ถูกเวนคืนที่ดิน เจ้าของที่ดินต้องรับมืออย่างไร?
10
May 23

เวนคืนที่ดินเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ในที่ดินของเพื่อนๆ โดนรัฐจะนำที่ดินเหล่านั้นมาสร้างเป็นสาธารณูปโภคต่าง ๆ
เพื่อพัฒนาประเทศ เช่น เส้นทางคมนาคม โครงการพัฒนา หรือ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่มีแผนพัฒนาอีกยาวไกลในอนาคต
สำหรับการเวนคืนที่ดิน เพื่อนๆ หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจกระบวนการ และ ขั้นตอนที่จะรักษา “สิทธิ”ของตัวเองให้มีความคุ้มค่าที่สุดยังไง
วันนี้เราจะพาเพื่อนๆทุกคนไปเรียนรู้ขั้นตอนต่างๆ สำหรับการ ถูกเวนคืนที่ดิน เจ้าของที่ดินต้องรับมืออย่างไร?

เวนคืนที่ดินคือ
การที่ภาครัฐ หรือหน่วยงานราชการบังคับขอซื้อที่ดินจากประชาชนที่เป็นเจ้าของที่ดิน เพื่อนำไปสร้างสาธารณประโยชน์
หรือพัฒนาระบบสาธารณูปโภคของประเทศ เช่น สร้างถนน สร้างทางด่วน มอเตอร์เวย์ หรือ สร้างสถานีรถไฟฟ้า เป็นต้น

ขั้นตอนการเวนคืนที่ดินของภาครัฐ

  1. รัฐจะประกาศพื้นที่ที่อยู่ในเขตแนวเวนคืนที่ดิน
  2. เจ้าหน้าที่จะเข้าดำเนินการสำรวจว่าอสังหาริมทรัพย์ใดบ้าง ที่อยู่ในเขตพื้นที่เวนคืนที่ดิน
  3. รัฐจะกำหนดราคาเวนคืนของอสังหาริมทรัพย์ และที่ดินในพื้นที่เวนคืนพิจารณาจากสภาพ
    และทำเลที่ตั้งของที่ดินด้วย และถ้าต้องเวนคืนเพียงบางส่วนของที่ดิน แล้วส่งผลให้ที่ดินส่วนที่เหลือนั้นราคาตก
    อันเกิดจากการเวนคืนที่ดิน เจ้าหน้าที่ต้องให้กำหนดเงินค่าทดแทนราคาที่ตกนั้นด้วย
  4. ข้อนี้สำคัญมาก รัฐทำการประกาศราคาค่าทดแทนพื้นที่ที่ถูกเวนคืน
    ซึ่งหากหน่วยงานประกาศแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนใจปรับลดจำนวนเงินค่าทดแทนได้ในภายหลัง
    (การปรับเปลี่ยนจำนวนเงินนั้นมีความยุ่งยาก และ ต้องใช้เวลานานพอสมควรเลยในการอุทธรณ์ และ ฟ้องร้องต่อศาล)
  5. ออกหนังสือแจ้งเจ้าของที่ดินให้มาติดต่อทำสัญญาซื้อขาย ถ้ายังไม่ตกลงทำสัญญาจะดำเนินการจ่ายเงินค่าทดแทนก่อน
  6. ขั้นตอนจ่ายเงินค่าทดแทน ทำสัญญาซื้อขายและรับเงินทดแทนจากเจ้าหน้าที่
  7. หากไม่พอใจคำวินิจฉัยเงินทดแทนของรัฐมนตรี สามารถอุทธรณ์ขอเพิ่มราคาเงินค่าทดแทน
    ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ โดยฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี
  8. เมื่อศาลตัดสินเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าทดแทนและเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์และที่ดิน
  9. ขนย้ายรื้อถอนอสังหาริมทรัพย์โดยรัฐหรือผู้ถูกเวนคืน
  10. ตรา พ.ร.บ. เวนคืนฯ เพื่อให้กรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ตกเป็นของรัฐ

ผลประโยชน์ที่เจ้าของที่ดินควรทราบ

  1. รัฐจะเวนคืนที่ดินได้เฉพาะกิจการที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น
  2. รัฐต้องจ่ายค่าทดแทนที่เป็นธรรมให้กับเจ้าของที่ดิน
  3. รัฐต้องกำหนดค่าทดแทนตามราคาซื้อ – ขายของตลาด
  4. รัฐต้องระบุวัตถุประสงค์ และ วันที่เข้าใช้งานพื้นที่อย่างชัดเจน
  5. ผลประโยชน์ทางภาษีอากร เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนจะได้รับการยกเว้น ค่าธรรมเนียม และ อากร
  6. ผลประโยชน์ที่จะได้ทำสัญญาตกลงซื้อขายที่ดินและรับเงินค่าทดแทนก่อนที่จะตราพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดิน
  7. ผลประโยชน์ที่จะรับเงินค่าทดแทนตามที่ภาครัฐกำหนด และ มีสิทธิ์อุทธรณ์ กรณีไม่พอใจเงินทดแทน
  8. ผลประโยชน์ ที่จะอุทธรณ์ เงินค่าทดแทนเพิ่มภายใน 60 วัน หลังจากที่ได้รับหนังสือแจ้ง และ ต้องฟ้องร้องศาลภายใน 1 ปี

สามารถตรวจสอบราคาที่ดินได้ตนเอง
สำหรับการตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน สามารถเข้าไปเช็คกับ กรมธนารักษ์
ด้วยตัวเองได้ที่  https://landsmaps.dol.go.th

เพื่อนๆคงเข้าใจแล้วใช่ไหมคะ ว่า ถูกเวนคืนที่ดิน เจ้าของที่ดินต้องรับมืออย่างไร?
และการเวนคืนที่ดินในสมัยนี้เป็นเรื่องที่ไม่น่าวิตกกังวลสักเท่าไหร่นัก เพราะแค่เพียงเราทราบถึง “ผลประโยชน์” ของเรา
ที่จะได้รับก็ไม่มีอะไรน่ากังวล  แต่จะมีหนึ่งข้อที่สำคัญมาก ๆ ห้ามพลาดเลยเพราะจะเสียเวลามากนั้นคือ
เมื่อรัฐประกาศราคาค่าทดแทนแล้ว การปรับเปลี่ยนภายหลังจะยากและต้องใช้เวลานานในการอุทธรณ์และฟ้องร้องต่อศาลใช้เวลานานพอสมควร
ฉะนั้นควรเช็คราคาประเมินที่ดินของเราให้ดีๆ

ถูกเวนคืนที่ดิน เจ้าของที่ดินต้องรับมืออย่างไร?

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน มีแบบไหนบ้างนะ?
21
Nov 23
กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน มีแบบไหนบ้างนะ?

เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ของ กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน กันว่าคืออะไร? เพื่อที่ว่าเราจะเข้าใจบทบาทรวมถึงบริบทกันได้มากขึ้น สำหรับคนที่กำลังมีปัญหาว่าจะแบ่งสิทธิ์การถือครองร่วมในที่ดินอย่างไร? ซึ่งก็จะมีหลายรูปแบบด้วยกันค่ะ กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน หมายถีง นิติกรรมการซื้อการขายหรือเป็นการให้ในที่ดินซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้ นั่นก็คือ เป็นการขายหรือให้ในบางส่วนโดยให้สังเกตดูตรงรายชื่อในหนังสือแสดงสิทธิ์ที่ดิน ว่าจะมีชื่อเจ้าของที่ดินร่วมมากกว่า 1 คนขึ้นไป เช่น ที่ดิน 100 ไร่ มีผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันหลายคน . การถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน แบบต่างๆ มีแบบไหนบ้าง ? การแบ่งที่ดินในแบบรวมๆ ผู้ร่วมจะไม่สามารถนำที่ดินผืนดังกล่าวไปขายได้จนกว่าได้รับอนุญาติจากผู้ร่วมคนอื่นๆ ลักษณะการแบ่ง โดยการแบ่งชัดเจนด้วยสัดส่วนคิดเป็น % เช่น มีบุตร 3 คน นั่นก็คือ นางสาวเอ นายบี นายซี แต่ในขณะนั้น บิดายังมีชีวิตอยู่และยังไม่ได้ทำเรื่องโอนที่ดินเป็นเรื่องเป็นราว ดังนั้น ความต้องการที่จะให้มีการถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินถึงเกิดขึ้น โดยมีรูปแบบง่ายๆ นั่นก็คือ สมาชิกที่ต้องการจะมีกรรมสิทธิ์มาตกลงและ คุยกันก่อนว่ารู […]

อ่านเพิ่มเติม
บ้าน 2 ชั้น ขายฝากเฉพาะส่วน หรือ ชั้นล่างได้ไหม?
21
Nov 24
บ้าน 2 ชั้น ขายฝากเฉพาะส่วน หรือ ชั้นล่างได้ไหม?

>>> อยากขายฝาก แต่ต้องการ ขายฝากเฉพาะส่วน เฉพาะชั้น สามารถทำได้ไหมคะ? แอดมิน อย่างที่ทุกคนทราบกันว่า การขายฝาก คือ การนำทรัพย์หรืออสังหาไปขายให้กับผู้รับซื้อทรัพย์ โดยกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์นั้นจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันที  นอกจากนี้ผู้ขายฝาก ยังสามารถซื้อทรัพย์สินของตนเองคืนได้ตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา แต่คำถามที่พบเจอได้บ่อยครั้ง คือ ขอขายฝากเฉพาะบ้านชั้น 2 ได้ไหม ขายฝากบ้านเฉพาะหน้าบ้านได้ไหม หรือขายฝากเฉพาะส่วนได้ไหม? วันนี้เราจึงมาตอบคำถามที่ทุกคนสงสัยกันค่ะ   ก่อนอื่นต้องขอแจ้งก่อนว่า…  การขายฝากเฉพาะชั้น เฉพาะส่วน ไม่สามารถทำได้นะคะ การขายฝากจะต้องขายฝากทั้งหมด เช่น บ้านทั้งหลัง ไม่สามารถแยกชั้น 1 ชั้น 2 ได้ หรือขายฝากคอนโดทั้งห้อง ไม่สามารถแบ่งเฉพาะห้องนั่งเล่นได้    แต่หากต้องการขายที่ดิน แยกกับสิ่งปลูกสร้าง แบบนี้ถึงจะสามารถทำได้ค่ะ แต่ส่วนใหญ่จะหาทุนรับฝากยาก    นอกจากนี้ การขายฝาก ก็ไม่ได้กำหนดไว้เฉพาะแค่อสังหาริมทรัพย์เท่านั้น แต่ทรัพย์สินอื่นๆ ก็สามารถทำสัญญาขายฝากได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น กระเป๋า นาฬิกา เครื่องประดับ รถยนต์ โต๊ะ คอมพิวเตอร์ โทร […]

อ่านเพิ่มเติม
เมื่อนำบ้านไป ขายฝากบ้าน ยังสามารถอยู่อาศัยภายในบ้านได้หรือไม่?
30
Sep 24
เมื่อนำบ้านไปขายฝาก ยังสามารถอยู่อาศัยภายในบ้านได้หรือไม่?

ขายฝากบ้าน ขายฝากทรัพย์สิน เป็นหนึ่งในวิธีการจัดการทรัพย์สินที่หลายคนเลือกใช้เพื่อเข้าถึงเงินทุนอย่างรวดเร็ว แต่คำถามที่มักเกิดขึ้นคือ เมื่อนำบ้านไปขายฝากแล้ว เจ้าของบ้านเดิมยังสามารถอยู่อาศัยในบ้านหลังนั้นต่อไปได้หรือไม่? คำตอบสำหรับคำถามนี้มีรายละเอียดและเงื่อนไขที่ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อป้องกันการเกิดความสับสนและปัญหาในภายหลัง” ขายฝากบ้าน คืออะไร? การขายฝาก คือการทำสัญญาทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการขายอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน หรือที่ดิน  เป็นกระบวนการที่เจ้าของทรัพย์สินขายอสังหาริมทรัพย์ให้กับผู้ซื้อฝาก โดยมีข้อตกลงว่าผู้ขายสามารถอาศัยอยู่ในทรัพย์สินนั้นได้จนกว่าจะถึงเวลาที่กำหนดในการชำระคืนเงินกู้หรือหนี้ที่ได้รับจากผู้ซื้อฝาก ซึ่งส่วนใหญ่การขายฝากจะเกี่ยวข้องกับการกู้ยืมเงินที่มีหลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์นั้น การขายฝากบ้านเป็นวิธีที่สามารถใช้ในการระดมทุนหรือกู้ยืมเงินโดยใช้บ้านเป็นหลักประกัน แต่มีข้อกำหนดและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องที่ควรทราบ โดยทั่วไปแล้ว การขายฝากจะมีลักษณะดังนี้: สิทธิในการอยู่อาศัย: ในกรณีของการขายฝาก บ้านยังคงเป็นของผู้ขาย (เจ้าของเดิม) และเจ้าของบ้ […]

อ่านเพิ่มเติม