ข้อควรรู้ เกี่ยวกับ กฎหมายจัดสรรที่ดิน
6
Feb 25

ข้อควรรู้ เกี่ยกับ กฎหมายจัดสรรที่ดิน มีหลักเกณฑ์และขั้นตอนตาม พ.ร.บ.จัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 อะไรบ้าง?…

กฎหมายจัดสรรที่ดิน เป็นหนึ่งในข้อควรรู้ของผู้ที่เตรียมตัวซื้อบ้าน เพราะการที่ผู้ประกอบการจะพัฒนาโครงการออกมาขายได้นั้น ตามกฎหมายแล้วจะต้องได้รับการจัดสรรที่ดิน ตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาดูว่าการจัดสรรที่ดินคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร หลักเกณฑ์และรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวข้องอย่างไรต่อผู้ประกอบการ และผู้ซื้อ Property4Cash สรุปมาให้แล้ว…

การจัดสรรที่ดิน คืออะไร?

ตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 การจัดสรรที่ดิน คือ การจำหน่ายที่ดินที่ได้ แบ่งเป็นแปลงย่อยรวมกันตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งจากที่ดินแปลงเดียว หรือแบ่งจากที่ดินหลายแปลงที่มีพื้นที่ติดต่อกัน โดยได้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์เป็นค่าตอบแทน และให้หมายความรวมถึงการดำเนินการดังกล่าวที่ได้มีการแบ่งที่ดินเป็นแปลงย่อยไว้ไม่ถึง 10 แปลง และต่อมาได้แบ่งที่ดินแปลงเดิมเพิ่มเติมภายใน 3 ปี เมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไปด้วย

ในการจำหน่ายที่ดินที่แบ่งเป็นแปลงย่อยรวมกันตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการเพื่อจำหน่ายในลักษณะที่อยู่อาศัย เพื่อประกอบการพาณิชย์ เพื่อประกอบการอุตสาหกรรม หรือเพื่อเกษตรกรรม ก็จะอยู่ในลักษณะเป็นการจัดสรรที่ดินตามความหมายนี้เช่นเดียวกัน

ทำไมถึงต้องทำการจัดสรรที่ดิน : ก็เพราะ ที่ดินที่จะแบ่งขายตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไป ถ้าไม่ขออนุญาตจัดสรรที่ดิน จะไม่สามารถแบ่งขายได้ ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมถึงมีการบังคับให้มีการขออนุญาตตามกฎหมายจัดสรรที่ดิน รวมถึงมีการลงทุนในสาธารณูปโภคเอง

ในการอนุญาตจัดสรรที่ดิน บุคคลที่ทำการจัดสรรที่ดินต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาแห่งท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ พร้อมหลักฐานและรายละเอียด

หลักการจัดสรรที่ดิน ต้องใช้เกณฑ์อะไร

หลักการจัดสรรที่ดินโครงการจัดสรรเพื่อการอยู่อาศัยและการพาณิชย์ สามารถแบ่งขนาดของที่ดินออกเป็น 3 ขนาดหลัก คือ

  • ขนาดเล็ก มีพื้นที่ไม่เกิน 19 ไร่ จำนวนแปลงย่อยไม่เกิน 99 แปลง
  • ขนาดกลาง มีพื้นที่ 19-100 ไร่ จำนวนแปลงย่อย 100-499 แปลง
  • ขนาดใหญ่ พื้นที่เกิน 100 ไร่จำนวนแปลงย่อยตั้งแต่ 500 แปลงขึ้นไป

 

ซึ่งนอกจากขนาดข้างต้นแล้ว การแบ่งที่ดินยังต้องมีเป็นไปตามขนาดมาตรฐานขั้นต่ำ และสำหรับกรณีพิเศษอย่างโครงการจัดสรรจิ๋ว หรือโครงการจัดสรรที่ดินขนาดเล็กก็ต้องมีขนาดโครงการไม่เกินที่กฎหมายกำหนดเช่นกัน

หากต้องการยกเลิกการจัดสรรที่ดินต้องทำอย่างไร

ถ้าหากคุณเปลี่ยนใจไม่ต้องการจัดสรรที่ดินดังกล่าวแล้ว ก็สามารถยกเลิกได้โดยการยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือจังหวัดสาขาที่แห่งท้องที่ที่ดินแปลงนั้นตั้งอยู่ จากนั้นเจ้าพนักงานก็จะมีการปิดประกาศคำขอยกเลิก ณ ที่เปิดเผยในสำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสำนักงานที่ดินสาขา สำนักงานของผู้จัดสรรที่ดิน บริเวณที่ดินที่ทำการจัดสรร ที่ว่าการอำเภอ และที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นเวลา 60 วัน หลังจากนั้นผู้จัดสรรที่ดินจะต้องมีการประกาศในหนังสือพิมพ์ที่เผยแพร่ทั่วบริเวณเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 7 วัน และแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทราบ

 

หลักฐานยื่นขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน

1. เอกสารประจำตัว แบ่งเป็น

  • บุคคลธรรมดา ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน, ทะเบียนบ้าน, ทะเบียนสมรส ฯลฯ หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
  • นิติบุคคล ได้แก่ หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล, ข้อบังคับ, หนังสือบริคณห์สนธิและวัตถุประสงค์, บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น, บัตรประตัวประชาชน และทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนนิติฯ รายงานการประชุมของบริษัทฯ ฯลฯ หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

2. โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่จะทำการจัดสรรที่ดิน

3. โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ พร้อมทั้งแสดงบันทึกข้อตกลงภาระจำยอม (กรณีทางเข้า-ออกโครงการจัดสรรที่ดินบรรจบถนนภาระจำยอม)

4. สัญญาจำนอง บันทึกความยินยอมให้ทำการจัดสรรที่ดินของผู้รับจำนอง และจำนวนเงินที่ผู้รับจำนอง จะได้รับชำระหนี้จากที่ดินแปลงย่อยแต่ละแปลง โดยต้องระบุด้วยว่าที่ดินแปลงสาธารณูปโภคและ/หรือที่ดินแปลงบริการสาธารณะไม่ต้องรับภาระการจำนอง (กรณีที่ดินที่ขอทำการจัดสรรมีภาระการจำนอง)

5. หนังสือรับรองวงเงินค้ำประกัน

6. แผนผังโครงการจัดสรรที่ดิน

7. โครงการและวิธีการจัดสรรที่ดิน

8. หลักฐานการอนุญาตจากหน่วยงานของรัฐที่ดูแลรับผิดชอบ ได้แก่ หนังสือรับรองพื้นที่ผังเมืองรวม, หนังสืออนุญาตเชื่อมทาง, หนังสืออนุญาตระบายน้ำ, หนังสือรับรองการให้บริการจัดเก็บขยะมูลฝอย, หนังสือรับรองการให้บริการไฟฟ้า, หนังสือรับรองการให้บริการประปา, รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA (กรณีอยู่ในหลักเกณฑ์ที่ต้องจัดทำ) และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

9. สัญญาค้ำประกันการจัดทำสาธารณูปโภค/สัญญาค้ำประกันการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค

หมายเหตุ: ข้อ 1-8 จัดทำสำเนาเอกสาร จำนวน 13 ชุด พร้อมลงนามรับรองความถูกต้องให้ครบถ้วน

 

ข้อควรรู้ เกี่ยวกับ กฎหมายจัดสรรที่ดิน

 

ขั้นตอนการขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน

1. ผู้ขอฯ ยื่นคำขอพร้อมเอกสารหลักฐานตามมาตรา 23

2. เจ้าพนักงานที่ดินฯ สั่งรับคำขอ แล้วส่งเรื่องให้

  • สำนักส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (กรุงเทพมหานคร)
  • สำนักงานที่ดินจังหวัดของจังหวัดนั้น ๆ (ต่างจังหวัด)

3. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบแผนผัง โครงการ และเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

4. เจ้าหน้าที่ออกไปตรวจสอบสภาพที่ดิน พร้อมทั้งประมาณการราคาค่าก่อสร้างสาธารณูปโภค

5. เจ้าหน้าที่สรุปข้อมูลโครงการเพื่อนำเสนอคณะกรรมการจัดสรรที่ดินฯ พิจารณา

6. เจ้าหน้าที่แจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการฯ ให้ผู้ขอฯ ดำเนินการ พร้อมทั้งจำนวนเงินเพื่อให้ผู้ขอฯ จัดหาธนาคารในการทำสัญญาค้ำประกัน

7. ผู้ขอฯ แสดงสัญญาค้ำประกันฯ และเอกสารหลักฐานอื่น ๆ (ถ้ามี) ตามมติคณะกรรมการฯ

8. เจ้าหน้าที่จัดทำใบอนุญาตฯ เพื่อเสนอประธานคณะกรรมการฯ ลงนาม

9. เจ้าหน้าที่แจ้งเจ้าพนักงานที่ดินฯ ทราบ พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้ขอติดต่อขอรับใบอนุญาตฯ ณ สำนักงานที่ดินที่ยื่นคำขอ

10. ผู้ขอฯ ชำระค่าธรรมเนียม และรับใบอนุญาตฯ ณ สำนักงานที่ดินที่ยื่นคำขอ

ข้อควรระวัง ซื้อบ้านที่ยังยังไม่ได้รับอนุญาตจัดสรร

นับเป็นหนึ่งในข้อควรระวังสำหรับผู้ที่เตรียมตัวก่อนซื้อบ้าน โดยเฉพาะเรื่องผู้ประกอบการได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดินถูกต้องตามกฎหมายจัดสรรที่ดินหรือไม่? เนื่องจากปัจจุบันโครงการที่เปิดขายใหม่ มักจะเปิดขายไปพร้อมๆ กับดำเนินการยื่นขอใบอนุญาตจัดสรร เพราะต้องการดำเนินธุรกิจและปิดการขายให้เร็วที่สุด

เคยมีกรณีมีผู้ซื้อบ้านบางราย ทราบภายหลังว่าโครงการที่ทำสัญญาซื้อ-ขายไปแล้วนั้นยังไม่ผ่านการขออนุญาตจัดสรรอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ได้ทำการผ่อนชำระเงินงวดไปแล้วจำนวนหนึ่ง จึงดำเนินการฟ้องร้อง เพื่อต้องการเอาเงินดาวน์ที่ผ่อนไปแล้วหลายงวดคืน

 

อย่างไรก็ตาม แม้กฎหมายจัดสรรที่ดินได้ห้ามทำการจำหน่ายที่ดินจัดสรรโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่มิได้บัญญัติไว้โดยชัดเจนว่าจำหน่ายที่ดินจัดสรรก่อนได้รับอนุญาต ดังนั้น การเปิดให้จองโครงการระหว่างดำเนินการขออนุญาต ไม่ถือเป็นการจำหน่ายที่ดินจัดสรรโดยไม่ได้รับอนุญาตจึงไม่ขัดต่อกฎหมายจัดสรรที่ดิน และการที่ผู้ซื้อตัดสินใจทำสัญญาซื้อขายเกิดขึ้นด้วยความสมัครใจมิได้ถูกหลอกลวง ฉ้อฉล หรือข่มขู่ให้ซื้อ

เมื่อผู้ซื้อทราบว่าโครงการยังไม่ได้รับใบอนุญาตจัดสรร แล้วหยุดชำระเงินดาวน์ รวมทั้งการขอเงินงวดที่ส่งไปคืน นอกจากไม่ได้เงินแล้วอาจเป็นฝ่ายที่ผิดสัญญา ทางโครงการมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินดาวน์

สรุปส่งท้าย ก่อนซื้อบ้านควรตรวจสอบหาข้อมูลกับสำนักงานที่ดินท้องที่นั้นก่อนว่าที่ดินในโครงการที่สนใจอยู่นั้นมีปัญหา ถูกต้องตาม กฎหมายจัดสรรที่ดิน หรือไม่? ควรศึกษา ชื่อเสียงของผู้ประกอบการ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง เสียทั้งเวลาและเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์

 

และใครที่ต้องการเงินด่วน อย่าลืม! นึกถึง Property4Cash เงินด่วนอสังหา รับจำนอง ขายฝาก นะคะ

 


Property4Cash ยินดีให้คำปรึกษาและช่วยเพิ่มทุนให้กับทุกคนที่ต้องการเงินด่วน และต้องการเงินเพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจ ไม่เช็คแบล็คลิส ไม่เช็คเครดิตบูโร

อนุมัติรวดเร็วทันใจ นึกถึง ขายฝากจำนอง นึกถึง Property4Cash

Line: @Property4Cash

โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash

ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

28
Mar 23
5 ข้อต้องรู้ก่อนนำที่ดินไปขายฝาก

หากเอ่ยถึงการนำทรัพย์สิน ประเภทอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน คอนโด  ที่ดิน หรือ รถ ไปเป็นหลักทรัพย์เพื่อแลกกับเงินก้อน การขายฝากก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ สำหรับผู้ที่ต้องการใช้เงินด่วน แต่ก่อนจะนำที่ดินหรือทรัพย์สินไปทำการขายฝาก เราจะพาทุกท่านไปดูส่วนสำคัญที่จำเป็นต้องรู้ ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการขายฝากกันค่ะ ในการขายฝากต้องส่งมอบทรัพย์สินและกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้ผู้รับซื้อฝาก ผู้ขายฝากจึงไม่สามารถใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินต่อไป ไม่ว่าบ้าน คอนโด ที่ดิน จนกว่าจะมีการไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากคืน แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ผู้รับซื้อฝาก มักจะยินยอมให้ผู้ขายฝากใช้ประโยชน์ต่อไปได้ ตามแต่ตกลงกัน ผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินคืนตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กำหนดในสัญญาขายฝาก โดยกรณีอสังหาริมทรัพย์ กำหนดเวลาไถ่ทรัพย์สินคืนได้ไม่เกิน 10 ปี นับแต่เวลาขายฝาก หากผู้ขายฝากไม่มาไถ่ทรัพย์สินคืนตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กำหนด ผู้ขายฝากจะหมดสิทธิในการไถ่ทรัพย์สินคืนทันที โดยไม่ต้องชำระเงินเพิ่มเติมให้ผู้รับซื้อฝากอีก การขายฝากส่วนใหญ่ผู้ขายฝากจะได้วงเงินประมาณ 40-70% ของราคาประเมิน ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนขายฝาก ในอัตรา […]

อ่านเพิ่มเติม
ที่ดิน กรรมสิทธิ์รวม ซื้อขาย ขายฝากหรือจำนองได้หรือไม่?
23
Dec 23
ที่ดิน กรรมสิทธิ์รวม ซื้อขาย ขายฝากหรือจำนองได้หรือไม่?

ในการ ซื้อขายที่ดิน หรือมีการ ขายฝากจำนองที่ดิน เกิดขึ้น หากเราเป็นเจ้าของคนเดียวก็คงไม่ยากที่จะนำที่ดินแปลงนั้นออกมาจำหน่ายหรือทำธุรกรรมได้ แต่ถ้าที่ดินนั้นเป็นมรดกตกทอดที่มีเจ้าของ 2 – 3 คนขึ้นไป หรือเรียกได้ง่ายๆ ว่าที่ดินตรงนั้นมีเจ้าของ กรรมสิทธิ์รวม กรรมสิทธิ์รวม คืออะไร กรรมสิทธิ์รวมหมายถึง การที่มีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปหรือมากกว่านั้นเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกัน โดยในโฉนดที่ดินไม่ได้ระบุว่าเจ้าของรวมคนใดเป็นเจ้าของส่วนไหนบ้าง ตามกฎหมายแล้วสันนิษฐานว่าเจ้าของรวมแต่ละคนจะต้องมีสัดส่วนที่ดินเท่าๆ กัน และมีสิทธิ์ในการจัดการทรัพย์สินร่วมกัน การซื้อขาย ขายฝากหรือจำนองที่ดินกรรมสิทธิ์รวม ทำได้หรือไม่? ถ้าเจ้าของที่ดินกรรมสิทธิ์รวม ไม่ได้มีการตกลงแบ่งสัดส่วนที่ดินอย่างชัดเจน เมื่อมีเจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งต้องการซื้อขายหรือมีการขายฝากจำนองที่ดินเกิดขึ้น ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทุกๆ คนก่อน ไม่เช่นนั้นจะถือว่าไม่สมบูรณ์ กลายเป็นความยุ่งยากที่ก่อให้เกิดภาระติดพันในส่วนของความเป็นเจ้าที่ดินของตนเอง แต่หากเจ้าของที่ดินกรรมสิทธิ์รวม มีการตกลงแบ่งที่ดินเป็นสัดส่วนชัดเจนแล้ว มีการระบุในโฉนด […]

อ่านเพิ่มเติม
คู่สมรสไม่มากรมที่ดิน ขายฝาก- จำนองได้หรือไม่
30
Sep 23
คู่สมรสไม่มากรมที่ดิน ขายฝาก- จำนองได้หรือไม่

หลายๆ คนอาจจะมีข้อสงสัยว่า ถ้าทำธุรกรรมขายฝาก จำนอง แล้วเกิดกรณีที่ คู่สมรสไม่มากรมที่ดิน จะสามารถทำขายฝาก จำนองได้หรือไม่ อย่างแรกเลย ถ้าทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างการสมรสแล้วนั้น ไม่ว่าจะใส่ชื่อใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ให้เรียกว่าเป็นสินสมรสก่อนได้เลย กรณีคู่สมรสไม่มากรมที่ดินจะไม่สามารถทำธุรกรรมจำนอง ขายฝากได้เลย เพราะเราต้องได้รับการยินยอมจากคู่สมรสด้วย ไม่ว่าจะทำจำนอง ขายฝาก หรือว่าซื้อขายเองก็ตาม ถ้าหากทั้งคู่เลิกกันแล้ว ก็ต้องทำเรื่องหย่าให้เรียบร้อยก่อน เพราะถ้าไม่หย่าตามกฎหมายแล้ว ยังถือว่ายังเป็นคู่สมรสกันอยู่นะคะ ในกรณีถ้าคู่สมรสไม่สะดวกมา จะต้องมีหนังสือลงลายเซ็นยินยอมของคู่สมรส ยืนยันว่ายินยอมให้ทำธุรกรรมขายฝากหรือจำนอง พร้อมสำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน และทะเบียนสมรสให้เรียบร้อย และอาจจะถ่ายวิดีโอไว้ด้วย เพื่อเป็นการยืนยันในการทำขายฝาก จำนอง ซึ่งหนังสือยินยอมคู่สมรสทางกรมที่ดินจะมีให้บริการทุกสาขาทั่วประเทศ เห็นไหมคะเพื่อนๆ เมื่อเราจดทะเบียนสมรสแล้ว เวลาที่เราอยากทำธุรกรรมต่างๆ จะต้องมีการดำเนินการตามขั้นตอน ซึ่งจะต้องผ่านการยินยอมจากคู่สมรสเสมอ ไม่ว่าจะเป็น การจดจำนอง ขายฝ […]

อ่านเพิ่มเติม