3 กลโกงขายฝาก ที่ควรระวัง (พร้อมวิธีป้องกัน)
5
Apr 23

กลโกงขายฝาก ที่ควรระวัง ขึ้นชื่อว่า “การโกง” นั้น นับว่าเป็นอะไรที่อยู่คู่สังคมมนุษย์มาอย่างยาวนาน
เป็นปัญหาที่ลุกลามไปทั่วทุกวงการ รวมไปถึงวงการ “ขายฝาก” เองนั้น
ก็เป็นหนึ่งในการทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่มักจะมีปัญหาโดนโกงด้วยวิธีต่างๆ มากมาย
จนทำให้เจ้าของบ้านน้ำตาตกในกันมานักต่อนัก พาลทำให้หลายๆ คน ไม่กล้าที่จะทำสัญญาขายฝาก
เพราะกลัวว่าจะต้องเสียทรัพย์ เสียบ้าน เสียที่ดินสุดรักสุดหวงไป

จะดีกว่าหรือไม่..? ถ้ารู้เท่าทัน กลโกงขายฝาก ต่างๆ พร้อมวิธีป้องกัน เพื่อที่เราจะได้ขายฝากอย่างสบายใจ
นำเงินไปใช้ยามฉุกเฉิน ยามจำเป็น โดยไม่ต้องกังวลว่าเวลาผ่านไป จะมีวิกฤตใหม่เข้ามาทำให้ชีวิตต้องทุกข์ทรมาน

นัดไถ่ถอน แต่ติดต่อนายทุนไม่ได้!
สัญญาขายฝากนั้น เป็นสัญญาที่มีการกำหนดไว้ว่า “ผู้ขายฝาก” หรือเจ้าของทรัพย์
สามารถนำเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยมาไถ่ถอนตามเวลาที่กำหนดในระยะสัญญาได้
ซึ่งจะทำให้สิทธิในการครอบครองทรัพย์สินนั้นๆ กลับคืนสู่เจ้าของเดิมผู้ขายฝาก
แต่หากไม่มาไถ่ถอนตามระยะเวลาที่กำหนดแล้วล่ะก็ อสังหาริมทรัพย์ที่เรานำมาขายฝากนั้น
ก็จะตกเป็นของนายทุนทันทีโดยไม่ต้องขึ้นศาลฟ้องร้องกันแต่อย่างใด

 

ตรงจุดนี้เอง เป็นจุดที่นายทุนหรือ “ผู้ซื้อฝาก” หลายๆ คน พยายามบ่ายเบี่ยงไม่ยอมให้เจ้าของ
นัดวันไปทำเรื่องไถ่ถอนที่กรมที่ดิน เพราะหวังจะฮุบเอาทรัพย์นั้นๆ เป็นของตนเองไปขายทำกำไรต่อไป
ซึ่งโดยปกติแล้ว หากเป็นทางฝ่าย “ผู้ขายฝาก”  เองที่บ่ายเบี่ยงไม่ยอมไถ่ถอนด้วยเหตุที่ว่าหาเงินต้นมาคืนไม่ทัน
แต่ก็มีหลายๆ ครั้งที่ผู้ขายฝากมีความพร้อม มีความต้องการที่จะไถ่ถอนทรัพย์คืนไปแล้ว แต่นายทุนพยายามหลบหนี
ตัดช่องทางการติดต่อเพื่อให้ระยะเวลาขายฝากครบกำหนดจนสิทธิ์การครอบครองทรัพย์นั้นๆ ตกเป็นของนายทุนไป

 

มาถึงตรงนี้แล้วคุณผู้อ่านอย่าเพิ่งกังวลไป ว่าหากเราติดต่อนายทุนเพื่อไถ่ถอนไม่ได้แล้วจะโดนยึดทรัพย์แน่นอน
เพราะเราสามารถนำเงินไป สำนักงานวางทรัพย์ กรมบังคับคดี ให้เจ้าหน้าที่พนักงานบังคับคดีออกหนังสือแจ้งแก่ผู้ซื้อฝาก
ให้มารับชำระหนี้ หากไม่มารับชำระหนี้ตามกำหนด ผู้ขายฝากสามารถคัดเอกสารจากกรมบังคดี
เพื่อนำไปอายัดไม่ให้มีการจำหน่ายหรือทำการใดๆ กับอสังหาริมทรัพย์ของเราได้

 

สำคัญคือ เราจำเป็นต้องจำวันครบกำหนดขายฝากไว้ให้ขึ้นใจ หากจำเป็นต้องกระทำการใดๆ ที่ต้องใช้เวลา
จะได้รีบทำให้ทันท่วงที ก่อนที่อะไรๆ จะสายเกินไป

 

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ : สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม 02-881-4999

 

กฎสำคัญในการทำสัญญาใดๆ ก็ตาม คือจำเป็นต้องอ่านสัญญาให้ดี มีอะไรสงสัยตรงไหนให้ถามเจ้าหน้าที่
ที่สำนักงานที่ดิน เพราะหลายๆ ครั้ง มักจะมีเจ้าของทรัพย์ที่ไม่ค่อยใส่ใจในการอ่านรายละเอียดสัญญา
จนทำให้เกิดปัญหาที่ไม่สามารถแก้ได้ เพราะเป็นเราเองที่เป็นฝ่ายเซ็นยินยอมด้วยตนเองไปแล้วตั้งแต่ต้น

 

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราอ้างอิงมาจากสถานการณ์จริง เจ้าของบ้านต้องการทำสัญญาขายฝากเพื่อนำเงินไปใช้ด้วยความจำเป็น
ฝั่งนายทุนเองก็ร่างสัญญาที่เป็นสัญญาขายฝากจริงๆ ขึ้นมาเอง 1 ฉบับ มีถ้อยคำถูกต้องครบถ้วนเรียบร้อย
แต่พอถึงวันที่ทำสัญญาที่สำนักงานที่ดินแล้วกลับไม่ใช่สัญญาขายฝาก แต่เป็น “สัญญาซื้อขาย”
และฝั่งเจ้าของทรัพย์เองก็ไม่ได้เอะใจ ไม่ได้มีความรู้อะไรมากมาย ได้ยินคำว่า ขายๆ หรือ ขายฝาก
ก็ยังแยกไม่ค่อยออก ด้วยความเชื่อใจนายทุนที่ภาพลักษณ์ภายนอกดูเป็นคนดี ดูเป็นมืออาชีพ
เลยเซ็นเอกสารตามที่เขาให้เซ็นโดยที่ไม่ระมัดระวังอะไรเลย เท่ากับว่าทางกฎหมายแล้วอสังหาริมทรัพย์
ของเราถือว่าถูกขายให้กับนายทุนเป็นที่เรียบร้อย ในราคาที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เพราะเราคิดว่าเป็นการขายฝาก
ที่มักจะให้วงเงินกันที่ 50% ของราคาซื้อขายนั่นเอง

 

วิธีป้องกันง่ายๆ สำหรับเหตุการณ์นี้ – คืออย่างไว้ใจใครง่ายๆ หากเราไม่มั่นใจเรื่องสัญญา
เรื่องการใช้ภาษาก็อยากให้ปรึกษาพาคนใกล้ตัวที่พอจะมีความรู้ไปเป็นเพื่อนบ้าง
หรือเอาให้ชัวร์ที่สุดก็ถามเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินนั่นแหละ

 

ซื้อไปขายกลับ (ไม่โกงก็มี แต่ไม่แนะนำ)

เป็นการทำธุรกรรมอย่างหนึ่งที่นิยมทำกันมาก กับการทำสัญญาซื้อขายไปก่อนแล้วค่อยมาซื้อคืนได้ในราคาเดิม
เป็นการทำสัญญาที่สำนักงานที่ดินในรูปแบบซื้อขายกันปกติ แต่มีการทำสัญญาแยกเอาไว้ต่างหากกันเองว่า
เวลาผ่านไป 1 ปีหรือ 2 ปี เราสามารถมาซื้อคืนได้ในราคาที่ระบุไว้ โดยผู้ที่รับซื้อไปห้ามนำอสังหาริมทรัพย์นั้น
ไปทำนิติกรรมใดๆ

 

แล้ว ซื้อไปขายกลับ มันเป็นกลโกงยังไง ? การทำซื้อไปขายกลับนี้ ใช่ว่าจะเป็นการโกงกันซะทีเดียว
เพราะหลายๆ คนก็ได้ทำตามสัญญากันจริง ขายคืนให้กับเจ้าของจริงๆ เพียงแต่สาเหตุที่เราไม่แนะนำก็เพราะว่า
การทำสัญญาแยกนั้นมันไม่มีผลทางกฎหมายแต่อย่างใด!! ให้ยึดถือสัญญาที่ทำกันที่สำนักงานที่ดินเท่านั้น
ทำให้ในทางกฎหมายแล้ว อสังหาริมทรัพย์ของคุณได้ตกเป็นของนายทุนเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันแรกที่ทำสัญญากัน
โดยที่คุณไม่สามารถใช้ข้อกฎหมายใดๆ เอาผิดหรือบังคับไถ่ถอนกลับคืนมาได้เลย
ยกเว้นแต่ว่านายทุนเท่านั้นตกลงยินยอมทำตามข้อตกลงเดิมเท่านั้น

 

วิธีป้องกันง่ายๆ สำหรับเหตุการณ์นี้ – คือหลีกเลี่ยงการทำสัญญาใดๆ ที่ไม่ใช่การทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดิน
และให้ยึดถือสัญญาที่ทำที่สำนักงานที่ดิน “เป็นหลัก”

 

ไม่ใช่เพียงแต่การซื้อไปขายกลับเท่านั้น แต่การแปะโฉนดเอง ที่เป็นการนำโฉนดมาค้ำประกันเงินกู้นอกระบบ
หรือพวกสัญญาใจ สัญญาปากเปล่า ก็ไม่ควรไว้วางใจเช่นกัน เพราะเรื่องเงินทองมันไม่เข้าใครออกใครจริงๆ

3 กลโกงขายฝาก ที่ควรระวัง (พร้อมวิธีป้องกัน)

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ถัาไม่จ่ายจะ ขายฝาก-จำนองได้ไหม?
8
Mar 24
ไม่ชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะ ขายฝาก-จำนองได้ไหม?

รู้ไหมคะว่าคนที่มีที่ดินเป็นของตัวเองนั้นต่างก็ต้องเสียภาษีด้วยกันทั้งสิ้น ภาษีที่ว่าก็คือ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่ไม่ได้จำกัดเพียงแค่คนทำธุรกิจ แต่ยังรวมถึงพวกเราคนธรรมดาที่ครอบครองที่ดิน ไม่ว่าจะเพื่อใช้ หรือทิ้งไว้รกร้างค่ะ ก่อนอื่นมาทำความรู้จัก ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กันก่อนเลยค่ะ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรืออาจเรียกสั้นๆ ว่าภาษีที่ดิน จะเป็นรูปแบบของภาษีรายปีที่คำนวณจากมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีไว้ในครอบครอง ซึ่งจะมีเทศบาล อบต. เป็นผู้เรียกเก็บ สำหรับที่กทม. จะต้องชำระที่สำนักงานเขต ส่วนเมืองพัทยาจะต้องชำระที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา ทั้งนี้จากการประกาศรายละเอียดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2567 จากเดิมที่ต้องเสียภาษีในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ถูกเลื่อนออกไปเป็นเดือนเมษายน 2567 แทน ผู้ที่ต้องเสียภาษีที่ดินต้องมีเงื่อนไขดังนี้ 1. เจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ (ดูตามโฉนด ไม่ใช่ทะเบียนบ้าน) ผู้ครอบครอง/ทำประโยชน์ในที่ดินนั้น จะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ ประเภทของภาษีที่ดิน 2566 แบ่งประเภทที่ดินที่ต้องเสียภาษีไว้ 4 รายการ 1. ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม  เพดานภา […]

อ่านเพิ่มเติม
ข้อควรรู้ก่อนซื้อที่ดิน สร้างบ้าน ?
23
May 23
10 ข้อควรรู้ก่อนซื้อที่ดินสร้างบ้าน ?

เพื่อนๆ หลายคนคงคิดฝันว่าสักวันนึง อยากจะซื้อที่ดินปลูกสร้างบ้านเอง เมื่อมีรายได้มีเงินมากพอ แต่ยังไม่ทราบว่าก่อนที่เราจะซื้อที่ดินสร้างบ้าง เราต้องรู้ ต้องเช็ค ต้องระวัง อะไรบ้าง วันนี้ทีม Land Thai Mart จะนำเพื่อนไปดู 10 ข้อควรรู้ก่อนซื้อที่ดิน สร้างบ้าน ?กันค่ะ 10 ข้อควรรู้ก่อนซื้อที่ดินสร้างบ้าน ลงพื้นที่จริงเพื่อตรวจสอบที่ดินด้วยตัวเอง ควรเดินทางลงพื้นที่จริงไปสำรวจ ตรวจดูที่ดินแปลงที่จะซื้อด้วยตัวเองให้เห็นกับตา ว่าที่เห็นที่ดินแปลงนี้จากในรูปนั้น สวย ติดถนน ทำเลทอง จริงหรือไม่ และที่สำคัญผู้ซื้อต้องให้ผู้ขายเอาโฉนดมาให้ตรวจดูว่าที่พามาดูนั้นเป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับในโฉนดหรือไม่ เพื่อตรวจและระวังเอาไว้ เพราะบางครั้งผู้ขายที่เจตนาหลอกลวงมาตั้งแต่แรกจะพามาดูที่ดิน ที่ไม่ตรงกับโฉนดเนื่องจากที่ในโฉนดทำเลที่ตั้งไม่ดี เนื่องจากกลัวขายไม่ได้ ตรวจสอบหลักฐาน ที่สำนักงานที่ดิน ผู้ซื้อจำเป็นต้องเช็คให้ชัวร์ ด้วยการเดินทางไปเช็คกับสำนักงานที่ดินแผนกรังวัดที่ดิน ว่าที่ดินแปลงที่ต้องการจะซื้อนั้นตรงกับเลขที่โฉนดหรือไม่ ใช่แปลงเดียวกันหรือเปล่า ขอข้อมูลขนาดเนื้อที่ ตำแหน่งที่ดิน สอบถามตรวจสอบว […]

อ่านเพิ่มเติม
ทำความเข้าใจขั้นตอนการ ขอรังวัด
3
Jan 25
ทำความเข้าใจขั้นตอนการ ขอรังวัด

>>> การขอรังวัดที่ดิน คืออะไร มีแบบไหนบ้าง? วันนี้ Property4Cash สรุปมาให้แล้วค่ะ… ขอรังวัด หรือรังวัดที่ดิน ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ซื้อ-ขายจะต้องรู้และเข้าใจ รวมทั้งต้องตรวจสอบรายละเอียดให้ถี่ถ้วนก่อนทำการซื้อ-ขายด้วย อีกทั้งการขอรังวัดที่ดินก็มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินด้วยนะ ถ้าพร้อมแล้ว ก็มาทำความเข้าใจกันเลยค่ะ…    รังวัดที่ดิน หมายถึง กระบวนการวัดและกำหนดขอบเขตของที่ดินอย่างถูกต้อง โดยอาศัยเครื่องมือวัดและวิธีการทางวิศวกรรมสำรวจ เพื่อจัดทำเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เช่น โฉนดที่ดิน หรือ น.ส.3 รวมถึงการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับเขตแดนของที่ดิน มีจุดประสงค์ของการรังวัดที่ดิน ดังนี้ การออกเอกสารสิทธิ์ : เพื่อออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการครอบครองที่ดิน การแบ่งแยกหรือรวมแปลงที่ดิน : ใช้ในกรณีแบ่งที่ดินเป็นแปลงย่อยหรือรวมที่ดินหลายแปลงเข้าด้วยกัน การตรวจสอบแนวเขตที่ดิน : เพื่อยืนยันขอบเขตที่ดินตามเอกสารสิทธิ์หรือแก้ไขกรณีที่มีข้อพิพาท การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม : เช่น การจำนอง ขาย หรือโอนที่ดิน สิ่งที่เจ้าของที่ดินควรรู้ก่อนขอรังวัดที่ดิน จากเว็บไซต์กรมที่ดินได้แจงรายละเอียด […]

อ่านเพิ่มเติม