12
May 23

เชื่อว่าในช่วงที่ผ่านมาทุกคนน่าจะได้ยินข่าวคราวการปรับขึ้นของ “ดอกเบี้ยนโยบาย” กันไปบ้างแล้ว
ซึ่งดอกเบี้ยนโยบายนั้น คือ อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดโดยธนาคารกลางแห่งประเทศไทย
ที่ส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ในประเทศทั้งหมด
ดังนั้น เมื่อมีการปรับดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้น ย่อมส่งผลกระทบโดยตรง
กับทั้งภาคประชาชนและภาคธุรกิจไม่มากก็น้อย
ซึ่งในที่สุดแล้วย่อมส่งผลมาถึงภาระการผ่อนบ้าน
กล่าวคือ อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านก็จะสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
และเราจะมีวิธีไหนมาช่วยลดภาระ ดอกเบี้ยอสังหา ได้บ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจคำว่า “ดอกเบี้ยบ้าน” กันก่อนดีกว่าค่ะ
โดยธนาคารแห่งประเทศได้ให้คำจำกัดความของ “ดอกเบี้ยบ้าน”
หมายถึง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว บ้านแฝด
ทาวน์โฮม คอนโด อาคารพาณิชย์ หรือแม้แต่ที่ดิน

โดยจะแบ่งการคำนวณดอกเบี้ยเป็น 2 รูปแบบคือ

  1. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ (Fixed Rate)
    อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่กำหนดตัวเลขเฉพาะตลอดอายุสัญญาเงินกู้
    หรือในระยะเวลาที่กำหนด โดยจะไม่ขึ้นหรือลงตามสภาวะเศรษฐกิจ
  2. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว (Floating Rate)
    อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่จะเปลี่ยนแปลง ปรับขึ้นลงตามสภาวะเศรษฐกิจ
    โดยจะมีการประกาศจากสถาบันการเงิน

แต่ไม่ต้องกลัวไปนะคะ การที่ ดอกเบี้ยอสังหา ปรับขึ้นใหม่ ไม่ได้รับมือยากกว่าที่ทุกคนคิดแน่นอนค่ะ
เรามี 3 วิธีที่จะมาช่วยให้คุณลดการชำระดอกเบี้ยได้แบบง่ายๆ มาดูกันเลยค่ะ

  1. ลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้
    ทั้งการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้จะช่วยให้เรามีเงินคงเหลือในแต่ละเดือนเพิ่มมากขึ้น
    (เงินคงเหลือ = รายรับ – รายจ่าย – ภาระผ่อนหนี้) พอมีเงินเหลือมากขึ้น
    เราก็สามารถนำเงินที่มีไปโปะหนี้เพิ่มเพื่อปลดหนี้ให้เร็วขึ้น และยังช่วยให้ประหยัดดอกเบี้ย
    ที่เราต้องจ่ายอีกด้วยเราอาจเริ่มจากการปรับลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นต่างๆ
    เช่น ค่าลอตเตอรี่หรือค่ากาแฟ ซึ่งเราไม่ควรมองข้ามรายจ่ายเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้
    เพราะหากสามารถลดได้ เช่น จากซื้อทุกวันเหลือสัปดาห์ละครั้ง หรือลดจำนวนเงินที่จ่ายต่อครั้งลง
    นอกจากจะดื่มด่ำกับกาแฟแก้วโปรดยิ่งขึ้นแล้ว ยังอาจมีเงินเหลือเป็นก้อนใหญ่จนเราตกใจก็เป็นได้
    นอกจากนี้ อาจจะมองหารายได้เสริมเพิ่มเติมจากสิ่งที่เราถนัดหรือสนใจด้วย
  2. เจรจาเจ้าหนี้หรือหาเงื่อนไขใหม่ที่ดีกว่า
    การเจรจาต่อรองขอลดดอกเบี้ยกับเจ้าหนี้เป็นสิ่งที่เราสามารถทำได้และควรทำ
    เพราะหนี้บ้านส่วนใหญ่จะมีอัตราดอกเบี้ย 2 ช่วง คือ ดอกเบี้ยต่ำในช่วงแรกเพื่อจูงใจลูกค้า
    และมักจะเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ เช่น อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ 3% ใน 3 ปีแรก
    ซึ่งช่วงที่สองเป็นแบบอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัวซึ่งมักจะแพงกว่าช่วงปีแรกๆ จนสิ้นสุดอายุสัญญา
    เมื่อเราผ่อนไประยะหนึ่งจนใกล้ถึงช่วงที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามสัญญาจะคิดแบบลอยตัว
    เราก็สามารถเข้าไปยื่นเรื่องเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อขอปรับลดอัตราดอกเบี้ย
    เช่น ปรับเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัวได้
    ซึ่งจะช่วยให้ภาระดอกเบี้ยไม่สูงขึ้นไปอีกช่วงระยะเวลาหนึ่ง ทั้งยังช่วยปลดหนี้ได้เร็วขึ้นด้วย

ถัดมาก็คือ Refinance ไปยังสถาบันการเงินอื่น ที่ให้อัตราดอกเบี้ยถูกกว่าสถาบันการเงินที่เราใช้บริการอยู่
อย่างไรก็ดี ก่อน Refinance อย่าลืมคำนึงถึงต้นทุนแฝงต่าง ๆ ด้วยว่าคุ้มกับการ Refinance หรือไม่
เช่น ค่าเบี้ยปรับชำระก่อนครบกำหนด (Prepayment fee) ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์
ค่าธรรมเนียมจดจำนอง หากใครที่ต้องการ refinance และกำลังมองหาเงื่อนไขที่ดีกว่าสถาบันการเงินที่ใช้อยู่เดิม
หากใครไม่รู้ว่าเลือกสถาบันการเงินไหนดีเราได้ทำตารางเพื่อเปรียบเทียบ ดอกเบี้ยของแต่ละธนาคารมาให้แล้วค่ะ

วิธีรับมือหนี้บ้าน ในช่วง ดอกเบี้ยอสังหา ขาขึ้น

จะเห็นได้ว่า แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อภาระหนี้บ้านของเรา แต่หากมีการจัดการที่ดี
หนี้บ้านก็จะไม่ใช่ปัญหาหนัก กลายเป็นทรัพย์สินและสถานที่ที่อบอุ่นสำหรับทุกคนในครอบครัวไปตราบนานเท่านาน

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

ประมูลที่ดิน และบ้าน จากกรมบังคับคดี ต้องเตรียมตัวอย่างไร
16
May 23
ประมูล บ้านและที่ดิน จากกรมบังคับคดี ต้องเตรียมตัวอย่างไร

การซื้อ ประมูลที่ดิน บ้าน จากกรมบังคับคดี เป็นอีกหนึ่งในทางเลือกที่นักลงทุนอสังหาฯ มักนิยมทำกัน ทำให้สามารถได้ทรัพย์ บ้าน หรือที่ดิน มาในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด แต่แน่นอนว่าการประมูลนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย เพราะต้องมีทั้งขั้นตอนการเตรียมตัว เอกสาร และค่าใช้จ่ายต่างๆ สำหรับเพื่อนๆ คนไหนที่กำลังสนใจประมูลบ้าน หรือที่ดินกรมบังคับคดี ลองมาเริ่มทำความรู้จักขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้ได้เลย การ ประมูลที่ดิน และบ้านกรมบังคับคดีคืออะไร การประมูล คือ การเสนอราคาแข่งขันกันในการจะได้ทรัพย์นั้นๆมาครอบครอง ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม หรือที่ดิน ซึ่งถูกยึดมาจากเจ้าของบ้านเดิม เนื่องจากเจ้าของบ้านเดิมเป็นลูกหนี้ของทางธนาคาร บริษัททางด้านการเงิน ที่ไม่สามารถชำระเงินผ่อนได้ ดังนั้นกรมบังคับคดีจึงต้องดำเนินการเป็นตัวกลางนำทรัพย์สินเหล่านั้นออกมาประมูลขายทอดตลาด เพื่อนำเงินที่ได้จากการขายนี้ไปชำระคืนหนี้ตามกฎหมาย   ขั้นตอนในการเตรียมตัวประมูลบ้านและที่ดินกรมบังคับคดี หาอสังหาริมทรัพย์ที่สนใจ โดยสามารถเข้าไปหาได้ในเว็บไซต์ของกรมบังคับคดี ซึ่งจะสามารถเลือกจังหวัด อำเภอ ตำบล และประเภทของทรั […]

อ่านเพิ่มเติม
การฝากขาย และ การขายฝาก แตกต่างกันอย่างไร
17
Oct 23
การฝากขาย และ การขายฝาก แตกต่างกันอย่างไร

หลายๆ คนอาจจะยังสับสนหรือสงสัยกับว่า การขายฝาก และ การฝากขาย แตกต่างกันอย่างไร แม้ว่าอ่านแล้วอาจจะดูคล้ายกัน แต่สองคำนี้มีความหมายที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ก่อนอื่นเรามาดูความหมายของการขายฝาก กับ การฝากขายกันก่อนดีกว่าค่ะ ว่าแต่ละตัวมันมีความหมายยังไง จะได้ไม่เข้าใจกันผิดกันอีกจ้า การขายฝาก คือ สัญญาการซื้อขายรูปแบบหนึ่ง ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะตกแก่ผู้รับขายฝาก (นายทุน) ณ วันที่ทำสัญญาที่กรม ที่ดิน ภายใต้ข้อตกลงที่ว่า ผู้ขายฝากสามารถไถ่ถอนทรัพย์สินคืนได้ ภายในระยะเวลาที่ระบุในสัญญา (แต่ไม่เกิน 10 ปี) หากไม่มาไถ่ถอนทรัพย์สิน กรรมสิทธิ์นั้นจะตกเป็นของผู้รับฝาก(นายทุน) ทันที ส่วนการ ฝากขายนั้น ผู้ฝากขายจะนำทรัพย์สินของตนเองไปฝากขายกับตัวแทน หรือนายหน้า เพื่อให้ทางนายหน้า ช่วยทำการตลาด โฆษณา หรือประชาสัมพันธ์ทรัพย์สิน ที่เจ้าของทรัพย์นำไปฝากขาย ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะยังเป็นของผู้ฝากขายอยู่ และจะโอนเป็นของผู้อื่นเมื่อนายหน้าได้ทำการขายทรัพย์สินนั้น ให้กับผู้ฝากขายได้แล้ว ตารางเปรียบเทียบระหว่างขายฝากและฝากขาย หัวข้อ ขายฝาก ฝากขาย ธุรกรรม การขายฝากและสามารถไถ่ถอนทรัพย์สินนั้นคืนได้ ห […]

อ่านเพิ่มเติม
20
Sep 24
ทำสัญญาขายฝากไปแล้ว เจ้าของทรัพย์อยากจะเปลี่ยนชื่อ-นามสกุลได้ไหม

กรณีที่ทรัพย์ ทำสัญญาขายฝาก ไปแล้ว เจ้าของทรัพย์ต้องการเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล (เจ้าของคนเดิม แต่ต้องการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล) ที่สำนักงานเขต สามารถทำได้อย่างแน่นอน ไม่ได้ปิดกฎหมาย และในวันที่ไถ่ถอน เจ้าของทรัพย์จะต้องนำใบเปลี่ยนชื่อของตนเองมาด้วย  แต่ถ้าหากทรัพย์ไม่นำใบเปลี่ยนชื่อของตนเองมา ก็จะไม่สามารถทำธุรกรรมใดๆ ได้ การเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล สามารถทำได้ทั้งผู้ขายฝาก และผู้รับซื้อฝาก แต่ก็อย่างที่ได้บอกไปข้างต้น เมื่อวันที่ต้องทำธุรกรรมที่กรมที่ดิน เอกสารการเปลี่ยนชื่อนั้นต้องเตรียมมาทั้ง2ฝ่าย ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนชื่อนามสกุลในระหว่างที่สัญญาขายฝาก (เปลี่ยนชื่อเป็นผู้ขายฝากคนใหม่) สัญญายังมีผลบังคับใช้อยู่นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่สามารถทำได้โดยพลการ เนื่องจากสัญญาขายฝากเป็นสัญญาที่มีผลทางกฎหมาย และการเปลี่ยนแปลงชื่อนามสกุลของบุคคลใดบุคคลหนึ่งในสัญญา จะส่งผลกระทบต่อสิทธิและหน้าที่ของทั้งผู้ซื้อฝากและผู้รับซื้อฝาก การที่ผู้ขายฝากเดิมจะเปลี่ยนชื่อเป็นผู้ขายฝากคนใหม่ ผู้ขายฝากคนเดิมจะต้องมาไถ่ถอนสัญญาขายฝากเดิมก่อน แล้วจึงจะ ทำสัญญาขายฝาก ใหม่และเปลี่ยนเป็นชื่อผู้ขายฝากคนใหม่ได้ เห […]

อ่านเพิ่มเติม