20
Sep 24

กรณีที่ทรัพย์ ทำสัญญาขายฝาก ไปแล้ว เจ้าของทรัพย์ต้องการเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล (เจ้าของคนเดิม แต่ต้องการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล) ที่สำนักงานเขต

สามารถทำได้อย่างแน่นอน ไม่ได้ปิดกฎหมาย และในวันที่ไถ่ถอน เจ้าของทรัพย์จะต้องนำใบเปลี่ยนชื่อของตนเองมาด้วย  แต่ถ้าหากทรัพย์ไม่นำใบเปลี่ยนชื่อของตนเองมา

ก็จะไม่สามารถทำธุรกรรมใดๆ ได้ การเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล สามารถทำได้ทั้งผู้ขายฝาก และผู้รับซื้อฝาก แต่ก็อย่างที่ได้บอกไปข้างต้น เมื่อวันที่ต้องทำธุรกรรมที่กรมที่ดิน

เอกสารการเปลี่ยนชื่อนั้นต้องเตรียมมาทั้ง2ฝ่าย

ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนชื่อนามสกุลในระหว่างที่สัญญาขายฝาก (เปลี่ยนชื่อเป็นผู้ขายฝากคนใหม่) สัญญายังมีผลบังคับใช้อยู่นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่สามารถทำได้โดยพลการ

เนื่องจากสัญญาขายฝากเป็นสัญญาที่มีผลทางกฎหมาย และการเปลี่ยนแปลงชื่อนามสกุลของบุคคลใดบุคคลหนึ่งในสัญญา จะส่งผลกระทบต่อสิทธิและหน้าที่ของทั้งผู้ซื้อฝากและผู้รับซื้อฝาก

การที่ผู้ขายฝากเดิมจะเปลี่ยนชื่อเป็นผู้ขายฝากคนใหม่ ผู้ขายฝากคนเดิมจะต้องมาไถ่ถอนสัญญาขายฝากเดิมก่อน แล้วจึงจะ ทำสัญญาขายฝาก ใหม่และเปลี่ยนเป็นชื่อผู้ขายฝากคนใหม่ได้

เหตุผลที่ทำให้การเปลี่ยนชื่อนามสกุลในสัญญาขายฝากทำได้ยาก

สัญญาขายฝากมีความเฉพาะเจาะจง: สัญญาขายฝากจะระบุชื่อนามสกุลของคู่สัญญาอย่างชัดเจน การเปลี่ยนแปลงชื่อนามสกุลจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดสำคัญของสัญญา

ต้องได้รับความยินยอมจากทุกฝ่าย: การเปลี่ยนแปลงใดๆ ในสัญญาจะต้องได้รับความยินยอมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ซื้อฝาก ผู้รับซื้อฝาก

และอาจรวมถึงสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องด้วย

ทำสัญญาขายฝาก ไปแล้ว เจ้าของทรัพย์อยากจะเปลี่ยนชื่อ-นามสกุลได้ไหม

กรณีต้องทำสัญญาใหม่: ในบางกรณี การเปลี่ยนแปลงชื่อนามสกุลอาจต้องทำสัญญาขายฝาก ฉบับใหม่ทั้งหมด เพื่อให้สัญญาฉบับใหม่มีความถูกต้องและครอบคลุมทุกประเด็น

ในกรณีแก้ไขสัญญาขายฝาก ถ้าหากต้องการเปลี่ยนชื่อผู้ขายฝากเป็นคนใหม่ ค่าใช้จ่ายในการแก้ไขสัญญาหรือทำสัญญาใหม่ อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนนิติกรรม หรือเรียกได้ว่า ไถ่ถอนขายฝากแล้วมาทำขายฝากใหม่ตั้งแต่แรกเลยก็ว่าได้ ค่าใช้จ่ายก็จะค่อนข้างสูง คิดค่าใช้จ่ายภาษีต่างๆตามที่กฎหมายกำหนด

ข้อสำคัญในการเปลี่ยนชื่อนามสกุลขายฝาก การเปลี่ยนชื่อโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือการเปลี่ยนชื่อโดยไม่ผ่านขั้นตอนทางกฎหมายที่ถูกต้อง อาจทำให้สัญญาขายฝากเป็นโมฆะหรือมีผลบังคับใช้ไม่สมบูรณ์

ดูแลและใส่ใจทุกเคสด้วยทีมงานที่มากประสบการณ์ ต้องการเงินด่วนเราช่วยคุณได้ นึกถึงจำนอง-ขายฝาก นึกถึง Property4Cash นะคะ

 

—————————————————–

Property4Cash ยินดีให้คำปรึกษาและช่วยเพิ่มทุนให้กับทุกคนที่ต้องการเงินด่วน และต้องการเงินเพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจ ไม่เช็คแบล็คลิส ไม่เช็คเครดิตบูโร

อนุมัติรวดเร็วทันใจ นึกถึง ขายฝากจำนอง นึกถึง Property4Cash

Line: @Property4Cash

โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash

ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

24
May 24
เคล็ด(ไม่)ลับ “ฮวงจุ้ยโต๊ะทำงาน” เสริมพลังบวกอย่างมั่นคง

มนุษย์เงินเดือนอย่างเรา มักใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับ “โต๊ะทำงาน” เฉลี่ยวันละ 8-10 ชั่วโมง โต๊ะทำงานคือสิ่งสำคัญในการทำงาน แต่เรามักมองข้ามความสำคัญของโต๊ะทำงานไป ตามหลัก ฮวงจุ้ยโต๊ะทำงาน ให้ถูกที่ถูกทาง เป็นไปตามหลักฮวงจุ้ยจะช่วยเสริมพลังในการทำงาน ให้การทำงานราบรื่น ไร้อุปสรรค ซึ่งจะทำให้คุณประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานมากยิ่งขึ้น    ตำแหน่งโต๊ะทำงาน จุดสำคัญที่ไม่ควรพลาด ! การวางตำแหน่งโต๊ะทำงานให้ถูกต้องตามหลัก ฮวงจุ้ยโต๊ะทำงาน จะช่วยการทำงานลื่นไหล ทำอะไรก็ง่ายไปหมด โดยหลักการวางตำแหน่งโต๊ะทำงานนั้นง่ายนิดเดียว เพียงวางตามหลัก “เสือ-มังกร” วิธีการดูก็คือเมื่อยืนอยู่ภายในห้อง ให้หันหน้าออกทางประตู ฝั่งขวามือคือตำแหน่ง “เสือ” ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้หญิง หากผู้หญิงนั่งตำแหน่งเสือจะช่วยสร้างพลังบวก สร้างบารมี เหมาะกับทุกตำแหน่งในองค์กร สำหรับฝั่งซ้ายมือคือตำแหน่ง “มังกร” เป็นตัวแทนของผู้ชาย เมื่อผู้ชายอยู่ในตำแหน่งมังกร การเจรจาประสานงาน ไม่มีติดขัด คิดอะไรทำได้ดั่งใจแน่นอนค่ะ     บริเวณที่ตั้งโต๊ะทำงาน นั่งถูกที่งานดีแน่นอน  นอกจากการวางตำแหน่งโต๊ะทำงานที่เหมาะสมแล้ว ความสำคัญของบริเว […]

อ่านเพิ่มเติม
11
Aug 24
สัญญาจำนองที่ออกโดยกรมที่ดิน มีอะไรบ้างที่ควรรู้?

สัญญาจำนอง ถือเป็นเอกสารสำคัญทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกู้เงิน โดยเฉพาะสินเชื่อบ้านหรือสินเชื่อที่อยู่อาศัย และเป็นหลักประกันสำคัญที่ธนาคารใช้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการที่ผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ เอกสารฉบับนี้มีเนื้อหาสำคัญที่คุณควรรู้ ดังนี้: ข้อมูลของคู่สัญญา เจ้าหนี้ หรือผู้รับจำนอง เป็นผู้ให้กู้ยืมเงิน ลูกหนี้ หรือผู้จำนอง เป็นผู้กู้ยืมเงิน   ข้อมูลของที่ดิน เลขที่โฉนดที่ดิน เนื้อที่ ที่ตั้ง เอกสารสิทธิ์   วงเงินกู้ยืม จำนวนเงินที่กู้ยืม   ดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ย วิธีการคำนวณดอกเบี้ย ช่วงเวลาการคิดดอกเบี้ย   สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญา** สิทธิของเจ้าหนี้ เรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระดอกเบี้ยและเงินต้น ขายทอดตลาดที่ดินเพื่อชำระหนี้ หน้าที่ของเจ้าหนี้ โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนให้ลูกหนี้หลังจากชำระหนี้ครบ สิทธิของลูกหนี้ ใช้ที่ดินตามปกติ ไถ่ถอนที่ดิน หน้าที่ของลูกหนี้ ชำระดอกเบี้ยและเงินต้นตรงเวลา ดูแลรักษาที่ดิน   เงื่อนไขอื่นๆ เงื่อนไขการผิดนัดชำระหนี้ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ข้อพิพาทและการแก้ไขข้อพิพาท   ลายมือชื่อและนิ้วมือของคู่สัญญา พยาน ข้อความสำคัญอื่นๆ ว […]

อ่านเพิ่มเติม
เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน กับ เจ้าของบ้าน แตกต่างกันอย่างไร?
24
Oct 23
เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน กับ เจ้าของบ้าน แตกต่างกันอย่างไร?

หลายท่านคงสงสัย? ว่าเจ้าบ้านคือใคร!! หรือบางท่านอาจจะคิดไปถึงผีบ้านผีเรือน แต่ที่จริงแล้วตามหลักกฎหมาย ว่าด้วยเรื่องการดูแลบ้าน บ้านทุกหลังต้องมี เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน เพื่อระบุว่าบุคคลที่เป็นเจ้าบ้านนั้น ผู้เป็นหัวหน้าซึ่งครอบครองบ้าน ในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือในฐานะอื่น เช่น ผู้ดูแลบ้าน แล้วแตกต่างยังไงกับเจ้าของบ้านละ วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยกันค่ะก่อนอื่นเรามาดูความหมายของทั้งสองคำนี้กันก่อนเลยค่ะ เจ้าบ้าน หมายถึง ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะที่เป็นเจ้าของ ผู้เช่า และอื่นๆ โดยหากในทะเบียนบ้านไม่มีชื่อเจ้าบ้าน หรือผู้ที่ถูกแต่งตั้งเป็นเจ้าบ้าน เกิดเสียชีวิต ผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านสามารถมาเป็นเจ้าบ้านแทนได้ เจ้าของบ้าน หมายถึง เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อในโฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย มีสิทธิใช้สอย หวงกัน ติดตามเอาทรัพย์คืน. ใช้ยันต่อบุคคลทั่วไป มีกฎหมายรองรับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 โดยจากความหมายด้านบน เจ้าบ้านหรือเจ้าของบ้าน อาจจะเป็นคนเดียวกัน หรือ ไม่ใช่คนเดียวกันก็ได้ค่ะ หน้าที่เจ้าบ้าน VS เจ้าของบ้าน เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน มีหน้าที่ตาม พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร […]

อ่านเพิ่มเติม