจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งต้องการซื้อขายหรือมีการขายฝากจำนองที่ดินเกิดขึ้น
ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทุกๆ คนก่อน ไม่เช่นนั้นจะถือว่าไม่สมบูรณ์
กลายเป็นความยุ่งยากที่ก่อให้เกิดภาระติดพันในส่วนของความเป็นเจ้าที่ดินของตนเอง

แต่หากเจ้าของที่ดินกรรมสิทธิ์รวม มีการตกลงแบ่งที่ดินเป็นสัดส่วนชัดเจนแล้ว
มีการระบุในโฉนดชัดเจนว่าที่ดินแปลงไหนบ้างมีชื่อเราเป็นเจ้าของ
ถือว่าเราเป็นเจ้าของที่ดินแปลงนั้นคนเดียวโดยสมบูรณ์
มีสิทธิ์ที่จะซื้อขายหรือขายฝากจำนองได้ในส่วนเฉพาะของตนเท่านั้น
และไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมผู้อื่นด้วย

การแบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวม แบ่งได้อย่างไร

ในการแบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวม  สามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณี

กรณีที่ 1  เจ้าของรวมที่ดิน จะต้องตกลงระหว่างกันเอง

โดยการตกลงนั้นจะต้องแบ่งตามความต้องการและได้รับความเห็นจากทุกๆ คน
เมื่อมีตกลงกันด้วยปากเปล่าแล้วว่าจะให้ใครมีสิทธิเท่าใด สัดส่วนเท่าไหร่
ให้ทุกคนที่มีกรรมสิทธิ์รวม ไปยื่นคำจดทะเบียนประเภท “บรรยายส่วน”ต่อเจ้าหน้าที่ที่ดิน
แล้วแจ้งสัดส่วนที่ต้องการให้จดระบุไว้ เจ้าหน้าที่ที่ดินก็จะแบ่งโฉนดตามสัดส่วนที่จดบันทึกข้อตกลงไว้เช่นกัน

กรณีที่ 2  เจ้าของรวมตกลงกันเองไม่ได้

หากเจ้าของที่ดินกรรมสิทธิ์รวม ตกลงกันเองไม่ได้หรือเคลียร์ความต้องการของแต่ละคนไม่ลงตัว
จะต้องนำเรื่องนี้ขึ้นศาลฟ้องร้องให้พิพากษาแบ่งที่ดินตามส่วน
ถ้ายังแบ่งตกลงกันไม่ได้อีก ศาลจะให้นำที่ดินดังกล่าวขายทอดตลาดและนำเงินมาแบ่งให้เท่าๆ กัน
ซึ่งส่วนใหญ่แล้วศาลก็จะพยายามให้เจ้าของรวมตกลงกันเองให้ได้
แต่ถ้าเจ้าของรวมมีปัญหากันจนไม่สามารถยินยอมได้
ศาลเป็นผู้ชี้ขาดตัดสินให้ตามความสมควร

อย่างไรแล้ว หากที่ดินดังกล่าว ได้มีการแบ่งสัดส่วนกันชัดเจนแล้ว
ไม่ว่าจะตกลงระหว่างกันเองหรือให้ศาลพิพากษา
ถ้าที่ดินแปลงสัดส่วนนั้นเป็นชื่อของตน
ก็สามารถ ซื้อขาย ขายฝากจำนองที่ดิน ได้อย่างสมบูรณ์
โดยไม่ต้องขอความยินยอมจากเจ้าของรวมผู้อื่น

ที่ดิน กรรมสิทธิ์รวม ซื้อขาย ขายฝากหรือจำนองได้หรือไม่?

—————————————————–

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

ทำนิติกรรมขายฝากทรัพย์ ใครเป็นคนจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียม
25
Oct 24
การทำนิติกรรม ใครเป็นคนจ่าย ค่าธรรมเนียมการขายฝาก

เมื่อคุณตัดสินใจขายฝากทรัพย์ หรือ ทำนิติกรรมขายฝาก คำถามที่หลายคนยังคงสงสัย คือ ค่าธรรมเนียมการขายฝาก ใครเป็นคนจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม? เดี๋ยววันนี้จะมาไขข้อสงสัยให้ทุกคนกันค่ะ ก่อนอื่นเลยมาทำความรู้จักกับคำว่า ขายฝาก กันก่อนค่ะ การขายฝาก คือ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ถูกกฎหมาย มีกฎหมายคุ้มครองทั้งผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝาก(นักลงทุน) โดยการขายฝาก คือ การซื้อขายทรัพย์สินอย่างหนึ่งที่กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้ซื้อฝากทันทีที่มีการทำสัญญา แต่มีเงื่อนไขตกลงว่าผู้ขายฝากสามารถไถ่ทรัพย์สินคืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดและวงเงินที่ตกลงกัน โดยจะมีค่าธรรมเนียมในการขายฝากทรัพย์ และค่านิติกรรมอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในการทำธุรกรรมนั้นๆ    ทำไมต้องจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียม:  การจ่ายค่าภาษี และ ค่าธรรมเนียมการขายฝาก ในการทำนิติกรรมขายฝากทรัพย์มีความสำคัญ ดังนี้ ปฏิบัติตามกฎหมาย การจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียมเป็นข้อบังคับตามกฎหมายที่ช่วยให้การทำธุรกรรมเป็นไปตามข้อกำหนดและถูกต้องตามหลักกฎหมาย บันทึกข้อมูลทางการ ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนช่วยให้การขายฝากทรัพย์สินถูกบันทึกในระบบทะเบียนอย่างเป็นทางก […]

อ่านเพิ่มเติม
ชวนมาอัพเดทข้อมูล ราคาที่ดิน ในกรุงเทพ
14
Nov 24
10 อันดับที่ดินทำเลทองในกรุงเทพ ฉบับอัพเดต ปี 2567

>>>เดินทางมาถึงไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 วันนี้ Property4Cash ชวนมาอัพเดทข้อมูล ราคาที่ดิน ในกรุงเทพว่า แต่ละทำเลราคาพุ่งไปถึงไหนกันแล้ว…   เป็นที่ทราบกันดีว่า… ราคาที่ดินมีการปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามกำลังซื้อของผู้บริโภค และเศรษฐกิจที่กำลังเติบโต โดยที่ดิน เป็นปัจจัยสำคัญทั้งของการก่อสร้างบ้านใหม่ คอนโด และการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ อย่างโครงการคอมมูนิตี้มอลต่างๆ เดี๋ยวเราลองมาดูว่าในช่วงที่ผ่านมา ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดอยู่ในทำเลไหนกันบ้าง?…   โดยราคาที่ดินเปล่าในกรุงเทพและปริมณฑล ช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ ดัชนีราคาที่ดินลดลง 2.4% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า แต่เพิ่มขึ้น 5.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน สะท้อนให้เห็นว่า ราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนายังคงมีการปรับตัวขึ้นในทิศทางที่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับอัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5 ปี ในช่วงก่อนโควิด-19 (ปี 2558-2562) ซึ่งมีอัตราเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 14.8% ต่อไตรมาส เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน    ปัจจัยใดบ้างที่ทำให้ที่ดินเปล่ามีอัตราชะลอตัวปรับขึ้น วันนี้เราได้รวบรวมเหตุผลมาให้แล้วค่ะ กา […]

อ่านเพิ่มเติม
16
Feb 23
ถนนหน้าบ้านเรามีเจ้าของรึเปล่านะ

ถนน ทางสัญจร ที่เราใช้สัญจร อย่างเป็นปกติตลอดการอยู่อาศัยของเรานั้น บางที่บางแห่ง แท้จริงแล้ว อาจจะไม่ใช่ถนนสาธารณะ ที่ทุกคนมีสิทธิ์ในการใช้ หรือเป็นเจ้าของร่วมกัน อย่างที่เราเข้าใจก็ได้นะ ทีนี้เราจะรู้ได้อย่างไร ทีม Landthaimart เราจะพาไปรู้จักวิธีตามหาความจริงกันค่ะ ก่อนอื่น ในบทความนี้ จะขออนุญาตแบ่งกรรมสิทธิของถนนเป็น 2 ประเภทก่อน เพื่อความเข้าใจง่ายๆ 1.ถนนสาธารณะ ชื่อก็บ่งบอกอยู่แล้ว ว่าสาธารณะ ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ มีงบประมาณของแผ่นดิน จากภาษีของประชาชนเข้ามาบำรุงดูแลรักษา ทุกคนมีสิทธิ์ใช้ ดูแล ปกป้อง ถนนสาธารณะร่วมกัน การเช็คว่าเป็นสาธารณะหรือไม่ จะกล่าวถึงละเอียดต่อไป บางครั้งเราจะเห็นป้ายหน้าปากซอย ที่เป็นงบประมาณของเขต ติดตั้งอยู่ ก็ไม่ได้แสดงว่า ถนน ซอย นี้ เป็นสาธารณะเสมอไป บางครั้ง มีไว้เพื่อเป็น landmark เพื่ออำนวยความสะดวก ต่อการเดินทาง การบอกจุดหมาย การขนส่ง เท่านั้น หากในอนาคตถนนนี้ (ส่วนบุคคล) ที่มีป้ายถนนติดชื่อยู่ มีการซื้อไปเพื่อพัฒนาเป็นโครงการอื่นๆ มีการพิสูจน์สิทธิ์แล้วว่า เป็นที่ดินส่วนบุคคลจริง ป้ายซอย หรือป้ายชื่อถนนแบบนี้ ก็สามารถที่จะถูกรื้อถอนโดยหน่วยงานท […]

อ่านเพิ่มเติม