จํานํา กับ จํานอง ต่างกันอย่างไร
30
Mar 23

ช่วงนี้หลายคนอาจได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจเพราะโควิดไม่มากก็น้อย หนึ่งในทางออกที่ใช้คือการนำทรัพย์สินที่มีออกมาขาย
หรือนำทรัพย์สินที่มีค่าไป จำนำ หรือ จำนอง  หลายคนก็ยังสงสัยว่า จํานํา กับ จํานอง ต่างกันอย่างไร วันนี้เราจะพาทุกคนไปไข้ข้อสงสัยนี้กัน มาดูกัน

จำนอง จำนำ แตกต่างกันอย่างไร

การจำนอง

การที่ผู้จำนองนำทรัพย์สินที่มีค่านำมาประกันเพื่อกู้เงินมาใช้  โดยใช้เป็นหลักประกันคือ อสังหาริมทรัพย์  คือ ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้
เช่น คอนโด โฉนดที่ดิน บ้าน อาคารพาณิชย์ โดยการจำนอง ผู้จำนองต้องนำสินทรัพย์ไปจดทะเบียนไว้กับผู้รับจำนอง
ซึ่งต้องกระทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่กรมที่ดินเท่านั้น ทั้งนี้ไม่ต้องโอนที่ดินหรือทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้รับจำนอง

สาระสำคัญ

  1. ทรัพย์สินที่นำมาจำนองจะต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์
  2. ผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบสินทรัพย์ให้แก่ผู้รับจำนอง โดยกรรมสิทธิ์ยังเป็นของผู้จำนองอยู่
  3. ผู้จำนองเป็นลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกก็ได้
  4. มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร
  5. ต้องจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที ณ กรมที่ดิน

ในกรณีที่ผู้จำนองไม่สามารถชำระหนี้ได้

เจ้าหนี้ต้องทำการฟ้องร้องเพื่อบังคับจำนองโดยการที่จะนำทรัพย์สินไปขายทอดตลาด ยึดสินทรัพย์เป็นของผู้รับจำนอง
แล้วนำเงินมาจ่ายคือให้กับผู้รับจำนองตามวงเงินที่รับจำนองมา

การจำนำ

การที่ผู้จำนำ นำทรัพย์สินที่มีค่านำมาประกันเพื่อกู้เงินมาใช้   โดยใช้เป็นหลักประกันคือ สังหาริมทรัพย์ส่งมอบให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเป็นผู้ครอบครองเรียกว่า
ผู้รับจำนำ เพื่อประกันการชำระหนี้ ทรัพย์สินที่จำนำได้คือ ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนที่ ได้ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ทองรูปพรรณ สร้อย แหวน เพชร

สาระสำคัญ

  1. ทรัพย์สินที่นำมาจำนำเป็นสังหาริมทรัพย์
  2. ผู้จำนำต้องมอบสินทรัพย์ให้แก่ผู้รับจำนำ
  3. ผู้จำนำเป็นลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกก็ได้
  4. มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร
  5. ไม่ต้องจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่

ในกรณีที่ผู้จำนองไม่สามารถชำระหนี้ได้

สามารถนำสิ่งที่ผู้จำนำมอบให้ บังคับจำนำและไปขายทอดตลาดได้เลยโดยไม่ต้องอาศัยคำสั่งของศาล

 

เพื่อนๆคงได้เห็นแล้วว่า จํานํา กับ จํานอง มีข้อที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของทรัพย์สินที่นำมาใช้เป็นหลักประกัน
การส่งมอบทรัพย์สิน สถานะการเป็นลูกหนี้ การฟ้องร้อง การจดทะเบียน และการบังคับขายในกรณีที่ผู้จำนองและจำนำไม่สามารถชำระหนี้ได้
และหวังว่าเพื่อน ๆ จะเข้าใจกันแล้วนะคะว่าการจำนองและการจำนำต่างกันอย่างไร

แต่หากใครกำลังจะสนใจต้องใช้เงินด่วนและต้องการจำนอง อสังหาริมทรัพย์ สามารถจำนองกับเราได้ สามารถเข้าไปปรึกษาให้ฟรีได้ที่ https://property4cash.co/

จํานํา กับ จํานอง ต่างกันอย่างไร

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

คอนโดผ่อนตรงกับเจ้าของ ทำได้หรือไม่?
20
Jul 23
อยากซื้อคอนโดผ่อนตรงกับเจ้าของ ทำได้หรือไม่?

การซื้อ คอนโดผ่อนตรงกับเจ้าของ เป็นหนึ่งในทางออกสำหรับ เจ้าของคอนโดที่อยากจะขาย และมีคนที่อยากซื้อ แต่กู้ไม่ผ่าน แต่หลายคนก็ยังสงสัยว่าสามารถทำได้จริงหรือไม่? และอะไรที่จะรับประกันการซื้อขายครั้งนี้ วันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกคนได้หายสงสัยกันค่ะ การซื้อคอนโดผ่อนตรงกับเจ้าของ จะเกิดขึ้นโดยตรงระหว่างเจ้าของกับผู้ซื้อ ซึ่งจะไม่ผ่านตัวกลางที่เป็นสถาบันการเงินใดๆ อย่างเช่นธนาคาร ดังนั้นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือ หากใครเป็นเจ้าของคอนโดที่ขายด้วยวิธีนี้ จะต้องทำใจว่าตนเองจะไม่ได้รับเงินก้อนเต็มจำนวนทันทีที่การตกลงซื้อขายสำเร็จ อันนี้คือความต่างข้อแรกที่เกิดขึ้นสำหรับผู้ขายหรือเจ้าของคอนโดนั่นเอง แต่หากมองในฝั่งของผู้ซื้อก็คงไม่มีความแตกต่างใด ๆ เพราะไม่ว่าจะด้วยวิธีใดผู้ซื้อก็ต้องมานั่งผ่อนจ่ายเป็นงวด ๆ อยู่ดี แต่ก็ต้องแบกรับความเสี่ยงที่เมื่อผ่อนชำระครบแล้ว เจ้าของจะไม่ยินยอมโอนกรรมสิทธิ์ให้ ดังนั้นสิ่งสำคัญของการซื้อคอนโดผ่อนตรงกับเจ้าของก็คือ “สัญญาเช่าซื้อ” ซึ่งจะเป็นเอกสารที่มีลายลักษณ์อักษรที่สามารถยืนยันและเป็นหลักฐานทางกฎหมายได้ โดยในการซื้อขายจะต้องทำสัญญาเช่าซื้อขึ้นมา เพื่อใช้เป็ […]

อ่านเพิ่มเติม
ไถ่ถอนจำนอง-ขายฝาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ?
22
Mar 23
ไถ่ถอนจำนอง-ขายฝาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ?

เพื่อนๆ หลายคนที่มีข้อสงสัยว่าถ้าต้องการ “ไถ่ถอน” จำนองและขายฝากต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรไหม ? เพราะว่าบางคนอาจจะมีความสามารถชำระหนี้หมดก่อนเวลาที่กำหนดไว้  ซึ่งการ ไถ่ถอนจำนอง หรือขายฝากนั้น ก็มีความแตกต่างกันแล้วแต่กรณีตามประเภทของการไถ่ถอน วันนี้เราจะพาทุกคนไปหาคำตอบกันว่า การไถ่ถอนจำนอง และขายฝาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ? ไปดูกันเลย การ ไถ่ถอนจำนอง คืออะไร คือ เจ้าของที่ดิน หรือเจ้าของทรัพย์ ได้จดทะเบียนจำนองไว้เป็นหลักค้ำประกันในการชำระหนี้ ต่อมาได้ทำการชำระหนี้ที่จำนองไว้เสร็จสิ้นแล้ว เมื่อชำระหนี้หมดแล้ว ต้องไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองเพื่อแก้ไขเอกสารสิทธิว่าไม่มีการจำนอง หรือปลอดจำนองแล้วนั่นเอง วิธีการไถ่ถอนจำนอง มี 2 แบบ ผู้จำนอง และ ผู้รับจำนอง ไปที่สำนักงานที่ดิน เพื่อยื่นคำขอจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน พร้อมกัน ผู้ที่มีสิทธิในที่ดินหรือผู้มีสิทธิไถ่ถอนเพียงฝ่ายเดียว ไปที่สำนักงานที่ดิน นำหลักฐานที่ผู้รับจำนองได้ทำเป็นหนังสือหลังสัญญาจำนอง ฉบับผู้รับจำนองว่าได้มีการไถ่ถอนจากจำนองแล้ว มีการชำระหนี้ครบแล้ว ไปขอจดทะเบียนไถ่ถอน ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ณ […]

อ่านเพิ่มเติม
กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน มีแบบไหนบ้างนะ?
21
Nov 23
กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน มีแบบไหนบ้างนะ?

เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ของ กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน กันว่าคืออะไร? เพื่อที่ว่าเราจะเข้าใจบทบาทรวมถึงบริบทกันได้มากขึ้น สำหรับคนที่กำลังมีปัญหาว่าจะแบ่งสิทธิ์การถือครองร่วมในที่ดินอย่างไร? ซึ่งก็จะมีหลายรูปแบบด้วยกันค่ะ กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน หมายถีง นิติกรรมการซื้อการขายหรือเป็นการให้ในที่ดินซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้ นั่นก็คือ เป็นการขายหรือให้ในบางส่วนโดยให้สังเกตดูตรงรายชื่อในหนังสือแสดงสิทธิ์ที่ดิน ว่าจะมีชื่อเจ้าของที่ดินร่วมมากกว่า 1 คนขึ้นไป เช่น ที่ดิน 100 ไร่ มีผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันหลายคน . การถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน แบบต่างๆ มีแบบไหนบ้าง ? การแบ่งที่ดินในแบบรวมๆ ผู้ร่วมจะไม่สามารถนำที่ดินผืนดังกล่าวไปขายได้จนกว่าได้รับอนุญาติจากผู้ร่วมคนอื่นๆ ลักษณะการแบ่ง โดยการแบ่งชัดเจนด้วยสัดส่วนคิดเป็น % เช่น มีบุตร 3 คน นั่นก็คือ นางสาวเอ นายบี นายซี แต่ในขณะนั้น บิดายังมีชีวิตอยู่และยังไม่ได้ทำเรื่องโอนที่ดินเป็นเรื่องเป็นราว ดังนั้น ความต้องการที่จะให้มีการถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินถึงเกิดขึ้น โดยมีรูปแบบง่ายๆ นั่นก็คือ สมาชิกที่ต้องการจะมีกรรมสิทธิ์มาตกลงและ คุยกันก่อนว่ารู […]

อ่านเพิ่มเติม