ไถ่ถอนจำนอง-ขายฝาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ?
22
Mar 23

เพื่อนๆ หลายคนที่มีข้อสงสัยว่าถ้าต้องการ “ไถ่ถอน” จำนองและขายฝากต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรไหม ?
เพราะว่าบางคนอาจจะมีความสามารถชำระหนี้หมดก่อนเวลาที่กำหนดไว้  ซึ่งการ ไถ่ถอนจำนอง หรือขายฝากนั้น
ก็มีความแตกต่างกันแล้วแต่กรณีตามประเภทของการไถ่ถอน วันนี้เราจะพาทุกคนไปหาคำตอบกันว่า
การไถ่ถอนจำนอง และขายฝาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ? ไปดูกันเลย

  1. การ ไถ่ถอนจำนอง คืออะไร

คือ เจ้าของที่ดิน หรือเจ้าของทรัพย์ ได้จดทะเบียนจำนองไว้เป็นหลักค้ำประกันในการชำระหนี้
ต่อมาได้ทำการชำระหนี้ที่จำนองไว้เสร็จสิ้นแล้ว เมื่อชำระหนี้หมดแล้ว ต้องไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองเพื่อแก้ไขเอกสารสิทธิว่าไม่มีการจำนอง หรือปลอดจำนองแล้วนั่นเอง

วิธีการไถ่ถอนจำนอง มี 2 แบบ

  1. ผู้จำนอง และ ผู้รับจำนอง ไปที่สำนักงานที่ดิน เพื่อยื่นคำขอจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน พร้อมกัน
  2. ผู้ที่มีสิทธิในที่ดินหรือผู้มีสิทธิไถ่ถอนเพียงฝ่ายเดียว ไปที่สำนักงานที่ดิน นำหลักฐานที่ผู้รับจำนองได้ทำเป็นหนังสือหลังสัญญาจำนอง
    ฉบับผู้รับจำนองว่าได้มีการไถ่ถอนจากจำนองแล้ว มีการชำระหนี้ครบแล้ว ไปขอจดทะเบียนไถ่ถอน ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน

ค่าใช้จ่ายการไถ่ถอนจำนอง
1. ค่าคำขอจดจำนอง แปลงละ 5 บาท
2. ค่าธรรมเนียม แปลงละ 50 บาท (กรณีมอบอำนาจ ค่ามอบอำนาจ 20 บาท ต่อ 1 คน)

2. การไถ่ถอนขายฝาก
คือ ผู้ขายฝากได้นำโฉนดมาทำธุรกรรมไว้กับผู้รับซื้อฝาก โดยได้ทำสัญญาขายฝากและกำหนดระยะเวลาในการไถ่ถอนที่ดินไว้ไม่ต่ำกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี
โดยขั้นตอนการไถ่ถอนขายฝากนั้น ก่อนครบกำหนดวันไถ่ถอน ผู้ซื้อฝากต้องแจ้งเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังผู้ขายฝาก
เพื่อให้ผู้ขายฝากทราบกำหนดเวลาไถ่ จำนวนสินไถ่ พร้อมแนบสำเนาสัญญาขายฝากไปด้วย โดยแจ้งก่อนวันครบกำหนดเวลาไถ่ไม่น้อยกว่า 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน
ถ้าผู้ซื้อฝากไม่ดำเนินการตามที่กำหนดไว้นี้ ผู้ขายฝากจะมีสิทธิขยายระยะเวลาในการไถ่ถอนได้เพิ่มเป็นเวลาอีก 6 เดือน นับตั้งแต่วันครบกำหนดไถ่ตามสัญญา

วิธีการไถ่ถอนขายฝาก มี 2 แบบ

  1. ผู้ขายฝาก และ ผู้รับซื้อฝาก ไปที่สำนักงานที่ดิน เพื่อยื่นคำขอจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน พร้อมกัน
  2. ผู้ที่มีสิทธิในที่ดินหรือผู้มีสิทธิไถ่ถอนเพียงฝ่ายเดียว ไปที่สำนักงานที่ดิน นำหลักฐานที่ผู้รับซื้อฝากได้ทำเป็นหนังสือหลังสัญญาขายฝาก
    ฉบับผู้รับซื้อฝากว่าได้มีการไถ่ถอนจากขายฝากแล้ว มีการชำระหนี้ครบแล้ว ไปขอจดทะเบียนไถ่ถอน ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน

ค่าใช้จ่ายในการไถ่ถอนขายฝาก

  1. ค่าธรรมเนียมแปลงละ 50 บาท
  2. ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย
  3. ค่าอากรแสตมป์ 5 % โดยคำนวณจากราคาประประเมินกรมที่ดิน หรือราคาแจ้งไถ่ถอน แล้วแต่ว่าราคาใดสูงกว่า

ทั้งหมดนี้คือความแตกต่างของไถ่ถอนจำนอง และการไถ่ถอนขายฝาก ว่าเราต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ?
การไถ่ถอนจำนองและไถ่ถอนขายฝากมีความคล้ายกัน ซึ่งเป็นสิทธิของเจ้าของที่ดินที่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอน
เพื่อให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ถูกต้องตามกระบวนของการจำนองและการขายฝาก และเป็นสิ่งที่ผู้จำนอง และผู้ขายฝากจำเป็นต้องรู้ไว้
จะได้ไม่ถูกหลอก ไม่เสียรู้ให้กับนายทุนที่คิดไม่ซื่อกับเรา

หากเพื่อนคนไหนสนใจ สามารถจำนอง ขายฝากกับเราได้นะคะ เรามีทีมงานให้ปรึกษาฟรีและดำเนินการเรื่องเอกสารให้ด้วย

ไถ่ถอนจำนอง-ขายฝาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ?

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

รีไฟแนนซ์คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง ?
7
Apr 23
รีไฟแนนซ์คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง ?

มนุษย์เงินเดือนแบบเรามักได้ยินคำว่า “รีไฟแนนซ์” อยู่บ่อยๆ แต่เชื่อว่ามีเพื่อนๆ จำนวนไม่น้อยไม่เข้าใจว่าคืออะไร หากเพื่อนๆยังสงสัย ไม่เข้าใจว่าการรีไฟแนนซ์บ้านคืออะไร? มีขั้นตอน ข้อดีและประโยชน์อย่างไรบ้าง บทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจเรื่องรีไฟแนนซ์บ้านให้มากขึ้น รีไฟแนนซ์ คือ การเปลี่ยนเจ้าหนี้ เป็นการที่เราไปขอกู้เงินใหม่อีกก้อนหนึ่งเพื่อนำมาชำระหนี้ก้อนเดิม ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักจะทำกับการกู้ซื้อบ้าน คอนโดและรถยนต์เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่าย ในการผ่อนชำระหนี้สินเชื่อก้อนเดิม และจ่ายส่วนของดอกเบี้ยลดลงเพราะได้รับการลดอัตราดอกเบี้ย ที่สำคัญคือในการทำเรื่องขอรีไฟแนนซ์ครั้งใหม่นี้ จะได้รับข้อเสนอในการผ่อนชำระที่ดีกว่าสินเชื่อเดิม และอาจจะได้ระยะเวลาในการผ่อนที่ยาวขึ้นโดยคนส่วนใหญ่มักจะไปขอรีไฟแนนซ์หลังจากได้ผ่อนชำระครบ 3 ปี วิธีขอรีไฟแนนซ์บ้าน ตรวจสอบสัญญากู้เดิม ก่อนการยื่นเรื่องรีไฟแนนซ์บ้าน ต้องทำการติดต่อขอเอกสารสรุปยอดหนี้ทั้งหมดจากธนาคารเก่า เพื่อเป็นการสรุปรายละเอียด เช่น จำนวนเงินที่กู้ ระยะเวลาที่ชำระไปแล้ว เหลือเวลาที่ต้องผ่อนชำระอีกกี่ปี หลังจากนั้นให้นำเอกสารนี้ไปยื่นที่ธนาคารใหม่ท […]

อ่านเพิ่มเติม
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ถัาไม่จ่ายจะ ขายฝาก-จำนองได้ไหม?
8
Mar 24
ไม่ชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะ ขายฝาก-จำนองได้ไหม?

รู้ไหมคะว่าคนที่มีที่ดินเป็นของตัวเองนั้นต่างก็ต้องเสียภาษีด้วยกันทั้งสิ้น ภาษีที่ว่าก็คือ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่ไม่ได้จำกัดเพียงแค่คนทำธุรกิจ แต่ยังรวมถึงพวกเราคนธรรมดาที่ครอบครองที่ดิน ไม่ว่าจะเพื่อใช้ หรือทิ้งไว้รกร้างค่ะ ก่อนอื่นมาทำความรู้จัก ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กันก่อนเลยค่ะ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรืออาจเรียกสั้นๆ ว่าภาษีที่ดิน จะเป็นรูปแบบของภาษีรายปีที่คำนวณจากมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีไว้ในครอบครอง ซึ่งจะมีเทศบาล อบต. เป็นผู้เรียกเก็บ สำหรับที่กทม. จะต้องชำระที่สำนักงานเขต ส่วนเมืองพัทยาจะต้องชำระที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา ทั้งนี้จากการประกาศรายละเอียดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2567 จากเดิมที่ต้องเสียภาษีในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ถูกเลื่อนออกไปเป็นเดือนเมษายน 2567 แทน ผู้ที่ต้องเสียภาษีที่ดินต้องมีเงื่อนไขดังนี้ 1. เจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ (ดูตามโฉนด ไม่ใช่ทะเบียนบ้าน) ผู้ครอบครอง/ทำประโยชน์ในที่ดินนั้น จะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ ประเภทของภาษีที่ดิน 2566 แบ่งประเภทที่ดินที่ต้องเสียภาษีไว้ 4 รายการ 1. ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม  เพดานภา […]

อ่านเพิ่มเติม
เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน กับ เจ้าของบ้าน แตกต่างกันอย่างไร?
24
Oct 23
เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน กับ เจ้าของบ้าน แตกต่างกันอย่างไร?

หลายท่านคงสงสัย? ว่าเจ้าบ้านคือใคร!! หรือบางท่านอาจจะคิดไปถึงผีบ้านผีเรือน แต่ที่จริงแล้วตามหลักกฎหมาย ว่าด้วยเรื่องการดูแลบ้าน บ้านทุกหลังต้องมี เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน เพื่อระบุว่าบุคคลที่เป็นเจ้าบ้านนั้น ผู้เป็นหัวหน้าซึ่งครอบครองบ้าน ในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือในฐานะอื่น เช่น ผู้ดูแลบ้าน แล้วแตกต่างยังไงกับเจ้าของบ้านละ วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยกันค่ะก่อนอื่นเรามาดูความหมายของทั้งสองคำนี้กันก่อนเลยค่ะ เจ้าบ้าน หมายถึง ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะที่เป็นเจ้าของ ผู้เช่า และอื่นๆ โดยหากในทะเบียนบ้านไม่มีชื่อเจ้าบ้าน หรือผู้ที่ถูกแต่งตั้งเป็นเจ้าบ้าน เกิดเสียชีวิต ผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านสามารถมาเป็นเจ้าบ้านแทนได้ เจ้าของบ้าน หมายถึง เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อในโฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย มีสิทธิใช้สอย หวงกัน ติดตามเอาทรัพย์คืน. ใช้ยันต่อบุคคลทั่วไป มีกฎหมายรองรับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 โดยจากความหมายด้านบน เจ้าบ้านหรือเจ้าของบ้าน อาจจะเป็นคนเดียวกัน หรือ ไม่ใช่คนเดียวกันก็ได้ค่ะ หน้าที่เจ้าบ้าน VS เจ้าของบ้าน เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน มีหน้าที่ตาม พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร […]

อ่านเพิ่มเติม