ถึงเวลาไถ่ถอนแต่ยังไม่พร้อม ขยายสัญญาขายฝาก ได้ไหม ?
9
Aug 23

อย่างที่เพื่อนๆ รู้กันว่าการ ขายฝาก คือ การนำทรัพย์หรืออสังหาไปขายให้กับผู้รับซื้อทรัพย์
โดยกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์นั้นจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันที
แต่ผู้ขายฝากยังสามารถซื้อทรัพย์สินของตนเองคืนได้ตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา
แต่สิ่งที่พบเจอได้บ่อยครั้ง คือเมื่อพอถึงเวลาไถ่ถอนแล้วแต่ผู้ขายฝากยังไม่พร้อมที่จะนำเงินมาไถ่ถอน
แล้วทีนี้เราควรจะทำอย่างไรต่อดี จะ ขยายสัญญาขายฝาก ได้ไหม ? วันนี้เราจะพาไปหาคำตอบกัน

เงื่อนไข เกี่ยวกับการขายฝาก

  1. กำหนดเวลาไถ่ ห้ามต่ำกว่า 1 ปี หรือ เกิน 10 ปี

ขายฝากจะกำหนดเวลาไถ่ถอนห้ามต่ำกว่า 1 ปีหรือไม่เกิน 10 ปี
ทั้งนี้เพื่อป้องกันผู้ซื้อฝากกำหนดเวลาไถ่คืนทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นระยะเวลาสั้น
จนทำให้ผู้ขายฝากไม่สามารถไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากได้ทันกำหนดเวลาไถ่
และเพื่อป้องกันผู้ซื้อฝากกำหนดเวลาไถ่คืนทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเกิน 10 ปี

  1. เมื่อรวมดอกเบี้ย ต้องไม่เกิน 15% ต่อปี

ยอดเงินที่ต้องมาชำระคืนแก่ทุนเพื่อไถ่ทรัพย์สิน
โดยจำนวนสินไถ่จะกำหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากก็ได้
แต่เมื่อคำนวณเป็นดอกเบี้ยแล้ว ต้องไม่เกิน 15% ต่อปี

3.ทรัพย์สินที่ขายฝากเจ้าของยังใช้งานได้ปกติ

ผู้ขายฝากมีสิทธิและสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งอยู่อาศัยหรือประกอบกิจการต่างๆ
ในระหว่างขายฝาก ไปจนถึงวันที่หมดสิทธิในการไถ่ ตามที่ตกลงกันในสัญญาขายฝาก

ถึงเวลาไถ่ถอนแต่ยังไม่พร้อม จะขยายสัญญาขายฝากได้ไหม ?

ถ้าตามกฎหมาย มาตรา 494 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โดยบอกว่า ท่านห้ามมิให้ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝากเมื่อพ้นเวลาดังจะกล่าวต่อไปนี้

  1. ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ กำหนดสิบปีนับแต่เวลาซื้อขาย
  2. ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ กำหนดสามปีนับแต่เวลาซื้อขาย

จึงสามารถทำสัญญาขยายกำหนดเวลาไถ่ได้ ตามมาตรา 496 ของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การขยายกำหนดเวลาไถ่ถอนควรต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับไถ่
ถ้าเป็นทรัพย์สินซึ่งการซื้อขายกันจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ห้ามมิให้ยกการขยายเวลาขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต
และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว เว้นแต่จะได้นำหนังสือหรือหลักฐานเป็นหนังสือดังกล่าวไปจดทะเบียนหรือจดแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

 

โดยสรุปแบบเข้าใจง่ายๆ ก็คือ สามารถ ขยายสัญญาขายฝาก ได้  แต่ก็ต้องไม่เกินระยะเวลา 10 ปี
ตามที่มาครา 494 ได้กำหนดไว้ โดยทุกขั้นตอนในการขยายระยะเวลาในการไถ่สินทรัพย์นั้น
จะต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงานที่สำนักงานที่ดินเท่านั้นด้วย

ถึงเวลาไถ่ถอนแต่ยังไม่พร้อม ขยายสัญญาขายฝาก ได้ไหม ?

ถึงเวลาไถ่ถอนแต่ยังไม่พร้อม ขยายสัญญาขายฝาก ได้ไหม ?

 

—————————————————–

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 096-812-5689

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

10
May 24
ทำสัญญา “ขายฝาก” ควรเลือกบริษัทแบบไหนดี ?

ปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้การ “ขายฝาก” กลายเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับประชาชนหรือผู้ประกอบการธุรกิจทั้งขนาดเล็ก – ขนาดใหญ่ ที่ต้องการเงินก้อนเพื่อไปใช้ตามความต้องการ โดยที่ไม่ต้องมีคนค้ำประกัน ไม่ว่าจะติดแบล็คลิส เครดิตบูโร ก็สามารถทำ สัญญาขายฝาก ได้ค่ะ ในปัจจุบันมีบริษัทรับขายฝากเกิดขึ้นมากมาย การตัดสินใจเลือกบริษัทขายฝากเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับผู้ที่ต้องขายฝาก แต่ไม่รู้ว่าควรเลือกพิจารณาบริษัทจากสิ่งใด วันนี้ Property4cash มีคำตอบ ประวัติและชื่อเสียงของบริษัท ขั้นตอนแรกของการพิจารณาคือ ประวัติความเป็นมา ชื่อเสียง และฟีดแบคจากลูกค้า โดยสามารถค้นหาข้อมูลได้ จากแหล่งที่น่าเชื่อถือ ตรวจสอบความพึงพอใจของลูกค้าที่เคยใช้บริการ และที่สำคัญที่สุดคือใบอนุญาตประกอบธุรกิจ การจดทะเบียนกับภาครัฐ ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ เพื่อความมั่นใจในความปลอดภัยของทรัพย์สิน   ข้อเสนอที่ดีและเหมาะสมที่สุด  ผู้ขายฝากควรเปรียบเทียบข้อเสนอและอัตราดอกเบี้ยในการขายฝากของบริษัทต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อเสนอที่พึงพอใจและเหมาะสมที่สุด โดยบริษัทขายฝากบางแห่งอาจให้วงเงิน แต่แฝงเงื่อนไขที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นการเลือกขายควรอ่า […]

อ่านเพิ่มเติม
3 วิธี กู้ร่วม ซื้ออสังหาฯ แบบง่ายๆ ของชาว LGBTQ
15
Jun 23
3 วิธีกู้ร่วมซื้ออสังหาฯ แบบง่ายๆ ของชาว LGBTQ

ถึงแม้ว่าทางเลือกในการมีบ้านสักหลังของคู่รัก LGBTQ จะยังมีไม่มากนัก โดยเฉพาะการกู้ร่วมซื้อบ้าน แต่ใช่ว่าจะไม่มีทางเลือกเลยเพราะปัจจุบัน มีหลายธนาคารที่เปิดโอกาสให้กลุ่ม LGBTQ กู้ร่วม ซื้อบ้านได้ ลองมาดูรายละเอียดว่าคู่รัก LGBTQ จะต้องทำอย่างไรถึงกู้ร่วมซื้อบ้านได้ #เช็คธนาคารอนุมัติสินเชื่อบ้าน กรณีกู้ร่วมเพศเดียวกัน ปัจจุบันกลุ่ม LGTBQ ถือเป็นผู้บริโภคที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงมีหลายธนาคารที่สามารถอนุมัติการ กู้ร่วม ของคนกลุ่มนี้ได้ นั่นคือ – ธนาคารกสิกร – ธนาคารออมสิน – ธนาคารธนชาติ – ธนาคารยูโอบี – ธนาคารกรุงเทพ – ธนาคารทหารไทย – ธนาคารไทยพาณิชย์ – ธนาคารกรุงศรีฯ – ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด โดยแต่ละธนาคารจะมีเงื่อนไขแตกต่างกันไป แต่คุณสมบัติพื้นฐานของที่ผู้ยื่นกู้ร่วมที่เหมือนกันมีดังนี้ – ผู้กู้เป็นบุคคลธรรมดา สัญชาติไทย – ผู้กู้อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 65 ปี – ไม่เคยเป็นลูกหนี้ปรับโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน – หลักฐานว่าคู่ของเราอยู่ร่วมกันจริง เช่น บัญชีเงินฝากที่เปิดร่วมกัน #ตรวจเอกส […]

อ่านเพิ่มเติม
สมรสเท่าเทียม สำคัญแค่ไหนในวงการอสังหาฯ
30
Jun 23
สมรสเท่าเทียม สำคัญแค่ไหนในวงการอสังหาฯ

พูดถึงประเด็นที่ตอนนี้สังคมไทยเรากำลังให้ความสำคัญอย่าง สมรสเท่าเทียม เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการผลักดันกฎหมาย สมรสเท่าเทียม ให้มีผลทางกฎหมายนั้น มีความสำคัญในแง่ของความเท่าเทียมทางสิทธิต่างๆ ในสังคมของคู่รักเพศเดียวกัน หรือที่ปัจจุบันนิยมเรียกกันว่าคู่รัก LGBTQ+  วันนี้เราจึงจะอยากจะพาเพื่อนๆ ไปพบกับแง่มุมต่างๆ กันว่าสมรสเท่าเทียมนั้น มีส่วนสำคัญแค่ในกับวงการอสังหาริมทรัพย์ และจะส่งผลดีในแง่มุมใดบ้าง  สมรสเท่าเทียม กับวงการอสังหาฯ การกู้ร่วม  บ้านเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิต และเป็นปัจจัยหนึ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นครอบครัวได้อย่างเป็นรูปธรรม ทำให้คู่รักส่วนใหญ่มักจะเริ่มต้นชีวิตคู่ด้วยการซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัยด้วยกัน และการกู้ก็เป็นหนึ่งในช่องทางที่ทำให้เราสามารถมีบ้านเป็นพยานรักของกันและกันได้ ซึ่งโดยปกติทั่วไปแล้ว หากคนใดคนหนึ่งไม่สามารถกู้ซื้อบ้านโดยเพียงลำพังได้ เนื่องจากรายได้ไม่เพียงพอกับวงเงินที่ต้องการจะซื้อบ้าน เราสามารถนำรายได้ของคู่สมรสมาร่วมกันกู้ได้อีกแรง แต่.. มีคนกลุ่มหนึ่งที่แม้พวกเขาจะรักกันมากเพียงใด คบหาดูใจกันนานเป็นสิบปี ก็ไม่อาจจะใช้ความเป็นคู่รักในการกู้ร่วมกัน […]

อ่านเพิ่มเติม