ขายฝาก - จำนอง ทางเลือกใหม่ของคนร้อนเงิน
2
Feb 23

ช่วงนี้หลายคนอาจได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจเพราะโควิดไม่มากก็น้อย
หนึ่งในทางออกยอดนิยมที่ใช้คือการนำทรัพย์สินที่มีออกมาขาย เช่น เสื้อผ้า ของใช้ รถยนต์
ไปจนถึง ขายคอนโด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็มักจะเจอกับอีกหนึ่งปัญหาคือ ขายคอนโดไม่ออก
ประกาศขายมาหลายเดือนแล้วก็ยังไม่มีใครมาซื้อ แถมยังมีเรื่องให้ปวดหัวต้องใช้เงินด่วน
แต่จะให้ไปกู้ธนาคารก็ไม่ไหว เครดิตไม่ดี รายได้ไม่เพียงพอ ทำให้ธนาคารไม่อนุมัติ

ซึ่งสำหรับคนที่มีคอนโด และต้องการเงินด่วน ก็มีอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณสามารถกู้เงินด่วน และ
ได้วงเงินที่ค่อนข้างสูงกว่าการจำนอง นั่นก็คือการขายฝาก

โดยปกติแล้ว เวลาเรานึกถึงการนำเอาทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ไปเป็นหลักประกันกู้เงิน
ส่วนมากจะนึกถึงการจำนองเป็นส่วนใหญ่ แต่จริงยังมีนิติกรรมที่คล้าย ๆ กับการจำนอง
และได้วงเงินที่สูงกว่าอย่างการ ขายฝาก  ซึ่งมีความคล้ายกับจำนอง แต่ก็จะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน

เรามีวิธีแก้ไขปัญหามาแนะนำให้เพื่อน ๆ พิจารณาดูนั่นคือ
การขายฝากคอนโดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้หรือหมุนต่อ

ว่าแต่การขายฝากคอนโดคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร เราไปดูกันเลยค่ะ

ขายฝากคอนโดคืออะไร ?

การขายฝากคอนโดคือการกู้เงินรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นการกู้เงินโดยขายทรัพย์สินของตนเองให้เจ้าหนี้
โดยมีเงื่อนไขว่าลูกหนี้จะมาไถ่ทรัพย์คืนตามระยะเวลาที่ตกลงกัน แต่ต้องไม่เกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้
ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ไถ่คืนได้ภายใน 3 ปี ส่วนอสังหาริมทรัพย์สามารถไถ่คืนได้ภายใน 10 ปี

โดยผู้ที่รับซื้อฝากจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการขายฝากคอนโดสูงสุดถึง 15% ต่อปี หรือ 1.25% ต่อเดือน
และได้รับเงินจากการขายฝากคอนโดคืนทันทีหากมีการไถ่ถอนเกิดขึ้น
ถ้าอธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือเป็นการขายและให้โอกาสการซื้อคืนนั่นเอง

ยกตัวอย่าง เช่น นาย A มีคอนโดอยู่และจำเป็นต้องใช้เงิน เลยตัดสินใจขายฝากคอนโดกับ
นาย B ผู้ซึ่งเป็นนักลงทุนมีเงินเหลือใช้

เมื่อการขายฝากคอนโดเสร็จสิ้น คอนโดนั้นจะเป็นของนาย B ทันที
แต่นาย A ยังสามารถนำเงินมาซื้อคอนโดคืนจากนาย B
ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดตามสัญญา แต่ไม่เกิน 10 ปี ตามที่กฎหมายกำหนด
แต่ถ้านาย A ไม่มาซื้อคืน คอนโดนั้นก็จะเป็นของนาย B โดยสมบูรณ์

 

ข้อดีของการขายฝาก

  1. การขายฝากคอนโดจะได้วงเงินที่ค่อนข้างสูง ซึ่งผู้รับซื้อจะให้วงเงินที่สูงกว่าการกู้แบบปกติ
    โดยให้วงเงินกู้มากถึง 40-70% ของราคาประเมิน และสูงกว่าการจำนอง
    เพราะการจำนองส่วนมากจะได้วงเงินกู้อยู่ที่ 10-30% ของราคาประเมินเท่านั้น
  2. การขายฝากคอนโดสามารถไถ่ถอนคืนได้ ภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งจะเป็นการตกลงกันทั้ง 2 ฝ่ายคือ
    ผู้ขายฝาก และผู้รับซื้อฝาก ทั้งสองฝ่ายจะเป็นผู้ตกลงกันในเรื่องของระยะเวลา โดยสามารถยืดหยุดได้
    ถ้าหากเกินที่กำหนด ก็สามารถขยายเวลาได้ แต่ไม่เกินตามที่กฎหมายกำหนด
  3. ผู้ขายฝากจะไม่ถูกเอาเปรียบ จากการคิดดอกเบี้ยที่สูงจนเกินไป
    เพราะกฎหมายกำหนดให้เจ้าหนี้หรือผู้ซื้อฝากจะไม่สามารถคิดดอกเบี้ยจากการขายฝาก
    ได้เกิน 15% ต่อปีหรือ 1.25% ต่อเดือนเท่านั้น
  4. การขายฝากไม่ต้องมีการเช็คแบล็คลิสต์, เครดิตบูโร และ Statement แต่อย่างใด
    สำหรับคนที่ติดเครดิตบูโร ไม่ต้องกังวล สามารถยื่นได้เลย
  5. การขายฝากทำสัญญา และ สามารถต่อสัญญาได้เรื่อย ๆ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ได้นานถึง 10 ปี
  6. เลือกนายทุนที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย มีบริษัทและที่ตั้งที่ติดต่อได้
    สามารถติดต่อได้ง่ายในเวลาทำการปกติ เช่น 9.00-00 น. ของวันจันทร์-ศุกร์
  7. ดอกเบี้ยถูกกฎหมาย ไม่เกิน 15% ต่อปี ไม่คิดดอกเบี้ยแพง เพื่อไม่ให้มีปัญหาการชำระหนี้
  8. ไม่ทำสัญญาแยกกับผู้ขายฝากคอนโด ใช้สัญญาที่ทำโดยเจ้าพนักงานกรมที่ดินเท่านั้น
    ซึ่งเป็นสัญญาเป็นธรรมต่อทั้งสองฝ่าย ถูกต้องตามกฎหมาย
    ไม่มีเงื่อนไขเพิ่มเติมที่อาจจะเป็นการเอาเปรียบผู้ขายฝากคอนโด
    ตัวเลขในสัญญาระบุตามจริง เช่น ถ้าตัวเลขในสัญญาระบุเงินต้นในการขายฝากคอนโด
    หรือตัวเลขสินไถ่ในการขายฝากคอนโดเกินจริง ผู้ขายฝากจะเสียเปรียบนายทุน
    และถ้าเจอนายทุนไม่ดีอาจจะทำให้เกิดการฉ้อฉลได้ตอนทำการไถ่ถอน
    โดยแอบอ้างว่าเงินต้นต้องไถ่ถอนตามที่ระบุในสัญญา

 

ขายฝากคอนโดแตกต่างจากการจำนองอย่างไร
นอกจากการขายฝากคอนโดแล้ว ยังมีอีกหนึ่งวิธีที่สามารถนำมาใช้ชำระหนี้ได้เช่นกันนั่นคือ “การจำนอง”
โดยผู้จำนองนำทรัพย์สินของตนเอง อาทิเช่น คอนโด บ้าน ที่ดิน ไปใช้เป็นหลักค้ำประกันหนี้ในการกู้ยืม
ถ้าหากผิดนัด ไม่ได้มาชำระหนี้ตามที่กำหนดไว้ เจ้าหนี้สามารถฟ้องร้องคดี
และ ก็บังคับคดียึดทรัพย์สินที่เอามาจำนองไว้ ซึ่งต่างจากการขายฝากคอนโดที่เป็นการนำคอนโดไปขายให้แก่คนอื่น ๆ
ภายใต้ข้อตกลงที่ว่า เมื่อถึงเวลาแล้วคนขายฝากมีสิทธิ์ไถ่ถอนคืนได้ ถ้าหากเกินกำหนด ก็เสียกรรมสิทธิ์โดยทันทีนั่นเอง
ในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ การขายฝากคอนโดจึงเป็นหนึ่งในตัวเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการนำสินทรัพย์ของตนเองมาสร้างรายได้
แต่ควรศึกษารายละเอียดทั้งข้อดี-ข้อเสียให้ดีก่อนตัดสินใจ หากคิดว่าคุ้มค่าก็เป็นทางออกที่น่าสนใจไม่น้อย

ขายฝาก - จำนอง ทางเลือกใหม่ของคนร้อนเงิน

หากสนใจลงทุนจำนอง ขายฝาก Property4cash ยินดีให้คำปรึกษา

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

สรุปประเด็นข่าว ที่ดินเขากระโดง เท็จจริงคืออะไร?
15
Dec 24
สรุปประเด็นข่าว ที่ดินเขากระโดง เท็จจริงคืออะไร?

>>>สำหรับใครที่ติดตามข่าวเกี่ยวกับที่ดินเขากระโดงอยู่ ว่า… สรุปแล้ว จะถูกเวียนคืนหรือไม่? วันนี้ Property4Cash มาสรุปให้แล้วค่ะ ก่อนอื่น ขอเล่าย้อนความเกี่ยวกับประเด็นร้อนของที่ดินเขากระโดง กันนิดนึงนะคะ ที่ดินเขากระโดง ตั้งอยู่ที่จังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีการถกเถียงเวียนคืนที่ดิน ให้กลับมาเป็นของกรมที่ดิน แต่เอกสารหลายอย่างก็ยืนยันว่าที่ดินแห่งนี้ จะไม่ถูกเวียนคืน และยังคงสามารถใช้ประโยชน์ต่อไปได้! โดย Property4Cash ได้สรุปออกมาเป็น 4 ประเด็นหลักๆ ดังนี้ ประเด็นที่ 1 คือ คำอ้างที่ว่า… คำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับที่ดินเขากระโดง ผูกพันเฉพาะคู่ความ หรือคู่พิพาทในคดี ระหว่างการรถไฟฯ กับเอกชนรายที่ยื่นฟ้องเพียงเท่านั้น! ซึ่งคำอ้างนี้… ไม่เป็นความจริง เพราะคำพิพากษาจากศาลปกครองกลาง ก็รับรองเอาไว้แล้วว่า “คำพิพากษาของศาลฎีกาดังกล่าว ได้วินิจฉัยอย่างชัดแจ้งถึงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดี (การรถไฟฯ) ผู้ฟ้องคดีจึงสามารถใช้ยันกับบุคคลภายนอกได้ หาใช่มีผลผูกพันเฉพาะคู่ความในคดี ตามมาตรา 145 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตามที่ผู้ถูกฟ้องคดี (กรมที่ดิน) กล่าวอ้างแต่อย่างใดไม่” คำพ […]

อ่านเพิ่มเติม
ต่ออายุสัญญาขายฝาก
29
Oct 24
ต่ออายุสัญญาขายฝาก มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?

รู้หรือยัง? เมื่อถึงระยะเวลาที่ต้องไถ่ถอนทรัพย์คืน แต่ยังไม่พร้อม!! สามารถ ต่ออายุสัญญาขายฝาก ได้นะ โดยการต่ออายุสัญญาขายฝาก คือ การขยายระยะเวลาในสัญญาขายฝาก เมื่อผู้ขายฝาก (เจ้าของทรัพย์สินเดิม) ยังไม่พร้อมหรือไม่สามารถไถ่ถอนทรัพย์สินคืนได้ภายในเวลาที่กำหนดเดิม จึงต้องทำการต่ออายุ เพื่อเพิ่มระยะเวลาในการไถ่ถอน โดยปกติการต่อสัญญาขายฝากนั้น ต้องทำเป็นหนังสือเพิ่มเติมและต้องระบุเงื่อนไขที่ชัดเจน เช่น ระยะเวลาต่ออายุ จำนวนเงินไถ่ถอน และดอกเบี้ย(ถ้ามี) ในทางกฎหมาย การต่ออายุสัญญาขายฝากสามารถกระทำได้ โดยระยะเวลาสูงสุดไม่ควรเกิน 10 ปีสำหรับอสังหาริมทรัพย์ การต่อสัญญาขายฝากมีข้อดี คือ ช่วยให้ผู้ขายฝากมีเวลามากขึ้นในการหาเงินมาไถ่ถอนทรัพย์สินคืน แต่ต้องทำการต่อสัญญาก่อนสัญญาเดิมจะหมดอายุ ไม่เช่นนั้นสัญญาจะสิ้นสุด และทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้รับฝากทันที!   การต่ออายุ หรือ ขยายสัญญาขายฝาก มีขั้นตอนดำเนินและเอกสารอะไรบ้าง? วันนี้ Property4Cash มีรายละเอียดมาฝาก เพื่อให้ผู้ขายฝาก ได้เตรียมตัวล่วงหน้าที่จะต่ออายุสัญญา   ต่ออายุสัญญาขายฝาก ต้องทำ ณ สำนักงานที่ดิน เท่านั้น!   ก่อนครบกำหน […]

อ่านเพิ่มเติม
17
Aug 24
รายละเอียดสัญญาขายฝากที่ดินที่ควรรู้ก่อนทำธุรกรรม สำหรับผู้รับขายฝาก และผู้ขายฝาก

รายละเอียด สัญญาขายฝากที่ดิน ที่ควรรู้ก่อนทำธุรกรรม สัญญาขายฝากที่ดิน เป็นสัญญาที่มีความสำคัญทางกฎหมายและเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินที่มีมูลค่า การทำความเข้าใจรายละเอียดต่างๆ ก่อนลงนามจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งผู้รับซื้อฝากและผู้ขายฝากควรศึกษาข้อมูลเหล่านี้ให้ละเอียดก่อนตัดสินใจ สิ่งที่ผู้รับซื้อฝากควรทราบ กรรมสิทธิ์ในที่ดิน: แม้ว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันทีที่ทำสัญญา แต่ผู้ขายฝากยังมีสิทธิไถ่ถอนที่ดินคืนได้ตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา ระยะเวลาไถ่ถอน: กำหนดระยะเวลาไถ่ถอนให้ชัดเจน โดยทั่วไปจะไม่น้อยกว่า 1 ปี และไม่เกิน 10 ปี จำนวนสินไถ่: คือจำนวนเงินที่ผู้ขายฝากต้องชำระเพื่อไถ่ถอนที่ดินคืน โดยจำนวนสินไถ่จะต้องไม่น้อยกว่าราคาที่ซื้อฝาก และดอกเบี้ยที่คิดจากราคาซื้อฝากตามอัตราที่กฎหมายกำหนด (ปัจจุบันไม่เกิน 15% ต่อปี) ค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียน: ผู้รับซื้อฝากเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนสัญญาขายฝากที่ดิน ณ สำนักงานที่ดิน ภาษีที่เกี่ยวข้อง: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ชำระภาษีที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมนี้ครบถ้วนแล้ว การตรวจสอบเอกสาร: ต […]

อ่านเพิ่มเติม