มรดกที่ดิน คืออะไร ใครมีสิทธิรับ และ ต้องเตรียมอะไรบ้าง?
28
Jun 23

ที่ดินเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี คนรุ่นเก่าๆ จึงมักชอบซื้อที่ดินเก็บไว้หลายๆ แปลง
ไม่ว่าจะซื้อไว้ลงทุนหรือซื้อไว้เป็นที่อยู่อาศัย ที่ดินจึงเป็นมรดกอีกอย่างหนึ่งที่หลายๆ ครอบครัวส่งต่อสืบทอดกันมาแบบรุ่นสู่รุ่น
บางคนอาจจะยินดีและดีใจที่ได้รับ แต่ๆๆๆ อย่ามัวแต่ดีใจกันไปนะคะ เพราะเมื่อได้รับมรดกมาแล้ว
นั่นหมายถึงการตามมาด้วยการจัดการต่าง ๆ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย  การแบ่งมรดกที่ดินจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรพลาด
ลองมาดูกันว่า การรับ มรดกที่ดิน คืออะไร ใครมีสิทธิรับ และ ต้องเตรียมอะไรบ้าง? 

การรับ มรดกที่ดิน คือ

เมื่อผู้ที่มีชื่อในเอกสารสิทธิเกี่ยวกับที่ดิน (เช่น โฉนดที่ดิน หรือ น.ส. หรือ น.ส.3 ก. หรือ น.ส.3 ข.) ได้ถึงแก่กรรมไป
ในทางกฎหมายแล้วที่ดินเหล่านั้นก็จะถือเป็นมรดก ซึ่งจะตกทอดแก่ทายาทของผู้ตายโดยสิทธิตามกฎหมายหรือโดยพินัยกรรมที่เจ้ามรดกทำไว้

สิทธิได้รับมรดกที่ดินจะตกเป็นของใครบ้าง

ทางกฎหมายผู้ที่มีสิทธิรับมรดกที่ดินออกเป็น 2 รูปแบบ

  1. กฎหมายมรดกที่ดินกำหนดว่า ผู้ได้รับมรดกที่ดินต้องมีสิทธิตามพินัยกรรม ผู้ได้รับมรดกที่ดินโดยสิทธิตามพินัยกรรม
    หรือผู้รับพินัยกรรม คือผู้ที่เจ้าของที่ดินทำพินัยกรรมส่งต่อมรดกที่ดินนั้นโดยระบุชื่อผู้สืบทอดไว้ชัดเจนตามที่กฎหมายมรดกที่ดินกำหนด
  2. กฎหมายมรดกที่ดินกำหนดว่าผู้ได้รับแบ่งมรดกที่ดินต้องเป็นทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายหรือทายาทโดยธรรม
    เมื่อเจ้าของที่ดินไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ผู้ที่มีสิทธิในการรับมรดกที่ดินจะเป็นไปตามกฎหมายมรดกที่ดินที่มีการลำดับทายาท
    โดยสิทธิตามกฎหมายหรือทายาทโดยธรรมไว้ดังนี้
  3. ผู้สืบสันดาน (บุตร, หลาน, เหลน, ลื้อ)
  4. ภรรยาหรือสามี (ต้องจดทะเบียนสมรสกันเท่านั้น)
  5. บิดาและมารดา
  6. พี่น้องร่วมสายเลือด ทั้งบิดาและมารดาเดียวกัน
  7. พี่น้องร่วมบิดา หรือ มารดาเดียวกัน
  8. ปู่ย่า ตายาย
  9. ลุง ป้า น้า อา

หลักฐานที่ต้องเตรียมไปประกอบการขอรับมรดก

  • โฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองทำประโยชน์
  • บัตรประจำตัว
  • ทะเบียนบ้าน
  • หลักฐานการตายของเจ้ามรดก เช่น มรณบัตร
  • พินัยกรรม (ถ้ามี)
  • ถ้าผู้ขอ ขอรับมรดกในฐานะเป็นคู่สมรส ต้องมีหลักฐานการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย
  • ถ้าผู้ขอรับมรดกเป็นบิดาเจ้ามรดก ต้องมีทะเบียนสมรสกับมารดาของเจ้ามรดกหรือหลักฐานการรับรองบุตร
  • กรณีบุตรบุญธรรมเป็นผู้ขอรับมรดก ต้องแสดงหลักฐานการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
  • ถ้ามีกรณีพิพาทเกี่ยวกับมรดก ต้องนำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือคำพิพากษาอันถึงที่สุดไปแสดง
  • ถ้ามีผู้มีสิทธิรับมรดกร่วมกันหลายคน บางคนได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว ต้องมีหลักฐานการตายของทายาทนั้น ๆ

 

ซึ่งการโอนสิทธิตรงนี้จะเสียเพียงแค่ค่าธรรมเนียมการโอนเท่านั้น

ยกเว้น มรดกที่ได้มาจะมีมูลค่าเกิน 100 ล้านบาท จะต้องมีการเสียภาษีมรดกเพิ่มด้วย

โดยจะเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เกินจาก 100 ล้านบาทเท่านั้น โดยจะแบ่งอัตราค่าเก็บภาษีมรดกเป็น

– ผู้รับมรดกเป็นคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการรับมรดก

– ผู้รับมรดกเป็นบุพการีหรือผู้สืบสายเลือด จะเสียภาษีที่อัตราคงที่ 5%

– ญาติพี่น้องหรือบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องทางสายเลือด จะเสียภาษีที่อัตราคงที่ 10%

 

ขั้นตอนการคำนวณภาษีมรดก

ขั้นที่ 1 มูลค่ามรดกสุทธิ – 100 ล้านบาท* = มูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษี

ขั้นที่ 2 มูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษี x อัตราภาษีมรดก = ภาษีมรดก

 

ตัวอย่าง นาย A เป็นลูกชายของเจ้าของมรดกได้รับมรดกเป็นที่ดินมูลค่าสุทธิ 150 ล้านบาท โดยที่เจ้าของมรดกไม่มีหนี้สินใด ๆ

จะมีการคำนวณดังนี้ 150,000,000 – 100,000,000 = 50,000,000 บาท

เท่ากับ 50,000,000 x 5% = 2,500,000 บาท

นาย A จะต้องเสียภาษีมรดกทั้งหมด 2,500,000 บาท

และในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน หากนาย A จะเสียค่าธรรมเนียมการโอนอยู่ที่ 0.5% เนื่องจากเป็นผู้สืบสายเลือดโดยตรง

จะเสียค่าธรรมเนียมการโอนที่อัตราคงที่ 0.5% ดังนั้นจะเสียค่าธรรมเนียมดังนี้

ดังนั้น หากราคาประเมินอยู่ที่ 150,000,000 บาท จะเสียค่าธรรมเนียมดังนี้

150,000,000 x 0.5% = 750,000 บาท

สรุปภาษีและค่าธรรมเนียมที่นาย A จะต้องชำระคือ 2,500,000 + 750,000 = 3,250,000 บาท

เป็นยังไงกันบ้างคะ กับการรับมรดกที่ดิน หวังว่าเพื่อน ๆ จะทำทำความเข้าใจในเรื่องกฎหมายการรับมรดกที่ดิน
ช่วยให้เราสามารถเตรียมความพร้อมในการรักษาสิทฺธิให้ตัวเพื่อน ๆ หรือคนในครอบครัว
จะได้ดำเนินการถูกต้องและไม่เกิดปัญหาในการดำเนินธุรกรรม

มรดกที่ดิน คืออะไร ใครมีสิทธิรับ และ ต้องเตรียมอะไรบ้าง?

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

ข้อควรรู้สำหรับการซื้อ บ้านหลังแรก
31
May 23
ข้อควรรู้สำหรับการซื้อบ้านหลังแรก

การมีบ้านสักหลังถือเป็นความใฝ่ฝันของเพื่อนหลายๆ คน แต่ก็อย่างที่รู้ว่าไม่ใช่อยากได้ก็ซื้อก็ซื้อได้ทันที เพราะบ้านแต่ละหลังเวลาผ่อนกันทีก็ระยะยาวไม่ต่ำกว่า 5-10 ปี ดังนั้นหากคุณกำลังวางแผนจะ “ซื้อ บ้านหลังแรก ” นี่จึงเป็นสิ่งที่ควรรู้เอาไว้ เพื่อให้สามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้น และสำคัญมากกว่านั้นพอเข้าอยู่อาศัยจริงแล้วไม่รู้สึกผิดหวังอีกด้วย วันนี้เราจะไปหาคำตอบกับ ข้อควรรู้สำหรับการซื้อ บ้านหลังแรก และคอนโดหลังแรก จะ “ซื้อบ้านหลังแรก” มีอะไรต้องรู้บ้าง ? 1.ลักษณะบ้านที่ตอบโจทย์ – บ้านเดี่ยว มีลักษณะเป็นหลังเดียว มีรั้วกั้นระหว่างเพื่อนบ้าน มีพื้นที่ใช้สอย ได้ความสงบ เป็นส่วนตัว แต่มีราคาสูง – บ้านแฝด จะคล้ายกับบ้านเดี่ยวแต่มีบางส่วนของบ้านฝั่งหนึ่งชิดกับเพื่อนบ้านและใช้งานร่วมกัน เช่น หลังคาโรงรถ ผนังห้องครัว ลักษณะบ้านจึงถูกออกแบบเป็นคู่ มีพื้นที่ใช้สอยในระดับหนึ่ง แต่ความเป็นส่วนตัวน้อยลง ราคาถูกกว่าบ้านเดี่ยว – ทาวน์โฮม / ทาวน์เฮาส์ บ้านลักษณะนี้จะมีผนัง 2 ฝั่งชิดกับเพื่อนบ้าน พื้นที่ใช้สอยจึงมีจำกัด แต่ราคาจะถูกกว่าบ้านเดี่ยวและบ้านแฝดพอสมควร – อาคารพาณิชย์ หรื […]

อ่านเพิ่มเติม
ใครอยากเศรษฐี ฉันหน่ะสิ ฉันหน่ะสิ! แล้วต้องลงทุนในสินทรัพย์อะไรบ้างนะ?
25
Feb 25
ใครอยากเศรษฐี ฉันหน่ะสิ ฉันหน่ะสิ! แล้วต้องลงทุนในสินทรัพย์อะไรบ้างนะ?

ใครอยากเป็นเศรษฐี ฉันหน่ะสิ ฉันหน่ะสิ! แล้ว… เศรษฐีลงทุนในสินทรัพย์อะไร?    เคยสงสัยไหมว่า… มหาเศรษฐีที่รวยอันดับต้นๆ ของโลก จากการจัดการการเงิน โดยเฉพาะเรื่องการลงทุนของพวกเขาอย่างไร? ข้อมูลนี้ Property4Cash ไปหยิบยกมาจาก Knight Frank ที่เผยแพร่รายงาน Wealth Report ประจำปี 2023 เกี่ยวกับการเงินของบุคคลที่มีความมั่งคั่งสุทธิสูงพิเศษ (UHNWIs) ซึ่งมีความมั่งคั่งรวมกันกว่า 2.5 ล้านล้านดอลลาร์    และวิธีที่คนรวยที่สุดในโลก เก็บเงินสะสมความมั่งคั่งของพวกเขา โดยสินทรัพย์แต่ละประเภทคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เฉลี่ยของพอร์ตโฟลิโอ (ยอดรวมจะมากกว่า 100% จากการปัดเศษตามรายงานของ Knight Frank)   อันดับที่ 1 คือ หุ้น เศรษฐี ลงในหุ้นสูงถึง 26% บุคคลที่มั่งคั่งที่สุดในโลก ลงทุนในตราสารทุน หรือหุ้นเฉลี่ย 26% ของพอร์จโฟลิโอของพวกเขา โดยในอเมริกา สัดส่วนดังกล่าวสูงถึง 1 ใน 3 ของพอร์ตการลงทุนเฉลี่ย และจากข้อมูลรายงานประจำปี 2022 Berkshire Hathaway ของ Warren Buffett ใช้เงินซื้อหุ้นถึง 6.8 หมื่นล้านเหรียญ   อันดับที่ 2 คือ อสังหาริมทรัพย์ เพื่อการพาณิชย์ คิดเฉลี่ยได้ที่ 34%  โดย 21% เป็นการลงทุ […]

อ่านเพิ่มเติม
ทำนิติกรรมขายฝากทรัพย์ ใครเป็นคนจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียม
25
Oct 24
การทำนิติกรรม ใครเป็นคนจ่าย ค่าธรรมเนียมการขายฝาก

เมื่อคุณตัดสินใจขายฝากทรัพย์ หรือ ทำนิติกรรมขายฝาก คำถามที่หลายคนยังคงสงสัย คือ ค่าธรรมเนียมการขายฝาก ใครเป็นคนจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม? เดี๋ยววันนี้จะมาไขข้อสงสัยให้ทุกคนกันค่ะ ก่อนอื่นเลยมาทำความรู้จักกับคำว่า ขายฝาก กันก่อนค่ะ การขายฝาก คือ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ถูกกฎหมาย มีกฎหมายคุ้มครองทั้งผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝาก(นักลงทุน) โดยการขายฝาก คือ การซื้อขายทรัพย์สินอย่างหนึ่งที่กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้ซื้อฝากทันทีที่มีการทำสัญญา แต่มีเงื่อนไขตกลงว่าผู้ขายฝากสามารถไถ่ทรัพย์สินคืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดและวงเงินที่ตกลงกัน โดยจะมีค่าธรรมเนียมในการขายฝากทรัพย์ และค่านิติกรรมอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในการทำธุรกรรมนั้นๆ    ทำไมต้องจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียม:  การจ่ายค่าภาษี และ ค่าธรรมเนียมการขายฝาก ในการทำนิติกรรมขายฝากทรัพย์มีความสำคัญ ดังนี้ ปฏิบัติตามกฎหมาย การจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียมเป็นข้อบังคับตามกฎหมายที่ช่วยให้การทำธุรกรรมเป็นไปตามข้อกำหนดและถูกต้องตามหลักกฎหมาย บันทึกข้อมูลทางการ ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนช่วยให้การขายฝากทรัพย์สินถูกบันทึกในระบบทะเบียนอย่างเป็นทางก […]

อ่านเพิ่มเติม