ขายฝาก-จำนอง มอบอำนาจ ได้ไหม ? เตรียมเอกสารยังไง ไม่ให้โมฆะ
11
Apr 23

การ มอบอำนาจ ให้ผู้อื่นไปทำนิติกรรมที่สำนักงานที่ดินแทนเจ้าของ เป็นเรื่องปกติที่มักจะทำกัน
โดยจะเห็นได้บ่อยเป็นพิเศษเวลาเราไปทำนิติกรรมซื้อ-ขาย ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ที่ดิน หรือคอนโดก็ตาม
เพราะหลายๆ คนก็ไม่มีเวลา หรือไม่เชี่ยวชาญในการทำเรื่องเอกสาร

การมอบอำนาจให้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ไปทำเรื่องให้ นอกจากจะประหยัดเวลาแล้ว
ยังหมดห่วงเรื่องโดนเจ้าหน้าที่ปฏิเสธเพราะเอกสารไม่ครบหรือไม่ถูกต้องด้วย
แล้วการทำนิติกรรมอย่าง ขายฝาก และ จำนอง ล่ะ สามารถมอบอำนาจไปทำเรื่องแทนได้ไหมนะ ?
ถ้าไม่อยากมีปัญหาเรื่องเอกสารต้องทำอย่างไร มาหาคำตอบกัน.

ขายฝาก-จำนอง มอบอำนาจได้ไหม ?
การทำขายฝาก หรือ จำนองนั้น ก็ไม่ต่างอะไรกับการซื้อ-ขาย อสังหาริมทรัพย์ในแง่ของการ
มอบอำนาจ ให้ผู้อื่นทำแทน สามารถทำได้ไม่ว่าจะเป็น ผู้ขายฝาก (เจ้าของทรัพย์)
หรือ ผู้รับซื้อฝาก (เจ้าของเงิน) เองก็ตาม หรือในกรณีที่ทั้งสองฝ่ายต้องการมอบอำนาจให้บุคคลเดียว
เป็นผู้ไปทำสัญญาขายแทนก็ทำได้เช่นกัน

เอกสารสำหรับการมอบอำนาจมีอะไรบ้าง ?
สิ่งแรกที่จำเป็นต้องมี สำหรับการในการมอบอำนาจนั้นคือ “หนังสือมอบอำนาจ”
โดยสามารถใช้แบบฟอร์มของสำนักงานที่ดินที่เรียกว่า ท.ด.21 เพื่อความถูกต้องที่สุด
สามารถขอได้ที่สำนักงานที่ดิน หรือดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ตามนี้ก็ได้เช่นกันhttps://www.dol.go.th/Documents/td21.pdf
โดยในส่วนของรายละเอียดที่ต้องกรอกลงไปในหนังสือมอบอำนาจนั้น
ก็จำเป็นต้องเขียนตามถ้อยคำที่กำหนดไว้โดยกรมที่ดิน เพื่อไม่ให้เราโดนเจ้าหน้าที่ปฏิเสธกลับมา
สามารถดูตัวอย่างการเขียน หนังสือมอบอำนาจได้ที่ https://www.dol.go.th/Pages/ตัวอย่างหนังสือมอบอำนาจ.aspx

นอกจากนี้ยังมีเอกสารที่ต้องเตรียมไว้สำหรับแนบไปพร้อมกับหนังสือมอบอำนาจก็คือ

  • หนังสือมอบอำนาจ (ท.ด.21)
  • บัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ฉบับจริง)
    **กรณีเปลี่ยนชื่อ ให้เตรียมหนังสือเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลด้วย
  • ทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ (ฉบับจริง)
  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจ จำนวน 1 ชุด พร้อมเซ็นชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจ จำนวน 1 ชุด พร้อมเซ็นชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
  • โฉนดที่ดินฉบับจริง
  • กรณีมีคู่สมรส จำเป็นต้องใช้เอกสารของคู่สมรสด้วย ดังนี้
    • หนังสือให้ความยินยอมให้ขายฝากหรือจำนองที่ดินหรือที่ดินพร้อมบ้าน
    • สำเนาบัตรประชาชนคู่สมรส
    • สำเนาทะเบียนบ้านคู่สมรส
    • สำเนาทะเบียนสมรส (กรณีหย่าให้เตรียมสำเนาใบจดทะเบียนหย่า,
      กรณีคู่สมรสเสียชีวิตให้เตรียมสำเนาใบมรณะบัตรมาด้วย

ทำไมนายทุนบางคน ถึงไม่ค่อยรับเคสมอบอำนาจ ?
อาจจะเคยเห็นกันมาบ้าง สำหรับเคสที่นายทุนผู้รับซื้อฝาก “ปฏิเสธ” เคสที่เป็นการมอบอำนาจจากเจ้าของทรัพย์
สาเหตุเป็นเพราะว่า เพื่อป้องกันความเสี่ยงในอนาคต ในเรื่องของกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ
หลายๆ ครั้งมักจะมีเจ้าของทรัพย์ที่แท้จริงมาแสดงตัวว่า ไม่ได้ยินยอม ให้นำทรัพย์ของเขา
มาทำการจำนอง หรือ ขายฝาก เป็นเหตุให้ต้องเสียเวลามานั่งฟ้องศาลกันอีก ทำให้นายทุนหลายๆ ท่าน
ตัดปัญหาด้วยการไม่รับเคสขายฝากที่เป็นการมอบอำนาจกันเลยทีเดียว

สรุป.. การมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปทำเรื่อง ขายฝาก-จำนอง นั้นสามารถทำได้ แต่ทางที่ดีนั้นหากเป็นไปได้
เจ้าของทรัพย์ก็ควรจะเป็นผู้ที่ไปเรื่องทำสัญญาที่สำนักงานที่ดินเอง เพื่อลดความเสี่ยง
ลดโอกาสเกิดปัญหาที่จะตามมาในอนาคตนั่นเอง

ขายฝาก-จำนอง มอบอำนาจ ได้ไหม ? เตรียมเอกสารยังไง ไม่ให้โมฆะ

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

สมรสเท่าเทียม สำคัญแค่ไหนในวงการอสังหาฯ
30
Jun 23
สมรสเท่าเทียม สำคัญแค่ไหนในวงการอสังหาฯ

พูดถึงประเด็นที่ตอนนี้สังคมไทยเรากำลังให้ความสำคัญอย่าง สมรสเท่าเทียม เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการผลักดันกฎหมาย สมรสเท่าเทียม ให้มีผลทางกฎหมายนั้น มีความสำคัญในแง่ของความเท่าเทียมทางสิทธิต่างๆ ในสังคมของคู่รักเพศเดียวกัน หรือที่ปัจจุบันนิยมเรียกกันว่าคู่รัก LGBTQ+  วันนี้เราจึงจะอยากจะพาเพื่อนๆ ไปพบกับแง่มุมต่างๆ กันว่าสมรสเท่าเทียมนั้น มีส่วนสำคัญแค่ในกับวงการอสังหาริมทรัพย์ และจะส่งผลดีในแง่มุมใดบ้าง  สมรสเท่าเทียม กับวงการอสังหาฯ การกู้ร่วม  บ้านเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิต และเป็นปัจจัยหนึ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นครอบครัวได้อย่างเป็นรูปธรรม ทำให้คู่รักส่วนใหญ่มักจะเริ่มต้นชีวิตคู่ด้วยการซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัยด้วยกัน และการกู้ก็เป็นหนึ่งในช่องทางที่ทำให้เราสามารถมีบ้านเป็นพยานรักของกันและกันได้ ซึ่งโดยปกติทั่วไปแล้ว หากคนใดคนหนึ่งไม่สามารถกู้ซื้อบ้านโดยเพียงลำพังได้ เนื่องจากรายได้ไม่เพียงพอกับวงเงินที่ต้องการจะซื้อบ้าน เราสามารถนำรายได้ของคู่สมรสมาร่วมกันกู้ได้อีกแรง แต่.. มีคนกลุ่มหนึ่งที่แม้พวกเขาจะรักกันมากเพียงใด คบหาดูใจกันนานเป็นสิบปี ก็ไม่อาจจะใช้ความเป็นคู่รักในการกู้ร่วมกัน […]

อ่านเพิ่มเติม
2
Feb 23
ค้ำประกัน อันตรายขนาดไหน ทำไมใครๆ ก็บอกว่า หนีไปปป!!

ค้ำประกัน คำที่มักจะได้ยินบ่อยๆ ในตอนที่ต้องกู้สินเชื่อกับทางธนาคาร เนื่องจากในการจะกู้ซื้อบ้านหรือคอนโดต้องใช้เงินก้อนใหญ่ หากจะให้การกู้ง่ายยิ่งขึ้น อาจจะต้องมีการกู้ร่วม เพื่อให้ได้วงเงินที่มากขึ้น หรืออาศัยคนค้ำประกัน เพราะผู้กู้อาจมีคุณสมบัติบางอย่างไม่ถึงเกณฑ์ เพื่อมาช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์การอนุมัติขอสินเชื่อได้ ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับการค้ำประกัน กันแบบง่ายๆ ก่อนเลยค่ะ การค้ำประกันคือ บุคคลที่มาค้ำประกันสินเชื่อให้กับลูกหนี้ โดยสถานะไม่ได้เป็นลูกหนี้ร่วมเหมือนกับคนกู้ร่วม สถานะจะเป็นเพียงแค่คนค้ำประกันที่เมื่อเกิดกรณีที่ลูกหนี้เบี้ยวไม่จ่ายหนี้ ธนาคารหรือสถาบันการเงินก็จะไปไล่เบี้ยเอาคืนกับคนค้ำประกัน เมื่อรู้จักการค้ำประกันแบบคร่าวๆ แล้ว มาดูกันค่ะว่าการค้ำประกันมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง ความสัมพันธ์กับการค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันสามารถเป็นใครก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลในเครือญาติของผู้กู้ การพิจารณาของธนาคาร การค้ำประกัน ธนาคารจะไม่นำรายได้ของคนค้ำประกันมารวมคิดเพื่อพิจารณาอนุมัติ จะยังคงพิจารณาเฉพาะรายได้ของผู้กู้เท่านั้น แต่จะพิจารณาคุณสมบัติของผู้ค้ำประกันแทน โดยผู้ค้ำประกันจะต้อ […]

อ่านเพิ่มเติม
ที่ดิน กรรมสิทธิ์รวม ซื้อขาย ขายฝากหรือจำนองได้หรือไม่?
23
Dec 23
ที่ดิน กรรมสิทธิ์รวม ซื้อขาย ขายฝากหรือจำนองได้หรือไม่?

ในการ ซื้อขายที่ดิน หรือมีการ ขายฝากจำนองที่ดิน เกิดขึ้น หากเราเป็นเจ้าของคนเดียวก็คงไม่ยากที่จะนำที่ดินแปลงนั้นออกมาจำหน่ายหรือทำธุรกรรมได้ แต่ถ้าที่ดินนั้นเป็นมรดกตกทอดที่มีเจ้าของ 2 – 3 คนขึ้นไป หรือเรียกได้ง่ายๆ ว่าที่ดินตรงนั้นมีเจ้าของ กรรมสิทธิ์รวม กรรมสิทธิ์รวม คืออะไร กรรมสิทธิ์รวมหมายถึง การที่มีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปหรือมากกว่านั้นเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกัน โดยในโฉนดที่ดินไม่ได้ระบุว่าเจ้าของรวมคนใดเป็นเจ้าของส่วนไหนบ้าง ตามกฎหมายแล้วสันนิษฐานว่าเจ้าของรวมแต่ละคนจะต้องมีสัดส่วนที่ดินเท่าๆ กัน และมีสิทธิ์ในการจัดการทรัพย์สินร่วมกัน การซื้อขาย ขายฝากหรือจำนองที่ดินกรรมสิทธิ์รวม ทำได้หรือไม่? ถ้าเจ้าของที่ดินกรรมสิทธิ์รวม ไม่ได้มีการตกลงแบ่งสัดส่วนที่ดินอย่างชัดเจน เมื่อมีเจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งต้องการซื้อขายหรือมีการขายฝากจำนองที่ดินเกิดขึ้น ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทุกๆ คนก่อน ไม่เช่นนั้นจะถือว่าไม่สมบูรณ์ กลายเป็นความยุ่งยากที่ก่อให้เกิดภาระติดพันในส่วนของความเป็นเจ้าที่ดินของตนเอง แต่หากเจ้าของที่ดินกรรมสิทธิ์รวม มีการตกลงแบ่งที่ดินเป็นสัดส่วนชัดเจนแล้ว มีการระบุในโฉนด […]

อ่านเพิ่มเติม