ค่าโอน
30
Dec 22

ถึงกับต้องร้องเสียงหลงกันว่า ไอ้หยา~ เมื่อ ค่าโอน อสังหาฯ ปีหน้า แพงขึ้นถึง 100 เท่า!! หลังมีมิติ ครม. ออกมาว่า ในปี 2566 นี้ จะมีมาตรการช่วยเหลือลดค่าโอนให้เพียง 1% เท่านั้น เทียบจากปี 2565 ที่ผ่านมาคนไทยได้รับการช่วยเหลือตรงนี้ เสียค่าโอนกันเพียงแค่ 0.01% จากปกติ 2% เท่านั้นเอง

จากข่าวที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 เห็นชอบมอบของขวัญปีใหม่ให้แก่ประชาชน ด้วยมาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัยปี 2566 โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. ลดค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์จาก 2% เหลือ 1% 
  2. ลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์จากเดิม 1% เหลือ 0.01% 

สำหรับการซื้อขายที่อยู่อาศัย ได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว อาคารพาณิชย์ และห้องชุด (คอนโด) ทั้งบ้านมือ 1 และมือ 2 เฉพาะที่มีราคาซื้อขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกิน 3 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 3 ล้านบาท ต่อสัญญา (แหล่งที่มาข่าว https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62863)

หมายความว่า.. หากเราจะซื้อบ้านราคา 3 ล้านบาท 

จากเดิมปี 2565 เราจะเสียค่าโอน 0.01% หรือ 300 บาท เพียงเท่านั้น แต่ในปี 2566 ที่จะถึงนี้จะถูกปรับขึ้นเป็น 1% หรือเท่ากับเราต้องเสียค่าโอนเพิ่มเป็น 30,000 บาททันที ส่วนค่าจดจำนองสำหรับคนที่ยื่นกู้กับธนาคารนั้น ยังคงได้ส่วนลด 0.01% เทียบเท่าปี 2565 นี้ตามเดิม 

ซึ่งหากเทียบกับปี 2564 แล้ว ต้องถือว่าเรายังคงได้รับส่วนลดค่าโอนถูกลงอยู่จริงๆ นั่นแหละ เพียงแต่ว่าในสภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวดีแบบนี้ การปรับค่าโอนเพิ่มขึ้นเป็น 1% นั้นดูจะใจร้ายกับเราไปหน่อย T^T  

นอกจากนี้แล้ว อีกหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้ค่าโอนสูงขึ้นนั้นยังมีเรื่องของ ราคาประเมินที่ดินรอบใหม่ (2566-2569) 

เมื่อกรมธนารักษ์ปรับขึ้นราคาประเมินที่ดินใหม่รอบปี 2566-2569 โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ซึ่งราคาเฉลี่ยจะสูงขึ้นถึง 7-8% ส่วนพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ราคาจะปรับเพิ่มขึ้น 20-30% กันเลยแม่เจ้า!!!!!

 

มาตรการลดค่าโอน เกี่ยวกับ จำนอง และ ขายฝาก ไหม ? 

เป็นคำถามที่สงสัยและถามเข้ามากันเยอะมาก แต่ต้องบอกเลยว่า “ไม่เกี่ยวจ้าาาา” ค่าจดทะเบียน การโอนนั้น เขาช่วยเหลือเฉพาะนิติกรรม “ซื้อขาย” เท่านั้น ส่วน ค่าจดจำนอง ก็เป็นค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ที่ยื่นของสินเชื่อกับธนาคารหรือกู้แบงค์เพื่อซื้ออสังหาฯ เป็นคนละส่วนกันกับ “จำนอง” นั่นเอง

แต่จะมีผลกับนิติกรรม “ขายฝาก” ตรงที่ ราคาประเมินที่ดิน รอบใหม่นี่แหละ! เพราะว่าการทำขายฝากนั้นมี ค่าโอน ค่าธรรมเนียมที่อ้างอิงกับราคาประเมินที่ดินอยู่ด้วย ทำให้ค่าใช้จ่ายตรงนี้สูงขึ้นตามไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

ลำพังการขายฝากทั่วไปอาจจะไม่ได้เดือดร้อนมากนัก แต่สำหรับคนที่ทำขายฝากไว้อยู่แล้ว ต้องการเปลี่ยนมือหานายทุนใหม่มารับ บอกเลยว่าหนัก!! เพราะนอกจากจะต้องเสียค่าธรรมเนียมไถ่ถอนขายฝากแล้ว ยังต้องเสียค่าธรรมเนียมขายฝากใหม่อีกครั้งในราคาประเมินที่สูงขึ้นตามไปอีกด้วย 

——————————————————-

สนใจ จำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง 

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

 

ค่าโอน

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

จัดการสินสมรส ในรูปแบบอสังหา แบ่งอย่างไรให้ลงตัว
1
Dec 23
วิธีจัดการสินสมรสในรูปแบบอสังหา แบ่งอย่างไรให้ลงตัว

ปัญหาการหย่าร้างมีมากกว่าขึ้นทุกปี ซึ่งสาเหตุของการหย่าร้างมาจากทั้ง 2 ฝ่าย เกิดจากถูกกดดันจากครอบครัวและความไม่เข้าใจกัน ทำให้เกิดครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวมากขึ้น และสิ่งที่ตามมาหลังจากการหย่าร้างกันนั้นคือ “จัดการสินสมรส” ที่อาจทำให้เกิดความขัดแย้งต่อกันมากที่สุด ยิ่งสินสมรสนั้นเป็น อสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน คอนโดมิเนียม ที่ซื้อมาร่วมกันโดยไม่ใช่การรับมรดก ถือว่าเป็นทรัพย์สินที่มักมีราคาค่างวดมาก การจะทำอะไรที่เป็นการทำให้สิทธิที่มีอยู่อาจเสียไปอย่าง เช่น การขาย จะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่าย กฎหมายจึงเปิดโอกาสให้คู่สมรสสามารถตกลงวิธีการ เงื่อนไข และข้อจำกัดเกี่ยวกับสินสมรสกันๆ ได้เห็นสมควร ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476 กำหนดวิธี จัดการสินสมรส ไว้ เรื่อง คู่สมรสต้องจัดการสินสมรสร่วมกันได้ จัดการอสังหาริมทรัพย์ร่วมกัน ในส่วนของอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะบ้านหรือที่ดิน จะทำการขาย แลกเปลี่ยน ขายฝากให้เช่าชื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ต้องได้รับการยินยอมร่วมกัน ให้ผู้อื่นเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี เมื่อมีการปล่อยให้เช่าในระยะเวลาเกิน 3 ปี สามีและภรรยาต้องตกลงและทำธ […]

อ่านเพิ่มเติม
12
Jul 23
ขายฝาก หรือจำนอง เปลี่ยนทรัพย์เป็นเงินวิธีไหนง่ายที่สุด

อีกหนึ่งช่องทางที่น่าสนใจ และกำลังเป็นที่นิยม ในตลาดอสังหาริมทรัพย์เลยก็คือการ “ขายฝาก” บางคนอาจจะคุ้นชินกับคำนี้มาก่อนหน้านี้แล้ว แต่บางคนอาจจะไม่รู้จัก เคยได้ยินเพียงแต่ คำว่า “จำนอง” เท่านั้น . แล้วถ้าเราอยากเปลี่ยนทรัพย์ให้เป็นเงินด่วนแบบนี้ การจำนองหรือขายฝาก จะตอบโจทย์เรามากกว่ากันล่ะ เรามาดูกันก่อนว่าสองอย่างนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร #จำนอง นั้นหมายถึง การทำนิติกรรมที่เรานำเอาทรัพย์ที่ครอบครองอยู่ ไปค้ำประกันกับผู้รับจำนอง เพื่อแลกกับเงินก้อนหนึ่งออกมา โดยที่ผู้รับจำนอง จะได้ดอกเบี้ยเป็นค่าตอบแทน ตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งหากเราไม่สามารถชำระหนี้ได้ ผู้รับจำนองมีสิทธิ์ยื่นฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ ให้ศาลออกหมายบังคับคดี นำทรัพย์ออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาใช้หนี้ . ส่วน #ขายฝาก เป็นการทำนิติกรรมที่เรานำเอาอสังหาฯ ไปให้ผู้รับซื้อฝาก เพื่อแลกกับเงินก้อนหนึ่ง โดยที่ผู้รับฝากก็จะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยเช่นกัน แต่ความแตกต่างระหว่างการขายฝาก กับการจำนอง ก็คือ กรรมสิทธิ์ของอสังหาฯ จะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันทีตั้งแต่วันแรกที่ทำสัญญาเสร็จสิ้น แต่ผู้ขายฝาก จะยังมีโอกาสไถ่ถอนคืนได้ ภายในร […]

อ่านเพิ่มเติม
ทรัพย์ติดจำนองขายได้ไหม ?
16
Oct 24
ทรัพย์ทำขายฝากจำนองอยู่ประกาศขายได้ไหม?

เมื่อคุณเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ทำขายฝากหรือจำนองไว้ สิ่งหนึ่งที่หลายคนอาจสงสัย คือ ทรัพย์ติดจำนองขายได้ไหม ? เพราะการจัดการ ทรัพย์ขายฝาก ในสถานะนี้เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายหลายด้าน การเข้าใจเงื่อนไขและข้อจำกัดในการขายทรัพย์สินที่อยู่ภายใต้การขายฝากหรือจำนองจึงเป็นสิ่งสำคัญ มาดูกันว่ามีข้อควรรู้หรือเงื่อนไขอะไรบ้างที่คุณควรพิจารณาก่อนตัดสินใจประกาศขาย การทำขายฝากหรือจำนองเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการให้สินเชื่อหรือการตั้งหลักประกันเพื่อกู้เงินกับทรัพย์สิน เช่น บ้าน ที่ดิน คอนโด ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการขายทรัพย์สินนั้นดังนี้ ขายฝาก: เมื่อคุณทำขายฝาก ทรัพย์ขายฝาก จะยังคงเป็นของคุณในทางกฎหมาย แต่เจ้าของที่ได้ทำขายฝากจะมีสิทธิ์ในการไถ่ทรัพย์สินกลับในอนาคตโดยการชำระเงินตามที่ตกลงไว้ (ปกติจะมีระยะเวลาและอัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกัน) หากไม่ไถ่กลับภายในระยะเวลาที่กำหนด เจ้าของทรัพย์สินจะสูญเสียสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นไปและผู้ที่รับขายฝากจะได้ทรัพย์สินไป แต่เจ้าของทรัพย์เดิมสามารถประกาศขายบ้านได้ หากมีผู้ซื้อ ทรัพย์ก็นำเงินที่ประกาศขายได้ไปชำระเงินแก่ผู้รับซื้อฝากเพื่อไถ่ทรัพย์สินกลับและปลดการขายฝากก่อนการโอน […]

อ่านเพิ่มเติม