การถมที่ดิน ต้องรู้กฎหมายถ้าไม่อยากโดนปรับ
16
Jan 24

“ การถมที่ดิน ” คือขั้นตอนแรกเริ่มของการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นอาคาร บ้านจัดสรร โรงงาน และกิจกรรมต่างๆ
ที่ต้องมีการลงโครงสร้าง การถมที่ดิน เราต้องดูหลายปัจจัยควบคู่กันไป ทั้งในเรื่องระดับความสูงของหน้าดิน
การทรุดตัวของดิน รวมถึงการระบายน้ำภายในพื้นที่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาระยะยาวในภายหลัง

การถมที่ดิน เรื่องที่ละเอียดอ่อน เพราะมีทั้งเรื่องกฎหมาย ประวัติที่ดิน และผู้รับเหมาที่เข้ามาเกี่ยวข้อง
ดังนั้นเจ้าของที่ดินจึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาให้เข้าใจก่อนที่จะทำการถมที่ดิน
เพื่อส้รางบ้านหรืออาคารรูปแบบใดๆ ก็ตาม

ในส่วนวันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องกฎหมายกันค่ะ เป็นสิ่งที่ทุกคนจำเป็นจะต้องรู้เบื้องต้นก่อนตัดสินใจ
เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องมีปัญหาตามมาภายหลังจากการโดนฟ้องร้อง ที่ต้องเสียทั้งเวลาและเงินเพิ่มเติม
ถ้าพร้อมแล้วไปดูพร้อมๆ กันเลยค่ะ

เริ่มจากทำความเข้าใจข้อกฎหมายก่อนถมที่ดินใหม่

การถมที่ดินจึงมีข้อบังคับให้อยู่ภายใต้ พรบ.ขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 โดยมีประเด็นหลักที่ต้องดูอยู่ด้วยกันอยู่ 4 ข้อ ดังนี้

  1. หากเจ้าของที่ดินจำเป็นต้องทำการขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกิน 3 เมตร
    จะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่พนักงานท้องถิ่น (ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร
    หรือ นายกเทศมนตรี สำหรับในเขตเทศบาล) และทำการขุดตามแบบที่เจ้าหน้าที่พนักงานท้องถิ่นกำหนด
  2. หากพื้นที่ที่ขุดดินมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกิน 3 เมตร แต่อยู่ใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่น
    ในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุด ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
    เพื่อป้องกันดินทลายลงสู่พื้นที่ข้างเคียง
  3. การถมที่ดินสูงกว่าพื้นที่ใกล้เคียง
    หากจะทำการถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ใกล้เคียง
    และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอ
    ที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียง
  4. ความสูงของการถมดินใกล้แนวเขตผู้อื่น
    ส่วนฐานของเนินดินจะต้องห่างจากแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่นหรือที่สาธารณะ
    เป็นระยะไม่น้อยกว่าความสูงของเนินดินที่จะถมดิน เช่น ถมดินสูง 2 เมตร ต้องร่นเข้ามา 2 เมตร
    หรือ ถมสูง 5 เมตร ต้องร่นเข้ามา 5 เมตร แต่สามารถยกเว้นการถมเต็มพื้นที่ได้โดยการทำกำแพงกัน

และถ้าเพื่อนบ้านของเราถมที่ดินสูงเกินไป เราจะทำอย่างไรได้บ้าง?
หากเจอสถานการณ์นี้ ให้แจ้งกับเจ้าของบ้านให้ทราบและตระหนักถึงข้อกำหนดทางกฎหมาย
ซึ่งมีตราอยู่ใน พ.ร.บ. การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 และนอกจากนี้ยังมีเรื่องของ เทศบัญญัติ
การผังเมือง และกฎหมายควบคุมอื่น ๆ และการทำแบบนั้นถือว่ามีความผิด

โดยให้ไปพูดคุยกับเจ้าของบ้านหรือเจ้าของที่ข้างเคียง เพื่อทำความเข้าใจกันเสียก่อน
หากเจรจาไม่ได้ให้ไปขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินนั้นได้

การถมที่ดิน ต้องรู้กฎหมายถ้าไม่อยากโดนปรับ

—————————————————–

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficia

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

ทำไม การขายฝาก ถึงเป็นตัวเลือกในยามฉุกเฉิน
15
Jan 25
ทำไม การขายฝาก ถึงเป็นตัวเลือกในยามฉุกเฉิน

 >>> ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า… การขายฝาก เป็นตัวเลือกที่ดีในยามฉุกเฉิน เพราะในช่วงเวลาฉุกเฉินที่ต้องการเงินสดอย่างรวดเร็ว เช่น อุบัติเหตุด่วน การเจ็บป่วยฉุกเฉิน การชำระหนี้เร่งด่วน หรือการลงทุนที่จำเป็นต่ออนาคต หลายๆ คน ก็จะนึกถึงเงินด่วน ทั้งเงินด่วนสังหา เงินด่วนรถแลกเงิน หรือแม้แต่ของมีค่าที่อยู่ในมืออื่นๆ ก็สามารถทำให้เราเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สะดวก และรวดเร็วได้นั่นเอง…   และ การขายฝาก เป็นทางหนึ่งที่ทำให้คนที่ต้องการเงินด่วน เข้าถึงแหล่งเงินทุน จากทรัพย์สินที่มีอยู่นั้นเองค่ะ มีทรัพย์สินก็สามารถช่วยให้คุณได้รับเงินสดทันที โดยไม่ต้องสูญเสียสิทธิ์ในทรัพย์สินอย่างถาวร แค่นำมาขายฝาก หากพร้อมเมื่อไหร่ ก็ไถ่ถอนคืนได้ทุกที่   มาทำความรู้กันก่อนว่า ขายฝาก หมายถึงอะไร?   ขายฝาก คือ การทำสัญญาที่ผู้ขายฝากตกลงขายทรัพย์สินของตนให้กับผู้ซื้อฝาก โดยสัญญาตกลงกันว่า… ผู้ขายฝาก สามารถไถ่ถอนทรัพย์สินนั้นกลับคืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งแตกต่างจากการขายทั่วไป ที่ผู้ขายจะสูญเสียสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นไปอย่างถาวร แต่การขายฝาก ยังคงเปิดโอกาสให้ผู้ขายไถ่ถอนทรัพย์สินกลับคืนได้หากมีความ […]

อ่านเพิ่มเติม
มรดกที่ดิน คืออะไร ใครมีสิทธิรับ และ ต้องเตรียมอะไรบ้าง?
28
Jun 23
การรับมรดกที่ดิน คืออะไร ใครมีสิทธิรับ และ ต้องเตรียมอะไรบ้าง?

ที่ดินเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี คนรุ่นเก่าๆ จึงมักชอบซื้อที่ดินเก็บไว้หลายๆ แปลง ไม่ว่าจะซื้อไว้ลงทุนหรือซื้อไว้เป็นที่อยู่อาศัย ที่ดินจึงเป็นมรดกอีกอย่างหนึ่งที่หลายๆ ครอบครัวส่งต่อสืบทอดกันมาแบบรุ่นสู่รุ่น บางคนอาจจะยินดีและดีใจที่ได้รับ แต่ๆๆๆ อย่ามัวแต่ดีใจกันไปนะคะ เพราะเมื่อได้รับมรดกมาแล้ว นั่นหมายถึงการตามมาด้วยการจัดการต่าง ๆ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย  การแบ่งมรดกที่ดินจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรพลาด ลองมาดูกันว่า การรับ มรดกที่ดิน คืออะไร ใครมีสิทธิรับ และ ต้องเตรียมอะไรบ้าง?  การรับ มรดกที่ดิน คือ เมื่อผู้ที่มีชื่อในเอกสารสิทธิเกี่ยวกับที่ดิน (เช่น โฉนดที่ดิน หรือ น.ส. หรือ น.ส.3 ก. หรือ น.ส.3 ข.) ได้ถึงแก่กรรมไป ในทางกฎหมายแล้วที่ดินเหล่านั้นก็จะถือเป็นมรดก ซึ่งจะตกทอดแก่ทายาทของผู้ตายโดยสิทธิตามกฎหมายหรือโดยพินัยกรรมที่เจ้ามรดกทำไว้ สิทธิได้รับมรดกที่ดินจะตกเป็นของใครบ้าง ทางกฎหมายผู้ที่มีสิทธิรับมรดกที่ดินออกเป็น 2 รูปแบบ กฎหมายมรดกที่ดินกำหนดว่า ผู้ได้รับมรดกที่ดินต้องมีสิทธิตามพินัยกรรม ผู้ได้รับมรดกที่ดินโดยสิทธิตามพินัยกรรม หรือผู้รับพินัยกรรม คือผู้ที่เจ้าข […]

อ่านเพิ่มเติม
อัปเดต! การชำระ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2568
18
Jan 25
อัปเดต! การจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2568

เปิดศักราชใหม่ กับเรื่องควรรู้ เกี่ยวกับ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2568 วันนี้ Property4Cash ได้รวมข้อมูลต่างๆ มาไว้ให้แล้วค่ะ โดยการจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ในปี 2568 มีการขยายระยะเวลาชำระภาษี จากเดิมเดือนเมษายน เลื่อนเป็นมิถุนายน เพื่อลดภาระและบรรเทาความเดือดร้อนจากสถานการณ์น้ำท่วมให้กับประชาชน ดังนั้น Property4Cash สรุปมาให้เช็ก ว่า… ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแต่ละประเภท ต้องเสียภาษีเท่าไร? เพื่อเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้า เพราะหากชำระล่าช้า ต้องจ่ายค่าปรับสูงสุดถึง 40% ของภาษีที่ค้างชำระเลยนะ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประเภทไหน ต้องเสียภาษีที่ดิน 2568 ประเภทที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่ต้องเสียภาษีมี 4 ประเภท แบ่งตามรูปแบบการใช้งาน คือ ที่ดินเกษตรกรรม ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม และที่ดินที่ทิ้งไว้ว่างเปล่า ซึ่งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแต่ละประเภท มีอัตราการเสียภาษีที่แตกต่างกัน ดังนี้   1. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างเพื่อการเกษตรกรรม มูลค่าไม่เกิน 75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.01% (บุคคลธรรมดายกเว้น 50 ล้านแรก) มูลค่า 75 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03% มูลค่า 1 […]

อ่านเพิ่มเติม