5 พฤติกรรมต้องห้ามใน การลงทุนอสังหา ไม่อยากขาดทุนห้ามทำ!!
4
Nov 23

การลงทุนอสังหา ที่หลายคนเห็นว่าได้กำไรดี
บางคนรีบลงทุนก่อนได้ศึกษาข้อมูลให้ละเอียด
เพราะหวังว่า จะสามารถกอบโกยกำไรได้อย่างงาม
อย่างไรก็ตามเราก็ไม่ควรชะล่าใจเห็นแก่ของถูกเพียงอย่างเดียว
เรามาดูกันว่าเราเราจะต้องระวังในเรื่องไหนบ้าง
เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดหรือขาดทุน ก่อนการ การลงทุนอสังหา

#จองตามกระแส คอนโดไหนฮอต คนเยอะเราต้องไม่พลาด
ปกติแล้วในวัน Presale ของโครงการวันแรกจะมีเหล่าผู้ซื้อและนักลงทุนมาต่อคิวกันมากมาย
บางโครงการที่ฮอตจริงๆ มีคนมาต่อคิวกันตั้งแต่เช้าตรู่
หากเราทำตัวตามกระแสรีบจับจองโดยยังไม่ได้ศึกษาข้อมูลมาก่อน
อาจทำให้วันนึงเราจะต้องยอมขายขาดทุน  เมื่อโครงการไม่ได้เป็นที่ต้องการหรือ
ตรงกับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมายมากนัก

#ไม่ศึกษาทำเลให้ดี
บางคอนโดมีทำเลใกล้รถไฟฟ้าก็จริง แต่รอบข้างกลับไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกเลย
ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล โรงเรียน ร้านอาหาร ร้านค้า ฯลฯ
ยิ่งไปกว่านั้นบางโครงการกลับแวดล้อมไปด้วยสิ่งแวดล้อมที่เป็นมลพิษ
ทั้งมลพิษทางอากาศ เสียง หรือแม้กระทั่งกลิ่น

#ไม่ประมาณตนเอง รีบตัดสินใจไม่ดูเครดิต
ความสามารถในการกู้ของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันตามฐานะทางการเงิน และเครดิต
การเลือกโครงการในการลงทุนเราจะต้องเลือกตามความสามารถในการกู้และผ่อนของเรา
แม้ว่าตั้งใจจะปล่อยเช่า แต่ก็ต้องมีกระแสเงินสดสำรองในภาวะที่ห้องไม่มีผู้เช่าเช่นกัน
เพราะหากเราเลือกโครงการที่ดี แต่ราคาแพงถึงเวลากู้ไม่ผ่าน หรือผ่อนไม่ไหว
ก็จะต้องเจอกับภาวะหนี้สินล้นตัว หรือโดนยึดเงินดาวน์

#ไม่ศึกษา Developer เจ้าของโครงการ
ในปัจจุบันตลาดคอนโดของเรามี developer เจ้าเล็กใหญ่ หน้าใหม่หน้าเก่าเต็มไปหมด
แม้ว่าชื่อเสียงอย่างเดียวจะไม่สามารถการันตีคุณภาพของโครงการได้
แต่การซื้อคอนโดกับ Developer เจ้าใหญ่และมีเชื่อเสียงก็จะมีข้อได้เปรียบมากกว่า
เพราะมีเครดิตมากกว่า ขายต่อง่ายกว่า ได้ราคาดีกว่า ฯลฯ
อย่างไรก็ตามการศึกษาเครดิตของ Developer และโครงการก็ยังเป็นสิ่งสำคัญ
เพื่อเป็นส่วนช่วยในการตัดสินใจไม่ให้เกิดการตัดสินผิดพลาดในอนาคต

#เลือกซื้อคอนโดตามกระแส Social ใครว่าดีเราก็ว่าดี
ในปัจจุบันโครงการต่างๆ มักจะใช้ Influencer เป็นส่วนช่วยในการทำการตลาด
จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่จะเลือกเชื่อข้อมูลจาก Influencer มากกว่าตัวโครงการ
ทั้งเว็บไซต์ดัง คนดังในวงการ บล็อคเกอร์ แม้ว่าข้อมูลของกลุ่มคนเหล่านี้จะมีความน่าเชื่อถือ
และน่าสนใจแต่เราก็ควรศึกษาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ
พร้อมทั้งกระแสจาก Real Customers ประกอบการตัดสินใจด้วย

 

.

 

เลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยงนะคะกับพฤติกรรมอันตรายเหล่านี้
ด้วยอสังหาริมทรัพย์ เป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงและสามารถทำกำไรได้สูง
แต่ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน การศึกษาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ
อย่างครอบคลุมและวิเคราะห์ก่อนการลงทุนจึงเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอย่างยิ่งไม่เช่นนั้นอาจขาดทุนกันได้

5 พฤติกรรมต้องห้ามใน การลงทุนอสังหา ไม่อยากขาดทุนห้ามทำ!!

—————————————————–

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน กับ เจ้าของบ้าน แตกต่างกันอย่างไร?
24
Oct 23
เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน กับ เจ้าของบ้าน แตกต่างกันอย่างไร?

หลายท่านคงสงสัย? ว่าเจ้าบ้านคือใคร!! หรือบางท่านอาจจะคิดไปถึงผีบ้านผีเรือน แต่ที่จริงแล้วตามหลักกฎหมาย ว่าด้วยเรื่องการดูแลบ้าน บ้านทุกหลังต้องมี เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน เพื่อระบุว่าบุคคลที่เป็นเจ้าบ้านนั้น ผู้เป็นหัวหน้าซึ่งครอบครองบ้าน ในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือในฐานะอื่น เช่น ผู้ดูแลบ้าน แล้วแตกต่างยังไงกับเจ้าของบ้านละ วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยกันค่ะก่อนอื่นเรามาดูความหมายของทั้งสองคำนี้กันก่อนเลยค่ะ เจ้าบ้าน หมายถึง ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะที่เป็นเจ้าของ ผู้เช่า และอื่นๆ โดยหากในทะเบียนบ้านไม่มีชื่อเจ้าบ้าน หรือผู้ที่ถูกแต่งตั้งเป็นเจ้าบ้าน เกิดเสียชีวิต ผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านสามารถมาเป็นเจ้าบ้านแทนได้ เจ้าของบ้าน หมายถึง เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อในโฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย มีสิทธิใช้สอย หวงกัน ติดตามเอาทรัพย์คืน. ใช้ยันต่อบุคคลทั่วไป มีกฎหมายรองรับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 โดยจากความหมายด้านบน เจ้าบ้านหรือเจ้าของบ้าน อาจจะเป็นคนเดียวกัน หรือ ไม่ใช่คนเดียวกันก็ได้ค่ะ หน้าที่เจ้าบ้าน VS เจ้าของบ้าน เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน มีหน้าที่ตาม พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร […]

อ่านเพิ่มเติม
ทำนิติกรรมขายฝากทรัพย์ ใครเป็นคนจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียม
25
Oct 24
การทำนิติกรรม ใครเป็นคนจ่าย ค่าธรรมเนียมการขายฝาก

เมื่อคุณตัดสินใจขายฝากทรัพย์ หรือ ทำนิติกรรมขายฝาก คำถามที่หลายคนยังคงสงสัย คือ ค่าธรรมเนียมการขายฝาก ใครเป็นคนจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม? เดี๋ยววันนี้จะมาไขข้อสงสัยให้ทุกคนกันค่ะ ก่อนอื่นเลยมาทำความรู้จักกับคำว่า ขายฝาก กันก่อนค่ะ การขายฝาก คือ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ถูกกฎหมาย มีกฎหมายคุ้มครองทั้งผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝาก(นักลงทุน) โดยการขายฝาก คือ การซื้อขายทรัพย์สินอย่างหนึ่งที่กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้ซื้อฝากทันทีที่มีการทำสัญญา แต่มีเงื่อนไขตกลงว่าผู้ขายฝากสามารถไถ่ทรัพย์สินคืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดและวงเงินที่ตกลงกัน โดยจะมีค่าธรรมเนียมในการขายฝากทรัพย์ และค่านิติกรรมอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในการทำธุรกรรมนั้นๆ    ทำไมต้องจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียม:  การจ่ายค่าภาษี และ ค่าธรรมเนียมการขายฝาก ในการทำนิติกรรมขายฝากทรัพย์มีความสำคัญ ดังนี้ ปฏิบัติตามกฎหมาย การจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียมเป็นข้อบังคับตามกฎหมายที่ช่วยให้การทำธุรกรรมเป็นไปตามข้อกำหนดและถูกต้องตามหลักกฎหมาย บันทึกข้อมูลทางการ ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนช่วยให้การขายฝากทรัพย์สินถูกบันทึกในระบบทะเบียนอย่างเป็นทางก […]

อ่านเพิ่มเติม
EIA คืออะไร อนุมัติแล้วยกเลิกได้ไหม?
21
Jun 23
EIA คืออะไร อนุมัติแล้วยกเลิกได้ไหม?

หลายๆ คนอาจจะสงสัยว่าสัญลักษณ์หรือคำว่า “EIA Approved” บนป้ายโฆษณาคอนโดคืออะไร สำคัญยังไงเวลาเราจะเลือกซื้อคอนโด ซึ่งหากคุณเตรียมจะหาซื้อบ้านสักหลัง คอนโดมิเนียมสักห้อง ก็ควรจะให้ความสำคัญกับ EIA ไว้สักหน่อย วันนี้เราลองมาทำความเข้าใจเรื่องของEIA กับโครงการที่อยู่อาศัยว่าจะมีบทบาทและความสำคัญยังไงกันค่ะ EIA ย่อมาจาก Environmental Impact Assessment Report หรือการทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่จะเกิดขึ้นเวลาที่มี Developer ตั้งใจจะสร้างโครงการขึ้นมาสักโครงการหนึ่ง ว่าโครงการนั้นจะกระทบกับชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนที่อยู่รอบ ๆ โครงการไหม จะทำให้วิถีชีวิตของคนในชุมชน รวมถึงผู้คนที่ต้องใช้อาคารข้างเคียง ดีขึ้นหรือแย่ลงยังไง ทั้งในระหว่างทำการก่อสร้างและหลังจากการก่อสร้างเสร็จสิ้น ซึ่งรายงานวิเคราะห์ผลกระทบ หรือEIA จะดูทั้งหมด 4 ด้าน คือ – ทรัพยากรกายภาพ เป็นการศึกษาถึงผลกระทบ เช่น ดิน น้ำ อากาศ เสียง ว่าจะมี การเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง – ทรัพยากรชีวภาพ การศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ที่มีต่อระบบนิเวศน์ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า สัตว์น้ำ ปะการัง เป็นต้น – คุณค่าการ […]

อ่านเพิ่มเติม