ที่ดินติดธนาคาร จำนองได้ไหม ขายฝากได้หรือเปล่า
24
Feb 23

ที่ดินติดธนาคาร เป็นคำถามที่ทางเราพบเจอค่อนข้างบ่อย สำหรับเจ้าของทรัพย์
ไม่ว่าเป็นบ้าน คอนโด หรือว่าที่ดิน ที่ต้องการนำทรัพย์มา จำนอง หรือ ขายฝาก กับเรา
แต่ว่าทรัพย์นั้นๆ ยังคงมีภาระหนี้อยู่กับธนาคาร หรือสถานบันการเงินอื่นๆ หรือเรียกสั้นๆ กันว่า “ติดแบงค์”
ทำให้ไม่รู้ว่าสามารถนำมาจำนองกับขายฝากได้หรือไม่
Property4Cash จึงอยากมาแถลงไขให้ได้กระจ่างใจกันในวันนี้ ^-^

ที่ดินติดธนาคาร คอนโดผ่อนอยู่ จำนองได้ไหม ขายฝากได้รึเปล่า ?

โดยปกติแล้วเราสามารถทำได้ ไม่ได้ผิดกฎหมายแต่อย่างใด สามารถทำได้ทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ
เพียงแต่ว่ามีข้อแม้และข้อจำกัดอยู่หลายข้อด้วยกัน

การนำทรัพย์ที่ติดภาระหนี้กับธนาคารอยู่มาทำการ จำนอง-ขายฝากนั้น คือการที่เราจูงมือ “นายทุน”
ที่รับจำนอง-ขายฝาก ไปทำนิติกรรมที่สำนักงานที่ดินพร้อมกัน เพื่อนำเงินที่เราจะได้รับไปปิดยอดหนี้เดิมกับธนาคาร
และทำการจำนองหรือขายฝาก กับนายทุนที่มารับช่วงต่อไปในคราวเดียวกัน
พูดง่ายๆ คือนายทุนนำเงินไปปิดแบงค์ให้ แล้วนำส่วนที่เหลือหลังจากหักลบค่าใช้จ่ายต่างๆ มาให้เจ้าของทรัพย์
ผู้จำนอง-ขายฝาก นั่นเอง

ยกตัวอย่างเช่น เรามี บ้านติดธนาคาร ยอดหนี้คงเหลืออยู่ 2,000,000 บาท
ต้องการขายฝากบ้านที่ราคา 2,500,000 บาท
นายทุนจะนำเงิน 1,000,000 บาทชำระให้กับทางธนาคาร ณ สำนักงานที่ดิน
และนำส่วนที่เหลือ 500,000 บาทมาให้เรา โดยจะมีการหักลบกับค่าใช้จ่ายในการโอนการทำนิติกรรมต่างๆ
อีกส่วนนึงก่อนจะได้เป็นเงินสดถึงมือเรา

จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่า วงเงินที่ต้องการจำนอง-ขายฝาก ต้องมีมูลค่าสูงกว่าภาระเดิม
หรือยอดหนี้ที่เราติดอยู่กับธนาคาร เพื่อที่เราจะได้มีเงินสดที่เป็นส่วนต่างจากการทำจำนอง-ขายฝาก
ไปหมุนเวียนใช้ตามความจำเป็นของแต่ละคน แต่หากว่าวงเงินที่เราขอนั้นต่ำกว่ายอดหนี้ที่ติดธนาคารอยู่
กรณีเช่นนี้ก็สามารถทำได้เช่นกันแต่ไม่ค่อยนิยมทำกันนัก
เนื่องจากว่าทางเจ้าของทรัพย์ต้องควักกระเป๋าเอาเงินสดส่วนหนึ่งโปะเพิ่มเข้าไป ทำให้นอกจากจะไม่ได้เงินเพิ่มแล้ว
ยังต้องเสียเงินส่วนต่างและเสียค่าธรรมเนียมต่างๆ เพิ่มอีกต่างหาก
ซึ่งกรณีนี้อาจจะเกิดขึ้นได้สำหรับคนที่ต้องการปิดยอดหนี้กับธนาคาร
เพื่อเคลียร์ตัวเลขภาระหนี้สินในเครดิตบูโรกับทางธนาคารเพื่อไปทำเรื่องสินเชื่ออื่นๆ นั่นเอง

 

**ความเข้าใจผิด ที่หลายๆ คนมักเข้าใจผิดกันคือ คิดว่าเราสามารถนำเอาโฉนดที่มีภาระหนี้กับธนาคารอยู่
มาจำนองหรือขายฝากได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องปิดยอดหนี้กับธนาคาร กรณีแบบนี้ทำไม่ได้จ้าาา ^^’

 

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าวงเงินที่ได้จะรับ สูงหรือต่ำกว่ายอดที่ติดแบงค์ ?

โดยหลักเกณฑ์การให้วงเงินจำนองและขายฝากนั้น
สำหรับการ จำนอง จะอยู่ที่ 30-40% ของราคาที่ซื้อขายกันจริงในตลาด
ส่วนการขายฝาก จะสามารถให้วงเงินอยู่ที่ประมาณ 50-60% ของราคาปกติที่ซื้อขายกัน
เพราะฉะนั้น หากเรารู้อยู่แล้วว่ามูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์ที่เราถือครองอยู่นั้นควรจะอยู่ราคาเท่าไหร่
เราก็จะสามารถประเมินวงเงินที่นายทุนพอจะอนุมัติให้เราได้ด้วยตนเอง

ที่ดินติดธนาคาร จำนองได้ไหม ขายฝากได้หรือเปล่า

หากสนใจลงทุนจำนอง ขายฝาก Property4cash ยินดีให้คำปรึกษา

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

รีไฟแนนซ์ Retention ต่างกันอย่างไร?
26
May 23
Retention กับ Refinance ต่างกันอย่างไร?

เมื่อผ่อนบ้านมาได้สักระยะหนึ่งแล้วหลายคนก็เริ่มที่จะหาทางทำให้ดอกเบี้ยนั้นลดลง ซึ่งวิธีการที่เราคุ้นเคยกันนั้นคือการ รีไฟแนนซ์ แต่ยังมีอีกหนึ่งวิธีที่ง่ายและสะดวกกว่ามาก คือการ Retention แล้วทั้ง 2 วิธีนี้แตกต่างกันอย่างไร มาดูกันเลยค่ะ Retention เป็นการติดต่อขอลดอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารเดิม ในขณะที่ รีไฟแนนซ์ เป็นการนำที่อยู่อาศัยที่ผู้กู้ผ่อนชำระอยู่ มาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพื่อขอสินเชื่อใหม่มาปิดหนี้ยอดเงินกู้เดิมที่ยังเหลืออยู่ ทำให้หนี้ของเรากับเจ้าหนี้ ซึ่งก็คือ ธนาคารหรือสถาบันการเงินเดิมนั้นสิ้นสุดลง พร้อม ๆ กับการเกิดขึ้นของหนี้ใหม่กับธนาคารหรือสถาบันการเงินใหม่ ซึ่งข้อแตกต่างสามารถแบ่งได้ตามนี้ #สถาบันการเงิน Retention จะใช้ธนาคารหรือสถาบันการเงินเดิม ไม่ต้องหาสถาบันการเงินใหม่ Refinance จะต้องหาธนาคารหรือสถาบันการเงินใหม่ #การเตรียมเอกสาร Retention ไม่ต้องยุ่งยากในการเตรียมเอกสาร เนื่องจากธนาคารสามารถใช้เอกสารเดิมหลายฉบับที่ผู้กู้ใช้ยื่นขอสินเชื่อ Refinance เนื่องจากเป็นธนาคารหรือสถาบันการเงินใหม่ จึงต้องมีการเตรียมเอกสารใหม่ทั้งหมด #ระยะเวลาอนุมัติ Retention เนื่องจากมีข้อ […]

อ่านเพิ่มเติม
ทำความเข้าใจขั้นตอนการ ขอรังวัด
3
Jan 25
ทำความเข้าใจขั้นตอนการ ขอรังวัด

>>> การขอรังวัดที่ดิน คืออะไร มีแบบไหนบ้าง? วันนี้ Property4Cash สรุปมาให้แล้วค่ะ… ขอรังวัด หรือรังวัดที่ดิน ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ซื้อ-ขายจะต้องรู้และเข้าใจ รวมทั้งต้องตรวจสอบรายละเอียดให้ถี่ถ้วนก่อนทำการซื้อ-ขายด้วย อีกทั้งการขอรังวัดที่ดินก็มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินด้วยนะ ถ้าพร้อมแล้ว ก็มาทำความเข้าใจกันเลยค่ะ…    รังวัดที่ดิน หมายถึง กระบวนการวัดและกำหนดขอบเขตของที่ดินอย่างถูกต้อง โดยอาศัยเครื่องมือวัดและวิธีการทางวิศวกรรมสำรวจ เพื่อจัดทำเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เช่น โฉนดที่ดิน หรือ น.ส.3 รวมถึงการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับเขตแดนของที่ดิน มีจุดประสงค์ของการรังวัดที่ดิน ดังนี้ การออกเอกสารสิทธิ์ : เพื่อออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการครอบครองที่ดิน การแบ่งแยกหรือรวมแปลงที่ดิน : ใช้ในกรณีแบ่งที่ดินเป็นแปลงย่อยหรือรวมที่ดินหลายแปลงเข้าด้วยกัน การตรวจสอบแนวเขตที่ดิน : เพื่อยืนยันขอบเขตที่ดินตามเอกสารสิทธิ์หรือแก้ไขกรณีที่มีข้อพิพาท การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม : เช่น การจำนอง ขาย หรือโอนที่ดิน สิ่งที่เจ้าของที่ดินควรรู้ก่อนขอรังวัดที่ดิน จากเว็บไซต์กรมที่ดินได้แจงรายละเอียด […]

อ่านเพิ่มเติม
ที่ดิน ส.ป.ก.
7
Feb 23
ที่ดิน ส.ป.ก. ซื้อขาย จำนองได้หรือไม่

ที่ดิน สปก ซื้อขาย จำนองได้หรือไม่ เรื่องมีอยู่ว่าทีมงานได้รับการติดต่อจากคนที่สนใจ จะนำที่ดินมาจำนอง ขายฝาก โดยที่หลายท่านนั้น นำที่ดิน ส.ป.ก. มาให้ทางเราช่วยประเมินวงเงิน เพราะมีผู้คนจำนวนมากที่อาจจะยังไม่เข้าใจถึงสิทธิใน ที่ดิน ส.ป.ก. ว่าสามารถซื้อขาย จำนองได้หรือไม่ วันนี้เลยอยากจะพาเพื่อนๆ ไปรู้จักกับที่ดิน ส.ป.ก. ให้มากขึ้นกัน ที่ดิน ส.ป.ก. คืออะไร            ที่ดิน ส.ป.ก. หรือที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 คือ เป็นเอกสารสิทธิที่ภาครัฐให้ประชาชนเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน เอกสารแสดงการครอบครองที่ดินที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกให้กับประชาชนเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน เกิดขึ้นเมื่อมีพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 โดยมีหลักว่า ที่ดินในเขตปฏิรูปนั้นใช้ทำเกษตรกรรมได้อย่างเดียวเท่านั้น ทำประโยชน์อย่างอื่นไม่ได้ และผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 จะต้องมีฐานะยากจน ใครบ้างที่มีสิทธิครอบครองที่ดิน ส.ป.ก. เกษตรกร เป็นผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักอยู่แล้ว โดยใช้เวลาส่วนใหญ่ในรอบปี เพื่อประกอบเกษตรกรรมแห่งท้องถิ่นนั้น […]

อ่านเพิ่มเติม