ถมดิน เพิ่มราคาซื้อขายให้แพงขึ้นได้จริงหรือ?
4
Jan 24

หลายคนที่เป็นเจ้าของที่ดิน หรือนักลงทุนอสังหาริมทรัพย์
มักจะประสบปัญหาที่ดินบางแปลงอยู่ต่ำกว่าระดับถนนมาก
บางพื้นที่อาจจะเป็นป่ารกทึบ บางพื้นที่อาจจะเคยเป็นพื้นที่รองรับน้ำมาก่อน
จึงมักเกิดน้ำท่วมขังทุกครั้งเมื่อฝนตก ทำให้ที่ดินแปลงนั้นไม่ค่อยมีคนสนใจอยากจะซื้อเท่าไหร่นัก
ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะแก้ได้ด้วยการ ถมดิน ถือว่าเป็นวิธีการง่ายที่สุดในการเพิ่มมูลค่าที่ดินของเราได้

การ ถมดิน ช่วยเพิ่มมูลค่าที่ดินได้อย่างไร?

การถมดิน เป็นการปรับพื้นที่ให้พร้อมสำหรับการพัฒนาให้ดีขึ้น
ตรงไหนต่ำไปหรือสูงไปก็ต้องปรับให้เหมาะสมพร้อมที่จะพัฒนาในลำดับต่อไป
นอกจากนี้ยังช่วยให้ที่ดินแปลงนั้น สามารถ ซื้อขาย ได้ง่ายมากกว่าที่ดินที่ยังไม่ได้ถมอีก

เมื่อมีการถมดิน แล้ว จะยังไม่สามารถเริ่มก่อสร้างได้ทันที
ต้องรอดินเซตตัวก่อนเป็นเวลาประมาณ 1 ปี
หากเราก่อสร้างโดยไม่รอให้ดินเข้าที่อาจจะเกิดปัญหาบ้านทรุดลงได้
ดังนั้น การถมดิน จึงมีไว้สำหรับพร้อม ซื้อขาย เท่านั้น
ซึ่งการถมดิน จะทำให้เรารู้ทันทีเลยว่าที่ดินแปลงนี้สวยหรือไม่ รกไปไหม
เพราะในเรื่องความสวยงามของที่ดินนั้นก็เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจของผู้ซื้อขายด้วย

ก่อนถมดิน ต้องแจ้งหน่วยงานไหนบ้าง?

หากจะมีการถมดินในที่ดินมีขนาดตั้งแต่ 1 ไร่ 1 งาน หรือ 2,000 ตร.ม. ขึ้นไป
และเป็นที่ที่ถมให้สูงกว่าที่ดินด้านข้าง เมื่อวัดจากด้านที่มีพื้นที่ต่ำสุด
จะต้องมีการขออนุญาตจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้แก่ อบต. เทศบาล เขต หรือพื้นที่ใด ๆ ที่มีการควบคุม
ซึ่งเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานก็จะเข้ามาดูแลร่วมกับเจ้าของด้วย
เพราะการถมที่ดินอาจปิดทางน้ำไหลหรือทำให้ระบบนิเวศใกล้เคียงเปลี่ยนแปลงไปได้
เจ้าของที่ดิน จึงต้องทำรางระบายน้ำตามที่เจ้าหน้าที่กำหนด

ต้องถมดิน ในระดับไหนถึงจะพอดี

ก่อนเริ่มถมดิน ต้องมีกำหนดความสูงที่ต้องการจะถม
ส่วนใหญ่จะถมดิน ให้สูงกว่าถนนประมาณ 50-80 เซนติเมตร
หรือบางพื้นที่อาจถมสูง 1 เมตร เผื่อมีการยุบตัวของที่ดินในอนาคตด้วย
และควรสำรวจพื้นที่รอบๆ บริเวณใกล้เคียงด้วยว่าเขาถมดินไว้ในระดับความสูงเท่าไหร่
เราก็ควรจะถมดินให้สูงเท่ากับพื้นที่ข้างเคียงที่สุด หรือสูงกว่าเล็กน้อยเท่านั้น

การถมดิน แต่ละแปลง จะมีค่าใช้จ่ายในการถมด้วย
โดยปกติราคาเฉลี่ยสำหรับการถมดิน 1 คิว
จะอยู่ที่ประมาณ 280 บาทต่อพื้นที่หน้างาน 100 ตารางวา
หากต้องการถมดินด้วยความสูง 1 เมตร รวมปริมาณดินที่ใช้ พร้อมค่าบดอัดด้วย
จะใช้ดินอยู่ 480 คิว รวมทั้งหมดแล้ว ต้นทุนค่าถมดินคราวๆ จะอยู่ที่ประมาณ 120,000 – 140,000 บาท
หรือราคาอาจมากกว่านั้นขึ้นอยู่ปัจจัยอื่นๆ ด้วย เช่น ขนาดพื้นที่ สภาพดิน เป็นต้น

ถึงแม้ว่าการถมดิน จะมีต้นทุนในการถมค่อนข้างสูง
แต่กลับกลายว่า เป็นการเพิ่มโอกาสและเพิ่มราคาในที่ดินแปลงนั้นให้สูงขึ้น
เนื่องจาการเป็นการปรับพื้นที่ดินที่ไม่ได้มีคุณสมบัติ
ตรงตามลิสต์ของผู้ซื้อที่กำลังมองหาที่ดินสักแปลง
เพื่อนำไปต่อยอดการลงทุนหรือสร้างที่อยู่อาศัย
ดังนั้นการ ถมดิน จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อขายเป็นอย่างมาก

ถมดิน เพิ่มราคาซื้อขายให้แพงขึ้นได้จริงหรือ?

—————————————————–

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

 

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

13
Sep 24
10 คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการขายฝาก

ขายฝากคืออะไร? คำตอบ: ขายฝากคือข้อตกลงทางการเงินที่เจ้าของทรัพย์สิน (ผู้ขายฝาก) นำทรัพย์สินของตนไปขายให้กับอีกฝ่าย (ผู้ซื้อฝาก) แต่ยังคงสิทธิบางประการในการใช้หรือครอบครองทรัพย์สินนั้น โดยผู้ขายฝากจะมีสิทธิเก็บคืนทรัพย์สินหลังจากชำระเงินตามที่ตกลงกันไว้ในระยะเวลาที่กำหนด   ข้อแตกต่างระหว่างขายฝากและการจำนองคืออะไร? คำตอบ: การขายฝากและการจำนำทั้งสองเป็นวิธีการที่ใช้ทรัพย์สินเป็นหลักประกัน แต่มีความแตกต่างที่สำคัญ: ขายฝาก: ผู้ขายฝากโอนกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สินให้กับผู้ซื้อฝาก แต่สามารถซื้อคืนได้ตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ การจำนอง: ผู้จำนองส่งมอบทรัพย์สินให้กับผู้รับจำนองเพื่อเป็นหลักประกัน แต่ยังคงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น และสามารถนำทรัพย์สินนั้นคืนได้เมื่อชำระหนี้ครบถ้วน   การขายฝากมีข้อดีข้อเสียอย่างไร? คำตอบ: ข้อดี: สามารถใช้ทรัพย์สินที่มีค่าเพื่อรับเงินทุนโดยไม่ต้องขายทรัพย์สินออกไป มีโอกาสซื้อคืนทรัพย์สินในอนาคตตามเงื่อนไขที่ตกลง ข้อเสีย: ผู้ขายฝากอาจสูญเสียทรัพย์สินหากไม่สามารถซื้อคืนได้ตามกำหนด มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการจัดการเอกสารและค่าธรรมเนียม ขั้นตอนในการขายฝากเป็นอย่างไ […]

อ่านเพิ่มเติม
ที่ดิน กรรมสิทธิ์รวม ซื้อขาย ขายฝากหรือจำนองได้หรือไม่?
23
Dec 23
ที่ดิน กรรมสิทธิ์รวม ซื้อขาย ขายฝากหรือจำนองได้หรือไม่?

ในการ ซื้อขายที่ดิน หรือมีการ ขายฝากจำนองที่ดิน เกิดขึ้น หากเราเป็นเจ้าของคนเดียวก็คงไม่ยากที่จะนำที่ดินแปลงนั้นออกมาจำหน่ายหรือทำธุรกรรมได้ แต่ถ้าที่ดินนั้นเป็นมรดกตกทอดที่มีเจ้าของ 2 – 3 คนขึ้นไป หรือเรียกได้ง่ายๆ ว่าที่ดินตรงนั้นมีเจ้าของ กรรมสิทธิ์รวม กรรมสิทธิ์รวม คืออะไร กรรมสิทธิ์รวมหมายถึง การที่มีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปหรือมากกว่านั้นเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกัน โดยในโฉนดที่ดินไม่ได้ระบุว่าเจ้าของรวมคนใดเป็นเจ้าของส่วนไหนบ้าง ตามกฎหมายแล้วสันนิษฐานว่าเจ้าของรวมแต่ละคนจะต้องมีสัดส่วนที่ดินเท่าๆ กัน และมีสิทธิ์ในการจัดการทรัพย์สินร่วมกัน การซื้อขาย ขายฝากหรือจำนองที่ดินกรรมสิทธิ์รวม ทำได้หรือไม่? ถ้าเจ้าของที่ดินกรรมสิทธิ์รวม ไม่ได้มีการตกลงแบ่งสัดส่วนที่ดินอย่างชัดเจน เมื่อมีเจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งต้องการซื้อขายหรือมีการขายฝากจำนองที่ดินเกิดขึ้น ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทุกๆ คนก่อน ไม่เช่นนั้นจะถือว่าไม่สมบูรณ์ กลายเป็นความยุ่งยากที่ก่อให้เกิดภาระติดพันในส่วนของความเป็นเจ้าที่ดินของตนเอง แต่หากเจ้าของที่ดินกรรมสิทธิ์รวม มีการตกลงแบ่งที่ดินเป็นสัดส่วนชัดเจนแล้ว มีการระบุในโฉนด […]

อ่านเพิ่มเติม
3 วิธี กู้ร่วม ซื้ออสังหาฯ แบบง่ายๆ ของชาว LGBTQ
15
Jun 23
3 วิธีกู้ร่วมซื้ออสังหาฯ แบบง่ายๆ ของชาว LGBTQ

ถึงแม้ว่าทางเลือกในการมีบ้านสักหลังของคู่รัก LGBTQ จะยังมีไม่มากนัก โดยเฉพาะการกู้ร่วมซื้อบ้าน แต่ใช่ว่าจะไม่มีทางเลือกเลยเพราะปัจจุบัน มีหลายธนาคารที่เปิดโอกาสให้กลุ่ม LGBTQ กู้ร่วม ซื้อบ้านได้ ลองมาดูรายละเอียดว่าคู่รัก LGBTQ จะต้องทำอย่างไรถึงกู้ร่วมซื้อบ้านได้ #เช็คธนาคารอนุมัติสินเชื่อบ้าน กรณีกู้ร่วมเพศเดียวกัน ปัจจุบันกลุ่ม LGTBQ ถือเป็นผู้บริโภคที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงมีหลายธนาคารที่สามารถอนุมัติการ กู้ร่วม ของคนกลุ่มนี้ได้ นั่นคือ – ธนาคารกสิกร – ธนาคารออมสิน – ธนาคารธนชาติ – ธนาคารยูโอบี – ธนาคารกรุงเทพ – ธนาคารทหารไทย – ธนาคารไทยพาณิชย์ – ธนาคารกรุงศรีฯ – ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด โดยแต่ละธนาคารจะมีเงื่อนไขแตกต่างกันไป แต่คุณสมบัติพื้นฐานของที่ผู้ยื่นกู้ร่วมที่เหมือนกันมีดังนี้ – ผู้กู้เป็นบุคคลธรรมดา สัญชาติไทย – ผู้กู้อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 65 ปี – ไม่เคยเป็นลูกหนี้ปรับโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน – หลักฐานว่าคู่ของเราอยู่ร่วมกันจริง เช่น บัญชีเงินฝากที่เปิดร่วมกัน #ตรวจเอกส […]

อ่านเพิ่มเติม