การครอบครองปรปักษ์ เจ้าของที่ดินต้องดูแลก่อนโดนแย่งครอบครอง
17
Jan 23

การครอบครองปรปักษ์ คือ การแย่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง มีได้ทั้งอสังหาริมทรัพย์ และสังหาริมทรัพย์
ในที่นี้ property4cash จะนำเสนอเกร็ดความรู้ในเรื่องของ การเฝ้าระวังการโดนแย่งครอบครองปรปักษ์ ในเรื่องของที่ดิน (อสังหาริมทรัพย์)

เจตนารมณ์ของข้อกฎหมาย การครอบครองปรปักษ์ คือ ต้องการให้เจ้าของที่ดินใช้ประโยชน์ของที่ดินของตัวเองให้คุ้มค่า
ไม่ปล่อยปละละเลยในเรื่องการทำประโยชน์ในที่ดิน และหน้าที่ของการเสียภาษี เพื่อเป็นหน่วยเล็กๆ ในการเสริมกำลังพัฒนาประเทศให้เจริญยิ่งขึ้นไป
จึงต้องมีบทลงโทษเจ้าของที่ดินที่ไม่ใส่ใจที่ดินของตนเอง ปล่อยให้คนอื่นเข้ามาครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ดินของตนอย่างเปิดเผย
เป็นระยะเวลารวมตามที่กฎหมายกำหนด ตามหลักเกณฑ์ จนที่ดินตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของคนอื่น
(ผู้ครอบครองตามหลักเกณฑ์ และตามระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ มีสิทธิ์ร้องขอต่อศาลได้) และเจ้าของที่ดินก็มีสิทธิ์ต่อสู้ในชั้นศาลเช่นกัน

หลักเกณฑ์ในการได้การครอบครองปรปักษ์ มียิบย่อยมากมาย ในที่นี้จะพูดถึงประเด็นใหญ่ๆ เช่น

–              ที่ดินที่จะครอบครองต้องเป็นทรัพย์ที่มีกรรมสิทธิ์ ที่ดินก็ต้องเป็นที่ดินมีโฉนดเท่านั้น ต้องครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี
ส่วนที่ดินมือเปล่า ได้แก่ ที่ดิน ส.ค.1 หรือ น.ส.3 หรือ น.ส. 3 ก. ภบท.5 ไม่สามารถครอบครองปรปักษ์ได้ แต่แย่งสิทธิการครอบครองกันได้ตามข้อกฎหมายอื่น

–              ต้องเป็นการครอบครองโดยความสงบ คือ ครอบครองอยู่ในที่ดินนั้นๆ โดยไม่ได้มีคดีความฟ้องร้องกับเจ้าของที่ดิน
อาศัยอยู่อย่างเปิดเผย ไม่มีการปิดบัง ซ่อนเร้น กระทำการสุจริตในพื้นที่ครอบครอง

–              ใช้สอยที่ดิน และทรัพย์สินในที่นั้น โดยเจตนาเป็นเจ้าของ เช่น ใช้สอยที่ดินนั้นแบบเดียวกับการเป็นเจ้าของ
มีการปกป้องที่ดินนั้น มีการขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นเข้ามาบุกรุก เป็นต้น

ทีนี้เรามาดูกันบ้างดีกว่า ถ้าในฐานะที่เราเป็นเจ้าของที่ดิน เราจะป้องกันที่ดินเราไม่ให้โดนแย่งครอบครองปรปักษ์ได้อย่างไรบ้าง กันไว้ดีกว่าแก้แน่นอน
1.เข้าไปสำรวจตรวจตราที่ดินของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง

2.เสียภาษีตามหน้าที่ในทุกๆปี เจ้าของที่ดินมีหน้าที่เสียภาษี ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มากน้อยตามแต่ละประเภทที่ดินที่ทำประโยชน์อยู่

3.ผูกมิตรกับเพื่อนบ้าน ชาวบ้านรั้วติดกัน ไว้คอยตรวจตรา ถามไถ่ การเข้าออกของที่ดินว่ามีคนอื่นเข้ามาแวะเวียน อยู่อาศัย บ้างหรือไม่

4.ตรวจเช็คหมุดหลักฐานที่ดินให้ครบ หากพบว่ามีการถูกเคลื่อนย้าย หรือสูญหาย ให้ดำเนินคดี แล้วรังวัดตรวจสอบแนวเขตใหม่ ต่อไป

5.ติดป้าย ล้อมรั้ว แสดงแนวเขต และการเป็นเจ้าของให้ชัดเจน

6.ถ้าพบอื่น บุกรุก รุกล้ำ ในที่ดิน ต้องเจรจา ไกล่เกลี่ย ขับไล่ โต้แย้ง หรือทำสัญญาเช่า สัญญาจะซื้อจะขาย ยื่นโนติทให้ออก โดยทันที

 

เพียงเท่านี้ เจ้าของที่ดิน  ก็จะสามารถป้องกัน และลดความเสี่ยงในการถูกแย่งสิทธิครอบครองปรปักษ์ที่ดินจากบุคคลอื่นได้ ถ้ามีที่ดิน ต้องการเงินด่วน
ไม่ต้องเสี่ยงโดนแย่งครอบครองปรปักษ์ ก็เอามาจำนอง ขายฝาก กับเรา .Property4cash ได้เหมือนกันค่ะ

การครอบครองปรปักษ์ เจ้าของที่ดินต้องดูแลก่อนโดนแย่งครอบครอง

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง 

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

ขายฝากกับกู้ธนาคาร เลือกทางไหนดี?
11
Sep 24
ขายฝากกับกู้ธนาคาร เลือกทางไหนดี?

การตัดสินใจเลือก ขายฝากกับกู้ธนาคาร เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบ เพราะทั้งสองทางเลือกมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันไป เพื่อให้คุณตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ลองมาเปรียบเทียบรายละเอียดกัน ขายฝาก  ขายฝาก คือ สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่มีเงื่อนไขพิเศษ ซึ่งผู้ขายฝากสามารถซื้อทรัพย์สินนั้นกลับคืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดตามกฎหมาย โดยทั่วไปขายฝากจะเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ขายต้องการเงินด่วน แต่ยังต้องการรักษาสิทธิในการซื้อทรัพย์สินนั้นคืน ข้อดี: ได้เงินเร็ว: กระบวนการอนุมัติและรับเงินรวดเร็วกว่าการกู้ธนาคาร วงเงินสูง: มักจะได้วงเงินสูงกว่าการกู้ธนาคาร ไม่ต้องมีเครดิตบูโรที่ดี: เหมาะสำหรับคนที่ไม่มีประวัติเครดิตที่ดี ไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันเพิ่มเติม: ใช้ทรัพย์สินที่มีอยู่เป็นหลักประกัน ข้อเสีย: เสียกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชั่วคราว: กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะโอนไปให้อีกฝ่ายหนึ่ง จนกว่าจะไถ่ถอนคืน ดอกเบี้ยอาจสูงกว่า: อัตราดอกเบี้ยอาจสูงกว่าการกู้ธนาคาร มีความเสี่ยงสูง: หากไม่สามารถไถ่ถอนทรัพย์สินคืนได้ตามกำหนด อาจสูญเสียทรัพย์สินไป ขั้นตอนยุ่งยาก: การทำสัญญาและไถ่ถอนทรัพย์สินมีขั้นตอนที่ซับซ้อนก […]

อ่านเพิ่มเติม
ที่ดินมรดก สามารถทำขายฝากได้หรือไม่?
19
Nov 24
ที่ดินมรดก ทำขายฝากได้หรือไม่?

ที่ดินมรดก สามารถทำขายฝากได้หรือไม่? วันนี้ Property4Cash มาไขคำตอบแล้วค่ะ  ที่ดินทำกิน ที่ดินเปล่า นับเป็นสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าสูง เปรียบเสมือนมรดกที่ส่งต่อความมั่นคงจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลานในอนาคต เพื่อพัฒนาและทำประโยชน์ให้งอกเงย เลี้ยงดูชีวิต หรือต่อยอดจากแนวคิดของบรรพบุรุษ  และเมื่อทรัพย์สินดังกล่าว เป็นมรดก และผู้รับมรดกมีความจำเป็นต้องใช้เงินก้อนเร่งด่วน ผู้รับมรดกสามารถใช้ที่ดิน อสังหาที่ได้รับมรดกมาจากบรรพบุรุษ ไม่ว่าจะเป็น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ฯลฯ มาเป็นหลักทรัพย์ทำธุรกรรมขายฝากได้หรือไม่?    โดย ที่ดินมรดก สามารถทำขายฝากที่ดินได้  ผู้รับมรดกที่มีชื่อระบุในพินัยกรรม หรือเป็นทายาทโดยธรรมของผู้เสียชีวิต หลังจากดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หลังโฉนดที่ดิน น.ส. 4 มาเป็นชื่อของตัวเองเรียบร้อยแล้ว สามารถนำโฉนดที่ดิน น.ส. 4 มาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันทำสัญญาขายฝาก ณ สำนักงานที่ดิน ได้ตามปกติ  การขายฝากที่ดิน กับ Property4Cash อนุมัติไว ได้รับเงินก้อนทันที ดอกเบี้ยต่ำเริ่มต้นเพียง 0.75% ต่อเดือน ขั้นตอนดำเนินการ เกี่ยวกับกรณีการจัดการที่ดินมรดก เป็นอย่างไรบ้าง? ตามเราไปอัพเดตก […]

อ่านเพิ่มเติม
17
Aug 24
รายละเอียดสัญญาขายฝากที่ดินที่ควรรู้ก่อนทำธุรกรรม สำหรับผู้รับขายฝาก และผู้ขายฝาก

รายละเอียด สัญญาขายฝากที่ดิน ที่ควรรู้ก่อนทำธุรกรรม สัญญาขายฝากที่ดิน เป็นสัญญาที่มีความสำคัญทางกฎหมายและเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินที่มีมูลค่า การทำความเข้าใจรายละเอียดต่างๆ ก่อนลงนามจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งผู้รับซื้อฝากและผู้ขายฝากควรศึกษาข้อมูลเหล่านี้ให้ละเอียดก่อนตัดสินใจ สิ่งที่ผู้รับซื้อฝากควรทราบ กรรมสิทธิ์ในที่ดิน: แม้ว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันทีที่ทำสัญญา แต่ผู้ขายฝากยังมีสิทธิไถ่ถอนที่ดินคืนได้ตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา ระยะเวลาไถ่ถอน: กำหนดระยะเวลาไถ่ถอนให้ชัดเจน โดยทั่วไปจะไม่น้อยกว่า 1 ปี และไม่เกิน 10 ปี จำนวนสินไถ่: คือจำนวนเงินที่ผู้ขายฝากต้องชำระเพื่อไถ่ถอนที่ดินคืน โดยจำนวนสินไถ่จะต้องไม่น้อยกว่าราคาที่ซื้อฝาก และดอกเบี้ยที่คิดจากราคาซื้อฝากตามอัตราที่กฎหมายกำหนด (ปัจจุบันไม่เกิน 15% ต่อปี) ค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียน: ผู้รับซื้อฝากเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนสัญญาขายฝากที่ดิน ณ สำนักงานที่ดิน ภาษีที่เกี่ยวข้อง: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ชำระภาษีที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมนี้ครบถ้วนแล้ว การตรวจสอบเอกสาร: ต […]

อ่านเพิ่มเติม