ที่ดิน ส.ป.ก.
7
Feb 23

ที่ดิน สปก ซื้อขาย จำนองได้หรือไม่

เรื่องมีอยู่ว่าทีมงานได้รับการติดต่อจากคนที่สนใจ จะนำที่ดินมาจำนอง ขายฝาก โดยที่หลายท่านนั้น นำที่ดิน
ส.ป.ก. มาให้ทางเราช่วยประเมินวงเงิน เพราะมีผู้คนจำนวนมากที่อาจจะยังไม่เข้าใจถึงสิทธิใน ที่ดิน ส.ป.ก.
ว่าสามารถซื้อขาย จำนองได้หรือไม่ วันนี้เลยอยากจะพาเพื่อนๆ ไปรู้จักกับที่ดิน ส.ป.ก. ให้มากขึ้นกัน

ที่ดิน ส.ป.ก. คืออะไร           

ที่ดิน ส.ป.ก. หรือที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 คือ เป็นเอกสารสิทธิที่ภาครัฐให้ประชาชนเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน
เอกสารแสดงการครอบครองที่ดินที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ออกให้กับประชาชนเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน เกิดขึ้นเมื่อมีพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518
โดยมีหลักว่า ที่ดินในเขตปฏิรูปนั้นใช้ทำเกษตรกรรมได้อย่างเดียวเท่านั้น ทำประโยชน์อย่างอื่นไม่ได้ และผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน
ส.ป.ก. 4-01 จะต้องมีฐานะยากจน

ใครบ้างที่มีสิทธิครอบครองที่ดิน ส...

  1. เกษตรกร

เป็นผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักอยู่แล้ว โดยใช้เวลาส่วนใหญ่ในรอบปี เพื่อประกอบเกษตรกรรมแห่งท้องถิ่นนั้น

  1. ผู้ประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก

– ผู้ยากจน มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท/คน/ปี

– จบการศึกษาทางเกษตรกรรม ไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบเท่า

– เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม

  1. สถาบันเกษตรกร

– กลุ่มเกษตรกร

– สหกรณ์การเกษตร

– ชุมชนสหกรณ์การเกษตรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์

สามารถโอนกรรมสิทธิ์ให้ใครได้บ้าง

  1. สามี ภรรยา
  2. บุตร
  3. บิดามารดาของเกษตรกร
  4. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันของเกษตรกร
  5. พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกันของเกษตรกร
  6. หลานของเกษตรกร

– การโอนสิทธิที่ดิน ส.ป.ก. ของเกษตรกรที่ยังมีชีวิตอยู่ สามารถโอนสิทธิให้ทายาทได้ต่อเมื่อมีเหตุผลและความจำเป็น เช่น แก่ชรา

เจ็บป่วย เป็นต้น

– หากเกษตรกรที่ได้รับที่ดิน ส.ป.ก. เสียชีวิต ทายาทสามารถยื่นคำร้องขอรับมรดกสิทธิได้

ที่ดิน ส.ป.ก. ซื้อขายจำนองได้หรือไม่

จากที่อธิบายข้างตนเพื่อนๆ คงเข้าใจกันแล้วนะคะว่า ที่ดิน ส.ป.ก. ไม่สามารถซื้อขายจำนองได้ ตามมาตรา 39 ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
พ.ศ. 2518 ที่ระบุว่า  ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยก หรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้
เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม หรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกร หรือ ส.ป.ก. เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

สรุป.. ที่ดิน สปก คือที่ดินที่ทางภาครัฐอนุญาตให้ประชาชนใช้ที่ดินทำการเกษตร ไม่ได้หมายความว่าเราเป็นเจ้าของที่ดินนั้นๆ
จึงไม่สามารถนำที่ดินประเภทนี้มาทำธุรกรรมใดๆ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขาย หรือจำนอง ขายฝากได้นั่นเอง

 

หากสนใจลงทุนจำนอง ขายฝาก Property4cash ยินดีให้คำปรึกษา

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ที่ดิน ส.ป.ก.

 

 

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

9
Apr 24
ชาวต่างชาติสามารถรับจำนองได้ไหม?

หลายคนอาจจะสงสัยว่าการรับจำนองเนี่ย สามารถทำได้เฉพาะคนไทยใช่หรือไม่? และถ้ามี ชาวต่างชาติรับจำนอง ในไทยสามารถทำได้ไหมนะ? ค้นหาตามสื่อต่างๆ ก็อาจจะยังไม่ได้รับคำตอบที่คลายข้อสงสัยได้เลย วันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกคนได้คลายปมความสงสัยกันแล้วค่ะ ก่อนอื่นเรามาดูความหมายสั้นๆ ของ การจำนองกันก่อนดีกว่าค่ะ การจำนอง คือการที่ผู้จำนองนำทรัพย์สินที่มีค่านำมาประกันเพื่อกู้เงินมาใช้  โดยใช้เป็นหลักประกันคือ อสังหาริมทรัพย์  คือ ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น คอนโด โฉนดที่ดิน บ้าน อาคารพาณิชย์ โดยการจำนอง ผู้จำนองต้องนำสินทรัพย์ไปจดทะเบียนไว้กับผู้รับจำนองซึ่งต้องกระทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่กรมที่ดินเท่านั้น ทั้งนี้ไม่ต้องโอนที่ดินหรือทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้รับจำนอง สำหรับคำถามที่ว่า ชาวต่างชาติสามารถรับจำนองได้ไหม? การรับจำนองสำหรับกรณีที่ ฝั่งผู้รับจำนองเป้นชาวต่างชาตินั้น ยังไม่มีกฎหมายกำหนดห้าม นั่นหมายความว่า ชาวต่างชาติรับจำนอง ที่ดินได้ เนื่องจากการจำนองไม่ได้มีการเปลี่ยนเจ้าของ เจ้าของในโฉนดที่ดินยังคงเป็นบุคคลเดิมอยู่ สัญญาการจำนองจะแตกต่างจากสัญญากู้เงิน คือเมื่อคุณทำการจดจำนองที่ดินแ […]

อ่านเพิ่มเติม
เช็ก ราคาประเมินที่ดิน ปี 2568 ได้อย่างไรบ้าง?
7
Dec 24
เช็ก ราคาประเมินที่ดิน ปี 2568 ได้อย่างไรบ้าง?

>>>เช็คราคาประเมินที่ดิน ปี 2568 ราคาประเมินที่ดิน นับเป็นข้อมูลที่สะท้อนถึงศักยภาพ และแนวโน้มการเติบโตของที่ดินในแต่ละทำเล รวมถึงเป็นข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการทำธุรกรรมเกี่ยวกับที่ดิน เช่น ซื้อ-ขายที่ดิน ขายฝากที่ดิน จำนองที่ดิน โอนที่ดิน การคำนวณภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเจ้าของที่ดิน หรือนักลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ที่ต้องการประเมินราคาที่ดิน สามารถเช็กข้อมูลผ่านช่องทางไหนได้บ้าง และมีขั้นตอนอย่างไร? วันนี้ Property4Cash มีข่าวสารมาฝากกันค่ะ ใครที่อยากรู้ราคาประเมินที่ดิน ก็สามารถเช็กเองได้ ผ่านวิธีเช็กราคาประเมินที่ดินออนไลน์ ทั้งแบบมีโฉนด และไม่มีโฉนด  โดย ที่ดิน นับเป็นหนึ่งในทรัพย์สินที่หลายคนซื้อเก็บไว้ เพราะราคาสูงขึ้นทุกๆ ปี สำหรับคนที่อยากอัพเดทว่า… ตอนนี้ราคาประเมินที่ดินของตนเองมีมูลค่าประมาณเท่าไร? ก็สามารถเช็กราคาประเมินที่ดินออนไลน์ด้วยตัวเองง่ายๆ ไว้เป็นข้อมูลก่อนตัดสินใจทำการซื้อ-ขาย โดย ราคาประเมินที่ดิน คือ ราคากลางของที่ดินที่ประเมินจากเกณฑ์มาตรฐานต่างๆ อาทิ ราคากลางจากกรมธนารักษ์ ราคาตลาด และปัจจัยเสริมอื่นๆ เช่น ขนาด ทำเล สภาพ ซึ่งทำการประเมินโดยผู้เชี่ยวช […]

อ่านเพิ่มเติม
6 วิธี วางแผนเกษียณ ฉบับ GEN-Z
20
Feb 25
6 วิธี วางแผนเกษียณ ฉบับ GEN-Z

วางแผนเกษียณ ฉบับ GEN-Z ปัจจุบัน คน Gen Z มักจะมีเป้าหมายที่แตกต่างจากคน Gen อื่นๆ เมื่อก่อนอย่างชัดเจน เพราะเพื่อนๆ Gen Z ไม่เพียงแต่มุ่งเน้นทำงาน เพื่อสร้างรายได้เลี้ยงชีพ แต่หลายๆ คนมีเป้าหมายที่ต้องการอิสระทางการเงินในระยะยาว หรือบางคนมีเป้าหมายจะเกษียณตัวเองให้เร็วกว่ากำหนด  เพื่อให้ตัวเองมีเวลา มีเสถียรภาพทางการเงิน และสามารถทำตามความฝันในช่วงเวลาหลังเกษียณได้   ซึ่งถ้าเพื่อนๆ มีเป้าหมายอยากเกษียณอย่างสบาย มีอิสระทางการเงินที่ใช้จ่ายได้โดยไม่ต้องทำงาน ก็ต้องไม่ลืมวางแผนก่อนวัยเกษียณ เพราะการวางแผนการเงินก่อนวัยเกษียณสำคัญอย่างมาก ด้วยในยุคที่เศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความไม่แน่นอนทางการเงินก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย การวางแผนการเงินที่ดีจะช่วยให้เพื่อนๆ Gen Z สามารถเกษียณได้อย่างมั่นคง โดยไม่ต้องกังวลเรื่องรายได้ในอนาคต   ด้วยเหตุนี้ Property4Cash จึงอยากชวนทุกคนมาวางแผนเกษียณ ฉบับ GEN-Z กับ 6 ข้อเช็กลิสต์ที่คุณสามารถทำได้ง่ายๆ เพื่อให้มีชีวิตที่มั่นคงและสุขสบายในวัยเกษียณนั่นเอง…    GEN-Z ต้องฟัง! เรื่องเกษียณไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป… ถ้าวางแผนการเงินดี ยังไงตอน […]

อ่านเพิ่มเติม